โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด

ดัชนี กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด

กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด (antiphospholipid syndrome) หรือกลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด แอนติบอดี้ (antiphospholipid antibody syndrome) (APS, APLS) หรือกลุ่มอาการฮิวจส์ (Hughes syndrome) เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่ทำให้มีภาวะเลือดแข็งตัวง่ายกว่าปกติอย่างหนึ่ง เกิดจากการมีแอนติบอดีต่อฟอสโฟไลปิด (antiphospholipid antibody) โรคนี้กระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดทั้งในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่น การแท้ง การตายคลอด การคลอดก่อนกำหนด และครรภ์เป็นพิษรุนแรง เป็นต้น หมวดหมู่:การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หมวดหมู่:วิทยารูมาติก หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:สูติศาสตร์ หมวดหมู่:กลุ่มอาการ.

11 ความสัมพันธ์: ฟอสโฟลิพิดการจับลิ่มของเลือดการคลอดก่อนกำหนดการตั้งครรภ์การแท้งสารภูมิต้านทานหลอดเลือดดำหลอดเลือดแดงทารกตายคลอดโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักโรคภูมิต้านตนเอง

ฟอสโฟลิพิด

Two schematic representations of a phospholipid. ฟอสโฟลิพิด (อังกฤษ:Phospholipids) เป็นโมเลกุลที่เกิดจาก 4 ส่วนประกอบ คือ.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและฟอสโฟลิพิด · ดูเพิ่มเติม »

การจับลิ่มของเลือด

The classical blood coagulation pathway การแข็งตัวของเลือด (coagulation) คือกระบวนการซึ่งทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มเลือด เป็นกลไกสำคัญของการห้ามเลือด ทำให้เกล็ดเลือดจับกับไฟบรินกลายเป็นลิ่มเลือด อุดรอยรั่วของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่ไหลออกจากหลอดเลือด หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระบวนการนี้อาจทำให้เลือดไม่แข็งตัวอย่างที่ควรจะเป็น เกิดเลือดออกง่าย หรือเลือดแข็งตัวง่ายกว่าที่ควรจะเป็น เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด กระบวนการการแข็งตัวของเลือดเป็นกระบวนการที่มีการคงอยู่ในระบบพันธุกรรมสูงมาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีกลไกการแข็งตัวของเลือดที่ได้รับการพัฒนาสูง กระบวนการนี้ประกอบขึ้นจากสองส่วนคือส่วนของเซลล์ (เกล็ดเลือด) และส่วนของโปรตีน (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ระบบการแข็งตัวของเลือดในมนุษย์ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างมาก จึงเป็นที่เข้าใจมากที่สุด กลไกการแข็งตัวของเลือดเริ่มต้นขึ้นแทบจะทันทีที่เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด เกิดการเว้าแหว่งของผนังหลอดเลือด เมื่อเลือดได้สัมผัสกับโปรตีนที่อยู่นอกหลอดเลือด เช่น tissue factor ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและไฟบริโนเจนซึ่งเป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง เกล็ดเลือดจะมาจับที่จุดบาดเจ็บทันที เป็นกระบวนการห้ามเลือดขั้นปฐมภูมิ จากนั้นกระบวนการห้ามเลือดขั้นทุติยภูมิก็จะเริ่มขึ้นพร้อมๆ กัน โปรตีนต่างๆ ในเลือดที่รวมเรียกว่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะมีการกระตุ้นปฏิกิริยาอย่างเป็นลำดับและซับซ้อน จนสุดท้ายแล้วทำให้เกิดเส้นใยไฟบรินขึ้น ซึ่งจะเสริมความแข็งแรงของก้อนเกล็ดเลือดที่จับกันอยู.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและการจับลิ่มของเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนด (preterm birth) นั้นสำหรับมนุษย์มักหมายถึงการคลอดทารกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มักมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เรียกว่า “ทารกน้ำหนักน้อย” ถ้าคลอดก่อน 30-32 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่า 1,500 กรัม เรียกว่า “ทารกน้ำหนักน้อยมาก” สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดนั้นในหลายครั้งมักไม่ปรากฏสาเหตุชัดเจน ปัจจัยที่มีผลหรือสัมพันธ์กับการเกิดการคลอดก่อนกำหนดนั้นมีหลายอย่างมาก ทำให้ความพยายามในการลดการคลอดก่อนกำหนดนั้นเป็นการยากอย่างยิ่ง premature birth มักใช้ในความหมายเดียวกันกับ preterm birth หมายถึงการที่ทารกคลอดก่อนที่อวัยวะต่างๆ จะเจริญเต็มที่พอที่จะมีชีวิตรอดและเจริญเติบโตได้ ทารกที่ premature จะมีความเสี่ยงสูงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงอาจมีความผิดปกติในการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสติปัญญาได้ด้วย ในปัจจุบันการดูแลทารก premature มีความก้าวหน้ามาก แต่ยังไม่สามารถลดความชุก (prevalence) ของการคลอดก่อนกำหนดได้ ปัจจุบันการคลอด preterm เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการมีทารก premature และเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราตายแรกเกิด (neonatal mortality) ในประเทศที่กำลังพัฒน.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและการคลอดก่อนกำหนด · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การแท้ง

การแท้ง (abortion) คือการยุติการตั้งครรภ์โดยการนำทารกในครรภ์หรือเอ็มบริโอออกจากมดลูกก่อนให้กำเนิด เมื่อเกิดโดยไม่เจตนามักเรียกว่า การแท้งเอง และเรียกว่า การทำแท้ง เมื่อทำโดยเจตนา เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม การทำแท้งในประเทศพัฒนาแล้วเป็นหนึ่งในกระบวนการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยที่สุด แพทย์แผนปัจจุบันทำแท้งด้วยยาหรือศัลยกรรม การใช้ยาไมฟีพริสโตน (mifepristone) ร่วมกับโพรสตาแกลนดินเป็นวิธีทำแท้งแบบใช้ยาที่ปลอดภัยและให้ประสิทธิผลดีระหว่างไตรมาสแรกกับไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ หลังการแท้งสามารถใช้การคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือ ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ได้ทันที การทำแท้งไม่เพิ่มโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคทั้งทางจิตและทางกายภาพเมื่อทำอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ในทางตรงข้าม การทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัย เช่น การทำแท้งโดยผู้ไม่มีทักษะ การทำแท้งด้วยอุปกรณ์ไม่ปลอดภัย หรือการทำแท้งในสถานที่ไม่สะอาด นำไปสู่การเสียชีวิตของคนกว่า 47,000 คน และทำให้คนกว่า 5 ล้านคนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนมีทางเลือกที่จะทำแท้งอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ในแต่ละปีมีการทำแท้งเกิดขึ้นประมาณ 56 ล้านครั้งทั่วโลก โดยมีประมาณ 45% ที่ทำอย่างไม่ปลอดภัย อัตราการทำแท้งแทบไม่เปลี่ยนแปลงระหว่าง..

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและการแท้ง · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและสารภูมิต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำ

ในระบบไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำพาเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ หน้าที่หลักของหลอดเลือดดำคือการขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจ ยกเว้นหลอดเลือดดำจากปอด (pulmonary vein) และหลอดเลือดดำอัมบิลิคัล (umbilical vein) ที่ขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูง.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดง

หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่มีชั้นกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ หลอดเลือดแดงทุกเส้นขนส่งเลือดที่มีออกซิเจน ยกเว้นหลอดเลือดแดงสู่ปอด (pulmonary artery) และหลอดเลือดแดงอัมบิลิคัล (umbilical artery) ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต หน้าที่โดยทั่วไปของระบบนี้คือการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ รวมทั้งขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียออกจากเนื้อเยื่อ รักษา pH ให้เหมาะกับการดำรงชีวิต รวมถึงการขนส่งสาร โปรตีนอาทิฮีโมโกลบิน และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุของการเสียชีวิต 2 อันดับแรกคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นผลมาจากความผิดปกติของการไหลของเลือดซึ่งเสื่อมสภาพไปตามอายุ (ดูเพิ่มที่ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง) หมวดหมู่:ระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและหลอดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ทารกตายคลอด

ทารกตายคลอดนั้นเสียชีวิตตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในมดลูก โดยหากเสียชีวิตก่อนจะถึงอายุครรภ์ที่ถือว่าสามารถเลี้ยงให้รอดได้จะเรียกว่าการแท้ง ในไทยถือเอาอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ หรือน้ำหนัก 600 กรัม เป็นเกณฑ์ตัดสิน แต่เกณฑ์นี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมแพทย์ในโรงพยาบาลนั้น ๆ หมวดหมู่:ภาวะเจริญพันธุ์ หมวดหมู่:ประชากรศาสตร์ หมวดหมู่:สูติศาสตร์ หมวดหมู่:มุมมองการแพทย์เกี่ยวกับความตาย.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและทารกตายคลอด · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก

รคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (Preeclampsia) คือกลุ่มอาการทางการแพทย์ที่มีลักษณะคือเกิดมีภาวะความดันเลือดสูงและภาวะปัสสาวะมีโปรตีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกินกว่า 20 สัปดาห์ และไม่มีความดันเลือดสูงมาก่อน แบ่งออกเป็นชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากการที่มีสารที่สร้างจากรกที่พัฒนาผิดปกติไปทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดของมารดา อาการที่รุนแรงหลายอย่างของโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักเกิดจากการมีความเสียหายต่อเซลล์เยื่อบุของอวัยวะต่างๆ ของมารดา รวมถึงไต และตั.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรคภูมิต้านตนเอง

โรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune disease) เกิดจากภาวะภูมิต้านตนเองที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดตอบสนองต่อสารหรือเนื้อเยื่อที่มีอยู่เป็นปกติในร่างกาย อาจเกิดกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง (เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบภูมิต้านตนเอง) หรือเนื้อเยื่อประเภทหนึ่งๆ ในบริเวณต่างๆ (เช่น กลุ่มอาการกูดปาสเจอร์ ที่เกิดภูมิต้านตนเองต่อชั้น basement membrane ของปอดและไต) ก็ได้ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดและโรคภูมิต้านตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Antiphospholipid Antibody SyndromeAntiphospholipid antibody syndromeAntiphospholipid syndromeกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิดกลุ่มอาการแอนตี้ฟอสโฟไลปิด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »