โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอออร์ตาส่วนขึ้น

ดัชนี เอออร์ตาส่วนขึ้น

อออร์ตาส่วนขึ้น (Ascending aorta หรือเรียกโดยย่อว่า AAo) คือบางส่วนของเอออร์ตา เริ่มต้นที่ส่วนบนสุดของโคนของหัวใจห้องล่างซ้าย ในระดับเดียวกันกับขอบด้านล่างของกระดูกซี่โครงอ่อนลำดับสาม ด้านหลังครึ่งซ้ายของกระดูกสันอก มันผ่านโดยอ้อมขึ้นไปทางด้านบนต่อเนื่อง และไปทางด้านขวา ในทิศทางของแกนหัวใจ สูงสุดเทียบเท่าขอบด้านบนของกระดูกซี่โครงอ่อนลำดับสองทางขวา กล่าวคือ โค้งลงเล็กน้อยในวิถีทางของมัน และเริ่มตั้งอยู่ประมาณ 6 เซนติเมตร (2.4 นิ้ว) ข้างหลังของพื้นผิวด้านหลังของกระดูกสันอก รวมความยาวได้ประมาณ 5 เซนติเมตร (2.0 นิ้ว).

6 ความสัมพันธ์: กระดูกสันอกหลอดเลือดแดงสู่ปอดปอดแอ่งเลือดโคโรนารีเยื่อหุ้มหัวใจเอออร์ตา

กระดูกสันอก

กระดูกสันอก (Sternum) เป็นกระดูกชนิดกระดูกแบบแบน (Flat bone) ที่วางตัวอยู่ตรงกลางของทรวงอก และติดต่อกับกระดูกซี่โครงโดยข้อต่อและกระดูกอ่อนซี่โครง (costas cartilage) เพื่อประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งของผนังช่องอก เพื่อป้องกันโครงสร้างที่อยู่ภายในช่องอกจากการกระทบกระเทือน นอกจากนี้ยังมีข้อต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) ซึ่งเป็นกระดูกที่ค้ำจุนส่วนไหล่อีกด้ว.

ใหม่!!: เอออร์ตาส่วนขึ้นและกระดูกสันอก · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงสู่ปอด

หลอดเลือดแดงสู่ปอด หรือ พัลโมนารีอาร์เทอรี (Pulmonary artery) เป็นหลอดเลือดแดงซึ่งนำเลือดที่ปราศออกซิเจนจากหัวใจเข้าสู่ปอด ซึ่งถือว่าเป็นหลอดเลือดแดงเพียงชนิดเดียวที่บรรจุเลือดแดงที่ปราศออกซิเจน ในหัวใจของมนุษย์ หลอดเลือดแดงสู่ปอดทั้งหลายจะมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณหัวใจห้องล่างขวา ซึ่งเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ราว 3 เซนติเมตรแต่สั้นประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วแตกกิ่งออกเป็นสองเส้น (ซ้ายกับขวา) ซึ่งนำเลือดที่ปราศออกซิเจนไปสู่ปอด และเข้าสู่หลอดเลือดผอยบริเวณถุงลมของปอด เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์บางส่วนออกไปและรับออกซิเจนเข้ามา ซึ่งเป็นหนึ่งกระบวนการของระบบหายใจ ความดันหลอดเลือดแดงสู่ปอดของมนุษย์จะอยู่ที่ 9 - 18 มม.ปรอท 2009 ในขณะที่ความดันหลอดเลือดฝอยในปอดจะอยู่ที่ไม่เกิน 25มม.ปรอท หากเกินกว่านี้แสดงถึงภาวะความดันโลหิตในปอดสูง.

ใหม่!!: เอออร์ตาส่วนขึ้นและหลอดเลือดแดงสู่ปอด · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: เอออร์ตาส่วนขึ้นและปอด · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งเลือดโคโรนารี

แอ่งเลือดโคโรนารี (Coronary sinus) คือ แอ่งที่มีการรวมหลอดเลือดเวนเส้นต่างๆเข้าด้วยกันกลายเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่รับเลือดจากกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) และส่งเลือดซึ่งมีแก๊สออกซิเจนต่ำไปยังหัวใจห้องบนขวา (right atrium) เช่นเดียวกับหลอดเลือดเวนาคาวาด้านบนและหลอดเลือดเวนาคาวาด้านล่างที่รับเลือดเสียจากส่วนต่างๆของร่างกายแล้วส่งไปยังหัวใจห้องบนขวา โดยแอ่งเลือดโคโรนารีนั้นสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมรวมทั้งมนุษย์ด้วย แอ่งเลือดโคโรนารีเปิดเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาที่รูเปิดโคโรนารี ไซนัส ซึ่งอยู่บริเวณระหว่างหลอดเลือดเวนาคาวาด้านล่างกับรูเปิดแอนตริโอเวนตริคูลาร์ด้านขว.

ใหม่!!: เอออร์ตาส่วนขึ้นและแอ่งเลือดโคโรนารี · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มหัวใจ

ื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) เป็นเยื่อหุ้มสองชั้นที่มีลักษณะเหนียวและมีความแข็งแรงทนทาน โดยช่องว่างระหว่างเยื้อหุ้มทั้งสองชั้นจะมีของเหลวบรรจุอยู่ซึ่งมีหน้าที่ช่วยปกป้องหัวใจจากการกระตุกและการช็อก เยื่อหุ้มหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชั้นหลักๆได้แก่.

ใหม่!!: เอออร์ตาส่วนขึ้นและเยื่อหุ้มหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

เอออร์ตา

อออร์ตา เป็นหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เริ่มต้นจากหัวใจห้องล่างซ้าย และนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระบบการไหลเวียนเลี้ยงกาย (systemic circulation).

ใหม่!!: เอออร์ตาส่วนขึ้นและเอออร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AAoAscending aorta

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »