โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

55 ปู

ดัชนี 55 ปู

55 ปู หรือ โร1 ปู (55 Cancri) เป็นระบบดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 41 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวปู ระบบดาวนี้ประกอบด้วยดาวแคระเหลือง 1 ดวง และดาวแคระแดงขนาดเล็กกว่าอีก 1 ดวง ทั้งสองดวง นี้อยู่ห่างกันมากกว่าระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์มากกว่า 1,000 เท่า นับถึง..

23 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวปูมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์มู แท่นบูชาระบบดาวคู่รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบวันอิปไซลอนแอนดรอมิดาดวงอาทิตย์ดาวพฤหัสบดีดาวแคระแดงดาวแคระเหลืองดาวเคราะห์คล้ายโลกดาวเคราะห์นอกระบบดาวเนปจูนซูเปอร์เอิร์ธปีแสงนาซาโลกเคปเลอร์-11PSR B1257+1251 ม้าบิน55 ปู อี55 ปู เอฟ

กลุ่มดาวปู

กลุ่มดาวปู หรือ กลุ่มดาวกรกฎ (♋) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี มีขนาดเล็กและไม่สว่าง อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันตก และกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันออก ทางเหนือคือกลุ่มดาวแมวป่า ทางใต้ คือ กลุ่มดาวหมาเล็กและกลุ่มดาวงูไฮดรา หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวปู.

ใหม่!!: 55 ปูและกลุ่มดาวปู · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์

อัลมามาเทอร์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ (University of Illinois at Urbana-Champaign, ตัวย่อ: UIUC) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ นิเทศศาสตร์ การเกษตร การบัญชี และ ครุศาสตร์ ตามการจัดอันดับของ ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต มหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย 18 คณะ และมีภาควิชามากกว่า 150 ภาควิชา มีนักศึกษากว่า 40,000 คน มหาวิทยาลัยตั้งอยู่คร่อมเมืองสองเมือง คือเมืองเออร์แบนาและเมืองแชมเปญจน์ ในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชิคาโก ห่างประมาณ 200 กม.

ใหม่!!: 55 ปูและมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

มู แท่นบูชา

มู แท่นบูชา (μ Ara, μ Arae) หรือที่มักเรียกตามการกำหนดใน Henry Draper Catalogue ว่า HD 160691 เป็นดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักประเภทดาวแคระเหลือง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 50 ปีแสง โดยอยู่ในกลุ่มดาวแท่นบูชา ดาวดวงนี้มีระบบดาวเคราะห์ซึ่งเท่าที่ทราบในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ดวง ในจำนวนนี้ 3 ดวงมีมวลเทียบเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ด้านในสุดของระบบเป็น "ดาวเนปจูนร้อน หรือ ซูเปอร์เอิร์ธ" ดวงแรกที่ถูกค้น.

ใหม่!!: 55 ปูและมู แท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดาวคู่

กล้องฮับเบิล ดาวซิริอุส B แทบจะมองไม่เห็น (ล่างซ้าย) ดาวคู่ (Binary star) คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์สองดวงโคจรไปรอบๆ จุดศูนย์กลางมวลของระบบ ดาวแต่ละดวงถือว่าเป็น ดาวเพื่อน ของอีกดวงหนึ่ง การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในดาราจักรทางช้างเผือกมักเป็นระบบดวงเดี่ยวมากกว่าระบบดาวคู่ มีความสำคัญต่อการศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เพราะการสังเกตการณ์วงโคจรร่วมของทั้งสองทำให้สามารถประเมินมวลของดาวได้ ขณะที่การประเมินมวลของดาวฤกษ์เดี่ยวจำนวนมากต้องทำจาก extrapolation ที่ได้จากการศึกษาดาวคู่ ดาวคู่เป็นคนละอย่างกับดาวแฝด (Double star) ที่เมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันอย่างมาก แต่ไม่ได้มีแรงดึงดูดระหว่างกัน ดาวคู่อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ในแสงปกติ หรืออาจต้องใช้วิธีทางอ้อมในการตรวจสอบ เช่นการใช้สเปกโทรสโกปี ถ้าดาวคู่โคจรรอบกันและกันในแนวระนาบเดียวกับสายตา เราจะเห็นมันเกิดคราสบังกันเอง กรณีนี้จะเรียกว่า ดาวคู่คราส (eclipsing binary) ระบบที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มากกว่า 2 ดวง ที่เรียกกันว่า ระบบดาวหลายดวง ถือเป็นระบบที่ไม่ปกติเช่นกัน องค์ประกอบภายในของระบบดาวคู่สามารถแลกเปลี่ยนมวลซึ่งกันและกันได้ ทำให้วิวัฒนาการของมันดำเนินไปในทิศทางที่ดาวฤกษ์เดี่ยวไม่อาจทำได้ ตัวอย่างของดาวคู่ได้แก่ Algol (เป็นดาวคู่คราส) ดาวซิริอุส และ ดาว Cygnus X-1 (ซึ่งดาวสมาชิกดวงหนึ่งอาจจะเป็นหลุมดำ).

ใหม่!!: 55 ปูและระบบดาวคู่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ

การจับเวลาพัลซาร.

ใหม่!!: 55 ปูและรายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: 55 ปูและวัน · ดูเพิ่มเติม »

อิปไซลอนแอนดรอมิดา

อิปไซลอนแอนดรอมิดา (Upsilon Andromedae; υ Andromedae / υ And) คือดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 44 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ดาวฤกษ์เอกคือ อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ เป็นดาวแคระเหลือง-ขาว ซึ่งมีอายุน้อยกว่าดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์รองในระบบคือ อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี เป็นดาวแคระแดง อยู่ในวงโคจรที่กว้างกว่า ณ ตอนนี้ (พ.ศ. 2553) มีดาวเคราะห์นอกระบบ 4 ดวงที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์เอกของระบบนี้ ดาวเคราะห์ทั้งสี่มีลักษณะเป็นดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี อิปไซลอนแอนดรอมิดาเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกในแถบลำดับหลักที่มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกหลายดวง และเป็นดวงแรกในหมู่ดาวฤกษ์ประเภทระบบดาวหลายดวงซึ่งมีสมาชิกในระบบดาวเคราะห์หลายดวง อิปไซลอนแอนดรอมิดาเป็นดาวฤกษ์ในลำดับที่ 21 ในจำนวน 100 เป้าหมายแรกของโครงการค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลก (Terrestrial Planet Finder ขององค์การนาซ่า ซึ่งต้องเลื่อนระยะเวลาโครงการออกไปเนื่องจากประสบปัญหาด้านการเงิน.

ใหม่!!: 55 ปูและอิปไซลอนแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: 55 ปูและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: 55 ปูและดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระแดง

วาดแสดงลักษณะของดาวแคระแดง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากที่สุดบนท้องฟ้า อธิบายตามไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ดาวแคระแดง (Red dwarf) คือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำมาก เทียบกับบรรดาดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักทั้งหมด โดยมีค่าสเปกตรัมประมาณตอนปลายของประเภท K หรือ M ดาวฤกษ์ประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมด มีมวลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ (หากต่ำถึง 0.075 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จะเรียกว่า ดาวแคระน้ำตาล) และมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำกว่า 3,500 เคลวิน.

ใหม่!!: 55 ปูและดาวแคระแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระเหลือง

ดวงอาทิตย์ ตัวอย่างดาวฤกษ์ชนิด G V ดาวแคระเหลือง (Yellow dwarf) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ดาว G-V คือดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักซึ่งมีชนิดสเปกตรัมเป็นแบบ G และความส่องสว่างในระดับ V ดาวแคระเหลืองมักมีขนาดเล็ก (ประมาณ 0.8 - 1.0 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) และมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,300-6,000 เคลวิน, G. M. H. J. Habets and J. R. W. Heintze, Astronomy and Astrophysics Supplement 46 (November 1981), pp.

ใหม่!!: 55 ปูและดาวแคระเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

วเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง ดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่าง.

ใหม่!!: 55 ปูและดาวเคราะห์คล้ายโลก · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: 55 ปูและดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเนปจูน

วเนปจูน (Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก: โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม..

ใหม่!!: 55 ปูและดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์เอิร์ธ

วาดแสดงซูเปอร์เอิร์ธตามสมมุติฐาน 2 ดวง แต่ละดวงมีความหนาแน่นเฉลี่ยมากกว่าโลก แต่ทั้งสองดวงก็จัดว่าเป็น "ซูเปอร์เอิร์ธ" เพราะมีมวลมากกว่ามวลของโลก ซูเปอร์เอิร์ธ (super-Earth) หมายถึง ดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีมวลมากกว่าโลก แต่มีมวลน้อยกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ คำนี้จะใช้ในความหมายทางด้านมวลของดาวเคราะห์เท่านั้น ไม่มีความหมายในแง่เงื่อนไขด้านพื้นผิวของดาวหรือความสามารถในการอยู่อาศัยของดาวนั้นๆ กล่าวคือมันมิได้มีความหมายว่าดาวเคราะห์นั้นจะมีอุณหภูมิหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโลกแต่อย่างใด หากกล่าวตาม Valencia et al.

ใหม่!!: 55 ปูและซูเปอร์เอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: 55 ปูและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: 55 ปูและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: 55 ปูและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-11

ปเลอร์-11 เป็นดาวที่คล้ายแสงแดดมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อยกว่า อยู่ในกลุ่มดาวหงส์ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,005 ปีแสง มันตั้งอยู่ภายในเขตของวิสัยทัศน์ของยานอวกาศเคปเลอร.

ใหม่!!: 55 ปูและเคปเลอร์-11 · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12

PSR B1257+12 หรือบางครั้งเรียกอย่างย่อว่า PSR 1257+12 เป็นพัลซาร์ดวงหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกราว 980 ปีแสง ในกลุ่มดาวหญิงสาว ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน เมื่อปี..

ใหม่!!: 55 ปูและPSR B1257+12 · ดูเพิ่มเติม »

51 ม้าบิน

ว 51 ม้าบิน 51 ม้าบิน (51 Pegasi) เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 15.4 พาร์เซ็ก (50.1 ปีแสง) ในกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงแรกที่ตรวจพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ โดยมีการประกาศการค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: 55 ปูและ51 ม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

55 ปู อี

55 ปู อี (55 Cancri e) หรือมีชื่อย่อว่า 55 Cnc e เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ 55 ปู เอ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลประมาณ 7.8 มวลโลกและเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เท่าของโลก จึงถูกจัดเป็นซูเปอร์เอิร์ธดวงแรกที่ถูกค้นพบรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก โดยที่ถูกค้นพบก่อน กลีเซอ 876 ดี ประมาณหนึ่งปี มันใช้เวลาเพียงไม่ถึง 18 ชั่วโมงเพื่อโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ของมัน และเป็นดาวเคราะห์วงในสุดในระบบดาวเคราะห์ของมัน 55 ปู อี ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: 55 ปูและ55 ปู อี · ดูเพิ่มเติม »

55 ปู เอฟ

55 ปู เอฟ (ชื่อย่อ 55 Cnc f และเรียกอีกอย่างว่า Rho1 Cancri f) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ในวงโคจรของดาวฤกษ์ 55 ปู ในกลุ่มดาวปู โดยอยู่ห่างจากโลกประมาณ 41 ปีแสง เป็นดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเป็นดวงที่สี่ (ตามระยะห่าง) จากดาวฤกษ์ 55 ปู และเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่มีชื่อรหัสเป็น f.

ใหม่!!: 55 ปูและ55 ปู เอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

55 Cancri55 แคนซรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »