โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

8 สปรูซสตรีท

ดัชนี 8 สปรูซสตรีท

8 สปรูซสตรีท (8 Spruce Street) หรือเดิม บีคแมนทาวเวอร์ (Beekman Tower) หรือชื่อเพื่อทางการค้า นิวยอร์กบายเกห์รี (New York by Gehry) เป็นอาคารระฟ้า 76 ชั้น ตั้งอยู่ในถนนสปรูซหมายเลข 8 แมนฮัตตัน, นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา ได้รับการออกแบบโดยแฟรงก์ เกห์รี สถาปนิกเจ้าของรางวัลพริตซ์เกอร์สัญชาติแคนาดา-อเมริกัน 8 สปรูซสตรีท ได้กลายเป็นหนึ่งในอาคารที่อยู่อาศัยที่สูงที่สุดในโลก และเป็นอาคารที่อยู่อาศัยที่สูงที่สุดในฝั่งตะวันตกของเกาะในขณะนั้น (ในช่วงวันเปิดอาคารปี 2011) อาคารได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ฟอเรสต์ซิตี้แรทเนอร์ (Forest City Ratner) มีวิศวกรจากบริษัท ดับเบิลยูเอสพีกรุ๊ป (WSP Group) และดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัท คริสเลอร์บอร์กฟลอร์แมน (Kreisler Borg Florman) ภายในอาคารประกอบด้วยโรงเรียนอนุบาล-ประถมศึกษาซึ่งเป็นของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 5 ชั้น และเหนือจากชั้นต่อๆไปเป็นห้องพักเช่าหรู (เช่าอย่างเดียว ไม่จำหน่าย All units are rental-only; none are available for purchase.) ซึ่งประกอบด้วยห้องตั้งแต่ 1-3 ห้องนอน ทั้งหมดจำนวน 904 ยูนิต 8 สปรูซสตรีทถือเป็นหนึ่งในอาคารไม่กี่แห่งในย่านธุรกิจใจกลางนิวยอร์ก ที่ใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ประยุกต์เข้ากับลวดลายโค้งของน้ำภายนอกอาคาร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลัทธิคตินิยมเปลี่ยนแนวแบบเกห์รีได้อย่างชัดเจน ในปี 2011 8 สปรูซสตรีท ได้รับรางวัล เอ็มโพริสสคายสแครเปอร์ (Emporis Skyscraper Award) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับการออกแบบอาคารยอดเยี่ยมทั้งฟังก์ชันและการออกแบบ แต่ถึงอย่างไรก็ดีอาคารแห่งนี้ก็มีราคาเช่าต่อตารางฟุตสูงที่สุดแห่งหนึ่งในแมนฮัตตัน.

9 ความสัมพันธ์: รางวัลพริตซ์เกอร์สหรัฐคอนกรีตเสริมแรงคตินิยมเปลี่ยนแนวตึกระฟ้านิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)นครนิวยอร์กแฟรงก์ เกห์รีแมนแฮตตัน

รางวัลพริตซ์เกอร์

รางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) เป็นรางวัลประจำปีที่มูลนิธิไฮแอตต์ (Hyatt) มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน (ขณะพิจารณารางวัล) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยเจย์ พริตซ์เกอร์ (Jay Pritzker) เป็นการพิจารณาให้รางวัลแก่งานสถาปัตยกรรมดีเด่นที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลคือการสร้างนวัตกรรมที่ดีและมีคุณภาพ เสริมสร้างและบูรณาการการใช้เทคโนโลยีที่ดีในการก่อสร้าง สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ รางวัลนี้เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและรางวัลพริตซ์เกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

คอนกรีตเสริมแรง

หล็กเสริมจะถูกดัดเป็นรูปร่าง และวางอยู่ภายในคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตเสริมแรง (reinforced concrete หรือ ferro concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการใช้วัสดุอื่นเข้ามาช่วย เช่น เหล็ก หรือ ไฟเบอร์ หรือในบางครั้งใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต คือความเปราะ คอนกรีตเสริมแรงนิยมเรียกว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการเสริมแรง การใช้งานคอนกรีตเสริมแรงเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมักจะมีการกล่าวถึง สวนฝรั่งเศสชื่อ Monier สร้างในปี พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ภายหลังจากความสำเร็จของระบบคอนกรีตเสริมแรง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการคิดระบบที่เรียก คอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete).

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและคอนกรีตเสริมแรง · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมเปลี่ยนแนว

ลักษณะสถาปัตยกรรมในคตินิยมเปลี่ยนแนว พิพิธภัณฑ์ Imperial War Museum North ออกแบบโดย Daniel Libeskind สะพาน คตินิยมเปลี่ยนแนว (deconstructivism) หรืออาจเรียกว่า การเปลี่ยนแนว (deconstruction) เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่พัฒนาจากสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่ ที่เริ่มช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยมีเอกลักษณ์จากรูปแบบการแตกกระจาย, ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของโครงสร้างหรือเปลือก, รูปร่างที่ไม่ใช่เส้นตรง ที่ทำให้เกิดการทำให้บิดเบี้ยวและความไม่เป็นระเบียบขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม อย่างเช่นโครงสร้างและสิ่งห่อหุ้ม ภาพปรากฏของอาคารที่เห็นจะมีเอกลักษณ์ที่เร่งเร้าสิ่งที่คาดไม่ถึงและความยุ่งเหยิงที่ถูกควบคุม เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวของนักนิยมเปลี่ยนแนว อย่างเช่นงานการแข่งขันการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ปาร์กเดอลาวีแล็ต (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลงานการเข้าแข่งขันของฌัก แดรีดา และปีเตอร์ ไอเซนมาน และผลงานชนะเลิศของเบอร์นาร์ด ชูมี, งานนิทรรศการสถาปัตยกรรมตามคติเปลี่ยนแนวที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในปี ค.ศ. 1988 ที่นิวยอร์ก จัดขึ้นโดยฟิลิป จอห์นสันและมาร์ก วิกลีย์ และงานเปิดของเวกซ์เนอร์เซนเตอร์ฟอร์ดิอาตส์ ในโคลัมบัส ออกแบบโดยปีเตอร์ ไอเซนมาน และงานนิทรรศการเดอะนิวยอร์กเอกซิบิชัน ที่มีผลงานของแฟรงก์ เกห์รี, แดเนียล ลิเบส์ไคนด์, แร็ม โกลฮาส, ปีเตอร์ ไอเซนมาน, ซาฮ่า ฮาดิด, Coop Himmelb(l)au และบอร์นาร์ด ชูมี จุดเริ่มต้น มีสถาปนิกหลายท่านรู้จักรูปแบบคตินิยมเปลี่ยนแนว ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ฌัก แดรีดา โดยไอเซนมานได้พัฒนาความสัมพันธ์กับแดรีดา ถึงกระนั้นรูปแบบการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของเขาก็พัฒนามานานก่อนที่จะมาเป็นนักนิยมเปลี่ยนแนว ผู้มีงานคตินิยมเปลี่ยนแนวหลายคนมักได้รับอิทธิพลจากการทดลองจากกฎเกณฑ์ทั่วไปและการทำรูปทรงเรขาคณิตให้ไม่สมดุลของสถาปัตยกรรมคตินิยมโครงสร้าง (รัสเซีย) นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงในการเคลื่อนไหวสถาปัตยกรรมคตินิยมเปลี่ยนแนว อย่างนวยุคนิยม/คตินิยมหลังนวยุค, บาศกนิยม, ลัทธิจุลนิยม และศิลปะร่วมสมัย ความพยายามของสถาปัตยกรรมในคตินิยมเปลี่ยนแนว คือการพยายามนำสถาปัตยกรรมออกจากที่ผู้ออกแบบเรียกว่า กฎตายตัวของนวยุคนิยม อย่างเช่น "รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอย", "สัจจะแห่งรูปทรง" และ "เนื้อแท้แห่งวัสดุ".

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและคตินิยมเปลี่ยนแนว · ดูเพิ่มเติม »

ตึกระฟ้า

ูร์จคาลิฟา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดของโลก ตั้งอยู่ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตึกระฟ้า (skyscraper) ในยุโรปจะหมายถึงตึกที่มีความสูง 152.4 เมตรขึ้นไป (แต่กับทวีปอื่นๆ จะใช้มาตรฐานที่แตกต่างกันไป) โดยตึกระฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น ยังไม่มีตึกที่สูงเกินกว่า 6 ชั้น เนื่องจากผู้คนไม่ต้องการเดินขึ้นบันไดสูง และไม่สามารถปั๊มน้ำให้สูงเกินกว่า 15 เมตรได้ ตึกระฟ้าเริ่มเป็นไปได้หลังจากความสำเร็จในการพัฒนาเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และปั๊มน้ำ รวมถึงการสร้างลิฟต์ ในปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกคือ ตึกบูร์จคาลิฟา ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความสูงทั้งสิ้น 828 เมตร (2,717 ฟุต) มีจำนวน 163 ชั้น โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและตึกระฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์ เกห์รี

แฟรงก์ โอเวน เกห์รี (Frank Owen Gehry) (ชื่อแต่กำเนิดคือ Ephraim Owen Goldberg; เกิด:28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 -), Globe and Mail, July 28, 2010 เป็นสถาปนิกสัญชาติแคนาดา-อเมริกัน ปัจจุบันอาศัยในนครลอสแอนเจลิส จากผลงานออกแบบมากมายและแตกต่างจากยุคก่อนหน้านี้ ทำให้ในเวลาต่อมาชื่อของของเขาก็ได้กลายเป็นที่สนใจในหมู่สถาปนิกระดับโลก เขาได้รับการสรรเสริญว่า "งานของเกห์รี เป็นงานที่มีสำคัญที่สุดในวงการสถาปัตยกรรมร่วมสมัย" โดยเวิลด์อเมริกันเซอร์เวย์ (World Architecture Survey) ในปี 2010 รวมไปถึง "สถาปนิกที่มีความสำคัญที่สุดในยุคสมัยของพวกเรา" จาก วานิตีแฟร์ (Vanity Fair) เขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ ซ่งเป็นรางวัลสูงสุดในสายวิชาชีพสถาปนิกในปี 1989 และรางวัลอื่นๆอีกมาก รวมถึงได้ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยระดับโลกอีกหลายที่เช่น มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เป็นต้น ผลงานของ แฟรงก์ เกห์รี นั้นมีหลากหลายรวมถึงอาคารพักอาศัย พิพิธภัณฑ์ สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ผลงานที่มีชื่อของเขาได้แก่ พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ ในเมืองบิลเบา ประเทศสเปน ซึ่งเป็นอาคารที่มีไทเทเนียมเป็นวัสดุหลัก วอลต์ดิสนีย์คอนเสิร์ตฮอลล์ที่ ลอสแอนเจลิส และแดนซิงเฮาส์ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก อาคารเรย์แอนด์มาเรียสตาตาเซนเตอร์ ในสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในเมืองแคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ อาคาร8 สปรูซสตรีท ในแมนฮัตตัน นิวยอร์ก เป็นต้น.

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและแฟรงก์ เกห์รี · ดูเพิ่มเติม »

แมนแฮตตัน

แมนแฮตตัน (Manhattan) เป็นหนึ่งใน 5 เขตการปกครองท้องถิ่นของนครนิวยอร์ก ตั้งอยู่บนเกาะแมนแฮตตันที่ปากแม่น้ำฮัดสัน ประกอบไปด้วยเกาะแมนแฮตตันและเกาะเล็กๆที่อยู่ติดกัน คือ เกาะโรสเวลต์ (Roosevelt Island), เกาะแรนดัลส์ (Randall's Island), เกาะวาร์ด (Wards Island), เกาะกอฟเวิร์นเนอร์ส (Governors Island), เกาะลิเบอร์ตี (Liberty Island), เกาะเอลลิส, เกาะอูตัน (U Thant Island) รวมถึงมาร์เบิลฮิลล์ แมนแฮตตันมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 จาก 5 เขตการปกครองท้องถิ่นของนครนิวยอร์ก นครนิวยอร์กส่วนดั้งเดิมนั้นมีจุดเริ่มต้นจากส่วนล่างของแมนแฮตตัน จากนั้นในปี..

ใหม่!!: 8 สปรูซสตรีทและแมนแฮตตัน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »