โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

51 ม้าบิน บี

ดัชนี 51 ม้าบิน บี

51 ม้าบิน บี โดยเคเลสเตีย 51 ม้าบิน บี (51 Pegasi b) หรือบางครั้งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เบลเลโรพอน (Bellerophon) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างประมาณ 50 ปีแสงจากโลกในบริเวณกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ถูกค้นพบในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก คือ 51 ม้าบิน ซึ่งเป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ (ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกสุดที่มีการค้นพบนั้นโคจรรอบพัลซาร์ PSR 1257 ค้นพบโดย Aleksander Wolszczan เมื่อปี ค.ศ. 1992) ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งใหญ่ในงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ มันเป็นดาวเคราะห์ต้นแบบสำหรับการจัดระดับดาวเคราะห์ในประเภท ดาวพฤหัสบดีร้อน.

9 ความสัมพันธ์: พัลซาร์กลุ่มดาวม้าบินดาวพฤหัสบดีร้อนดาวเคราะห์นอกระบบปีแสงแถบลำดับหลักPSR B1257+12 BPSR B1257+12 C51 ม้าบิน

พัลซาร์

แผนภาพของพัลซาร์ ทรงกลมตรงกลางหมายถึงดาวนิวตรอน เส้นโค้งรอบๆ คือเส้นสนามแม่เหล็ก ส่วนรูปกรวยที่พุ่งออกมาคือลำการแผ่รังสี พัลซาร์ (Pulsar; มาจากการรวมกันของ 2 คำ คือ pulsating และ star) คือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมาก และแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ คาบการหมุนที่สังเกตได้อยู่ระหว่าง 1.4 มิลลิวินาที ถึง 8.5 วินาที เราสามารถสังเกตเห็นการแผ่รังสีได้จากลำรังสีที่ชี้มาทางโลกเท่านั้น ลักษณะปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ประภาคาร (lighthouse effect) และการที่สังเกตเห็นรังสีเป็นช่วงๆ (pulse) นี้เองเป็นที่มาของชื่อพัลซาร์ พัลซาร์บางแห่งมีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ เช่น ดาว PSR B1257+12 เวอร์เนอร์ เบ็คเกอร์ แห่งสถาบันมักซ์ พลังค์เพื่อการศึกษาฟิสิกส์นอกโลก (Max Planck Institute for Extraterrestrial Physics) ได้กล่าวเอาไว้ในปี 2549 ว่า "ทฤษฎีว่าด้วยเหตุที่พัลซาร์แผ่รังสีออกมายังคงเป็นสิ่งลึกลับ แม้จะมีการเฝ้าศึกษามาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว".

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและพัลซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวม้าบิน

กลุ่มดาวม้าบิน เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ ตั้งชื่อตามเพกาซัส สัตว์ในเทพนิยายกรีก นับเป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ดาวฤกษ์สว่าง 4 ดวงในกลุ่ม เรียงกันเป็นดาวเรียงเด่นรู้จักกันในชื่อ จัตุรัสม้าบิน ดาวดวงหนึ่งใน 4 ดวงนี้ เป็นสมาชิกของทั้งกลุ่มดาวแอนดรอเมดาและกลุ่มดาวม้าบิน หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวม้าบิน.

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและกลุ่มดาวม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดีร้อน

วาดโดยศิลปินแสดงถึงดาวเคราะห์แบบดาวพฤหัสบดีร้อน ดาวพฤหัสบดีร้อน (Hot Jupiters; บ้างก็เรียก oven roasters, epistellar jovians, pegasids หรือ pegasean planets) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบจำพวกหนึ่งที่มีมวลใกล้เคียงหรือมากกว่ามวลดาวพฤหัสบดี (1.9 × 1027 กก.) แต่มีลักษณะอื่นที่ต่างไปจากดาวพฤหัสบดีในระบบสุริยะ เนื่องจากดาวพฤหัสบดีโคจรอยู่ที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 5 หน่วยดาราศาสตร์ แต่ดาวเคราะห์นอกระบบที่เรียกดาวพฤหัสบดีร้อนนี้จะโคจรในระยะห่างจากดาวฤกษ์เพียง 0.05 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 1 ใน 8 ของระยะห่างที่ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงทำให้ดาวเคราะห์กลุ่มนี้มีอุณหภูมิพื้นผิวสูงมาก.

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและดาวพฤหัสบดีร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

แถบลำดับหลัก

ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ที่พล็อตความสว่างแท้จริง (หรือความส่องสว่างสัมบูรณ์) ของดาวฤกษ์เทียบกับดัชนีสี แถบลำดับหลักจะมองเห็นเป็นแถบขวางโดดเด่นวิ่งจากด้านบนซ้ายลงไปยังด้านล่างขวา แถบลำดับหลัก (Main sequence) คือชื่อเรียกแถบต่อเนื่องและมีลักษณะพิเศษที่ปรากฏอยู่บนแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่าง แผนภาพคู่ลำดับสี-ความสว่างนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ หรือ HR Diagram ซึ่งเป็นผลการศึกษาร่วมกันระหว่างเอจนาร์ แฮร์ทสชปรุง กับเฮนรี นอร์ริส รัสเซลล์ ดาวที่อยู่บนแถบนี้จะรู้จักกันว่า ดาวบนแถบลำดับหลัก หรือดาวฤกษ์แคระ หลังจากที่ดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นแล้ว มันจะสร้างพลังงานออกมาจากย่านใจกลางอันหนาแน่นและร้อนจัดโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของอะตอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม ระหว่างที่กระบวนการนี้ดำเนินไปในช่วงอายุของดาว จะสามารถระบุตำแหน่งบนแถบลำดับหลักได้โดยใช้มวลของดาวเป็นข้อมูลเบื้องต้น ประกอบกับข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีและปัจจัยอื่น ๆ อีก โดยทั่วไปยิ่งดาวฤกษ์มีมวลมากก็จะยิ่งมีช่วงอายุบนแถบลำดับหลักสั้นยิ่งขึ้น หลังจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แกนกลางถูกใช้จนหมดไป ดาวฤกษ์ก็จะเคลื่อนออกไปจากแถบลำดับหลัก บางคราวอาจพิจารณาแถบลำดับหลักออกเป็นแถบบนและแถบล่าง ขึ้นกับกระบวนการที่ดาวฤกษ์ใช้ในการสร้างพลังงาน ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่า 1.5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะหลอมอะตอมไฮโดรเจนเข้าด้วยกันพร้อมกับกระบวนการสร้างฮีเลียม กระบวนการนี้เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่โปรตอน-โปรตอน ถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่านี้ ก็จะอยู่ในแถบลำดับหลักบน นิวเคลียร์ฟิวชันจะใช้อะตอมของคาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจนเป็นสื่อกลางในการผลิตฮีเลียมจากอะตอมไฮโดรเจน เนื่องจากอุณหภูมิของดาวฤกษ์ที่แกนกลางกับที่พื้นผิวดาวนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ จึงมีการส่งผ่านพลังงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่องผ่านชั้นดาวจนกระทั่งมันแผ่รังสีออกไปจากบรรยากาศของดาว กลไกสองประการที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานเหล่านี้คือ การแผ่รังสี และการพาความร้อน ในประเภทที่ขึ้นกับเงื่อนไขเฉพาะของดาวแต่ละดวง การพาความร้อนจะเกิดขึ้นในบริเวณที่อุณหภูมิมีความแตกต่างกันอย่างมาก หรือเป็นพื้นที่อับแสง หรือทั้งสองอย่าง เมื่อมีการพาความร้อนเกิดขึ้นในแกนกลาง มันจะกระตุ้นเศษเถ้าฮีเลียมขึ้น เป็นการรักษาระดับสัดส่วนของเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้ในปฏิกิริยาฟิวชัน หมวดหมู่:ดาวฤกษ์แถบลำดับหลัก หมวดหมู่:ประเภทของดาวฤกษ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการของดาวฤกษ์.

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและแถบลำดับหลัก · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12 B

PSR B1257+12 B เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 980 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว PSR B1257+12 B ยังเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ดวงแรกที่เคยค้นพบนอกระบบสุริยะ และในปัจจุบันคือวัตถุที่สามที่รู้จักกันในวงโคจรพัลซาร์ PSR B1257+12 ซึ่งมันเป็นวงกลมที่ระยะห่าง 0.36 AU กับระยะเวลาการโคจรประมาณ 66 วัน.

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและPSR B1257+12 B · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12 C

PSR B1257+12 C เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 980 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว PSR B1257+12 C ยังเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ดวงแรกที่เคยค้นพบนอกระบบสุริยะ และในปัจจุบันคือวัตถุที่สามที่รู้จักกันในวงโคจรพัลซาร์ PSR B1257+12 เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เท่าโลกเกือบสี่เท.

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและPSR B1257+12 C · ดูเพิ่มเติม »

51 ม้าบิน

ว 51 ม้าบิน 51 ม้าบิน (51 Pegasi) เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 15.4 พาร์เซ็ก (50.1 ปีแสง) ในกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงแรกที่ตรวจพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ โดยมีการประกาศการค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: 51 ม้าบิน บีและ51 ม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

51 Pegasi b

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »