โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์นกกระตั้ว

ดัชนี วงศ์นกกระตั้ว

นกกระตั้ว หรือ นกคอกคาทู (cockatoo) เป็นนกประเภทปากคีม มีหลายสกุล ส่วนมากจะมีสีขาว บางชนิดมีสีเหลืองอ่อนแซมเล็กน้อย มีหงอน มีลิ้นและสามารถสอนให้เลียนเสียงได้เหมือนนกแก้ว โดยที่ชื่อสามัญที่ว่า "Cockatoo" เป็นภาษามลายูแปลว่า "คีมใหญ่" พบในแถบอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และ ออสเตรเลีย ชนิดที่มนุษย์จับมาเลี้ยงนั้นมีราคาสูง นกกระตั้วที่อยู่ตามธรรมชาติจะมีอายุขัยเพียง 20-30 ปีเท่านั้น แต่นกกระตั้วที่มนุษย์นำมาเลี้ยงจะมีอายุยืนถึง 60-80 ปี.

16 ความสัมพันธ์: ชาวอังกฤษภาษามลายูรัฐแทสเมเนียศตวรรษที่ 17สกุล (ชีววิทยา)สกุลนกกระตั้วดำสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับนกแก้วจอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ประเทศไทยนกกระตั้วดำนกกระตั้วดำหางขาวนกกระตั้วใหญ่หงอนเหลืองนกคอกคาทีล

ชาวอังกฤษ

วอังกฤษ เป็นกลุ่มของชาวยุโรปที่เคยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของบริเตนใหญ่ เป็นชาวแองโกล-แซกซอนส์ ที่ปัจจุบันอาศัยกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร มีอยู่ 45,265,093 คน สหรัฐอเมริกา 24,515,138 คน แคนาดา 5,978,875 คน ออสเตรเลีย 6.4 ล้านคน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและชาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแทสเมเนีย

กาะแทสเมเนีย เป็นรัฐหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 240 กม.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและรัฐแทสเมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษที่ 17

ตวรรษที่ 17 อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและศตวรรษที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลนกกระตั้วดำ

ำหรับนกกระตั้วดำอีกชนิด ดูที่: นกกระตั้วดำ นกกระตั้วดำ (Black cockatoo, Dark cockatoo) เป็นสกุลของนกปากขอขนาดใหญ่ ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Calyptorhynchus สกุลนี้บรรยายทางวิทยาศาสตร์โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส อองเซลเม่ เกต็อง เดมาไรซ์ ในปี ค.ศ. 1826 พบทั้งหมด 5 ชนิด ทั้งหมดส่วนใหญ่มีขนสีทึบทึมเช่น สีเทา หรือสีน้ำตาลเข้ม และการอนุกรมวิธานจะพิจารณาตามตามขนาดและบางส่วนของขนขนาดเล็กสีแดง, สีเทา และสีเหลืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขนหาง จัดได้ว่ามีลักษณะทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับนกกระตั้วแก๊ง-แก๊ง (Callocephalon fimbriatum) และนกคอกคาเทล (Nymphicus hollandicus) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก ถือได้ว่าเป็นสกุลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของนกกระตั้วที่มิได้มีขนสีขาว และแบ่งออกได้เป็น 2 สกุลย่อย คือ Calyptorhynchus และ Zanda โดยพิจารณาจากสีขนและความแตกต่างกันระหว่าง.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและสกุลนกกระตั้วดำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกแก้ว

นกแก้ว หรือ นกปากขอ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: นกแล) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้ เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบPets 101: Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556 เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียง แต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้ แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidae หรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและอันดับนกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์

อร์จ โรเบิร์ต เกรย์ (George Robert Gray, FRS) (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1808 - (6 พฤษภาคม ค.ศ. 1872) จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์เป็นนักสัตววิทยาและนักเขียนชาวอังกฤษ และเป็นประธานแผนกปักษาวิทยาของพิพิธภัณฑ์บริติชในกรุงลอนดอนเป็นเวลาสี่สิบเอ็ดปี จอร์จเป็นน้องของจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ผู้เป็นนักสัตววิทยาเช่นกัน และเป็นลูกชายของนักพฤษศาสตร์ซามูเอล เฟรเดอริค เกรย์ งานที่ได้รับการตีพิมพ์ชิ้นสำคัญของเกรย์คือ “Genera of Birds” (ค.ศ. 1844-ค.ศ. 1849) ที่มีภาพประกอบโดยเดวิด วิลเลียม มิทเชลล์ และ โจเซฟ วูล์ฟ ที่รวมข้อมูลของนกด้วยกันทั้งหมด 46,000 สปีชี.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและจอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นกกระตั้วดำ

นกกระตั้วดำอีกจำพวกดูที่: นกกระตั้วดำ นกกระตั้วดำ (Black cockatoo, Palm cockatoo, Goliath cockatoo) นกปากขอชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) เป็นนกกระตั้วที่แตกต่างจากนกกระตั้วชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าวคือ มีลำตัวและหงอนสีทึบทึมคล้ายสีดำ จึงถูกจัดให้เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Probosciger โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) ซึ่งความแตกต่างของชนิดย่อยเหล่านี้จะแตกต่างกันที่ขนาดลำตัว (ชนิด P. a. goliath จะมีขนาดใหญ่ที่สุด) ลักษณะทั่วไป คือ มีขนสีเทาดำ มีหงอนใหญ่โค้งไปด้านหลังมีลักษณะแคบและยาว สีข้างแก้มสีแดง ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ นอกจากนี้แล้วตัวผู้ขนทั่วตัวมีสีน้ำตาลปนดำ ใต้คอปลายขนมีขอบสีเขียว ส่วนบริเวณหูมีสีเหลือง ปากสีเทา ขาสีน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาล ส่วนตัวเมียขนบริเวณส่วนหูจะมีสีเหลืองจางกว่าเพศผู้ และจะมีลักษณะเด่นของจุดสีเหลือง ๆ บริเวณขนหาง เปลือกตาสีเทา มีขนาดลำตัวใหญ่ประมาณ 55–60 เซนติเมตร (22–24 นิ้ว) น้ำหนักตัวประมาณ 910–1,200 กรัม พบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะเกาะนิวกินีและรัฐควีนส์แลนด์ ทางตอนเหนือของออสเตรเลียเท่านั้น มีอายุการฟักไข่ประมาณ 30 วัน จัดเป็นนกที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงและแสดงตามสวนสัตว์อีกชนิดหนึ่ง แต่มีราคาซื้อขายแพงมาก.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและนกกระตั้วดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระตั้วดำหางขาว

นกกระตั้วดำหางขาว หรือ นกกระตั้วบูด้า หรือ นกกระตั้วดำบูด้า (Long-billed black cockatoo, White-tailed black cockatoo, Baudin's cockatoo, Baudin's black cockatoo) นกปากขอชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) เป็นนกกระตั้วชนิดหนึ่งที่มีสีดำ บริเวณสีขนตรงตำแหน่งหูจะมีสีขาวและสีเทา สีขนใต้หางจะมีสีขาวปนเทาเข้ม ขนบริเวณใต้คอลงมาปลายขนมีขอบสีเทาปนดำ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเด่นที่ใช้ในการอนุกรมวิธานนกชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ยาว 56 เซนติเมตร (22 นิ้ว) มีอายุมากที่สุด 47 ปี ในปี ค.ศ. 1996 มีระยะเวลาการฟักไข่ 30 วันเหมือนนกกระตั้วชนิดอื่น ๆ โดยที่ชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ baudinii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสำรวจชาวฝรั่งเศส นิโกลาส์ บูด้าChristidis, Les and Walter E. Boles (2008) Systematics and Taxonomy of Australian Birds ISBN 978-0-643-06511-6 พบกระจายพันธุ์บริเวณทางตอนใต้ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในประเทศออสเตรเลี.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและนกกระตั้วดำหางขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกกระตั้วใหญ่หงอนเหลือง

นกกระตั้วใหญ่หงอนเหลือง หรือ นกกระตั้วซัลเฟอร์เครสต์ (Sulphur-crested cockatoo) นกปากขอขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) มีความยาวของลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร สามารถจำแนกเพศได้จาก นกตัวผู้จะมีสีน้ำตาลแดงเข้มรอบดวงตา จะเห็นได้ชัดเจนกว่าตัวเมีย ลำตัวมีสีขาวทั้งตัว มีหงอนขนาดใหญ่บนหัวสีเหลืองอันเป็นจุดเด่น มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเกาะนิวกีนี, ทัสมาเนีย, เกาะคิง, เกาะมอลลูกา รวมทั้งตอนเหนือและตะวันออกของออสเตรเลีย และยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 4 ชนิด คือ.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและนกกระตั้วใหญ่หงอนเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

นกคอกคาทีล

นกคอกคาทีล (Cockatiel) นกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Nymphicus และนับเป็นชนิดที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ตัวผู้มีลำตัวเป็นสีเทา ๆ ปีกจะเป็นแถบสีขาว หัวเป็นสีเหลืองอ่อน มีหงอนยาวสูงขึ้นมาที่แก้ม มีหย่อมสีส้มเด่นชัดปากเป็นสีเทา ตัวเมียมีลักษณะคล้ายกับตัวผู้ แต่หัวจะเป็นสีเหลืองอมเทา สีส้มที่แก้มไม่เด่นชัดนัก และหางจะเป็นสีเหลืองมีลายขีดสีเทาขวางอยู่ มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศออสเตรเลีย มักอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ห่างจากชายฝั่งทะเล มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือเป็นคู่ ๆ ขณะบินจะเกิดเสียงจนสามารถได้ยิน กินอาหารได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดพืชล้มลุก ผลไม้ และลูกไม้ขนาดเล็ก นกคอกคาทีล ก็เหมือนนกปากขอหรือนกกระตั้วชนิดอื่นทั่วไป ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามกว่านกที่มีอยู่ในธรรมชาติแท้.

ใหม่!!: วงศ์นกกระตั้วและนกคอกคาทีล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CacatuidaeCacatuoideaCockatooPlyctolophinaeวงศ์นกคอกคาทูนกกระตั้วนกคอกคาทู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »