โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิยามของตรา

ดัชนี นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

41 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2380พ.ศ. 2410พื้นตรา (มุทราศาสตร์)พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)กริฟฟอนการแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)ฐานรอง (มุทราศาสตร์)มุทราศาสตร์รีเยกาสหราชอาณาจักรสิงโตในมุทราศาสตร์สีทอง (มุทราศาสตร์)สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)สีแดง (มุทราศาสตร์)หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)ผิวตรา (มุทราศาสตร์)จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจุลมงกุฎธัชวิทยาธงธงชาติทรานซิลเวเนียคำวิเศษณ์คำขวัญคำนามตราอาร์มตราประทับตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรประคองข้าง (มุทราศาสตร์)ประเทศฝรั่งเศสประเทศสวีเดนประเทศฮังการีประเทศโครเอเชียแพรประดับ (มุทราศาสตร์)แดลเมเชียโล่ (มุทราศาสตร์)ไทป์เฟซเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์เออร์มินเครื่องยอด (มุทราศาสตร์)เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

พ.ศ. 2380

ทธศักราช 2380 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1837.

ใหม่!!: นิยามของตราและพ.ศ. 2380 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2410

ทธศักราช 2410 ตรงกั.

ใหม่!!: นิยามของตราและพ.ศ. 2410 · ดูเพิ่มเติม »

พื้นตรา (มุทราศาสตร์)

ื้นตรา (Field) ในมุทราศาสตร์พื้นตราคือสีพื้นของตราอาร์ม ที่มักจะประกอบด้วยผิวตรา หนึ่งหรือสองสีที่อาจจะเป็น (สี หรือ โลหะ) หรือ ขนสัตว์ (Heraldic fur) พื้นตราอาจจะแบ่งเป็นช่องตรา (Division of the field) ที่อาจจะเป็นลักษณะลวดลาย (Variation of the field) ในบางกรณีที่ไม่บ่อยนักพื้นตราหรือช่องตราจะไม่มีรงคตรา แต่จะเป็นภูมิทัศน์ พื้นตราที่เป็นภูมิทัศน์ถือกันโดยนักมุทราศาสตร์ว่าไม่ถูกต้องตามหลักมุทราศาสตร์และทำให้ลดค่าลง เพราะเป็นขัดกับหลักมุทราศาสตร์ที่ว่าตราต้องเป็นลวดลายที่ง่าย เป็นรูปที่มีสีจัด และไม่อาจจะนำมาจากคำนิยามได้ ตัวอย่างดังกล่าวก็ได้แก่ตราอาร์มของเคานท์เซซาเร ฟานี ที่ตรงกับคำนิยามของตราที่ว่า "sky proper" หรือตราของอินเวอราเรย์ และสภาดิสตริคท์คอมมินิตี้ในสกอตแลนด์มีพื้นตราเป็น "คลื่นทะเล".

ใหม่!!: นิยามของตราและพื้นตรา (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)

ู่ประดับ หรือ ประดับหลัง (Mantling หรือ lambrequin) ในมุทราศาสตร์ “พู่ประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น ที่มีลักษณะเหมือนพู่ที่ผูกติดกับหมวกเกราะที่ตั้งอยู่เหนือโล่ภายในตราและเป็นฉากหลังของโล่ ในการบรรยายพู่ประดับมักจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการป้องกัน (มักจะทำด้วยผ้าลินนิน) ที่ใช้โดยอัศวินบนหมวกเกราะ ประการที่สองเพื่อเป็นการช่วยลดความรุนแรงเมื่อถูกโจมตี ซึ่งทำให้วาดเป็นชายขาดเป็นริ้ว มีแต่ในบางกรณีที่เป็นผ้าทั้งชิ้นที่ปรากฏบนตราของนักบวชที่ใช้หมวกเกราะและพู่ประดับเพื่อแสดงว่านักบวชมิได้เข้าต่อสู้ในการรบ โดยทั่วไปแล้วพู่ประดับจะนิยามว่า “mantled x, doubled” “y”(“พู่ประดับ ก สองด้าน ข”) ผ้าที่ใช้เป็นพู่มีสองด้านที่มักจะใช้สีที่เป็นที่เป็นสีหลักของตราหรือสีประจำเหล่า (ดูรายละเอียดการใช้สีในบทความผิวตรา) แต่ก็มีบางกรณีที่มิได้เป็นไปตามกฎที่ว่านี้หรือด้านหน้าอาจจะมีสองสีที่นิยามว่า “per pale of x and y”(“ ผ่ากลาง สี ก และ สี ข”) หรือทั้งด้านนอกและในจะผ่ากลางเป็นสองสี และบางครั้งก็จะแบ่งต่างไปจากการผ่ากลาง แต่ก็มีไม่มากนัก และที่มีบ้างคือการใช้ผ่ากลางที่เป็นผิวตราโลหะสองชนิด หรือพู่ประดับทั้งหมดเป็นสีเดียว พู่ประดับของ Black Loyalist Heritage Society เป็นพู่ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพู่ที่ประกอบด้วยขนสัตว์สองนอกและใน (เออร์มินบุด้วยเออร์มิน) ตราแผ่นดินของแคนาดาพู่ประดับสองสีแดงและขาวหรือ “argent doubled gules” หรือ “พื้นขาว ด้านหลังสีแดง” ที่เป็นใบเมเปิล ตราอาร์มของหลวงเช่นตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรหรือตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะมีนิยามพู่ประดับว่า “Or, lined ermine” หรือ “พื้นทอง, บุเออร์มิน” ซึ่งเป็นลักษณะที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซิริล วูดส์ บารอนแห่งสเลนมีพู่ประดับที่นิยามว่า “tasselled Gold” หรือ “พู่ประดับปลายเป็นพู่สีทอง” ในสมัยแรกของการออกแบบเครื่องยอดก่อนที่จะมีแพรประดับ ก็มีการใช้จุลมงกุฎและมาลา (chapeau) และสิ่งตกแต่งก็จะต่อเนื่องลงมาที่นิยามว่า “continued into the mantling” หรือ “ต่อลงมาเป็นพู่ประดับ” ซึ่งยังคงใช้กันมากในเยอรมนี ไฟล์:Grosses_Wappen_Celle.png|พู่ประดับเป็นริ้วสองด้านสองสีของเซลเลอในเยอรมนี ไฟล์:Wappen Pirna.png|พู่ประดับสองสีของแพร์นาในเยอรมนี ไฟล์:Royal Coat of Arms of the United Kingdom.svg|พู่ประดับทองและเออร์มินของตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ไฟล์:Duke of Argyll coat of arms.svg|พู่ประดับเออร์มินของตราของดยุคแห่งอาร์กาล์ย ไฟล์:Wappen-wenkheim.png|พู่ประดับทั้งชิ้นที่ไม่เป็นริ้ว ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าของตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:Escudo de Quilpué.svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าแต่เป็นเถาองุ่นของ Quilpué ในชิลี ไฟล์:Coat of arms of Bahrain.svg|พู่ประดับไม่มีหมวงของตราแผ่นดินของบาห์เรน ไฟล์:Coat_of_Arms_of_Russian_Empire.svg|ตราแผ่นดินของรัสเซีย ไฟล์:ArmesADN3.png|พู่ประดับทางศาสน.

ใหม่!!: นิยามของตราและพู่ประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

กริฟฟอน

รูปวาดกริฟฟิน 200px กริฟฟอน หรือ กริฟฟิน (griffin, gryphin, griffon หรือ gryphon) คือสัตว์ในเทพนิยายร่างกายเป็นครึ่งนกอินทรี ครึ่งสิงโต โดยส่วนหัว ขาคู่หน้าและปีก เป็นนกอินทรี ส่วนลำตัวและขาคู่หลังเป็นสิงโต และมีหางเป็นงู บางจำพวกก็มี หางของสิงโต ขนบนหลังเป็นสีดำ ขนที่อยู่ข้างหน้าเป็นสีแดง ส่วนขนปีกเป็นสีขาว อาศัยอยู่ในถ้ำตามภูเขา ตามตำนานกรีก กริฟฟินเป็นสัตว์เทพผู้พิทักษ์เหมืองทองคำของดินแดนไฮเปอร์โบเรีย (ดินแดนในตำนานซึ่งอยู่ทางขั้วโลกเหนือ มีแสงอาทิตย์ และความอุดมสมบูรณ์ตลอดกาล), เป็นรูปจำแลงของเทพีเนเมซิส เทพแห่งความพยาบาท ซึ่งทำหน้าที่หมุนวงล้อแห่งโชคชะตา, นอกจากนี้ยังเป็นผู้ลากรถม้าของพระอาทิตย์ (เทพอพอลโล) อีกด้วย กริฟฟินนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจ และบางครั้งยังถือว่ากริฟฟินเป็นสัญลักษณ์ของความหยิ่งยโสอีกด้วย ในยุคแรก กริฟฟินถูกเปรียบเทียบให้เป็นเหมือนกับซาตาน ที่คอยล่อลวงวิญญานของมนุษย์ให้ติดกับ แต่ต่อมากริฟฟินก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของทั้งทวยเทพ และมนุษย์ สำหรับพระเยซู เพราะมันเป็นเจ้าแห่งพิภพและเวหา อีกทั้งมีรังสีแห่งแสงอาทิตย์ ศัตรูของกริฟฟินคือ บาซิลิสก์ ซึ่งเปรียบได้กับรูปจำลองของซาตาน ปัจจุบันสามารถพบเห็นกริฟฟินได้ทั่วไปจากงานศิลปะในหลาย ๆ วัฒนธรรม และพบได้ในตราประจำตระกูล รูปสัตว์ต่าง ๆ, ประติมากรรมเก่าแก่, โมเสกนูนต่ำ, นิทาน และในตำนานต่าง ๆ ทั่วโลก หมวดหมู่:สัตว์ในตำนาน หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: นิยามของตราและกริฟฟอน · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)

การแบ่งโล่ หรือ แบ่งโล่ (Division of the field) เป็นศัพท์ที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรงการแบ่งโล่บนตราอาร์มออกเป็นส่วนหรือช่องต่างๆ พื้นตราของโล่อาจจะแบ่งออกเป็นบริเวณที่มากกว่าสองบริเวณที่แต่ละบริเวณอาจจะมีผิวตราที่ต่างกัน ที่มักจะดำเนินตามลักษณะของเรขลักษณ์ การแบ่งแต่ละวิธีก็จะมี นิยามต่างกันไปที่ใช้ศัพท์คล้ายคลึงกับศัพท์ที่ใช้ในเรขลักษณ์ เช่นโล่ที่แบ่งตามเรขลักษณ์ทรงจั่วบ้านก็จะได้รับนิยามว่า “per chevron” หรือ “แบ่งจั่ว” ตามลักษณะแถบจั่วที่ใช้ในเรขลักษณ์ จุดประสงค์ของการแบ่งตราก็มีหลายประการๆ หนึ่งอาจจะเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างตราที่คล้ายคลึงกัน หรือเพื่อ “การรวมตรา” (marshalling) ที่หมายถึงการรวมตราอาร์มมากกว่าสองตราขึ้นไปเป็นตราเดียว หรือ เพียงเพื่อเป็นสร้างความสวยงามให้กับตรา “เส้นแบ่ง” (Line) ที่ใช้ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรง และเส้นที่ใช้แต่ละแบบก็จะมีนิยามที่เฉพาะเจาะจงที่ใช้โครงสร้างของศัพท์เช่นเดียวกับเรขลักษณ์ นอกจากนั้นการแบ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป แต่อาจจะเป็นลายหยักต่างๆ คล้ายกับที่ใช้ในเรขลักษณ.

ใหม่!!: นิยามของตราและการแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ฐานรอง (มุทราศาสตร์)

นรอง (Compartment) ในมุทราศาสตร์ “ฐานรอง” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏภายใต้โล่บนตราอาร์มที่เป็นที่อาจจะเป็นหิน, ลานหญ้า หรืออื่นๆ ที่เป็นที่ตั้งหรือรองรับประคองข้าง ซึ่งทำให้ต้องใช้ความพิจารณาในการแยกระหว่าง “ฐานรอง” ที่แท้จริงจากสิ่งที่อยู่บนฐานที่ใช้สำหรับเป็น “ประคองข้าง” หรือในกรณีพิเศษเช่นในตราแผ่นดินของเบลีซที่เหนือโล่ดูเหมือนต้นมาฮอกานีแต่อันที่จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของฐานรองที่งอกออกมาจากฐาน บางครั้งก็กล่าวกันว่าฐานรองคือแผ่นดินของผู้เป็นเจ้าของตรา ฐานรองเป็นองค์ประกอบที่ล่ากว่าองค์ประกอบอื่นๆ ของตราอาร์ม ที่มาจากความจำเป็นในการใช้ประคองข้างที่แสดงความแตกต่างกันของตราของแต่ละครอบครัวหรือของแต่ละบุคคล และบางครั้งก็จะได้รับการนิยามต่างหากจากประคองข้าง ฐานรองตกแต่งที่ใช้ในการวางมักจะวางใต้เท้า ขา หรืออุ้งเท้าของประคองข้างที่ทำกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บางทีก็เรียกว่า “gas bracket” แต่ก็เป็นคำที่ไม่เป็นที่ยอมรับใช้กัน บางครั้งประคองข้างก็อาจจะยืนบนแถบคำขวัญเช่นในตราแผ่นดินของโมนาโค ตามปกติแล้วเมื่อตราอาร์มมีประคองข้างก็จะมีฐานรองประกอบแต่ก็ไม่เสมอไป และบางครั้งที่ไม่บ่อยนักฐานรองก็อาจจะเป็น “เพิ่มเกียรติ” (Augmentation of honour) ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของตราได้รับมอบให้เพิ่มในตราอาร์มเพื่อเป็นเกียรติยศ ซึ่งเป็นภาพของหมีและกวางยืนบนภูมิทัศน์ที่เป็นป่า ยอดเขา และรวงข้าวสาลีที่ออกแบบโดยรอน เซบาสเตียน บางครั้งฐานก็อาจเป็นภูมิทัศน์ของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเช่นฐานรองของเคนยาคือ ภูเขาเคนยา หรือฐานรองของ Arbeláez, Cundinamarca ของโคลัมเบียเป็นลูกโลก) ฐานรองที่แปลกออกไปก็ได้แก่ฐานรองที่เป็นกำแพงของเทศบาลมณฑลคัมเบอร์แลนด์ หรือฐานรองที่เป็นสะพานข้ามลำน้ำของสถาบันวิศวกรรมแห่งแคน.

ใหม่!!: นิยามของตราและฐานรอง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

ใหม่!!: นิยามของตราและมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รีเยกา

รีเยกา (Rijeka) หรือ ฟียูเม (Fiume) เป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญ และเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศโครเอเชีย (รองจากกรุงซาเกร็บและเมืองสปลิต) เมืองมีประชากร 128,735 คน (ค.ศ. 2011) มีอุตสาหกรรมการต่อเรือ เมืองนี้ก่อตั้งจากการตั้งถิ่นฐานของชาวโรมัน ต่อมาอยู่ในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และรวมเข้ากับโครเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อิตาลีเข้ายึดครอง 2 ครั้ง คือ ใน..

ใหม่!!: นิยามของตราและรีเยกา · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: นิยามของตราและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตในมุทราศาสตร์

งโต (Lion) เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เป็นเครื่องหมายกันในตราอาร์มกันมากที่สุดเครื่องหมายหนึ่ง เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ การรักษาเกียรติยศ ความแข็งแกร่ง และ ความเป็นสัตว์ที่ถือกันว่าสูงศักดิ์ ที่เดิมถือกันว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง.

ใหม่!!: นิยามของตราและสิงโตในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง (มุทราศาสตร์)

ีทองทางซ้าย หรือ ลายประ ตราแผ่นดินของนอร์เวย์ สีทอง หรือ ออร์ (Or (heraldry)) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีทอง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่ากลุ่ม “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “ทอง” ก็จะเป็นลายประที่เป็นจุดห่างจากกันเท่าๆ กัน “ออร์” มักจะปรากฏเป็นสีเหลือง แต่บางทีก็ใช้ทองคำเปลวถ้าเป็นภาพในหนังสือวิจิตร หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “Or (heraldry)” ของคำว่า “Or (heraldry)” คำว่า “Or” มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า “Or” ที่แปลว่า “ทอง” บางครั้งก็จะใช้คำว่า “Gold” แทนที่จะใช้คำว่า “Or” ในการให้นิยามของตรา บางครั้งเพื่อป้องกันการใช้คำว่า “Or” ซ้ำกันหลายครั้ง หรือเพราะเป็นคำที่นิยมใช้กันเมื่อทำการบันทึก หรือเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกนิยามอาจจะนิยมใช้คำว่า “Gold” มากกว่า อักษร “O” ของ “Or” มักจะสะกดด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่นในคำนิยาม Gules, a fess Or (พื้นตราสีแดง, แถบขวางสีทอง) เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า “or” (ที่แปลว่าหรือ) ที่เป็นคำสันธานในภาษาอังกฤษ รงคตราสีทองเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: นิยามของตราและสีทอง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์)

“Azure” สีน้ำเงินทางซ้าย หรือ ขีดตามแนวนอนทางขวา สีน้ำเงิน หรือ เอเชอร์ (Azure) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีน้ำเงิน ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “เอเชอร์” ก็จะเป็นขีดตามแนวนอน หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “az.” หรือ “b.” ของคำว่า “Azure” คำว่า “Azure” มาจากภาษาเปอร์เซีย “لاژورد” (lazhward) ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันว่ามีแหล่งหินที่มีสีน้ำเงินเข้มที่ปัจจุบันเรียกว่าหินลาพิส ลาซูไล (lapis lazuli หรือ หินจาก lazhward) คำนี้เข้ามาในภาษาภาษาฝรั่งเศสเก่าในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแผลงไปใช้ในการบรรยายสีของผิวตราของตราอาร์ม “Azure” ที่แปลว่า “น้ำเงิน” ในภาษามุทราศาสตร์ “Azure” แปลง่ายๆ ว่า “สีน้ำเงิน” คำแรกใช้โดยขุนนางนอร์มันผู้พูดภาษาฝรั่งเศส คำหลังที่เพียงแต่เรียกชื่อสีใช้โดยชนสามัญชาวแองโกล-แซ็กซอน “สีน้ำเงิน” เป็นสีที่ใช้กันมากบนอาวุธและธง นอกไปจากสีน้ำเงินมาตรฐานแล้วก็ยังมีสีน้ำเงินอ่อนที่เรียกว่า “สีท้องฟ้า” (bleu celeste) ทั้งสองสีต่างก็มิได้มีการระบุระดับความอ่อนแก่ของสีอย่างแน่นอน แต่ “สีน้ำเงิน” จะใช้เป็นสีที่เข้มกว่า “สีท้องฟ้า” มาก ผิวตราสีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: นิยามของตราและสีน้ำเงิน (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง (มุทราศาสตร์)

กูลสสีแดงทางซ้าย หรือ แถวเส้นดิ่งทางขวา สีแดง หรือ กูลส (Gules) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่หมายถึงลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีแดง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “กูลส” ก็จะเป็นแถวเส้นดิ่งหรือ บริเวณที่จารึกด้วยอักษรย่อ “gu.” ของคำว่า “Gules” คำว่า “Gules” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า ว่า “goules” หรือ “gueules” ที่แปลว่า “คอหอย” ที่หมายถึงปากของสัตว์ ปากและคอหอยมีสีแดงฉะนั้นจึงเป็นคำที่ใช้เรียกสี นักประพันธ์ทางมุทราศาสตร์เชื่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วว่าคำว่า “Gules” มาจากภาษาเปอร์เซีย “gol” หรือ “กุหลาบ” ที่เข้ามาในยุโรปทางสเปนมุสลิมหรืออาจจะนำกลับมาโดยนักรบครูเสดที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง แต่เบร้าท์กล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดที่สนับสนุนข้อเสนอนี้ ในเครื่องอิสริยาภรณ์โปแลนด์ “กูลส” เป็นสีที่นิยมใช้เป็นพื้นตรามากที่สุด ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราวครึ่งหนึ่งของตราอาร์มของขุนนางในโปแลนด์ใช้พื้นตราสีแดงโดยมี เครื่องหมาย (Charge) ที่เป็นสีขาว หนึ่งหรือสองเครื่องหมายบนพื้น รงคตราสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของ.

ใหม่!!: นิยามของตราและสีแดง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)

หมวกเกราะ หรือ มาลา (Helmet หรือ helm) ในมุทราศาสตร์ “หมวกเกราะ” หรือ “มาลา” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่ตั้งอยู่เหนือโล่และเป็นฐานสำหรับแพรประดับและเครื่องยอด ลักษณะของหมวกเกราะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและฐานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของตรา ซึ่งวิวัฒนาการกันตลอดมาพร้อมๆ กับการวิวัฒนาการของหมวกเกราะทางทหารตามความเป็นจริงFox-Davies (1909), p. 303.

ใหม่!!: นิยามของตราและหมวกเกราะ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ผิวตรา (มุทราศาสตร์)

ผิวตรา (Tincture) ในภาษามุทราศาสตร์ “ผิวตรา” เป็นองค์ประกอบของการให้คำนิยามตราอาร์มหรือธงที่หมายถึงสีที่ใช้หรือลักษณะของผิวของตรา ผิวตราแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มๆ ที่มีสีอ่อนเรียกว่า “โลหะ”, กลุ่มๆ ที่มีสีแก่เรียกว่า “สี”, กลุ่มๆ ที่มีสีต่างจากสีหลักเรียกว่า “สีเพี้ยน” (stains), กลุ่ม “ขนสัตว์” (furs), กลุ่ม “ธรรมชาติ” (proper หรือ natural) สีกลุ่มหลังเป็นสีที่พบตามธรรมชาติ กฎพื้นฐานสองสามข้อของมุทราศาสตร์คือผิวตราในกลุ่มเดียวกันจะไม่ใช้ด้วยกันเช่นสีทองและสีเงินจะไม่ใช้ด้วยกันเพราะทั้งสองสีเป็นสีในกลุ่ม “โลหะ” แต่ผิวตราจากต่างกลุ่มกันใช้ด้วยกันได้ เช่นผิวตราจากกลุ่ม “ขนสัตว์” ใช้กันได้กับผิวตราจากกลุ่ม “ธรรมชาติ” เป็นต้น กฎเหล่านี้บรรยายในบทความกฎของผิวตรา กลุ่ม “สีเพี้ยน” มาเริ่มใช้กันในยุคกลางตอนปลายแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนักเพราะไม่ตรงกับปรัชญาของการใช้สีของมุทราศาสตร์ที่เน้นการใช้ภาพที่เด่นและสีที่สด ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็เกิดความนิยมที่ค่อนข้างแปลกที่จับคู่ระหว่างสีตรากับดาวเคราะห์ อัญมณี ดอกไม้ สัญลักษณ์โหราศาสตร์ หรืออื่นๆ แต่ก็เลิกทำกันไปและถือกันว่าเป็นเรื่องนอกขอบเขตของมุทราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมีการใช้ “ภูมิทัศน์” และผิวตรากลุ่มสี “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะในการประยุกต์ตรา โดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันมากกว่าในมุทราศาสตร์อังกฤษ แต่ความนิยมนี้ก็เช่นกันถือว่าทำให้คุณค่าของมุทราศาสตร์ลดลง.

ใหม่!!: นิยามของตราและผิวตรา (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: นิยามของตราและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

จุลมงกุฎ

ลมงกุฎของเอิร์ลแห่งสหราชอาณาจักร จุลมงกุฎ (Coronet) คือมงกุฎสำหรับผู้มีตำแหน่งรองจากพระมหากษัตริย์ที่มีเครื่องตกแต่งบนวงแหวนโลหะ จุลมงกุฎต่างจากมงกุฎตรงที่ส่วนใหญ่จะไม่มีโค้งเหนือมงกุฎเช่นที่เห็นในมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด คำว่า “Coronet” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า “Coronete” ที่มาจาก “Co(u)ronne” (Crown) จากคำว่า “Corona” ในภาษาละตินที่แปลว่าพวงหรีด จุลมงกุฎมิได้หมายความว่าเป็นมงกุฎขนาดเล็กเช่นมงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิคตอเรียซึ่งเป็นมงกุฎขนาดจิ๋ว แต่คำว่า “จุลมงกุฎ” เป็นมงกุฎที่แสดงตำแหน่งของผู้เป็นเจ้าของว่ารองจากพระมหากษัตริย์ ตามธรรมเนียมแล้วเช่นในภาษาเยอรมันของคำว่า “Adelskrone” (มงกุฎของขุนนาง) ใช้สำหรับขุนนางและเจ้าชายหรือเจ้าหญิงในตราอาร์ม แทนที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ที่จะใช้คำว่า “มงกุฎ” (Crown) ซึ่งเป็นคำที่ตามปกติจะใช้กับพระมหากษัตริย์ นอกจากจะเป็นมงกุฎเล็กแล้วก็ยังบอกฐานะหรือตำแหน่งของผู้สวมด้วย ฉะนั้นในภาษาเยอรมันจึงมีคำว่า “Rangkrone” (มงกุฎประจำตำแหน่ง) การเรียก “มงกุฎ” หรือ “จุลมงกุฎ” เป็นการบ่งฐานะอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปบางครั้งคำว่า “มงกุฎ” ก็จะใช้เรียกรวมๆ ระหว่างทั้ง “มงกุฎ” หรือ “จุลมงกุฎ” ในสหราชอาณาจักรขุนนางสืบตระกูลจะสวมจุลมงกุฎในโอกาสวันที่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งเป็นโอกาสเดียวเท่านั้นขุนนางจะสวมมงกุฎได้.

ใหม่!!: นิยามของตราและจุลมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

ธัชวิทยา

งของ ''Fédération internationale des associations vexillologiques''. ธัชวิทยา (vexillology) คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับธง ชื่อวิชา Vexillology เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดย วิทนีย์ สมิท ผู้แต่งหนังสือเรื่อง ธง และบทความเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับธง ในช่วงแรกยังนับเป็นสาขาย่อยของ"วิชาการผูกตราสัญลักษณ์" (heraldry) ซึ่งบางครั้งก็ยังถือว่าเป็นดังนั้นอยู่ นอกจากนี้ก็ยังอาจถือว่าเป็นสาขาของวิชา สัญญาณศาสตร์ (semiotics) วิชานี้ได้มีการนิยามไว้ในข้อบังคับของ สหพันธ์ธัชวิทยานานาชาติ - FIAV (Fédération internationale des associations vexillologiques) ว่าเป็น "การสร้างสรรค์และพัฒนาการว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับธงทุกประเภท ทุกรูปแบบ ทุกหน้าที่ใช้สอย และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และหลักการที่เป็นพื้นฐานแห่งความรู้นี้" บุคคลผู้ศึกษาเกี่ยวกับธงเรียกว่า "นักธัชวิทยา" (vexillologist) และเรียกผู้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบธงหรือนักออกแบบธง เป็นภาษาอังกฤษว่า vexillographer ในคำภาษาอังกฤษ Vexillology ได้มาจากการสังเคราะห์คำภาษาละติน vexillum และ หน่วยคำเติมหลัง –ology ที่แปลว่า "การศึกษาว่าด้ว..." สำหรับ vexillum หมายถึงธงประจำกองทหารโรมันในยุคคลาสสิก ธงสมัยนั้นต่างกันธงปัจจุบันตรงที่ธงปัจจุบันใช้ผูกกับเสาทางดิ่ง ส่วนธง vexillum เป็นผืนสี่เหลี่ยมจตุรัสแขวนอยู่กับแขนกางเขนทางนอนที่ยึดกับปลายหอก นักธัชวิทยารวมตัวกันในระดับนานาชาติจัดประชุมด้านธัชวิทยา (ICV - International Concress of Vexillology) ทุกๆ สองปี เมื่อ..

ใหม่!!: นิยามของตราและธัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธง

ง เป็นวัตถุใช้เป็นเครื่องหมายเพื่อสื่อสาร เช่น บอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น ส่วนใหญ่ธงจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ยังมีธงสามเหลี่ยมหรือธงรูปร่างแบบอื่นต่างกันไป.

ใหม่!!: นิยามของตราและธง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติ

งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 กลางธงมีตรานกอินทรีแห่งนโปเลียน. ธงชาติประจำประเทศต่างๆ ธงชาติเดนมาร์ก เป็นธงราชการที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ธงชาติ คือธงที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของประเทศและดินแดนต่างๆ ปกติแล้วรัฐบาลของประเทศต่างๆ ย่อมเป็นผู้กำหนดแบบธงชาติและข้อบังคับการใช้ธงชาติ หากแต่พลเมืองในแต่ละประเทศก็สามารถใช้ธงชาติในดินแดนของตนเองได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับการใช้ธงตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ ธงชาตินิยมใช้ชักตามสถานที่ต่างๆ ทั้งของเอกชนและของรัฐ เช่น โรงเรียน และศาลาว่าการเมือง แต่ในบางประเทศ ได้มีข้อกำหนดการใช้ธงชาติว่าจะชักอยู่บนอาคารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาคารทางทหารได้ในวันที่กำหนดให้ชักธงบางวันเท่านั้น ตามหลักสากล นิยมแบ่งลักษณะการใช้ธงชาติออกเป็น 3 ประเภทสำหรับใช้บนแผ่นดิน และอีก 3 ประเภทสำหรับใช้ในภาคพื้นทะเล แม้ว่าหลายประเทศมักจะใช้ธงชาติเพียงแบบเดียวในการใช้ธงหลายๆ ลักษณะ และบางทีก็ใช้ธงชาติในหน้าที่ทั้ง 6 ประเภทก็ตาม.

ใหม่!!: นิยามของตราและธงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ทรานซิลเวเนีย

ทรานซิลเวเนียสีเหลืองบนแผนที่ของโรมาเนียกับเขตแดนของประเทศต่างๆ ภูมิภาคประวัติศาสตร์ บานัต, คริซานา และ มารามัวร์ส สีเหลืองเข้ม ทรานซิลเวเนีย (Transylvania, Ardeal หรือ Transilvania; Erdély) เป็นภูมิภาคประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของโรมาเนีย โดยมีเขตแดนด้านตะวันออกและทางใต้ติดต่อกับ เทือกเขาคาร์เพเธียน (Carpathian mountains) ทางตะวันตกจรดเทือกเขาอพูเซนิ (Apuseni Mountains) แต่ “ทรานซิลเวเนีย” ที่ใช้กันมักจะรวมบริเวณที่เลยไปจากตัวทรานซิลเวเนียเองและภูมิภาคประวัติศาสตร์ของบริเวณบานัต, คริซานา (Crişana) และ มารามัวร์ส (Maramureş) ทรานซิลเวเนียเดิมเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรดาเซีย (82 ก.ค.ศ. - ค.ศ. 106) ในปี..

ใหม่!!: นิยามของตราและทรานซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

คำวิเศษณ์

ำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน.

ใหม่!!: นิยามของตราและคำวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

คำขวัญ

ำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้.

ใหม่!!: นิยามของตราและคำขวัญ · ดูเพิ่มเติม »

คำนาม

ำนาม คือคำที่ทำหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งของใด ๆ หรือชุดของสิ่งของใด ๆ เช่น สิ่งมีชีวิต วัตถุ สถานที่ การกระทำ คุณสมบัติ สถานะ หรือแนวคิด ในทางภาษาศาสตร์ คำนามเป็นหนึ่งในวจีวิภาคแบบเปิดที่สมาชิกสามารถเป็นคำหลักในประธานของอนุประโยค กรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบท หมวดหมู่คำศัพท์ (วจีวิภาค) ถูกนิยามในทางที่ว่าสมาชิกจะอยู่รวมกับนิพจน์ชนิดอื่น ๆ กฎทางวากยสัมพันธ์ของคำนามจะแตกต่างกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ คำนามคือคำที่สามารถมาพร้อมกับคำนำหน้านาม (article) และคำคุณศัพท์กำหนดลักษณะ (attributive adjective) และสามารถทำหน้าที่เป็นคำหลัก (head) ของนามวลี.

ใหม่!!: นิยามของตราและคำนาม · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: นิยามของตราและตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ตราประทับ

ตราประทับเครื่อง รูปลูกคลื่น ตราประทับ (postal marking) ในทางไปรษณีย์ หมายถึงการทำเครื่องหมายต่าง ๆ ลงบนซองจดหมาย หรือ สิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์ มีหลายประเภท มีทั้งตราที่ใช้ในงานไปรษณีย์ และตราสำหรับประทับเป็นที่ระลึกในการสะสมแสตมป.

ใหม่!!: นิยามของตราและตราประทับ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร (Royal coat of arms of the United Kingdom) เป็นตราอาร์มของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ในปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตรานี้ใช้โดยสมเด็จพระราชินีนาถในโอกาสทางราชการในฐานะพระมหากษัตรีย์แห่งสหราชอาณาจักร และ รู้จักอย่างเป็นทางการว่า “ตราอาร์มแห่งราชอาณาจักร” (Arms of Dominion) ตราอาร์มที่แปลงจากตรานี้ใช้โดยสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์อังกฤษ และ โดยรัฐบาลบริเตนในกิจการที่เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองประเทศ ในสกอตแลนด์สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีตราที่แปลงจากตรานี้ ซึ่งเป็นตราเดียวกับที่ใช้โดยรัฐบาลสกอตแลนด์ (Scotland Office) โล่ในตราแบ่งสี่ ในช่องที่หนึ่งหรือช่องบนซ้าย และช่องที่สี่หรือล่างขวาเป็นตราสิงห์สามตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในช่องที่สองหรือบนขวาเป็นสิงห์ยืนในกรอบล้อมด้วยสัญลักษณ์ดอกลิลลี ที่เป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และในช่องที่สามหรือช่องล่างซ้ายเป็นฮาร์พเกลลิค (Clàrsach) ที่เป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์เหนือ (การบรรยายเป็นไปตามหลักการให้คำนิยามของตรา) เครื่องยอด (crest) เป็นสิงห์ยืนหันหน้าหน้าสวมมงกุฎอิมพีเรียลสเตทบนหัวและยืนบนสัญลักษณ์ของมงกุฎเดียวกัน ประคองข้าง (Supporters) ด้านซ้ายเป็นสิงห์ยืนผงาดสวมมงกุฎ ประคองข้างด้านขวาเป็นยูนิคอร์นเงินแห่งสกอตแลนด์ ตามตำนานยูนิคอร์นที่เป็นอิสระเป็นสัตว์ที่อันตราย ฉะนั้นยูนิคอร์นที่ใช้ในอิสริยาภรณ์จึงเป็นยูนิคอร์นที่ล่ามโซ่ เช่นเดียวกับยูนิคอร์นสองตัวที่ประคองข้างตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ ตรามีคำขวัญของทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (Dieu et Mon Droit) “พระเจ้าและสิทธิแห่งข้า” และ คำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ “ความละอายจงมาสู่ผู้คิดร้าย” (Honi soit qui mal y pense) บนแถบอยู่รอบโล่หลังตร.

ใหม่!!: นิยามของตราและตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ประคองข้าง (มุทราศาสตร์)

ประคองข้าง (Supporters) ในมุทราศาสตร์ “ประคองข้าง” เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นมักจะตั้งอยู่สองข้างของโล่ (Escutcheon) ในท่าประคอง รูปที่ใช้อาจจะเป็นสิ่งที่มีจริงหรือสิ่งจากจินตนาการที่รวมทั้งมนุษย์, สัตว์, พันธุ์ไม้ หรือองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม และอื่นๆ สิ่งที่ใช้มักจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อเจ้าของตรา เช่นชาวประมงและคนทำเหมืองของตราของแคว้นคอร์นวอลล์ หรือมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์ เช่นสิงโตของอังกฤษและยูนิคอร์นของสกอตแลนด์ในตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร หรือตราของริโอกรานเดเดอนอร์เตในบราซิลที่มีต้นมะพร้าวและปาล์มเป็นประคองข้าง “ประคองข้าง” ที่เป็นมนุษย์อาจจะเป็นอุปมานิทัศน์หรือนักบุญ โดยทั่วไปแล้วประคองข้างมักจะตั้งอยู่สองข้างของโล่แต่ก็มีบางตราที่มีประคองข้างเพียงข้างเดียวเช่นตราของสาธารณรัฐคองโก หรือของเมืองเพิร์ธในสกอตแลนด์ ถ้าเป็นสัตว์ก็มักจะเป็นท่า “ยืนผงาด” (rampant) ซึ่งเป็นท่ายืนบนเท้าหลัง สองขาหน้ายกขึ้นประคองตร.

ใหม่!!: นิยามของตราและประคองข้าง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: นิยามของตราและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวีเดน

วีเดน (Sweden; สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคาลมาร์ ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ในช่วงเวลานี้ ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน) สวีเดนได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รบสู้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะรัสเซีย และเดนมาร์กกับนอร์เวย์ที่ยังเป็นสหภาพอยู่ ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในคริสศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายเขตด้วยสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจด้วยขนาด 2 เท่าของปัจจุบัน ถึง..

ใหม่!!: นิยามของตราและประเทศสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: นิยามของตราและประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโครเอเชีย

รเอเชีย (Croatia; Hrvatska) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia; Republika Hrvatska) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต ชาวโครเอเชียลงประชามติรับรองการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลในกลางปี 2013 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 28.

ใหม่!!: นิยามของตราและประเทศโครเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

แพรประดับ (มุทราศาสตร์)

แพรประดับ (Torse) ในมุทราศาสตร์ “แพรประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นที่มีลักษณะเหมือนมาลาที่ทำด้วยผ้าบิดเป็นเกลียวบนหมวกเกราะและเครื่องยอด ที่ใช้รัดพู่ประดับ (mantling) ให้อยู่กับที่ “แพรประดับ” ก็เช่นเดียวกับพู่ประดับหมวกเกราะจะเป็นสองสีที่เป็นคู่สีเดียวกัน ที่ทำจากสายริบบิ้นสองสายบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันที่เป็นสี (Tincture) เดียวกับสีหลักของโล่ซึ่งเป็นสีประจำเหล่า “แพรประดับ” มักจะเรียกว่า “มาลาประดับ” (Wreath) “แพรประดับ” บางครั้งก็จะใช้ถือโดยนักรบครูเสดเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ได้รับจากสตรีที่เป็นที่รักเมื่อจากไปสงคราม คล้ายกับผ้าเช็ดหน้าไว้ผูกรอบหมวกเกราะ หรือผูกตรงรอยต่อระหว่างหมวกกับเครื่องยอดเช่น “On a wreath of the colours x and y…” (“บนมาลาประดับเป็นสี ก และ ข”) แพรประดับของตราแผ่นดินของแคนาดานิยามว่า “On a wreath of the colours Argent and Gules, a lion passant guardant Or” (“บนมาลาประดับเป็นสีขาวและสีแดง, สิงโตยืนยกเท้าหน้าสีทอง”) “แพรประดับ” นอกจากนั้นแพรประดับก็ยังใช้ในการตกแต่งสัตว์ในมุทราศาสตร์ที่อาจจะแต่งเป็นมงกุฎหรือเป็นมาลัยคล้องคอ ไฟล์:Lev vyskakujici.svg|สิงโตครึ่งตัวบนแพรประดับ ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|ตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:30FARegtCOA.jpg|ตราอาร์มของ 30th Field Artillery Regiment Coat Of Arms ของสหรัฐอเมริกา ไฟล์:Chadderton Urban District Council - coat of arms.png|ตราของอดีตเทศบาลเมืองแชดเดอร์ทันในอังกฤษ ไฟล์:Coat of arms of Northwest Territories.svg|ตราของ Northwest Territories ในแคน.

ใหม่!!: นิยามของตราและแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

แดลเมเชีย

แดลเมเชีย (Dalmatia) หรือ ดัลมาตซียา (Dalmacija) คือภูมิภาคในบริเวณฝั่งตะวันออกของทะเลเอเดรียติกที่ในประเทศโครเอเชียปัจจุบัน บริเวณนี้รวมตั้งแต่เกาะราบทางตะวันตกเฉียงเหนือและอ่าวโคทอร์ทางตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: นิยามของตราและแดลเมเชีย · ดูเพิ่มเติม »

โล่ (มุทราศาสตร์)

ล่ หรือ โล่ภายในตรา (Escutcheon หรือ scutcheon) ในมุทราศาสตร์ “โล่” เป็นองค์ประกอบที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น บางครั้งก็จะมีการใช้คำว่า “Crest” (“เครื่องยอด”) แทน “Escutcheon” หรือ “โล่กลางตรา” ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง รูปทรงของ “โล่กลางตรา” มาจากรูปทรงของโล่ที่ใช้โดยอัศวินในการต่อสู้ในยุคกลาง รูปทรงที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่นและยุคสมัย เพราะโล่เป็นเครื่องหมายของสงครามจึงเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับบุรุษเท่านั้น สตรีชาวอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วจะใช้โล่ทรงข้าวหลามตัด (Lozenge) ขณะที่สตรีและนักบวชบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปใช้ทรงทรงคาร์ทูช (Cartouche) หรือทรงรูปไข่ ทรงอื่นที่ใช้กันก็มีทรงกลม (roundel) ที่มักจะใช้โดยตราสำหรับชนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ที่มอบให้โดยสำนักงานมุทราศาสตร์แห่งแคนาดา (Canadian Heraldic Authority) คำว่า “Escutcheon” มาจากภาษาอังกฤษกลาง “escochon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “escuchon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “Escochon” ที่มาจากภาษาลาตินพื้นบ้าน (Vulgar Latin) “scūtiōn-” จากภาษาลาติน “scūtum” ที่แปลว่า “โล่” จากความหมายนี้ในมุทราศาสตร์ คำว่า “Escutcheon” สามารถหมายถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของตระกูลและเกียรติยศของตระกูล คำว่า “inescutcheon” หรือ “โล่ใน” เป็นโล่ที่มีขนาดเล็กกว่าโล่หลักที่ตั้งอยู่ในบริเวณโล่หลัก ที่อาจจะใช้สำหรับ “pretense” หรือการวางโล่เหนือโล่อีกโล่หนึ่งของตนเอง ซึ่งคือการวางโล่เหนือโล่หรือสัญลักษณ์ของดินแดนในปกครอง หรือ เพียงเพื่อเป็นเครื่องหมายตกแต่งโดยไม่มีความหมายลึกไปกว่านั้น.

ใหม่!!: นิยามของตราและโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ไทป์เฟซ

ตัวอย่างการทดสอบการพิมพ์ไทป์เฟซด้วยขนาดและภาษาต่างๆ ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร (typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคน.

ใหม่!!: นิยามของตราและไทป์เฟซ · ดูเพิ่มเติม »

เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

รขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์ อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: นิยามของตราและเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เออร์มิน

ออร์มิน หรือ สโทธ หรือ เพียงพอนหางสั้น (Ermine, Stoat, Short-tailed weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกวีเซล หรือเพียงพอน เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปยุโรป, ยูเรเชีย และอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8-11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6-13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, ป่าละเมาะ, เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นก และสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวี หรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกเหล่านี้ ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: นิยามของตราและเออร์มิน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

รื่องยอด (Crest) เป็นองค์ประกอบของตราอาร์มที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่เหนือหมวกเกราะเหมือนหงอนที่อยู่บนหัวนกบางชนิด เครื่องยอดแรกที่สุดของอิสริยาภรณ์เป็นภาพที่เขียนบนพัดโลหะ ที่มักจะนำมาใช้ในการประดับตราอาร์ม ที่เขียนบนโล่ ที่ต่อมาเลิกใช้ไป ต่อมาเครื่องยอดใช้แกะบนหนังหรือวัสดุอื่น เดิม “เครื่องยอด” มักจะติดต่อลงมายังพู่ประดับ แต่ปัจจุบันเครื่องยอดมักจะอยู่เหนือผ้าคาด (torse) ที่ประกอบด้วยสีหลักของโล่ (สีประจำเหล่า) แต่บางครั้งก็จะมีการใช้จุลมงกุฎแทนผ้าคาด แต่ก็มีบ้างในบางกรณีก็มีจุลมงกุฎเหนือผ้าคาดและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยอด เครื่องยอดจุลมงกุฎที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือรูปสัญลักษณ์ของจุลมงกุฎดยุก ที่มีสี่แฉกแทนที่จะเป็นแปดแฉก ถ้าเป็นเครื่องยอดของเมืองก็มักจะเป็น “มงกุฎเชิงเทิน” (mural crown) หรือจุลมงกุฎในรูปของหยักเชิงเทิน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องยอดก็อาจจะเป็นสัตว์โดยเฉพาะสิงโต ตามปกติมักจะเป็นครึ่งด้านหน้า, มนุษย์ที่มักจะเป็นรูปครึ่งตัว, แขนหรือมือถืออาวุธ หรือปีกนก ในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงเครื่องยอดมักจะนำมาจากเครื่องหมายประจำกลุ่มในรูปของหมวกสูง, ขนนกบนหมวกสลับสี หรือแตรงอนคู่ แตรอาจจะมีรูตรงปลายเพื่อเสียบช่อขนนกหรือช่อดอกไม้.

ใหม่!!: นิยามของตราและเครื่องยอด (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

รื่องหมาย (Charge) ในมุทราศาสตร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นเครื่องหมายที่อาจจะเป็นตราสัญลักษณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นตราของโล่ภายในตรา ซึ่งอาจจะเป็นลายเรขาคณิต (บางครั้งเรียกว่า “แถบ”) หรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับของบุคคล สัตว์ สิ่งของ หรือ สิ่งอื่นๆ ในนิยามของตราของฝรั่งเศสแถบเรียกว่า “pièces” และเครื่องหมายอื่นๆ เรียกว่า “mobile” ซึ่งเป็นคำคำพ้องรูปพ้องเสียง (homonym) กับคำว่า “meuble” ในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันที่แปลว่าเครื่องเรือน การแบ่งเครื่องหมายออกเป็น “แถบ” หรือ “แถบย่อย” และกลุ่มอื่นๆ เป็นระเบียบใหม่ที่เป็นที่คัดค้านโดยนักเขียนเกี่ยวกับมุทราศาสตร์หลายคนที่รวมทั้งฟ็อกซ์-เดวิส ความสำคัญและความหมายของเครื่องหมายจะได้รับการระบุในนิยามของตรา คำว่า “charge” (“เครื่องหมาย”) อาจจะใช้เป็นคำกิริยา เช่นถ้าโล่มีสิงห์โตสามตัวก็จะนิยามว่า charged with three lions (เครื่องหมายด้วยสิงห์สามตัว) หรือ เครื่องยอดหรือตัว “เครื่องหมาย” เองก็อาจจะเป็น “เครื่องหมาย” ได้ เช่นเป็นปีกเหยี่ยวคู่ charged with trefoils (เป็นเครื่องหมายจิกสามแฉก) (เช่นตราแผ่นดินของบรันเดินบวร์ค) สิ่งสำคัญคือการแสดงความแตกต่างระหว่าง “แถบ” (ordinaries) กับ “ช่องตรา” (divisions of the field) เพราะเครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ใช้วิธีนิยามเดียวกัน เช่นโล่ divided "per chevron" (ช่องแบ่งด้วยแถบเชฟรอน) ที่ต่างจาก charged with chevron (เป็นเครื่องหมายเชฟรอน) สิ่งต่างที่ใช้เป็นเครื่องหมายมาจากธรรมชาติ ตำนาน หรือเทคโนโลยี สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องหมายก็ได้แก่กางเขนที่เป็นเครื่องหมายของคริสต์ศาสนา เหยี่ยว สิงห์โต หรือ สิ่งก่อสร้าง.

ใหม่!!: นิยามของตราและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BlazonBlazonedนิยามของตราอาร์ม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »