โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

253 มาทิลเด

ดัชนี 253 มาทิลเด

253 มาทิลเด (253 Mathilde) เป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ค้นพบโดย โยฮันน์ พาลิซา ใน พ.ศ. 2428 ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์จำนวนสี่ปี และโคจรรอบตัวเองด้วยอัตราที่ช้าผิดปกติ คือใช้เวลา 17.4 วัน ในการโคจรรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จัดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท C ซึ่งพื้นผิวมีส่วนประกอบของคาร์บอนอยู่ปริมาณมาก ทำให้พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ทึบแสง โดยจะสะท้อนแสงเพียง 4% ของแสงที่ตกกระทบ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 เนียร์ชูเมกเกอร์ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ ระหว่างทางที่จะเดินทางไปยังดาวเคราะห์น้อยอีรอส และได้ถ่ายภาพของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหลุมอุกกาบาตจำนวนมากบนพื้นผิว ปัจจุบัน 253 มาทิลเด เป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท C ดวงแรกที่มียานอวกาศไปสำรวจ และก่อนหน้าการเดินทางไปยัง 21 ลูเทเชีย ดาวเคราะห์น้อยมาทิลเดจะเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจในปัจจุบัน.

38 ความสัมพันธ์: ชั่วโมงพ.ศ. 2423พ.ศ. 2428พ.ศ. 2538พ.ศ. 2540พ.ศ. 2548กล้องโทรทรรศน์กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงกิโลกรัมกิโลเมตรยางมะตอยรายชื่อหลุมอุกกาบาตบน 253 มาทิลเดลูกบาศก์เมตรวันวินาทีหน่วยดาราศาสตร์องศา (มุม)ดวงอาทิตย์ดาวพฤหัสบดีดาวอังคารดาวเคราะห์ดาวเคราะห์น้อยความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรคาร์บอนปฏิทินจูเลียนนักดาราศาสตร์นาทีนาซาแถบดาวเคราะห์น้อยโยฮันน์ พาลิซาเคลวินเนียร์ชูเมกเกอร์12 พฤศจิกายน121 เฮอร์ไมโอนี243 ไอด้า27 มิถุนายน30 มกราคม433 อีรอส

ชั่วโมง

ั่วโมง อักษรย่อ ชม. (Hour: h หรือ hr) เป็นหน่วยของเวล.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและชั่วโมง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2423

ทธศักราช 2423 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1880.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและพ.ศ. 2423 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2428

ทธศักราช 2428 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1885 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและพ.ศ. 2428 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง

กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง (refracting telescope)เป็นกล้องโทรทรรศน์ประเภทแรกที่ได้รับการคิดค้นขึ้นในปี..

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและกล้องโทรทรรศน์หักเหแสง · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ยางมะตอย

งมะตอย โรงงานยางมะตอยสำหรับการทำยางมะตอย ถนนลาดยาง มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้ทดลองระดับลดลงการแสดงให้เห็นความหนืดของยางมะตอย ยางมะตอยเป็นวัสดุที่สกัดจากน้ำมันดิบ มีสีดำ มีลักษณะเหนียวและความหนืดต่ำ ยางมะตอยนิยมมาใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เป็นวัสดุผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุเติมเช่นหินและทราย เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการเทผิวหน้าถนนจะเรียกชื่อเต็มว่า แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) และมักย่อว่า แอสฟอลต์ ภาษาอังกฤษเรียกยางมะตอยว่า แอสฟอลต์ (อเมริกัน) หรือ แอสแฟลต์ (บริเตน) (asphalt) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า άσφαλτος (asphaltos) ส่วนภูมิภาคอื่นอาจเรียกว่า ไบทูเมน, ไบทิวเมน, บิทูเมน, บิชูเมน (bitumen).

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและยางมะตอย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหลุมอุกกาบาตบน 253 มาทิลเด

รายชื่อหลุมอุกกาบาตบน 253 มาทิล.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและรายชื่อหลุมอุกกาบาตบน 253 มาทิลเด · ดูเพิ่มเติม »

ลูกบาศก์เมตร

ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1มิลลิลิตร ลูกบาศก์เมตร คือ หน่วยอนุพันธ์ของหน่วยพื้นฐานในระบบ หน่วยเอสไอ คือ หน่วยความยาวมาคูณกัน ใช้สำหรับวัดปริมาตร เทียบได้กับลูกบาศก์ที่มีความกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตร ตัวย่อของหน่วยวัดคือ ม³ (m³) หรือ ล.ม. 1 ลูกบาศก์เมตร มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและลูกบาศก์เมตร · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและวัน · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและวินาที · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อย

วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ตัวอย่างค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร (Orbital eccentricity) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร มีความหมายถึงความเบี่ยงเบนไปจากวงกลมของวงโคจรของวัตถุนั้น คำนวณโดยลักษณะเดียวกับความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย โดยวงโคจรของวัตถุจะมีค่าความเยื้องศูนย์กลาง(e\,\!) ดังนี้.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar; คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส) เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยกงสุลจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน โดยปฏิรูปจากปฏิทินโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผลบังคับใช้ในปีถัดไปคือ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช รอบปีหนึ่งของปฏิทินจูเลียนมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม) จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในปี 153 ก่อน..

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและปฏิทินจูเลียน · ดูเพิ่มเติม »

นักดาราศาสตร์

''กาลิเลโอ'' ผู้ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นบิดาของนักดาราศาสตร์ยุคใหม่ นักดาราศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แต่เดิมมาในอดีตกาล นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ หรือนักปรัชญา มักจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน เพราะเป็นผู้สืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ต่อมาผู้ที่ให้ความสนใจกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเป็นพิเศษ จึงเรียกเฉพาะเจาะจงไปว่าเป็น "นักดาราศาสตร์" หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและนักดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาที

นาที อักษรย่อ น. (Minute) สมัยก่อนใช้คำว่า นาที เป็นหน่วยวัดเวลา โดยหนึ่งหน่วยเท่ากับ ของชั่วโมง.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและนาที · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

แถบดาวเคราะห์น้อย

กราฟิกแสดงอาณาเขตของแถบดาวเคราะห์น้อย แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์ มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตรKrasinsky, G. A.; Pitjeva, E. V.; Vasilyev, M. V.; Yagudina, E. I. (July 2002).

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและแถบดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ พาลิซา

โยฮันน์ พาลิซา (Johann Palisa, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2391 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2468) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวออสเตรีย เกิดที่เมืองโอปาวา ในแคว้นซิลิเซีย (ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) เป็นผู้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด 122 ดวง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2391 หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวออสเตรีย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดมอเรเวีย-ไซลีเชีย.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและโยฮันน์ พาลิซา · ดูเพิ่มเติม »

เคลวิน

ลวิน (kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยวัดอุณหภูมิ.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและเคลวิน · ดูเพิ่มเติม »

เนียร์ชูเมกเกอร์

ภาพวาดของเนียร์ชูเมกเกอร์ เนียร์ชูเมกเกอร์ (Near Earth Asteroid Rendezvous - Shoemaker (NEAR Shoemaker)) เป็นยานอวกาศของนาซา สำหรับไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยอีรอส ส่งออกจากโลกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 บินผ่านดาวเคราะห์น้อยแมธิลด์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และเข้าสู่วงโคจรของอีรอสเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 หมวดหมู่:ยานอวกาศ หมวดหมู่:ภารกิจสู่ดาวเคราะห์น้อย หมวดหมู่:ภารกิจอวกาศในปี พ.ศ. 2539 หมวดหมู่:โครงการดิสคัฟเวอรี.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและเนียร์ชูเมกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

12 พฤศจิกายน

วันที่ 12 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 316 ของปี (วันที่ 317 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 49 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและ12 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

121 เฮอร์ไมโอนี

121 เฮอร์ไมโอนี (Hermione) เป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อ.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและ121 เฮอร์ไมโอนี · ดูเพิ่มเติม »

243 ไอด้า

243 ไอดา (Ida) เป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อย ค้นพบโดยโยฮันน์ พาลิซา เมื่อปี พ.ศ. 2427.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและ243 ไอด้า · ดูเพิ่มเติม »

27 มิถุนายน

วันที่ 27 มิถุนายน เป็นวันที่ 178 ของปี (วันที่ 179 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 187 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและ27 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

30 มกราคม

วันที่ 30 มกราคม เป็นวันที่ 30 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 335 วันในปีนั้น (336 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและ30 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

433 อีรอส

--> 433 อีรอส (433 Eros) เป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกชนิดเอส ขนาดประมาณ 34.4×11.2×11.2 กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกขนาดใหญ่สุดเป็นอันดับสองรองจาก 1036 แกนีมีด มีการค้นพบในปี 1898 และเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกดวงแรกที่ถูกค้นพบ เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มียานไปโคจรรอบ (ในปี 2000) จัดอยู่ในกลุ่มอะมอร์ (Amor) อีรอสเป็นดาวเคราะห์น้อยตัดวงโคจรดาวอังคาร (Mars-crosser) เป็นดวงแรกที่ทราบ วัตถุในวงโคจรดังกล่าวสามารถอยู่ตรงนั้นได้เพียงไม่กี่ร้อยล้านปีก่อนวงโคจรจะถูกรบกวนจากอันตรกิริยาความโน้มถ่วง การหาปฏิพันธ์พลวัตเสนอว่าอีรอสอาจเปลี่ยนเป็นตัดวงโคจรโลก (Earth-crosser) ในระยะเวลาสองล้านปี และมีโอกาสประมาณ 50% ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในเวลา 108–109 ปี เป็นดาวเคราะห์น้อยที่อาจพุ่งชนโลก มีขนาดใหญ่ประมาณห้าเท่าของอุกกาบาตพุ่งชนโลกที่ก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาตชีคชุลูบ (Chicxulub) ซึ่งนำไปสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ไปถึงอีรอสสองครั้ง ครั้งแรกบินผ่านในปี 1998 และครั้งที่สองโคจรรอบในปี 2000 เมื่อได้ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวอย่างกว้างขวาง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2001 เมื่อสิ้นสุดภารกิจ ยานลงจอดบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยโดยใช้เจ็ตขับเคลื่อน.

ใหม่!!: 253 มาทิลเดและ433 อีรอส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

253 Mathilde253 แมธิลด์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »