โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลศึกสามก๊ก

ดัชนี กลศึกสามก๊ก

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ พระเจ้าหองจูเปียนเสียอำนาจ กลยุทธ์สาวงาม เตียวเสี้ยนลวงตั๋งโต๊ะให้ลุ่มหลง กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ ลิโป้บาดหมางใจกับตั๋งโต๊ะ กลยุทธ์ทุกข์กาย อุยกายใช้อุบายเผาทัพเรือโจโฉ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ จูกัดเหลียงลวงเกาฑัณฑ์จากโจโฉ กลศึกสามก๊ก (Thirty-Six Stratagems) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงครามกลศึกสามก๊ก ตำราพิชัยสงครามรูปธรรมที่มีชีวิต,หลี่ปิ่งเอี้ยน ซุนจิ้ง ผู้ค้นคว้า, บุญศักดิ์ แสงระวี แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,..

104 ความสัมพันธ์: ชัวมอชัวต๋งชัวโฮฟันพิชัยสงครามพิชัยสงครามซุนจื่อกระดูกกลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหวกลยุทธ์กวนน้ำจับปลากลยุทธ์มีในไม่มีกลยุทธ์ยืมทางพรางกลกลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนกลยุทธ์ยืมซากคืนชีพกลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยกลยุทธ์ลอบตีเฉินชางกลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสากลยุทธ์ลูกโซ่กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำกลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าวกลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้านกลยุทธ์สาวงามกลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิมกลยุทธ์หลบหนีกลยุทธ์หลี่ตายแทนถาวกลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจกกลยุทธ์จักจั่นลอกคราบกลยุทธ์จูงแพะติดมือกลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะกลยุทธ์ทุกข์กายกลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันไดกลยุทธ์ดูไฟชายฝั่งกลยุทธ์คบไกลตีใกล้กลยุทธ์ตีชิงตามไฟกลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่นกลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอกกลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้มกลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลกลยุทธ์ปิดประตูจับโจรกลยุทธ์ปิดเมืองกลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้ากลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับกลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกกลยุทธ์ไส้ศึกกวนอูกวนเป๋งกองซุนจ้านการทหารการเมืองกุยแกภูมิศาสตร์...มังกรม้าต้ายม้าเจ๊กยุทธการที่ผาแดงลกซุนลิบองลิโป้ลุดตัดกุดวรรณกรรมสามก๊กสุมาอี้สงครามหมาหยกหองจูเหียบหองจูเปียนอินทรีอุยกายอุยเอี๋ยนอ้วนซงอ้วนเสี้ยวอ้องอุ้นฮันฮกจักรพรรดิเว่ยหมิงจิวยี่จูกัดเหลียงธรรมชาติทรัพยากรทหารทะเลทูตดาวตันฮกตั๋งโต๊ะซุนกวนประวัติศาสตร์ประเทศจีนแฮหัวหลิมโจหยินโจฮวนโจซองโจโฉเบ้งเฮ็กเกียงอุยเมืองหลวงเล่าปี่เจ้าพระยาพระคลัง (หน)เทียหยกเตียวสิ้วเตียวอุ๋นเตียวเสี้ยนเตียนอุยเตงงายเนื้อ ขยายดัชนี (54 มากกว่า) »

ชัวมอ

ัวมอ (Cai Mao) เป็นขุนพลในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นแม่ทัพเรือของเล่าเปียว และเป็นน้องชายของชัวฮูหยินภรรยาของเล่าเปียวด้วย ครั้งเมื่อเล่าปี่มาอาศัยอยู่กับเล่าเปียว ชัวมอก็กลัวจะถูกแย่งชิงอำนาจ จึงวางแผนจะฆ่าเล่าปี่เสียแต่เล่าปี่ก็หนีรอดไปได้ หลังจากเล่าเปียวถึงแก่กรรมก็ยึดครองอำนาจ แต่งตั้งเล่าจ๋องลูกของพี่สาวตัวเองเป็นผู้ครองแคว้นสืบไป ต่อมาภายหลังจากโจโฉยึดครองเมืองเกงจิ๋ว ชัวมอ ได้สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ และได้รับตำแหน่งเนแม่ทัพเรือของโจโฉเพื่อยกทัพไปตีกังตั๋ง แต่ต่อมาจิวยี่ได้ใช้อุบายหลอกให้โจโฉหลงเชื่อว่าชัวมอคิดทรยศ โจโฉจึงสั่งให้ประหารชัวมอ.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและชัวมอ · ดูเพิ่มเติม »

ชัวต๋ง

ัวต๋ง (Cai Zhong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ลูกพี่ลูกน้องของชัวมอ และพี่ชายของชัว.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและชัวต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ชัวโฮ

ัวโฮ (Cai He) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ลูกพี่ลูกน้องของชัวมอ และน้อวชายของชัวต๋ง.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและชัวโฮ · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พิชัยสงคราม

ตัวอย่างเนื้อหาของตำราพิชัยสงครามของไทย แสดงภาพการแปรขบวนทัพแบบมหิงสาพยุหะ หรือการตั้งทัพเป็นรูปควาย พิชัยสงคราม เป็นคำที่ใช้เรียกหนังสือหรือเอกสารที่มีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการรบต่าง ๆ อาทิ การรุก การตั้งรับ การแปรขบวนทัพ การใช้อุบายทำลายข้าศึก เป็นต้น หนังสือจำพวกนี้ในบางแห่งมักจะมีการใส่เนื้อหาที่เป็นความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์เข้ามาประกอบ เช่น การดูฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ การทำพิธีข่มขวัญข้าศึกและบำรุงขวัญฝ่ายตน ฯลฯ รูปแบบเนื้อหานั้นอาจอยู่ในลักษณะของร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้ ในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำจำกัดความของตำราพิชัยสงครามไว้ว่า ตำราพิชัยสงครามที่นับว่ามีชื่อเสียงมากในระดับโลก คือ ตำราพิชัยสงครามของซุนวู ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล อันอยู่ในช่วงยุครณรัฐของจีน ทั้งนี้ หนังสือพงศาวดารจีนบางเรื่องที่มีการกล่าวถึงการรบและการใช้อุบาย เช่น สามก๊ก ไซ่ฮั่น ก็อาจนับว่าเป็นตำราพิชัยสงครามได้เช่นกัน เนื้อหาและหลักในตำราพิชัยสงครามต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตำราพิชัยสงครามของซุนวู ปัจจุบันได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารและด้านเศรษฐกิจขององค์กรต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและพิชัยสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

พิชัยสงครามซุนจื่อ

ัยสงครามซุนจื่อ (The Art of War) เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยซุนจื่อ นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุครณรัฐของจีน เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงคราม ตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนจื่อถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและพิชัยสงครามซุนจื่อ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว

กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว หรือ จวื่อซ่างม่าไหว (Point at the mulberry tree while cursing the locust tree) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อฝ่ายที่มีความเข้มแข็งมากกว่า หรือแคว้นที่มีกองกำลังทหารภายใต้สังกัดมากมาย ข่มเหงรังแกแคว้นเล็กหรือผู้ที่มีกำลังทหารน้อยกว่า ควรที่จะใช้วิธีการตักเตือนให้เกิดความเกรงกลัวและยำเกรง แม้นหากแสดงความเข้มแข็งให้ได้ประจักษ์ ก็จักได้รับความสนับสนุนจากผู้ที่อ่อนแอกว่า ถ้าหาญกล้าใช้ความรุนแรง ก็จักได้รับความยอมรับนับถือจากผู้ที่อ่อนแอกว่า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี่ถือหนทางปกครองแผ่นดินราษฏรจึงขึ้นต่อ" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหวไปใช้ได้แก่สุมาอี้ที่บุกเข้าควบคุมตัวของครอบครัวโจซองภายหลังจากที่ลิดรอนอำนาจของสุมาอี้เพียงเพื่อหวังในตำแหน่งอุปราชจวื่อซ่างม่าไหว กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์กวนน้ำจับปลา

กลยุทธ์กวนน้ำจับปลา หรือ หุนเสว่ยออวี๋ (Catch a fish while the water is disturbed) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการรู้จักฉกฉวยจังหวะที่ศัตรูเกิดความปั่นป่วนภายในกองทัพให้เป็นประโยชน์ แย่งยึดเอาผลประโยชน์นั้นมาเป็นของตน นำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ การเอาชัยชนะจากศัตรูโดยอาศัยความปั่นปวนภายในกองทัพ เป็นดุจดั่งพายุฝนที่พัดกระหน่ำในยามค่ำคืน ภูมิประเทศที่ต่ำกว่าก็จักขังน้ำฝนไว้เป็นแอ่ง ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อสัมผัสกับไอเย็นและละอองฝนจักเข้าสู่ห้วงนิทรา การเฝ้าระวังเวรยามย่อมหละหลวม กองกำลังป้องแนวสำคัญย่อมเพิกเฉยต่อหน้าที่ ทำให้สามารถบุกเข้าโจมตียึดครองได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์กวนน้ำจับปลาไปใช้ได้แก่อ้วนเสี้ยวที่วางกลอุบายหลอกใช้กองซุนจ้านในการนำกองกำลังทหารบุกร่วมเข้าโจมตียึดเอาเกงจิ๋วจากฮันฮกหุนเสว่ยออวี๋ กลยุทธ์กวนน้ำจับปลา, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์กวนน้ำจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์มีในไม่มี

กลยุทธ์มีในไม่มี หรือ อู๋จงเซิงโหย่ว (Create something from nothing) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ภาพลวงในการหลอกล่อศัตรูเพียงครั้งคราวให้หลงเชื่อ แปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริงจากจริงเป็นลวง ทำให้ศัตรูเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าการ "ลวง" ก็คือการ "หลอกหลวง" ที่ว่า "มืด" ก็กลายเป็น "เท็จ"จากไม่มีสู่มี, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์มีในไม่มี · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ยืมทางพรางกล

กลยุทธ์ยืมทางพรางกล หรือ เจี่ยเต้าฝากว๋อ (Obtain safe passage to conquer the State of Guo) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการทำศึกสงคราม ประเทศเล็กที่ตั้งอยู่ในระหว่างประเทศใหญ่สองประเทศ เมื่อถูกศัตรูบีบบังคับให้ยอมแพ้ด้วยความจำใจ ยอมสยบอยู่ภายใต้อำนาจ ถูกกดขี่ข่มเหงก็ควรจะให้การช่วยเหลือโดยฉับพลัน เพื่อให้ประเทศเล็กที่ถูกข่มเหงรังแก มีความเชื่อถือต่อประเทศที่ยอมช่วยเหลือประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ความยากลำบาก หากการช่วยเหลือแต่เพียงการเจรจามิได้มีการกระทำที่แท้จริง ย่อมจะไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่เฝ้ารอคอยรับความช่วยเหลือ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมทางพรางกลไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่รู้เท่าทันการวางกลอุบายของจิวยี่ที่คิดยืมทางเพื่อไปตีเสฉวน และฉวยโอกาสฆ่าเล่าปี่ที่บิดพลิ้วไม่ยอมคืนเกงจิ๋วให้แก่ซุนกวนเจี่ยเต้าฝากว๋อ กลยุทธ์ยืมทางพรางกล, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ยืมทางพรางกล · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน

กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน หรือ เจี้ยเตาซาเหริน (Kill with a borrowed knife) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็ง ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรู เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋นสองแม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็กระหว่างเล่าปี่และซุนกวนเจี้ยเตาซาเหริน กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ

กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ หรือ เจี้ยซือหวนหุน (Borrow a corpse to resurrect the soul) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทในหน้าที่ต่าง ๆ จะใช้ความสามารถนั้นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างผลีผลามไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ก็มักจะขอความช่วยเหลืออยู่เป็นนิจ การที่ใช้ผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ มิใช่เป็นการที่จะมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ หากแต่เป็นเพราะผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถต้องการความพึ่งพายามต้องการความช่วยเหลือ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมซากคืนชีพไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ให้นำเมล็ดข้าวสารใส่ไว้ในปากเพื่อเป็นการรักษาดาวสำหรับต่ออายุ และหลอกทหารสุมาอี้ให้หลงเชื่อว่ายังมีชีวิตอยู่เจี้ยซือหวนหุน กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย

กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย หรือ อี่อี้ไต้เหลา (Substitute leisure for labour) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังคงมีความเข้มแข็ง กำลังไพร่พลทหารยังคงแข็งแกร่งยากจะต่อสู้ ก็ไม่ควรจะเข้าปะทะโดยตรงด้วยแรงและพละกำลังที่มีอยู่ แต่ยามใดที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอในกองทัพต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังบุกเข้าโจมตีโดยเร็ว เพื่อเป็นการข่มขวัญและป้องกันไม่ให้ศัตรูหวนกลับมาแข็งแกร่งดั้งเดิม กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเป็นการใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ให้ระยะเวลาเป็นการบั่นทอนกำลังและจิตใจของศัตรู ฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์จากเดิมที่กลายเป็นรองหรือเสียเปรียบให้กลายเป็นฝ่ายได้เปรียบเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ในสามก๊กยามเกิดศึกสงคราม กองทัพทุกกองทัพต่างใช้กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย เพื่อหาโอกาสเหมาะในการบุกเข้าโจมตีศัตรูยามเพลี่ยงพล้ำอยู่ตลอดเวลา ในการทำศึกสงคราม แก่นหลักสำคัญของคำว่า "สถานการณ์" หมายถึงการรู้จักใช้จังหวะหรือสถานการณ์ที่ได้เปรียบให้เป็นประโยชน์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ศัตรูอาจพ่ายแพ้ในการศึก ต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังเข้ากระหน่ำโจมตีกองทัพของศัตรูให้พินาศย่อบยับ สถานการณ์ที่เป็นฝ่ายพลิกผันได้เปรียบ ความสามารถในการจับจังหวะรู้สถานการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำศึกสงคราม ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "จงอาศัยสถานการณ์เข้าทำลายศัตรู"สถานการณ์, สงครามสามก๊ก กลยุทธ์พลิกสถานการณ์, ทองแถม นาถจำนง, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง

กลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง หรือ อั้นตู้เฉินชาง (Openly repair the gallery roads, but sneak through the passage of Chencang) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ฝ่ายศัตรูตัดสินใจที่จะรักษาพื้นที่เขตแดนของตนไว้ และแสร้งทำเป็นนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีทางด้านหน้า แต่ลอบนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีในพื้นที่เขตแดนที่ฝ่ายศัตรูไม่ทันคาดคิดและสนใจวางแนวกำลังป้องกันลอบผ่านเฉินชาง, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสา

กลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสา หรือ โทวเหลียงห้วนจวู้ (Replace the beams with rotten timbers) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการต่อกำลังที่ร่วมทำศึกด้วยหรือต่อศัตรู จักต้องหาหนทางเปลี่ยนแปลงการจัดเตรียมแนวรบของศัตรูอยู่เสมอ การถอดถอนเคลื่อนย้ายจุดยุทธศาสตร์และกองกำลังสำคัญของศัตรูไป รอให้ศัตรูเกิดความอ่อนแอเสียขวัญและกำลังใจ ประสบกับความพ่ายแพ้ จึงฉกฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์ที่ศัตรูเกิดความย่ำแย่ให้เป็นประโยชน์แก่ตน นำกำลังบุกเข้าโจมตียึดครองและควบคุมกองทัพของศัตรูไว้ภายใต้การบังคับบัญชาเพื่อประโยชน์ต่อไปในภายหน้า ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสาไปใช้ได้แก่เทียเภาที่วางกลอุบายหลอกเอาตัวตันฮกมาจากเล่าปี่เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาแก่โจโฉ ภายหลังที่ตันฮกวางกลอุบายซุ่มโจมตีกองทัพของโจหยินจนแตกพ่ายยับเยินโทวเหลียงห้วนจวู้ กลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสา, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสา · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ลูกโซ่

กลยุทธ์ลูกโซ่ หรือ เหลียนหวนจี้ (Chain stratagems) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อกองกำลังศัตรูมีพละกำลังที่เข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยกำลังมิได้โดยเด็ดขาด พึงใช้กลอุบายนานาให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกัน ทำลายความแข็งแกร่งของศัตรูหรือร่วมมือกับพลังต่าง ๆ ร่วมโจมตีเพื่อขจัดความฮึกเหิมของศัตรูให้หมดสิ้นไป คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์" ซึ่งหมายความว่าแม่ทัพผู้ปรีชาสามารถในการศึก ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกสงครามได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งตามคำ "ความประสงค์ของฟ้า" จักต้องได้รับชัยชนะในการศึกสงครามเป็นมั่นคง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลูกโซ่ไปใช้ได้แก่โจโฉวางกลอุบายลอบโจมตีอ้วนเสี้ยวด้วยการตัดกำลังเสบียงของอ้วนเสี้ยวจนแตกพ่ายเหลียนหวนจี้ กลยุทธ์ลูกโซ่, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ลูกโซ่ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ

กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ หรือ เตี้ยวหู่หลีซาน (Entice the tiger to leave its mountain lair) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ใช้ภาพลวงที่จงใจสร้างขึ้นเพื่อหลอกล่อให้ศัตรูเกิดความประมาทล่อเสือลงภู, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว หรือ เหวยเว่ยจิ้วจ้าว (Besiege Wèi to rescue Zhào) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูรวบรวมกำลังทหารและไพร่พลไว้เป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้เกิดกำลังและความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการดึงแยกศัตรูให้แตกออกจากกัน เพื่อให้กำลังไพร่พลทหารกระจัดกระจาย คอยระแวดระวังมีความห่วงหน้าพะวงหลังแล้วจึงบุกเข้าโจมตี ตามความหมายของตำราพิชัยสงครามคือ การบุกเข้าโจมตีในจุดที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย โจมตีในจุดที่ศัตรูไม่ได้เตรียมการตั้งรับและคอยระวังป้องกัน ย่อมถือว่าได้เปรียบและได้รับชัยชนะมาแล้วครึ่งหนึ่ง ในการทำศึกสงคราม การบุกเข้าโจมตีศัตรูจะบุกเข้าทางด้านหน้า ซึ่งเป็นเพียงกลอุบายหลอกล่อให้ศัตรูหลงทิศและนำกำลังบุกเข้าโจมตีทางด้านหลัง การแสร้งบุกโจมตีทางด้านตะวันออกแต่จริงแล้วบุกเข้าโจมตีทางด้านตะวันตก การทำให้ศัตรูคาดเดาแผนการรบไม่ถูก ทำให้เกิดความสับสนในการวางกำลังป้องกันฐานทัพ พึงหักเอาในขณะที่ศัตรูเป็นฝ่ายที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม เข้าจู่โจมในยามที่ศัตรูไม่ได้คาดคิด ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "เมื่อเห็นจุดอ่อนเปราะของศัตรู เราต้องใช้กลยุทธ์พิสดารโจมตี"พิสดารเหนือความคาดหมาย, สงครามสามก๊ก กลยุทธ์พลิกสถานการณ์, ทองแถม นาถจำนง, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน

กลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน หรือ ฝ่านเค่อเหวยจวู่ (Make the host and the guest exchange roles) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเปิดช่องสบโอกาสให้สอดแทรก ควรสอดแทรกเพื่อกุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ค่อยผันสู่ชัยชนะ" โดยคำว่า "รุก" หมายความถึง "สรรพสิ่งใดในใต้หล้า เคลื่อนอย่าใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อย ๆ ผันไปช้า ๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล" โดย "ค่อยผันสู่ชัยชนะ" หมายความถึงการตอกลิ่มเข้าไปในฝ่ายตรงข้ามเพื่อยึดครองอำนาจการบังคับบัญชานั้น จักต้องค่อยเป็นค่อยไปจึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะ การใช้อารมณ์วู่ว่ามบุ่มบามทำการใหญ่ไม่เป็นผลดีในการทำศึกสงคราม นอกจากจะเป็นการเปิดช่องโหว่ให้ศัตรูแล้ว ยังเสี่ยงต่อการพ่ายแพ้ในการศึกอีกด้วย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้านไปใช้ได้แก่เตียวสิ้วที่วางกลอุบายลอบฆ่าโจโฉและเตียนอุยโดยใช้อาสะใภ้ตนเองเป็นเหยื่อล่อให้โจโฉหลงกลฝ่านเค่อเหวยจวู่ กลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์สาวงาม

กลยุทธ์สาวงาม หรือ เหม่ยเหรินจี้ (The beauty trap) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีกำลังเข้มแข็ง ในการทำศึกสงครามจำต้องหาหนทางกำจัดแม่ทัพเสียก่อน หากปล่อยไว้จะเป็นภัยในภายหน้า ต่อแม่ทัพที่มีความเฉลียวฉลาด สติปัญญาเป็นเลิศ ชำนาญตำราพิชัยสงคราม รอบรู้ภูมิประเทศและจุดยุทธศาสตร์ เก่งกาจในเชิงยุทธ์ จักต้องโจมตีจุดอ่อนทางใจให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่หย่อนย่อท้อแท้ กำลังทหารไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักอ่อนแอแลเสื่อมโทรมพ่ายแพ้ไปเอง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์สาวงามไปใช้ได้แก่อ้องอุ้นที่วางกลอุบายทำลายความสัมพันธ์ของตั๋งโต๊ะและลิโป้บุตรบุญธรรมด้วยการยกเตียวเสี้ยนให้เป็นภรรยา ทำให้ทั้งสองฝ่ายผิดใจกันจนเป็นเหตุให้ลิโป้ฆ่าตั๋งโต๊ะเหม่ยเหรินจี้ กลยุทธ์สาวงาม, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์สาวงาม · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม

กลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม หรือ เซิงตงจี๋ซี (Make a sound in the east, then strike in the west) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการโจมตีศัตรู จะต้องเตรียมการและบุกโจมตีในจุดที่ศัตรูต่างคาดไม่ถึง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูตั้งรับได้ถูก โดยหลอกล่อศัตรูให้เกิดการหลงทิศกับการบุกโจมตีและนำกำลังทหารไปเฝ้าระวังผิดตำแหน่ง เกิดการหละหลวมต่อกำลังทหารและเปิดโอกาสให้สามารถเอาชนะได้โดยง่ายโห่ร้องตะวันออกเข้าตีตะวันตก, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์หลบหนี

กลยุทธ์หลบหนี หรือ โจ่วเหวยซ่าง (If everything else fails, retreat) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงเมื่อทำการศึกสงครามกับศัตรู หากศัตรูมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่แข็งแกร่ง ชำนาญภูมิศาสตร์ เป็นต่อในทุก ๆ ด้านไม่มีช่องโหว่ให้พลิกเอาชัยชนะแม้แต่น้อย ขืนนำกำลังเข้าต่อสู้ก็มีแต่สูญเสีย การถอยหนีย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม" ซึ่งเป็นการชี้ชัดว่าการถอยหนีในการทำสงครามนั้นมิใช่ความผิดผลาด หากแต่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการทำศึกที่มักจะพบเห็นเสมอ นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวว่า "การพ่ายแพ้หมายถึงความล้มเหลวในทุก ๆ ด้าน การยอมสงบศึกหมายถึงการล้มเหลวในบางด้าน แต่การหนีมิได้หมายความว่าล้มเหลวเลย" ดังนั้นการถอยหนีเป็นการถอยเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงความเสียหาย แลหาโอกาสชิงตอบโต้ในภายหลัง มิใช่เป็นการถอยหนีอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลบหนีไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ลอบหลบหนีจิวยี่ภายหลังจากทำพิธีเรียกลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ลำเขาลำปินสานเพื่อใช้ไฟเผากองทัพเรือโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็กโจ่วเหวยซ่าง กลยุทธ์หลบหนี, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์หลบหนี · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว

กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว หรือ หลี่ไต้เถาเจียง (Sacrifice the plum tree to preserve the peach tree) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เสียเปรียบในศึกสงคราม ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ตนเองและกองทัพ เกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อที่จะแปรเปลี่ยนจากสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบให้เป็นการได้เปรียบ จำต้องยินยอมเสีย "มืด" เพื่อที่จะได้ประโยชน์จาก "สว่าง" โดยที่มาของชื่อกลยุทธ์ มาจากกวีนิพนธ์ชื่อ “ไก่ขัน” ใน “ชุมนุมกวีนิพนธ์กู่เล่อฝู่” ที่กล่าวว่า ต้นถาวเกิดที่ปากบ่อ ต้นหลี่โตเคียงมา หนอนบ่อนไชต้นถาว หลี่ตายแทนถาว ต้นไม้ยังตายแทนกัน พี่น้องไฉนไยจึงลืม สละต้นไหนเพื่อรักษาต้นหม่อน, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจก

กลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจก หรือ ฉินเจ๋ยฉินหวาง (Defeat the enemy by capturing their chief) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการทำศึกสงคราม จักต้องบุกเข้าโจมตีศัตรูในจุดที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของกองทัพ เพื่อสลายกำลังของศัตรูให้แตกกระจาย ศัตรูที่มีแม่ทัพฝีมือดีในการทำศึกสงครามย่อมเป็นขวัญและกำลังใจของเหล่าทหาร การวางแผนใช้กลอุบายหลอกล่อเอาชนะแม่ทัพที่มีฝีมือในเชิงยุทธ์ที่เก่งกาจ จักให้ต้องกลอุบายที่สับสน หลอกล่อให้หลงทิศและขจัดไปเสียให้พ้น เสมือน "มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง" ซึ่งเปรียบประหนึ่งดุจมังกรในท้องทะเล อาจหาญขึ้นมาต่อสู้กับศัตรูบนผืนแผ่นดิน ก็ย่อมได้รับความปราชัยแก่ศัตรูได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจกไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่มีความกริ่งเกรงต่อสุมาอี้ในการทำศึกสงครามกับวุยก๊กจึงวางกลอุบายขจัดสุมาอี้ ซึ่งเมื่อปราศจากสุมาอี้แล้วขงเบ้งก็ไม่เกรงกลัวต่อความยิ่งใหญ่ของกองทัพวุยก๊กอีกต่อไปฉินเจ๋ยฉินหวาง กลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจก, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจก · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ

กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ หรือ จินฉานทวอเชี่ยว (Slough off the cicada's golden shell) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการรักษาไว้ซึ่งตามแบบแผนการจัดแนวรบในรูปแบบเดิม ให้แลดูสง่าและน่าเกรงขาม เป็นการหลอกล่อไม่ให้ศัตรูเกิดความสงสัย ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตี เมื่อรักษาแนวรบไว้เป็นตั้งมั่นแล้วจึงแสร้งถอยทัพอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังทหารให้หลบหลีกไป คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "เลี่ยงเพื่อสลายลวง" โดยคำว่า "เลี่ยง" หมายถึงการหลบหลีก คำว่า "ลวง" หมายถึงการทำให้เกิดความสับสนงงงวย เมื่อรวมกันแล้ว "เลี่ยงเพื่อสลายลวง" หมายความถึงการหลบหลีกโดยมิให้ผู้ใดล่วงรู้ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ในการถอยทัพโดยไม่เกิดความกระโตกกระตาก เพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ หรือเป็นการหลีกเลี่ยงความสูญเสียเลือดเนื้อหรือการปะทะที่อาจเกิดขึ้นในกองทัพ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จักจั่นลอกคราบไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่วางกลอุบายอำพรางการถอยทัพกลับจ๊กก๊กในการบุกวุยก๊กครั้งที่ 5 โดยไม่ให้สุมาอี้ล่วงรู้และนำกำลังทหารติดตามมาจินฉานทวอเชี่ยว กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์จูงแพะติดมือ

กลยุทธ์จูงแพะติดมือ หรือ ซุ่นโส่วเชียนหยาง (Take the opportunity to pilfer a goat) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ความประมาทเลินเล่อของศัตรูเพียงเล็กน้อยให้เป็นประโยชน์ เมื่อพบเห็นโอกาสให้รีบฉกฉวยมาเป็นของตน แม้จะเป็นเพียงชัยชนะที่เล็กน้อยก็ตาม ในยามศึกสงครามแม้โอกาสเพียงน้อยนิดที่สามารถเป็นประโยชน์แก่กองทัพจำต้องช่วงชิงมาเป็นของตนให้ได้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จูงแพะติดมือไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกเอาลูกเกาฑัณฑ์จำนวนสิบหมื่นจากโจโฉ ตามคำสั่งของจิวยี่ที่สั่งให้จูกัดเหลียงทำลูกเกาฑัณฑ์จำนวนสิบหมื่นให้เสร็จภายในระยะเวลาสิบวัน เพื่อหาทางกำจัดจูกัดเหลียงด้วยความอิจฉาริษยาที่มีความฉลาดหลักแหลม รู้เท่าทันแผนการของตนเองตลอดเวลาซุ่นโส่วเชียนหยาง กลยุทธ์จูงแพะติดมือ, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์จูงแพะติดมือ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะ

กลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะ หรือ ฝูตี่โชวซิน (Remove the firewood under the cooking pot) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการพิเคราะห์เปรียบเทียบกำลังของศัตรูในการทำศึกสงคราม ถ้ากองทัพมีน้อยกว่าควรพึงหาทางบั่นทอนขวัญและกำลังใจ ความฮึกเหิมของศัตรูให้ลดน้อยถอยลง คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ" โดยคำว่า "น้ำ" หมายถึงความแข็งแกร่ง คำว่า "ฟ้า" หมายถึงความอ่อนแอ เมื่อรวมกันแล้ว "ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ" หมายความถึงความอ่อนชนะความแข็ง คือการพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยจังหวะและโอกาสในการทำลายกองทัพส่วนหนึ่งของศัตรูให้แตกพ่ายย่อยยับในภายหลัง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะไปใช้ได้แก่เกียงอุยที่วางกลอุบายให้พระเจ้าโจฮวนหลงเชื่อว่าเตงงายคิดหมายตั้งตนเองเป็นใหญ่และสั่งให้จับไปฆ่าฝูตี่โชวซิน กลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะ, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ทุกข์กาย

กลยุทธ์ทุกข์กาย หรือ ขู่โร่วจี้ (Inflict injury on one's self to win the enemy's trust) เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงโดยสามัญสำนึกของมนุษย์ทั่วไป ย่อมไม่มีผู้ใดอยากทำร้ายตนเอง หากบาดเจ็บก็เชื่อว่าคงเกิดจากการถูกทำร้าย ถ้าหากแม้นสามารถทำเท็จให้กลายเป็นจริง หลอกให้ศัตรูหลงเชื่อโดยไม่ติดใจสงสัย กลอุบายย่อมจะสัมฤทธิ์ผล การแสร้งทำให้ศัตรูหลงเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต" โดยคำว่า "ปิด" หมายความถึงการอาศัยความไร้เดียงสาของทารก หลอกล่อโดยโอนอ่อนผ่อนตามไป ก็จักลวงให้ศัตรูหลงเชื่อและบรรลุตามความประสงค์ที่ตั้งไว้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ทุกข์กายไปใช้ได้แก่อุยกายที่ยอมเสียสละร่างกายให้จิวยี่โบยหนึ่งร้อยที และแสร้งทำเป็นยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉเพื่อให้จิวยี่และขงเบ้งใช้ไฟทำลายกองทัพเรือของโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็กขู่โร่วจี้ กลยุทธ์ทุกข์กาย, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ทุกข์กาย · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันได

กลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันได หรือ ซ่างอูโชวที (Remove the ladder when the enemy has ascended to the roof) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการจงใจปกปิดซ่อนเร้นจุดอ่อนเพื่อมิให้ศัตรูมองเห็น สร้างเงื่อนไขและหลอกล่อให้ศัตรูเป็นฝ่ายบุกเข้าโจมตี แล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยวางกำลังสมทบและส่วนหลังที่วางกองกำลังไว้เป็นกองหนุน ตีโอบศัตรูให้หลบหนีเข้าไปภายในกองทัพ เสมือนถุงที่อ้าปากไว้รับหรือวงล้อมหลุมพรางที่วางดักไว้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวไว้ว่า "เจอพิษ มิควรที่" การขบเปรียบประดุจการบดเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อที่มีความเหนียว รังแต่จะทำให้ฟันเกิดการชำรุดเสียหาย หรือเสมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ฉันใด ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉันนั้น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ชักบ้านขึ้นบันไดไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่วางกลอุบายให้ม้าต้ายนำเกวียนที่บรรทุกประทัดและดินดำไปซุ่ม เพื่อช่วยเหลืออุยเอี๋ยนในคราวทำศึกกับลุดตัดกุดซ่างอูโชวที กลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันได, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันได · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ดูไฟชายฝั่ง

กลยุทธ์ดูไฟชายฝั่ง หรือ เก๋ออั้นกวนหว่อ (Watch the fires burning across the river) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ศัตรูเกิดการแตกแยก วุ่นวายและปั่นป่วนอย่างหนักภายในกองทัพ พึงรอจังหวะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ จับตาดูความเคลื่อนไหวของศัตรูทุกฝีก้าว ถ้าศัตรูเกิดความระแวงและใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันเอง เกิดการเข่นฆ่าแย่งชิงความเป็นใหญ่ แนวโน้มความพินาศและวอดวายก็จะเกิดขึ้นภายในกองทัพ ในช่วงระยะเวลานี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของฝ่ายศัตรู เตรียมความพร้อมในกองทัพไว้ล่วงหน้า ช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตนโดยใช้การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของศัตรูให้เป็นประโยชน์ มรรควิถีในการปิดล้อมโจมตีศัตรู เมื่อบุกเข้าล้อมทั้งสี่ด้านจงเปิดช่องทางไว้มุมหนึ่งไว้สำหรับเป็นทางหนีเอาชีวิตรอด เพื่อทำให้ศัตรูเกรงกลัวไม่กล้าต่อสู้ อาศัยจังหวะบุกเข้าโจมตียึดเอาเมืองแลทำลายกองทัพศัตรูได้โดยง่าย ตำราพิชัยสงครามซุนวูกล่าวไว้ว่า "เมื่อล้อมกองทัพศัตรูไว้ ต้องเปิดช่องไว้บ้าง"การปิดล้อม, สงครามสามก๊ก กลยุทธ์พลิกสถานการณ์, ทองแถม นาถจำนง, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ดูไฟชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์คบไกลตีใกล้

กลยุทธ์คบไกลตีใกล้ หรือ เหวี่ยนเจียวจิ้นกง (Befriend a distant state while attacking a neighbour) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อถูกจำกัดโดยสภาพภูมิศาสตร์ ควรจักตีเอาศัตรูที่อยู่ในบริเวณใกล้ตัวจึงจะเป็นประโยชน์ การบุกโจมตีศัตรูที่อยู่ห่างไกลออกไป จักกลายเป็นผลร้ายแก่กองทัพ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก" หมายความถึงในการหยิบยื่นไมตรีเพื่อผูกมิตรสัมพันธ์นั้น แม้นความคิดเห็นแต่ละฝ่ายอาจไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะยุติความขัดแย้ง และสามารถที่จะจับมือร่วมกันทำศึกสงครามได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูแม้ใกล้ไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับแคว้นไกลเพื่อเอาชัยชนะต่อแคว้นใกล้อย่างหนึ่ง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์คบใกล้ตีไกลไปใช้ได้แก่ขงเบ้งแนะอุบายให้เล่าปี่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือกังตั๋งของซุนกวนให้รอดพ้นจากเงื้อมมือการบุกโจมตีของโจโฉเหวี่ยนเจียวจิ้นกง กลยุทธ์คบไกลตีใกล้, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์คบไกลตีใกล้ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ หรือ เชิ่นหว่อต่าเจี๋ย (Loot a burning house) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอและย่ำแย่ ควรรีบฉกฉวยโอกาสนำทัพเข้าโจมตีเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือมอบหมายให้แม่ทัพหรือทหารที่มีความเข้มแข็งนำทัพเข้าโจมตี ซึ่งเป็นการฉกฉวยเอาผลประโยชน์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงและยุ่งเหยิง นำความดีความชอบมาเป็นของตนไฟไหม้ปล้นซ้ำ, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ตีชิงตามไฟ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น

กลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น หรือ ต๋าเฉ่าจิงเสอ (Startle the snake by hitting the grass around it) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่มีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจักส่งคนไปทำการสอดแนมให้รู้ชัดแจ้งเพื่อเป็นการกุมสภาพของศัตรูเอาไว้ เมื่อได้ข่าวคราวของฝ่ายศัตรูแล้วจึงนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตี เรียกว่า "สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน"แหวกหญ้าให้งูตื่น, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอก

กลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอก หรือ ซู่ซ่างไคฮวา (Deck the tree with false blossoms) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้แนวรบของพันธมิตร มาสร้างแนวรบป้องกันที่จะกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ตนเอง แม้กองกำลังทหารจะเล็กน้อยก็สามารถทำให้แลดูเสมือนกองกำลังทหารที่ใหญ่โตได้ ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินบินอยู่ในอากาศ เมื่อกางปีกทั้งสองข้างออกก็ช่วยทำให้นกอินทรีแลดูมีท่วงท่าที่สง่าและน่าเกรงขาม เฉกเช่นเดียวกับต้นไม้ที่ไร้ซึ่งดอกแลผล เมื่อนำดอกไม้มาเสียบติดไว้ทำให้ดูสวยงามขึ้น ผู้ที่ไม่ทันสังเกตก็จะไม่รู้ว่าดอกไม้ไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงการสร้างสิ่งบังหน้าเพื่อสบโอกาสในการเคลื่อนไหว ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอกไปใช้ได้แก่โจโฉที่ฉวยจังหวะและโอกาสอาศัยพระนามของพระเจ้าหองจูเปียนบังหน้าในการนำกองกำลังทหารปราบปรามแคว้นต่าง ๆ ที่ไม่ยอมขึ้นแก่ตนเองซู่ซ่างไคฮวา กลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอก, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอก · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้ม

กลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้ม หรือ เสี้ยวหลี่ฉางเตา (Hide a knife behind a smile) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการหลอกให้ศัตรูหลงเชื่อถึงความสงบ ไม่ให้ล่วงรู้ถึงความเคลื่อนไหวใด ๆ ของกองทัพ ทำให้ฝ่ายศัตรูเกิดความสงสัยและเกิดความสงบไม่เคลื่อนไหวในกองทัพเช่นกัน ทำให้เกิดความคิดที่มึนชาขึ้นและฉวยโอกาสเตรียมการเป็นความลับ การเฝ้าคอยระวังมิให้ฝ่ายศัตรูล่วงรู้ความลับหรือรู้ตัว รอคอยโอกาสเพื่อจะจู่โจมโดยฉับพลันอันจะทำให้สถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นการแสร้งทำเป็นมิตรแต่แท้จริงจ้องหาโอกาสจะกำจัดศัตรูอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้มไปใช้ได้แก่ชีฮูหยินภรรยาของซุนเซียง น้องสะใภ้ของซุนกวนที่วางแผนลอบฆ่าอิหลำที่คิดข่มเหงตนเองเป็นภรรยาด้วยรอยยิ้มประดุจยินดีจะมีสามีใหม่เสี้ยวหลี่ฉางเตา ซ่อนดาบในรอยยิ้ม, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้ม · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล

กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล หรือ หมานเทียนกว้อไห่ (Deceive the heavens to cross the ocean) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่คิดหรือมองข้ามสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่คิดว่าตนเองนั้นได้ตระเตรียมการไว้พร้อมสรรพแล้ว ก็มักจะมีความประมาทเลินเล่อและมองข้ามศัตรูไปอย่างง่ายดาย พบเห็นสิ่งใดที่มองเห็นเสมอในยามปกติก็ไม่บังเกิดความสงสัยหรือติดใจในสิ่งนั้น เกิดความชะล่าใจในตนเอง การบุกเข้าโจมตีศัตรูโดยที่ศัตรูไม่ทันรู้ตัวและตั้งระวังทัพได้ทันนับว่าเป็นการได้ชัยชนะในการต่อสู้มาแล้วครึ่งหนึ่ง สามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย การปกปิดอำพรางซ่อนเร้น จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำศึกสงครามบังฟ้าข้ามสมุทร, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ปิดประตูจับโจร

กลยุทธ์ปิดประตูจับโจร หรือ กวนเหมินจวอเจ๋ย (Shut the door to catch the thief) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีความอ่อนแอแลด้วยจำนวนที่น้อยนิด พึงตีโอบล้อมแล้วบุกทำลายเสียให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นภัยต่อไปในภายหลัง คัมภีร์อี้จิ้งกล่าวว่า "ปล่อยมิเป็นคุณซึ่งติดพัน" โดยคำว่า "ปล่อย" หมายความถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของศัตรู พละกำลังย่อมอ่อนเปลี้ย ไร้สมรรถนะ เสียขวัญและกำลังใจในการต่อสู้ คำว่า "ติดพัน" หมายความถึงการติดตามไล่ล่าอย่างไม่ลดละทั้งระยะทางใกล้หรือไกล ซึ่งคำว่า "มิเป็นคุณติดพัน" ก็คือเมื่อแม้นศัตรูจะแตกออกเป็นกองเล็กกองน้อย หากในการทำศึกสงครามแล้วปล่อยให้หลบหนีไปได้ด้วยเหตุอันใดก็ตาม แม้จะเป็นเพียงกองเล็ก ๆ แต่อาจนำภัยหวนย้อนกลับมาสร้างความยุ่งยากได้ในภายหลังจนต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์ในการทำศึกสงคราม ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดประตูจับโจรไปใช้ได้แก่ลิบองที่วางกลอุบายดักจับกวนอูและกวนเป๋งที่นำกำลังทหารหวนกลับมาตีเกงจิ๋วคืน หลังจากกวนอูพลาดท่าเสียทีให้แก่ซุนกวนกวนเหมินจวอเจ๋ย กลยุทธ์ปิดประตูจับโจร, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ปิดประตูจับโจร · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ปิดเมือง

กลยุทธ์เปิดเมือง หรือ คงเฉิงจี้ (The empty fort strategy) เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงในยามศึกสงคราม หากกำลังทหารไพร่พลเกิดความอ่อนแอหรือมีกำลังน้อย ยิ่งจงใจแสดงให้ศัตรูเห็นว่าในการศึกมิได้มีการวางแนวป้องกัน ทำให้ศัตรูเกิดความฉงนสนเท่ห์ ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังเข้าบุกโจมตี ในสถานการณ์ที่ศัตรูมีกำลังมากกว่า การใช้กลยุทธ์ปิดเมืองเพื่อป้องกันกองทัพตนเองเป็นการเลือกใช้กลยุทธ์ที่มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ท่ามกลางแข็งกันอ่อน" โดยคำว่า "แก้" ใช้ควบคู่กับคำว่า "พิสดาร ซ่อนพิสดาร" ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ศัตรูมีกองกำลังแข็งแรง หากแต่กองกำลังแลไพร่พลอ่อนแอให้จัดกำลังทหารโดยใช้กลยุทธ์ "กลวงยิ่งทำกลวง" เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ศัตรูคาดการณ์ไม่ถึง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดเมืองไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่ถอยทัพหลบหนีสุมาอี้หลังจากม้าเจ๊กเสียเมืองเกเต๋ง โดยแสร้งทำเป็นวางเฉยไม่สะดุ้งสะเทือนกับกองกำลังทหารสุมาอี้ที่ยกทัพติดตามมาคงเฉิงจี้ กลยุทธ์ปิดเมือง, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ปิดเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า

กลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า หรือ เจี่ยชือปู้เตียน (Feign madness but keep your balance) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการแสร้งยอมทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหวอย่าอวดทำเป็นสู่รู้ทำบุ่มบ่าม การอวดรู้ย่อมกลายเป็นผลเสียแก่ตนเองได้ในภายหน้า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน" โดยคำว่า "หยุด" หมายความถึง "อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับ ๆ มิให้ผู้ใดล่วงรู้ ประหนึ่งคมดาบที่แอบซ่อนอยู่ภายในฝัก มิปรากฏให้ผู้ใดได้เห็น ครั้นเมื่อถึงเวลาอันสมควรก็จักคำรนคำรามเสมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไป ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้าไปใช้ได้แก่เล่าปี่ที่แสร้งทำเป็นหวาดกลัวเสียงฟ้าร้องจนตะเกียบหลุดจากมือ เพื่อให้โจโฉตายใจและไม่คิดระแวงเล่าปี่ที่อ่านคิดการใหญ่ในภายหน้าเจี่ยชือปู้เตียน กลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับ

กลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับ หรือ อวี้ฉินกู้จ้ง (In order to capture, one must let loose) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้สติปัญญาในการวางแผน การจับเชลยศึกสงครามได้นั้นถ้าหากบีบคั้นจนเกินไปจนไม่สามารถรีดเอาความต่าง ๆ ได้ เปรียบประหนึ่ง "สุนัขที่จนตรอก ย่อมต่อสู้จนสุดชีวิต" การปล่อยศัตรูให้เป็นฝ่ายหลบหนีก็จักเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจ ความเหิมเกริมของศัตรูได้ การปล่อยศัตรูหลบหนีจะต้องนำกำลังไล่ติดตามอย่าลดละ เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของศัตรูให้อ่อนแรง กะปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อหมดสิ้นเรี่ยวแรง มิได้มีใจคิดต่อสู้ด้วยก็จะยอมจำนนสวามิภักดิ์ เมื่อนั้นจึงจับเอาเป็นเชลยได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการทำศึกสงครามที่ไม่เสียเลือดเนื้อและกำลังทหาร อีกทั้งยังเป็นเหตุให้ศัตรูแตกพ่ายยับเยินไปเอง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่ทำศึกสงครามกับเบ้งเฮ็ก เมื่อจับได้เป็นเชลยก็ปล่อยตัวเสียเพื่อให้เบ้งเฮ็กไปรวบรวมผู้คนมาต่อสู้อีกครั้ง จนกระทั่งยอมแพ้และสวามิภักดิ์ต่อขงเบ้งอวี้ฉินกู้จ้ง กลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับ, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยก

กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยก หรือ เพาจวนอิ่วอวี้ (Tossing out a brick to get a jade gem) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้สิ่งใดที่มีความคล้ายคลึงกันในการหลอกล่อศัตรู ให้ศัตรูเกิดความสับสนและต้องกลอุบายแตกพ่ายไป การใช้กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกนี้ เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของศัตรู ในยามทำศึกสงครามเมื่อได้รบพุ่งกับศัตรู แม่ทัพหรือขุนศึกฝ่ายตรงข้ามมีแต่ความโง่เง่า มิรู้จักการพลิกแพลงกลยุทธ์ในเชิงรบ จักหลอกล่อด้วยผลประโยชน์ อำนาจวาสนา ถ้าศัตรูหลงในลาภยศต่าง ๆ มิรู้ผลร้าย ขาดการไตร่ตรองใคร่ครวญในกลอุบาย ก็สามารถลอบซุ่มทหารโจมตีเอาชนะมาเป็นของตนได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่พึงพอใจฝีมือเกียงอุยจึงอยากได้ตัวไว้ จึงยอมเสียแฮหัวหลิมซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงบุตรเขยของโจโฉเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งนายทหารที่มีสติปัญญาเป็นเลิศเพาจวนอิ่วอวี้ กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยก, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยก · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ไส้ศึก

กลยุทธ์ไส้ศึก หรือ ฝ่านเจี้ยนจี้ (Let the enemy's own spy sow discord in the enemy camp) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อศัตรูแสร้งวางกลอุบายหลอกล่อให้เกิดการแตกแยกภายในกองทัพ ขาดความไว้ใจ พึงซ้อนกลอุบายสร้างแผนลวงให้ศัตรูเกิดความแตกแยกร้าวฉาน ให้ศัตรูเกิดความระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ใช้ประโยชน์จากความระแวงแล้วฉกฉวยโอกาสบุกเข้าโจมตีแย่งชัยชนะมาเป็นของตน คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา" โดยคำว่า "ช่วย" หมายความถึงเมื่อมีการช่วยเหลือจากภายในของศัตรู ย่อมเป็นประโยชน์ในการทำศึก จึงเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการบุกเข้าโจมตีศัตรูให้ย่อยยับสิ้นซาก ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ไส้ศึกไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่แสร้งรับชัวต๋งและชัวโฮนายทหารไส้ศึกของโจโฉไว้ในคราวศึกเซ็กเพ็ก และวางกลอุบายซ้อนแผนเผากองทัพเรือของโจโฉจนวอดวายฝ่านเจี้ยนจี้ กลยุทธ์ไส้ศึก, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกลยุทธ์ไส้ศึก · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

กวนเป๋ง

กวนเป๋ง (เสียชีวิต ค.ศ. 220)บันทึกจือจื้อทงเจี้ยนระบุว่ากวนเป๋งถูกจับและถูกประหารในเดือน 12 ปีที่ 24 ของศักราชเจี้ยนอัน (ค.ศ. 196-220) ในรัชสมัยของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ตามเนื้อความในบันทึกจือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 68 ดังนี้: (... 十二月,璋司馬馬忠獲羽及其子平於章鄉,斬之,遂定荊州。) ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนมกราคม..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกวนเป๋ง · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนจ้าน

กองซุนจ้าน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนจ้าน (Gongsun Zan) มีชื่อรองว่า โป๋กุย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองปักเป๋ง กองทัพส่วนใหญ่ของกองซุนจ้านส่วนใหญ่ขี่ม้าสีขาว เนื่องจากกองซุนจ้านปราบพวกชนเผ่าพื้นเมืองเกียง เข้าผนวกทัพของตน กองซุนจ้านเป็นเพื่อนกับเล่าปี่มาตั้งแต่ครั้งยังเรียนหนังสือด้วยกัน ในสงครามปราบตั๋งโต๊ะ ในที่ประชุมพล อ้วนเสี้ยวถามว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหลังกองซุนจ้านเป็นใคร กองซุนจ้านจึงแนะนำว่า ผู้นี้เป็นสหายข้าพเจ้า ชื่อเล่าปี่ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น บรรดาขุนพลจึงได้รู้จักเล่าปี่เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของวีรกรรมกวนอู เมื่ออาสาตัดหัวฮัวหยงได้โดยที่สุราที่โจโฉรินอวยพรให้ ยังอุ่น ๆ อยู่ เมื่อครั้งเล่าปี่ตกอับ กองซุนจ้านได้เขียนฎีกาทูลฮ่องเต้ ให้อภัยโทษแก่เล่าปี่ ต่อมาอ้วนเสี้ยวอยากได้กิจิ๋ว ซึ่งเจ้าเมืองกิจิ๋วคือฮันฮก เป็นคนอ่อนแอ อ้วนเสี้ยวคิดแผนการไม่ออก ฮองกี๋จึงแนะแผนการใช้กองซุนจ้านนำทัพมา แล้วให้อ้วนเสี้ยวนำทัพไปกิจิ๋ว อ้างว่ามาช่วย สุดท้ายอ้วนเสี้ยวยึดเมืองกิจิ๋วไว้เอง กองซุนจ้านส่งกองซุนอวดน้องชายตนไปเจรจา แต่กลับถูกทหารอ้วนเสี้ยวปลอมเป็นทหารตั๋งโต๊ะดักยิงตาย กองซุนจ้านโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้รบกับอ้วนเสี้ยวอยู่หลายครั้ง เมื่อครั้งกองซุนจ้านนำทัพมาเผชิญหน้ากับกองทัพของอ้วนเสี้ยวที่สะพานจีเกี้ยว บุนทิวนายทหารเอกของอ้วนเสี้ยว ได้บุกมาจับกองซุนจ้าน จนกองซุนจ้านจนตรอก แต่ดีที่จูล่ง มาช่วยไว้ทันและได้เป็นทหารของกองซุนจ้านในกาลต่อมา ภายหลังกองซุนจ้านสติวิปลาส ไม่ดูแลลูกน้องของตนเองให้ดี เมื่ออ้วนเสี้ยวยกทัพมา ก็ไม่ส่งทหารไปช่วยเหล่าเมืองขึ้น จนสุดท้ายอ้วนเสี้ยวบุกมาถึงเมืองอี้จิง กองซุนจ้านสั่งทหารสร้างกำแพงแน่นหนา แต่ก็ไม่วาย อ้วนเสี้ยวส่งทหารขุดอุโมงค์ไปจับกองซุนจ้าน กองซุนจ้านเมื่อจนตรอก จึงฆ่าบุตรและภรรยา และก็ฆ่าตัวตาย ในปี พ.ศ. 742 อันเป็นปีเดียวกับที่อ้วนสุด น้องชายอ้วนเสี้ยวตาย รูปกองซุนจ้านจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 กองซุนจ้าน.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกองซุนจ้าน · ดูเพิ่มเติม »

การทหาร

การทหาร เป็นองค์การที่สังคมอนุญาตให้ใช้อำนาจสำหรับสังหาร (lethal force) ซึ่งโดยปกติรวมการใช้อาวุธ ในการป้องกันประเทศ โดยต่อสู้กับภัยคุกคามที่แท้จริงหรือที่รับรู้เช่นนั้น การทหารอาจมีการทำหน้าที่อื่นต่อสังคม เช่น การเดินหน้าวาระทางการเมือง (ในกรณีคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง) สนับสนุนหรือส่งเสริมการขยายทางเศรษฐกิจผ่านจักรวรรดินิยม และเป็นการควบคุมทางสังคมภายในรูปแบบหนึ่ง คำว่า "การทหาร" หรือ "ทางทหาร" ที่เป็นคำคุณศัพท์ ยังใช้หมายถึง ทรัพย์สินหรือมุมมองของทหาร การทหารทำหน้าที่เป็นสังคมภายในสังคม โดยมีชุมชนทหารเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กุยแก

กุยแก (Guo Jia) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ยอดกุนซือแห่งวุยก๊ก เป็นชาวเมืองอิ่งชวน เอี๋ยงตี๋ (เมืองอวี๋ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ชื่อรองฟ่งเสี้ยว เดิมอยู่กับอ้วนเสี้ยว แต่อ้วนเสี้ยวเป็นผู้นำที่ใช้คนไม่เป็น กุยแกจึงมาอยู่กับโจโฉในวัยเพียง 27 ปี ด้วยการแนะนำของซุนฮก กุยแกเป็นนักวางแผนคนสำคัญ เป็นผู้สรุปข้อดี 10 ประการของโจโฉ และสรุปข้อด้อย 10 ประการของอ้วนเสี้ยวเปรียบเทียบให้โจโฉฟัง ซึ่งเป็นแรงดลใจให้โจโฉทำสงครามแตกหักกับอ้วนเสี้ยว แม้จะมีกำลังคนน้อยกว่าอ้วนเสี้ยวถึง 10:1 แต่โจโฉเอาชนะอ้วนเสี้ยวได้ กุยแกเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อาจเทียบได้กับขงเบ้งของเล่าปี่ ทว่าทั้งคู่ไม่มีโอกาสได้ประชันฝีมือกัน เพราะกุยแกเสียชีวิตเสียก่อน ด้วยป่วยตายที่เมืองลกเอี๋ยงในวัยเพียง 38 ปี ระหว่างที่โจโฉทำสงครามติดตามอ้วนซง และอ้วนถำ บุตรชายของอ้วนเสี้ยว ที่หนีไป ภายหลังอ้วนเสี้ยวตายไปแล้ว ก่อนตาย กุยแกได้เขียนจดหมายถึงโจโฉว่า ไม่จำเป็นต้องไล่ติดตามคนทั้ง 2 ไปไกล เพราะไม่นานทั้ง 2 จะแตกกันเองและจะมีผู้จัดการให้ในที่สุด ซึ่งก็ปรากฏเป็นจริงดังคำของกุยแก เพราะเมื่ออ้วนซงและอ้วนฮีหนีไปอยู่กับกองซุนข้อง กองซุนข้องระแวงคนทั้ง 2 อยู่แล้ว จึงฆ่าและตัดหัวมามอบให้แก่โจโฉ เมื่อกุยแกตาย โจโฉร่ำไห้อาลัยมาก รำพึงรำพันว่า กุยแกตายแต่ยังหนุ่ม เหมือนสวรรค์กลั่นแกล้งตน และอีกครั้งหลังพ่ายแพ้ย่อยยับจากศึกเซ็กเพ็ก โจโฉรำพันว่า ถ้ากุยแกยังอยู่จะต้องห้ามปรามตน.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและกุยแก · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มังกร

มังกร มังกร (dragon; จากdraco) เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดีของจีนและตะวันตก แม้จะใช้คำว่ามังกร (dragon) เหมือนกัน แต่มังกรของจีนและตะวันตกนั้นสื่อถึงสัตว์ต่างชนิดกัน มังกรของจีนมีรูปร่างลักษณะจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีก แต่สามารถบินไปในอากาศได้ ส่วนมังกรของตะวันตกจะมีขา มีปีกและสามารถพ่นไฟได้ ในตำนานยุโรป มังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ มังกรจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษทั้งหลาย การฆ่ามังกรและขึ้นเถลิงราชย์เป็นกษัตร.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ม้าต้าย

ม้าต้าย (Ma Dai; ม้าต้าย (馬岱) เป็นขุนพลแห่งจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก ในอดีตนั้น เขาเป็นทหารเอกรับใช้ผู้เป็นลุง คือ ม้าเท้งและม้าเฉียว บุตรคนโตของม้าเท้ง เมื่อม้าเท้งเข้าเมืองหลวงตามคำเชิญของโจโฉ ม้าต้ายได้ติดตามไปด้วย เมื่อม้าเท้งถูกจับโดยกลลวงของโจโฉ เขาจึงหนีออกมาจากเมืองหลวง โดยการปลอมตัวได้สำเร็จ ม้าต้ายมีชื่อเสียงโด่งดังจากการสังหารกบฏอุยเอี๋ยน จากการวางแผนของขงเบ้งและเกียงอุย เมื่ออุยเอี๋ยนก่อกบฏ เขาลวงอุยเอี๋ยนโดยการแสร้งทำเป็นเข้าร่วมทัพกบฏ หลังจากนั้นเมื่อได้โอกาส เขาจึงลอบเข้าไปด้านหลังของอุยเอี๋ยนและสังหารเขาเสีย รางวัลที่เขาได้รับสำหรับการที่เขาสังหารอุยเอี๋ยนก็คือบรรดาศักดิ์ที่ริบมาจากอุยเอี๋ยนนั่นเอง หลังจากที่เล่าปี่ ฮ่องเต้แห่งเสฉวนสิ้นพระชนม์ ม้าต้ายนั้นเป็นแม่ทัพที่ซื่อสัตย์มากผู้หนึ่งของขงเบ้งและเขายังมีส่วนร่วมในชัยชนะสงครามม่านใต้ที่รบกับเบ้งเฮ็กอย่างมาก ไม่แพ้จูล่งและอุยเอี๋ยนเลยทีเดียว.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและม้าต้าย · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเจ๊ก

ม้าเจ๊ก (Ma Su;; ค.ศ. 190 — ค.ศ. 228) เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหรือกุนซือและแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊ก.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและม้าเจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ผาแดง

แผนที่บริเวณศึก ยุทธการที่ผาแดง หรือ ศึกผาแดง (Battle of Red Cliffs) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก หรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ (Battle of Chìbì) เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและยุทธการที่ผาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ลกซุน

ลกซุน (Lu Xun; จีนตัวเต็ม: 陸遜; จีนตัวย่อ: 陆逊; พินอิน: Lù Xùn) แม่ทัพคนสำคัญอีกคนของง่อก๊ก ผู้เผาทัพใหญ่ของเล่าปี่ในศึกอิเหลงจนย่อยยับ เล่าปี่ต้องหนีซมซานไปยังเมืองเป๊กเต้และตรอมใจตายในที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นเล่าปี่ได้ดูถูกลกซุนว่าเป็น"เด็กอมมือ" เพราะขณะนั้นลกซุนอายุยังน้อย (39 ปี) และไม่มีชื่อเสียงนัก ลกซุนมีชื่อรองว่า "ป๋อเหยียน" (伯言) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก อาศัยอยู่กับลกคัง เจ้าเมืองโลกั๋ง ผู้เป็นลุง ต่อมาอ้วนสุดขอยืมเสบียงจากลกคัง แต่ลกคังไม่ยินยอม ทำให้อ้วนสุดสั่งซุนเซ็กโจมตีเมืองโลกั๋ง ลกคังจึงส่งลกซุนและครอบครัวมาหลบภัยที่กังตั๋ง ต่อมาลกซุนได้รับราชการกับง่อก๊ก โดยเริ่มต้นเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในสังกัดของซุนกวน ลกซุนเป็นขุนนางบัณฑิตที่มีสติปัญญา ชำนาญพิชัยสงคราม มีผลงานในการปกครองและปราบโจร ซุนกวนชื่นชอบในความสามารถของลกซุน จึงเลื่อนตำแหน่งให้หลายครั้ง และให้แต่งงานกับบุตรสาวของซุนเซ็ก หลานสาวของตน ลกซุนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในแผนการยึดเกงจิ๋วของลิบอง ซึ่งแม้เป็นศึกใหญ่ครั้งแรกของลกซุน ก็สามารถลวงกวนอู (ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วในขณะนั้น) ให้ตายใจ แล้วเข้ายึดเกงจิ๋วไว้ได้ เป็นเหตุให้กวนอูถูกจับและประหารชีวิต ต่อมาลกซุนได้ผู้บัญชากองทัพง่อก๊กในศึกอิเหลง ป้องกันการบุกโดยทัพใหญ่ของเล่าปี่จำนวน 750,000 คน ซึ่งยกทัพมาแก้แค้นให้กวนอูและเตียวหุย (ซึ่งถูกลอบสังหารขณะจัดเตรียมทัพ) ลกซุนใช้ยุทธวิธีเผาค่ายเล่าปี่จนย่อยยับและรุกไล่ตามเล่าปี่ แต่กลับเข้าไปหลงอยู่ในกองหินค่ายกลที่ขงเบ้งสร้างไว้ก่อนหน้า ลกซุนหาทางออกไม่ได้ แต่ได้ฮองเซ็งหงัน พ่อตาของขงเบ้งผ่านมาช่วยเหลือและเปิดเผยว่า ขงเบ้งเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า ต่อไปจะมีแม่ทัพง่อก๊กหลงเข้ามาในนี้ ขออย่าได้ช่วย แต่ฮองเซ็งหงันได้พาลกซุนออกมาอย่างปลอดภัย ลกซุนจึงเลิกทัพกลับกังตั๋ง แม้ลกซุนมีผลงานมากมาย แต่สุดท้ายขัดแย้งกับซุนกวนเพราะสนับสนุนรัชทายาทซุนโห ทำให้ซุนป๋าบุตรของซุนกวนอีกคนไม่พอใจ ใส่ร้ายลกซุนมากมาย จนซุนกวนปลดจากตำแหน่งและส่งคนมาตำหนิต่อว่า ทำให้ลกซุนโกรธและเสียใจจนตรอมใจต.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและลกซุน · ดูเพิ่มเติม »

ลิบอง

ลิบอง (吕蒙; Lu Meng) เป็นหนึ่งในแม่ทัพคนสำคัญยิ่งของง่อก๊ก มีความเก่งกาจ และเฉลียวฉลาดอย่างมาก ลิบองมีฐานะยากจน เกิดที่เมืองยีหลำแห่งอิจิ๋ว เริ่มต้นโดยไต่เต้าจากการเป็นทหารเลวพร้อมกับตันเติ้ง ผู้เป็นพี่เขย ตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี แต่ได้แสดงความสามารถบ่อยครั้งรวมถึงความใจถึงจนถึงขั้นบ้าระห่ำ จนพี่เขยตกใจ ครั้งหนึ่งได้หุนหันพลันแล่นจนตัดหัวของทหารรุ่นพี่คนหนึ่งที่พูดจาดูถูกปรามาสซึ่งหน้า แล้วหนีคดีความไปซ่อนตัว แต่ถูกซุนเซ็กเกลี้ยกล่อม หลังจากพูดกันไม่กี่คำ ลิบองก็ยอมเข้ากับซุนเซ็ก เมื่อพี่เขยสิ้น ลิบองก็ได้ขึ้นครองตำแหน่งแทน จนกระทั่งหมดยุคของซุนเซ็ก มาถึงซุนกวนและจิวยี่ รวมถึงโลซก ลิบองได้แสดงฝีมือจนกระทั่งซุนกวนไว้ใจ ให้นำทัพจัดการเรื่องสำคัญต่าง ๆ เมื่อยังหนุ่ม ลิบองแทบไม่มีความรู้ในเรื่องตำรา เนื่องจากเป็นผู้ไม่มีการศึกษา จนซุนกวนสั่งให้ลิบองศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งลิบองได้หันมาศึกษาเล่าเรียน ครั้งหนึ่งโลซกได้ดูหมิ่นความรู้ของลิบอง แต่เมื่อได้เจรจาแล้วพบว่าลิบองมีความคิดที่ลึกซึ้ง มีกลศึกที่แยบคาย จนโลซกต้องเปลี่ยนความคิด สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับลิบอง คือการวางแผนยึดเกงจิ๋วกลับคืน และจับตัวกวนอูได้ จนทำให้กวนอูถูกประหารชีวิตในที่สุด โดยที่แทบจะไม่ต้องสูญเสียไพร่าพลเลย ทำให้ซุนกวนชื่นชมในตัวลิบองมาก แต่ลิบองกลับเสียชีวิต จากโรคภัยหลังจากยึดเกงจิ๋วได้ไม่นาน ในวรรณกรรมเล่าว่าลิบองเสียชีวิตจากการถูกอสุรกายกวนอูที่ตายแล้วเข้าสิง กลางงานเลี้ยงที่ซุนกวนจัดให้เพื่อฉลองชัยชนะ แต่แท้จริงแล้วลิบองเสียชีวิตด้วยโรค ขณะอายุได้ 42 ปี โดยซุนกวนยกตำแหน่งเจ้าเมืองลำกุ๋นและฉานเหลิง พร้อมเงินหนึ่งแสน ทองคำห้าร้อยชั่ง แต่ทว่ายังไม่ทันได้รับก็เสียชีวิตไปเสียก่อน ก่อนเสีย ลิบองได้ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ทางการหน้า 3, ลิบอง ผู้พิชิตโดยไม่ร.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและลิบอง · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและลิโป้ · ดูเพิ่มเติม »

ลุดตัดกุด

ลุดตัดกุด (Wu Tugu) เป็นเจ้าเมืองออโกก๊กในดินแดนม่านภายใต้การบัญชาของเบ้งเฮ็ก ทหารออโกก๊กเป็นทหารที่สวมเกราะหวาย ซึ่งเป็นเกราะที่ชุบน้ำมันถึงครึ่งปี ทำให้ฟันแทงไม่เข้าและสามารถลอยน้ำได้ หลังจากเบ้งเฮ็กถูกขงเบ้งจับตัวครั้งที่ 6 แล้วถูกปล่อยไป เบ้งเฮ็กได้ไปร้องขอต่อลุดตัดกุดให้ยกทหารเกราะหวายไปรบกับขงเบ้ง ในศึกแรก กองทัพของขงเบ้งนำโดยจูล่งและอุยเอี๋ยนได้แพ้ทหารเกราะหวายของลุดตัดกุด ขงเบ้งจึงคิดอุบายให้อุยเอี๋ยนไปรบกับลุดตัดกุดและแกล้งแพ้หลายๆครั้งและถอยไปยังหุบเขา ลุดตัดกุดหลงกลเข้าไปในหุบเขาที่ขงเบ้งได้ทิ้งดินระเบิดไว้ แล้วขงเบ้งจึงสั่งให้ทหารจุดเพลิงและทิ้งไปในหุบเขา เกราะหวายเป็นเกราะชุบน้ำมันจึงติดไฟได้ง่าย ทำให้ทหารเกราะถูกเพลิงเผาทั้งเป็นตายสิ้นรวมทั้งลุดตัดกุดด้ว.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและลุดตัดกุด · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและสุมาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและหมา · ดูเพิ่มเติม »

หยก

right หยก (Jade) คือชื่อที่ใช้เรียกหินซึ่งเป็นอัญมณีอันล้ำค่ามากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล ในอดีตเข้าใจกันว่าหยกมีเพียงชนิดเดียว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความรู้ทางด้านเคมีมากขึ้น จึงสามารถแยกหยกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและหยก · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเหียบ

ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเปียน

อ๋องแห่งหงหนง หรือพระนามเดิมว่า เปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ เปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เปี้ยนเจ้าชายน้อย") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ฮั่น (พระองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮา มีพระอนุชาต่างพระมารดาคือ หองจูเหียบ ในปี พ.ศ. 732 พระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮาผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ทูลเชิญหองจูเปียนขึ้นสืบราชบัลลังก์ ขณะนั้น หองจูเปียนมีพระชนม์ได้ 14 พรรษา ต่อมา โฮจิ๋นถูกสิบขันทีฆ่า และสิบขันทีถูกกำจัด ตั๋งโต๊ะได้เข้ามามีอำนาจแทน แล้วถอดหองจูเปียนออกจากพระราชบัลลังก์ ลดฐานันดรจากพระมหากษัตริย์เป็นอ๋อง (เจ้าชาย) มีบรรดาศักดิ์ว่า "อ๋องแห่งหงหนง" แล้วให้ตั้งหองจูเหียบเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั้งตนเองเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) ต่อมาในพ.ศ. 733 ตั๋งโต๊ะจึงส่งคนสนิทไปประหารหองจูเปียนพร้อมทั้งพระราชชนนีและพระสนม.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและหองจูเปียน · ดูเพิ่มเติม »

อินทรี

อินทรี เป็นนกจำพวกนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Accipitridae อันดับ Accipitriformes (วงศ์และอันดับเดียวกับ เหยี่ยว) มีโครงสร้างทางกายภาพที่แข็งแรง ประกอบด้วยโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ ขน และกรงเล็บเป็นหลัก จัดอยู่ในประเภทนกที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร มีขนาด ปีก และ หาง ที่กว้าง ลักษณะปลายปีกแหลมหรือปีกแตก จะงอยปากงองุ้มเป็นตะขอ อินทรีเป็นนกที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง สายตาคม บินเร็ว โจมตีแม่นยำ มองเห็นเป้าหมายได้จากระยะไกล มีเพดานบินตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2,100 เมตร และจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีสายตาดีที่สุดในโลก อีกทั้งยังถือเป็นนกหรือสัตว์ปีกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีอายุได้มากถึง 70 ปี ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและสร้างรังบนหน้าผาที่สูงชัน อินทรีเป็นนกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, งู, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กเช่น หนู และเป็นนกนักล่าซึ่งล่านกด้วยกัน และไข่นกที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร อินทรีพบอาศัยกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ทั่วทุกแห่งในโลก ยกเว้นพื้นที่ในทวีปแอนตาร์กติก ที่มีอากาศหนาวเย็น ในประเทศไทย มีอินทรีอยู่ด้วยกันจำนวนหนึ่ง อาทิ นกออก (Haliaeetus leucogaster), อินทรีหัวนวล (H. leucoryphus), อินทรีดำ (Ictinaetus malaiensis), อินทรีปีกลาย (Clanga clanga) เป็นต้น เนื่องจากเป็นนกขนาดใหญ่ น่าเกรงขาม และบินได้สูงและกว้างไกล ทำให้มีความสง่างาม ในเชิงของการเป็นสัญลักษณ์แล้ว อินทรีถูกมนุษย์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์เป็นระยะเวลายาวนาน ในหลายวัฒนธรรมของทุกมุมโลก เช่น เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งของไทย หรือ สหรัฐอเมริกาได้ใช้อินทรีหัวขาว (Haliaeetus leucocephalus) เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

อุยกาย

อุยกาย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือ หวงก้าย (ตามสำเนียงจีนกลาง) (Huang Gai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก ชื่อรอง กงฟู่ รับใช้ตระกูลซุนถึง 3 สมัย ตั้งแต่สมัยของซุนเกี๋ยนแต่ครั้งศึกโจรโพกผ้าเหลือง ซุนเซ็กในสมัยศึกปราบตั๋งโต๊ะและศึกปราบลิโป้ และซุนกวนในศึกเซ็กเพ็ก จนได้ชื่อว่า "แม่ทัพสามแผ่นดิน".

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและอุยกาย · ดูเพิ่มเติม »

อุยเอี๋ยน

อุยเอี๋ยน (Wei Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊กรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อรองบุ้นเตีย ใช้ง้าวคู่เป็นอาวุธ ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและอุยเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนซง

อ้วนซง Yuan Shang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก บุตรคนสุดท้องของอ้วนเสี้ยว เกิดจากนางเล่าซือภรรยาน้อย มีฉายาว่า เสี่ยนฟุ่ อ้วนเสี้ยวรักมาก อยากให้ครองแคว้นกิจิ๋วแทนตน รูปร่างหน้าตาสง่างาม กล้าหาญในการสงคราม แต่ไม่รู้จักพลิกแพลงตัวเองให้เหมาะสมกับกาลเท.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและอ้วนซง · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

อ้องอุ้น

หวัง ยฺหวิ่น ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ อ้องอุ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 137–192) ชื่อรองว่า จื่อชือ (子师) เป็นข้าราชการชาวจีนปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดำรงตำแหน่งอุปราช (司徒) ในรัชกาลพระเจ้าหลิว เสีย (劉協) หรือหองจูเหียบ เข้าสู่อำนาจโดยวางแผนให้ขุนศึกลฺหวี่ ปู้/ลิโป้ (呂布) สังหารอุปราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ (董卓) แต่ในไม่ช้า ผู้ใต้บัญชาของต่ง จั๋ว ก็ก่อการกำเริบ เป็นผลให้หวัง ยฺหวิ่น ถูกประหารพร้อมครอบครัว ในนวนิยายเรื่อง สามก๊ก (三國演義) หวัง ยฺหวิ่น เป็นบิดาบุญธรรมของตัวละครหญิงชื่อ เตียวฉัน/เตียวเสียน (貂蟬) ซึ่งเขาใช้ไปยุแยงให้ลฺหวี่ ปู้ และต่ง จั๋ว บาดหมางกัน จนลฺหวี่ ปู้ สังหารต่ง จั๋ว.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและอ้องอุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ฮันฮก

ันฮก (Han Fu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองอิ่งชวน (เองฉวน) มณฑลเหอหนาน มีฉายาว่าอุ๋นเจ๋ย์ เป็นคนขี้ขลาด ไม่กล้าทำงานใหญ่ๆ ติดสินบนตั๋งโต๊ะจึงได้ครองแคว้นกิจิ๋ว ครั้นหัวเมืองต่างได้ยกทัพมาปราบตั๋งโต๊ะ ณ เมื่อทำการไม่สำเร็จ ก็ถอยทัพกลับ เพราะอ้วนเสี้ยวรู้กำพืดของฮันฮกดี จึงสมคบกับกองซุนจ้าน เจ้าเมืองปักเป๋งจะเข้ามาแย่งเอาแคว้นกิจิ๋ว กองซุนจ้านตกลงด้วย อ้วนเสี้ยวจึงมีจดหมายบอกให้ฮันฮกเป็นเชิงแจ้งให้รู้ว่า กองซุนจ้านปรึกษาจะยกทัพมาตีกิจิ๋ว ฮันฮกตกใจ รีบเชิญอ้วนเสี้ยวเข้ามาอารักขาแคว้นกิจิ๋วทันที อ้วนเสี้ยวก็ได้แคว้นกิจิ๋วโดยไม่ต้องเสียเลือด ส่วนฮันฮกรีบหนีเอาตัวรอดไปอยู่เมืองตันลิว และเป็นทุกข์กระวนกระวายใจ กลัวคนนั้นจะทำราย คนนี้จะทำร้าย ในที่สุดเลยต้องฆ่าตัวตาย รูปฮันฮกจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและฮันฮก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและจักรพรรดิเว่ยหมิง · ดูเพิ่มเติม »

จิวยี่

วยี่ (Zhou Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู เกิดในครอบครัวขุนนางเก่า มีชื่อรองว่า กงจิน (公瑾) ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหาร และศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยจิวยี่เป็นผู้ชำนาญทางดนตรี กล่าวกันว่า ถ้าใครดีดพิณผิดแม้นิดเดียว ใครต่อใครจับไม่ได้ แต่จิวยี่สามารถจับได้ จิวยี่เป็นผู้มีนิสัยโอบอ้อม มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง ดังนี้ จึงมีผู้ที่เคารพนับถือเป็นมิตรสหายมากม.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและจิวยี่ · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติ

ฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟกาลองกังปะทุ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2525 ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ "ธรรมชาติ" หมายถึง ปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าอะตอมไปจนถึงจักรวาล คำว่า nature มาจากคำภาษาละติน natura หรือ "คุณสมบัติสำคัญ, พื้นนิสัยสืบทอด" และในสมัยโบราณ ตามตัวอักษรหมายถึง "กำเนิด" natura เป็นคำแปลภาษาละตินของคำภาษากรีก physis (φύσις) ซึ่งเดิมเกี่ยวข้องกับลักษณะภายในซึ่งพืช สัตว์และลักษณะเฉพาะ (feature) อื่นของโลกพัฒนาแนว (accord) ของตน มโนทัศน์ธรรมชาติโดยรวม จักรวาลทางกายภาพ เป็นหนึ่งในหลายการต่อขยายของความคิดดั้งเดิม เริ่มต้นด้วยการประยุกต์ใช้แก่นบางอย่างของคำว่า φύσις โดยนักปรัชญายุคก่อนโสเครติส และได้รับความแพร่หลายอย่างต่อเนืองนับแต่นั้น การใช้นี้ได้รับการยืนยันระหว่างการมาถึงของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในหลายศตวรรษหลัง ปัจจุบัน "ธรรมชาติ" มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ่งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตน เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง "สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ" สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น อย่างเช่น "ธรรมชาติมนุษย์" มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ่งยังพบในปัจจุบันอยู่ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial) โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า "ธรรมชาติ" ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติหรือสังเคราะห.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากร

ทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสง พืชและสัตว์ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีทรัพยากรที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและภูมิอาก.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและทรัพยากร · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร

ทหารในประเทศเคนยา ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทูต

ทูต มีความหมายว่า ตัวแทน, ผู้รับเจรจาแทน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและทูต · ดูเพิ่มเติม »

ดาว

ว อาจหมายถึง; วัตถุท้องฟ้.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและดาว · ดูเพิ่มเติม »

ตันฮก

ีซี (Xu Shu) หรือตันฮก (Shan Fu) ได้รับฉายาจากยาขอบว่าเป็น "ผู้เผ่นผงาดเหนือเมฆ" มีชื่อรองว่า เหวียนจื่อ เป็นชาวเมืองเองจิ๋ว มณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยร่ำเรียนวิชากระบี่ เติบใหญ่ขึ้นมาได้ศึกษาศิลปศาสตร์ ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จนชำนาญ โดยเป็นศิษย์ของสุมาเต็กโชได้ร่วมสำนักเดียวกับขงเบ้ง และบังทอง เมื่อยามว่างมักจะถกเถียง หารือกับขงเบ้งเสมอ ๆ ต่อมาเมื่อเกิดกลียุค ชีซีได้ฆ่าขุนนางชั่วผู้หนึ่งตาย จึงหลบหนีมาและปลอมชื่อว่าตันฮก.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและตันฮก · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและซุนกวน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวหลิม

แฮหัวหลิม เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นขุนพลแห่งวุยก๊กเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของแฮหัวตุ้นและเป็นพระสหายที่สนิทที่สุดของพระเจ้าโจผี ฮแหัวหลิม ฮแหัวหลิม.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและแฮหัวหลิม · ดูเพิ่มเติม »

โจหยิน

หยิน (Cao Ren) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เป็นพี่ชายของโจหอง เป็นคนจิตใจกล้าหาญ อารมณ์ร้อนแรง เคร่งครัดต่อระเบียบวินัย ชำนาญการพิชัยสงคราม เมื่อโจโฉป่าวประกาศระดมพลเพื่อกำจัดตั๋งโต๊ะ โจหองและโจหยินผู้พี่ได้คุมกำลังพันเศษมาเข้าร่วมกับโจโฉที่เมืองตันลิว นับแต่นั้นทั้งสองพี่พี่น้องก็ได้ร่วมมือกับโจโฉตั้งตนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โจหยินได้รบให้โจโฉในตำแหน่งแม่ทัพใหญ่หลายครั้ง.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและโจหยิน · ดูเพิ่มเติม »

โจฮวน

ระเจ้าโจฮวน (Cáo Huàn) เป็นฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของวุย ก๊ก ซึ่งถูกสุมาเอี๋ยน (Sima Yan) ขับออกจากราชบังลังก์และสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนที่ราชวงศ์วุยและเปลี่ยนชื่อก๊กจากวุยก๊กเป็นไต้จิ้น โจฮวน ตอนเกิดชื่อ โจฮวง (Cao Huang 曹璜) เป็นบุตรของโจฮู (Cao Yu) ซึ่งเป็นบุตรคนที่ 3 ของโจโฉกับนางฮวนฮูหยิน (บุตรคนโตของโจโฉกับนางฮวนฮูหยินคือโจฉอง ซึ่งได้ชื่อว่ามีสติปัญญาคิดวิธีชั่งน้ำหนักช้างได้ แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก) ในปี..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและโจฮวน · ดูเพิ่มเติม »

โจซอง

ซอง (Cao Shuang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรชายของโจจิ๋นเป็นผู้สำเร็จราชการในวุยก๊ก แต่ถูกสุมาอี้โค่นอำนาจและถูกประหารชีวิตในภายหลัง ในยุคของพระเจ้าโจยอย โจจิ๋นผู้เป็นพ่อได้เป็นแม่ทัพแนวหน้าแต่ด้วยความที่ด้อยสติปัญญาเมื่อเข้ารบกับขงเบ้งทำให้เสียเมืองเฉิงฉาง และเสียทหารไปกว่า 1 แสน โจจิ๋นกลัวความผิดจึงให้โจซองไปถวายบังคมให้พระเจ้าโจยอยทราบในสภาพแขนหัก เมื่อพระเจ้าโจยอยเห็นโจซองในสภาพนั้นเข้าจึงใจอ่อนไม่ออกคำสั่งประหารโจจิ๋นผู้พ่อ ความกตัญญูของโจซองนั้นสูงมาก ในช่วงสุมาอี้ก่อรัฐประหาร โจซองที่อยู่นอกเมืองถึงกลับนึกคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรต่อไป ฮวนห้อม กุนซือของโจซองที่หลบออกจากเมืองได้มาสมทบกับโจซองและแนะนำให้พาฮ่องเต้ไปยังนครฮูโต๋และรวมรวบกำลังทหารเข้าปราบปรามกบฏสุมาอี้ให้สิ้นซาก แต่โจซองกลับลังเลเพราะห่วงครอบครัว บรรดาอนุภรรยา และทรัพย์สมบัติมากมายในเมือง แถมจดหมายของสุมาอี้ได้มาถึงมือได้ระบุว่ามิได้เจตนาร้าย ให้ยอมจำนนเสียแต่โดยดี โจซองทบทวนอย่างถี่ถ้วนจึงตัดสินใจยอมจำนน แม้ฮวนห้อมจะเตือนว่าอย่ายอมจำนนเพราะเท่ากับความตายแต่ไม่ฟัง ฮวนห้อมถึงกับตะโกนด่าว่า "โจจิ๋นที่เปี่ยมไปด้วยพละกำลังและสติปัญญา ฉไนกลับมีบุตรชายที่โง่งมเช่นนี้" ผลสุดท้ายแม้โจซองจะยอมจำนนต่อสุมาอี้และคิดว่าจะปลอดภัย แต่หาได้เป็นเช่นไม่ สุมาอี้ได้กุเรื่องว่าโจซองเป็นกบฎจึงถูกประหารชีวิตพร้อมทั้งครอบครัวตระกูล.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและโจซอง · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเบ้งเฮ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เกียงอุย

กียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (Jiang Wei) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกียงอุย มีชื่อรองว่า ป๋อเยี่ยน เป็นชาวเมืองเทียนซุย ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลกานซู่ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย เกียงอุยมีพ่อเป็นขุนนางคนหนึ่งของเทียนซุย แต่กำพร้าพ่อแต่ยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับแม่โดยลำพัง แต่เดิมนั้นเกียงอุยรับราชการอยู่กับม้าจิ้น เจ้าเมืองเทียนซุย ซึ่งอยู่ในแคว้นการปกครองของวุยก๊ก ขงเบ้งยกทัพมาเพื่อที่จะปราบวุยก๊ก ม้าจิ้นส่งเกียงอุยมารับมือกับขงเบ้ง ขงเบ้งเสียท่าเกียงอุย หลายครั้ง แต่ในที่สุดขงเบ้งวางแผนจับเกียงอุย โดยพาแม่ของเกียงอุยมาเลี้ยงดู และให้แม่เกียงอุยช่วยเกลี้ยกล่อม ด้วยเกียงอุยมีความกตัญญูต่อมารดานั้นเอง เกียงอุยจึงใจอ่อน ยอมอยู่ฝ่ายจ๊กก๊กกับขงเบ้ง เกียงอุยเป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดขงเบ้งมากที่สุด ถ้าขงเบ้งไปที่ศึกไหนเกียงอุยย่อมอยู่ด้วยเสมอๆ ประกอบด้วยเกียงอุยเป็นคนสนิทและไว้ใจได้มากที่สุด ดังนั้นขงเบ้งจึงได้ถ่ายทอดวิชาที่เขารู้มากมาย ให้แก่เกียงอุย เกียงอุยจึงมีความรู้มากขึ้น ครั้นขงเบ้งรู้ตัวว่าชะตาตนเองไปไม่รอดแล้ว ก็มอบหมายให้เกียงอุยทำนุบำรุงแผ่นดินฮั่นแทนตน โดยให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเสฉวนแทน ซึ่งมีอำนาจทางการทหารทั้งหมด ต่อมาเกียงอุยก็ดำเนินรอยตามขงเบ้ง โดยที่ยกทัพจากเสฉวนเข้าตีวุยก๊ก ถึงหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาวุยก๊กยกทัพเข้าตีเสฉวน โดยจงโฮยและเตงงายแม่ทัพแห่งวุย แบ่งเป็น 2 ทัพตีเสฉวน เกียงอุยรับมือกับจงโฮยทำให้เตงงายไปตามทางลัดอิมเป๋ง เข้าตีเสฉวน ยังไม่ทันรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้แก่เตงงายโดยเร็ว ทำให้เกียงอุยที่ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพไม่พอใจยิ่งนัก พยายามหาทางกู้เอกราชกลับมาโดยใช้จงโฮยเป็นสะพาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เกียงอุยถูกล้อมด้วยทหารวุยก๊ก เกียงอุยจึงใช้กระบี่เชือดคอตัวเองตาย พวกทหารของฝ่ายวุยก๊กจึงเอากระบี่ผ่าอกของเกียงอุยออกมาเห็นตับใหญ่คับหัวอกอยู่ มีดีใหญ่เท่าไข่ห่าน พวกทหารเหล่านั้นต่างคิดว่าเกียงอุยมีดีใหญ่กว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้กล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอก ตอนที่เกียงอุยตายนั้นมีอายุ ได้ 63 ปี.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเกียงอุย · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นขุนนางและ กวี เอกคนหนึ่งในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา และถึงแก่ อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 1..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเจ้าพระยาพระคลัง (หน) · ดูเพิ่มเติม »

เทียหยก

เทียหยก (Cheng Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่โจโฉหลายครั้ง เป็นผู้ใช้อุบายดึงตัวชีซีจากเล่าปี่ และเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นว่าเรือเสบียงของอุยกายที่มาสวามิภักดิ์มีพิรุธ ซึ่งความจริงเป็นเรือเชื้อเพลิงของอุยกายที่ใช้เอาทัพเรือโจโฉตามอุบายของจิวยี่ ทีเยเภา ทีเยเภา.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเทียหยก · ดูเพิ่มเติม »

เตียวสิ้ว

เตียวสิ้ว (Zhang Xiu) เป็นหลานของเตียวเจ เตียวสิ้วเป็นเจ้าเมือง 4 หัวเมืองได้แก่ เกียมแฮ อันจงก๋วน เตงเชีย และ อ้วนเซีย มีกาเซี่ยงเป็นที่ปรึกษา และได้ส่งเตียวต๊กลูกชายของตนไปดูแลเมืองเตงเชียแทนตน โดยมีเลียวตู้เป็นที่ปรึกษา อยู่ที่เมืองเตงเชียด้วย ขณะที่โจโฉชอบบุกมาที่เมืองเตงเชียอยู่เรื่อยก็เลยให้เลียวตู้ช่วยป้องกันเมือง เตงเชียและสามารถป้องกันเมืองเตงเชียไว้ได้ในที่สุดโจโฉก็จัดทัพไปบุกเมืองเตงเชียอีกเลียวตู้รายงานให้เตียวสิ้วว่าการรบกับโจโฉหลายครั้งไม่ดี และแนะนำให้เตียวสิ้วเป็นพันธมิตรกับโจโฉ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตีเยวสิ้ว.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเตียวสิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

เตียวอุ๋น

ตียวอุ๋น (Zhang Yun, ? — ?) ขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซึ่งก่อนหน้านั้นได้เคยรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมือง เกงจิ๋ว เมื่อ โจโฉ ยกกองทัพลงใต้ทางฝ่ายเกงจิ๋วซึ่งในขณะนั้นปกครองโดย เล่าจ๋อง บุตรชายของเล่าเปียวที่ถึงแก่กรรมไปก่อนหน้านั้นไม่นานก็เกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงได้ยอมแพ้ต่อโจโฉเตียวอุ๋นจึงได้มารับใช้วุยก๊กสืบต่อมาซึ่งเตียวอุ๋นถึงแก่กรรมเมื่อใดไม่มีหลักฐาน แต่สามก๊กฉบับวรรณกรรมของ ล่อกวนตง ได้กล่าวไว้ว่าก่อนเกิด ศึกผาแดง ใน..

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเตียวอุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเสี้ยน

ตียวชาน (Diao Chan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรบุญธรรมของอ้องอุ้น ฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้".

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเตียวเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เตียนอุย

ตียนอุย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ชาวเมืองตันลิว เป็นองครักษ์คนสำคัญของโจโฉ เป็นคนรูปร่างใหญ่ ใช้ทวนคู่เป็นอาวุธ มีพลังแข็งแกร่ง เข้ามารับราชการกับโจโฉโดยการแนะนำของแฮหัวตุ้นในช่วงที่โจโฉมีอำนาจในภาคตะวันออก.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเตียนอุย · ดูเพิ่มเติม »

เตงงาย

ตงงาย (Deng Ai) เป็นแม่ทัพคนสำคัญของฝ่ายวุยก๊ก ในยุคสามก๊กตอนปลาย มีชื่อรองว่าซื่อไจ่ เป็นชาวตำบลจี๋หยาง มณฑลเหอหนาน เป็นคนฉลาด ไหวพริบดี ชำนาญพิชัยสงคราม สุมาอี้เห็นปัญญาดีจึงเอาตัวมาส่งเสริม เมื่อเกียงอุย ขุนพลจ๊กก๊ก ลูกศิษย์ขงเบ้ง ยกทัพมาตีวุยก๊ก เตงงายก็สามารถยันทัพเกียงอุยไว้ได้ทุกครั้ง ในกาลนั้น พระเจ้าเล่าเสี้ยนปกครองจ๊กก๊ก ทรงลุ่มหลงสุรานารี ทำให้บ้านเมืองแหลกเหลว สุมาเจียวจึงให้เตงงายและจงโฮยยกทัพเข้าตีจ๊กก๊ก เตงงายเดินทัพลัดเลาะมาทางด่านอิมเป๋งและสามารถยึดเสฉวนได้ในที่สุด เตงงายถือว่าเป็นผู้พิชิตจ๊กก๊ก มีความดีความชอบใหญ่หลวง แต่สุมาเจียวกลับระแวงเตงงาย จึงให้จงโฮยกับอุยก๋วนปราบเตงงายและจับตัวส่งไปเมืองหลวง ระหว่างทางก็ให้สังหารเตงงายกับเตงต๋งผู้บุตรเสี.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเตงงาย · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อ

นื้อ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กลศึกสามก๊กและเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

36 กลยุทธ์36 กลศึกThirty-Six Stratagemsกลยุทธ์สามก๊กกลศึกสงครามในสามก๊ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »