โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

ดัชนี อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (علي بن أﺑﻲ طالب; ʿAlī ibn Abī Ṭālib) เป็นบุตรเขยของศาสนทูตมุฮัมมัด อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ อย่างไรก็ตามทัศนะของมัซฮับซุนนี อิมามอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4 และศูฟีย์เกือบทุกสายถือว่าเป็นปฐมาจารย์ ต่างก็ยกย่อง อะลี ว่าเป็นสาวกผู้ทรงธรรมและเป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐเล.

12 ความสัมพันธ์: ชีอะฮ์กะอ์บะฮ์มักกะฮ์มุฮัมมัดมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺหะดีษอะบูฏอลิบฮะซัน อิบน์ อะลีฮุซัยน์ อิบน์ อะลีซุนนีประเทศอิรักปีช้าง

ชีอะฮ์

ีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ว่ามาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระอง.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

กะอ์บะฮ์

กะอ์บะฮ์ กะอ์บะฮ์ หรือ กะอ์บะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ มีคำบันทึกบอกเล่าว่า อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัมมนุษย์คนแรกเพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮ์ในโลก แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ จนน้ำท่วมโลกในสมัยศาสดานูฮฺ คัมภีร์อัลกุรอาน (2:127 และ 22:26-27) ระบุว่า กะอ์บะฮ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีล บุตรชายของท่านตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์ หลังจากนั้นอัลลอฮ์ก็ได้บัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มาเคารพสักการะพระองค์ ณ ที่บ้านหลังนี้ นับตั้งแต่นั้นมา ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอฮ์ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศก็ได้ทยอยกันเดินทางมาสักการะอัลลอฮ์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด เนื่องจากกะอ์บะฮ์เป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเคารพสักการะอัลลอฮ์ ดังนั้น กะอ์บะฮ์จึงได้รับการขนามว่า บัยตุลลอฮฺ บ้านแห่งอัลลอฮ์ หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮ์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮ์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะอ์บะฮ์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะอ์บะฮ์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะฮ์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะอบะฮฺ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะฮ์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะอ์บะฮ์ที่สึกหรอเนื่องจากอุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่เพียงพอ ชาวนครมักกะฮ์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะฮฺเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะอ์บะฮ์ให้เป็นเช่นแบบเดิม ในสมัยที่อับดุลลอฮฺ อิบนุซซุเบร หลานตาคอลีฟะฮฺ อะบูบักรฺ แข็งเมืองต่อ อับดุลมะลิก บินมัรวาน คอลีฟะฮฺ (กษัตริย์) ซีเรีย ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองมักกะฮ์ งานชิ้นหนึ่งที่ท่านทำก็คือการบูรณะต่อเติมผนังกะอ์บะฮ์ออกไปสองด้านจนถึงกำแพง ฮิจญ์รุ อิสมาอีล ให้อาคารกะอ์บะฮ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทว่าเมื่ออับดุลลอฮฺแพ้ศึกและถูกสังหาร พวกทหารซีเรียก็เผาและถล่มทำลายกะอ์บะฮ์ที่อับดุลลอฮฺทำไว้ แล้วให้สร้างขึ้นมาใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนเดิมอีกครั้ง กะอฺบะหที่มีอยู่ในวันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอ์บะฮ์ที่เปลี่ยนเมื่อเวลา 20 ปีมานี้ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ มุมที่ติดตั้งพลอยสีดำนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอ์บะฮ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและฮัจญ์ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐบาลผู้ปกครองมหานครมักกะฮ์จะมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ สิ่งที่ต้องทำทุกปีคือการเปลี่ยนมุ้งกะอ์บะฮ์ ในซาอุดีอาระเบียจะมีโรงงานทอมุ้งนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีช่างผู้มีฝีมือจากต่างประเทศมาทำมุ้งนี้โดยเฉพาะ มุ้งกะอ์บะฮ์นี้ทอด้วยด้ายไหมสีดำ แล้วประดับด้วยการปักดิ้นทองเป็นตัวอักษรภาษาอาหรับวิจิตรงดงาม ตัวอักษรที่เขียนคือโองการจากอัลกุรอานและพระนามของอัลลอฮ์ เมื่อถึงเทศกาลฮัจญ์จะมีการเปลี่ยนมุ้งใหม่และยกขอบมุ้งขึ้นจนจนเห็นฝาผนังทั้งสี่ด้าน เนื่องจากมุ้งนี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะอ์บะฮ์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมกะอ์บะฮ์ต่างหาก อีกอย่างกะอ์บะฮ์เป็นชุมทิศ เวลานมาซจะมีการหันไปทางกะอ์บะฮ์นี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะอ์บะฮ์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะอ์บะฮ์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและกะอ์บะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มักกะฮ์

มักกะฮ์ มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (مكة المكرمة) นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น อุมมุลกุรอ (มารดาบ้านเมือง) และบักกะฮ์ เป็นเมืองตั้งอยู่ที่พิกัด ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ห่างจากเมืองท่าญิดดะฮ์ 73 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร ห่างจากทะเลแดง 80 กิโลเมตร มักกะฮ์เป็นพระนครชุมทิศของโลกอิสลาม เป็นสถานที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ มักกะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและมักกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและมุฮัมมัด · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ

มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ (Muhammad ibn al-Hanafiyyah) เป็นบุตรชายของท่านอิมามอะลีย์กับนางเคาละหฺ บินตุญะอฺฟัร แห่งเผ่าฮะนีฟะหฺ นางจึงได้รับการเรียกขานว่า อัลฮะนะฟียะหฺ (สตรีแห่งเผ่าฮะนีฟะหฺ) เมื่อครั้งที่ชาวยะมามะหฺ ถูกกองทัพของอะบูบักรฺโจมตี ฐานละเมิดกฎบัญญัติศาสนา ไม่จ่ายซะกาต พวกเขาถูกจับเป็นเชลยมาที่เมืองมะดีนะหฺ ในนั้นมีนางเคาละหฺร่วมอยู่ด้วย ผู้คนในเผ่าฮะนีฟะห์จึงขอร้องอิมามอะลีย์ให้ช่วยเหลือนางไม่ให้ถูกขายเป็นทาส อิมามอะลีย์จึงไถ่นางให้พ้นจากมือของพวกที่จับกุมนาง และสมรสกับนางในเวลาต่อมาจนกระทั่งนางได้บุตรกับอิมามอะลีย์นั่นคือมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ มุฮัมมัดเป็นบุรุษผู้ทรงคุณธรรม มีความรู้ ปลีกตนอยู่กับการบูชาอัลลอหฺ อีกทั้งยังมีความกล้าหาญเหมือนบิดา จนขึ้นชื่อลือชาในอาหรับ ในสงครามอูฐนั้น มุฮัมมัดผู้มีอายุราว 26 ปี ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมเกียรติจนบิดาภาคภูมิใจ อิมามอะลีย์ ให้เหตุผลที่ให้มุฮัมมัดเป็นแม่ทัพวันนั้นไม่ให้แก่ฮะซันและฮุเซนเพราะว่า "มุฮัมมัดเป็นบุตรของฉัน ส่วนฮะซันและฮุเซนเป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอหฺ! มุฮัมมัดเกิดในราวปี..ที่ 15 ต้นสมัยการปกครองของคอลีฟะหฺอุมัร และสิ้นชีวิตในปี..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ · ดูเพิ่มเติม »

หะดีษ

ีษ บ้างก็สะกด หะดีษ, หาดีษ, ฮาดีษ (الحديث /อัลฮะดีษ/) แปลว่าคำพูด หรือใหม่ ตามทัศนะซุนนีย์หมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัด ตามทัศนะชีอะฮ์ยังรวมถึงถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของบรรดามะอฺศูมอีกด้วย ฮะดีษต่าง ๆ ได้มีการรวบรวมเป็นเล่ม เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม มีการแบ่งเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ สะดวกแก่การค้นห.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและหะดีษ · ดูเพิ่มเติม »

อะบูฏอลิบ

อะบูฏอลิบ บิน อับดิลมุฏฏอลิบ เป็นพี่ชายของ อับดุลลอหฺ บิดาของศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาของอิสลาม และเป็นบิดาของ อะลีย์ ผู้เป็นอิมามคนแรกของอิสลามชีอะหฺ และคอลีฟะหฺคนที่ 4 ของอิสลามซุนนี อะบูฏอลิบ รับศาสนทูตมุฮัมมัด มาเลี้ยงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ อะบูฏอลิบ มีภรรยาชื่อ ฟาฏิมะหฺ บินตุ อะสัด มีบุตรธิดา 6 คนคือ 1.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและอะบูฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะซัน อิบน์ อะลี

อัลฮะซัน อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (الحسن بن علي بن أﺑﻲ طالب; Al-Hasan ibn ‘Alī ibn Abī Tālib; ค.ศ. 624–669 / ฮ.ศ. 3-50) เป็นพี่ชายของอิมามฮุซัยน์ อิบน์ อะลี และเป็นบุตรของอิมามอะลี กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ(อ) บุตรีนบีมุฮัมมัด ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวเกี่ยวกับหลานรักทั้งสองอีกว่า "ฮะซันและฮุซัยน์เป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์" อิมามฮะซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอิมามตามคำสั่งเสียของท่านศาสดา ซึ่งเหล่าศรัทธาชนก็ได้ให้สัตยาบันกับท่าน ท่านขึ้นปกครองอาณาจักรอิสลามได้เพียงหกเดือนเศษ ในเวลานั้นซีเรียและอียิปต์ที่อยู่ในการปกครองของมุอาวิยะหฺ บุตรอะบูสุฟยาน มิได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อการปกครองของอิมามฮะซัน อิมามฮะซันได้เตรียมกำลังทหารเพื่อปราบปรามมุอาวิยะหฺ ผู้ตั้งตนเป็นกบฏและก่อกวนความสงบสุขของอาณาจักรอิสลามตั้งแต่สมัยอิมามอะลี ผู้เป็นบิดา ทว่าท่านต้องยกเลิกแผนการอันนี้ เพราะทราบว่าทหารของท่านมีใจโอนเอียงฝักใฝ่อยู่กับมุอาวะยะหฺ และรอคำสั่งจากมุอาวิยะหฺ ว่าจะให้จัดการกับท่านอิมามอย่างไร จะสังหารท่านหรือจับกุมส่งท่านไปให้มุอาวิยะหฺ ด้วยเหตุนี้เองอิมามฮะซันจึงต้องจำยอมเลือกวิธีการประนีประนอมด้วยการทำสนธิสัญญาหย่าศึก แต่ต่อมามุอาวิยะหฺก็บิดพลิ้วสนธิสัญญา เขาได้เดินทางมายังอิรัก แล้วขึ้นมินบัรในมัสยิดกูฟะหฺ เพื่อกล่าวปราศรัยกับประชาชนว่า "โอ้ประชาชน ฉันไม่ต้องการทำสงครามกับพวกท่านในเรื่องของศาสนา ว่าต้องทำนมาซหรือถือศีลอด เพียงแต่ฉันต้องการขึ้นเป็นผู้ปกครองเท่านั้นเองและฉันก็ถึงเป้าหมายของฉันแล้ว ส่วนสัญญาที่ลงนามร่วมกับฮะซันบุตรของอะลีนั้น มันไม่มีความหมายสำหรับฉันเลย ฉันตั้งมันไว้ใต้ฝ่าเท้าของฉัน" อิมามฮะซันต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของมุอาวิยะหฺนานถึง 9 ปี.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและฮะซัน อิบน์ อะลี · ดูเพิ่มเติม »

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี

ซัยน์ อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (حسين بن علي بن أﺑﻲ طالب‎; Hussein ibn ‘Alī ibn Abī Ṭālib) เกิดปี..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและฮุซัยน์ อิบน์ อะลี · ดูเพิ่มเติม »

ซุนนี

ซุนนี (سُنِّي) คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกซะละฟี.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและซุนนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ปีช้าง

ปีช้าง คือปีที่กองทัพช้างที่นำโดย อับรอหะหฺ อัลอัชรอม อุปราชแห่งฮะบะชะหฺ (อบิสสิเนีย หรือเอธิโอเปียปัจจุบัน) หมายโจมตีมักกะหฺ อับรอหะหฺนับถือศาสนาคริสต์ พวกเขาได้สร้างโบสถ์คริสเตียนที่ใหญ่โตในเมืองศอนอาอฺ (ซานา) ในยะมัน (เยเมน) เพื่อให้เป็นที่แสวงบุญของชาวคริสเตียนในอาระเบียและแอฟริกา และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแห่งใหม่ในภูมิภาค เมื่อพวกเขาเห็นว่า กะอฺบะหฺในมักกะหฺเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสเตียนและการดึงดูดผู้คนไปศอนอาอฺ ก็คิดทำลายกะอฺบะหฺ ด้วยเหตุนี้จึงกรีฑาทัพช้างมุ่งหน้าสู่พระมหานครมักกะหฺ ในปี ค.ศ. 570 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่นบีมุฮัมมัด(ศ)ประสูติ เมื่อมาถึงชานเมืองมักกะหฺ กองทัพของอับรอหะหฺก็ปล้นฝูงอูฐของอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัด ไป 700 ตัว แล้วส่งทูตเข้ามาพบกับอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นหัวหน้าชาวเมืองมักกะหฺ เพื่อบอกจุดประสงค์ของการยกทัพมาครั้งนี้ว่า มาเพื่อถล่มทำลายกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบจึงขอเจรจากับอับรอหะหฺเป็นการส่วนตัว เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบเข้าพบอับรอหะหฺ เขาก็ขอร้องให้อับรอหะหฺคืนอูฐที่ทหารปล้นไป อับรอหะหฺจึงแปลกใจเหตุใดจึงไม่ได้ขอร้องเรื่องกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า "อูฐเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมาทวง ทว่ากะอฺบะหฺเป็นของอัลลอหฺ จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะพิทักษ์ หรือจะปล่อยให้ชะตาของมันอยู่ในมือของท่าน" อับรอหะหฺรู้สึกแปลกใจในคำตอบนั้น จึงคืนอูฐทั้งหมดให้อับดุลมุฏฏอลิบ เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบกลับไป ก็ป่าวประกาศให้ชาวมักกะหฺหลบหนีออกจากพระมหานคร ไปซ่อนตัวตามภูเขาต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ไพร่พลของอับรอหะหฺทำร้าย เมื่อทัพอับรอหะหฺเข้ามาถึงมักกะหฺ ก็ปรากฏมีฝูงนกบินว่อนเหนือพระมหานครจนมืดฟ้ามัวดิน แล้วนกแต่ละตัวก็ทิ้งก้อนหินลงมา จนทำให้ไพร่พลของอับรอหะหฺล้มตายเป็นอันมาก อับร่อฮะหฺเองจึงหนีกลับไปศอนอาอ์ แต่ก็มีนกตัวหนึ่งบินตามเขาไปตลอดทาง เมื่ออับรอหะหฺเข้าพบกษัตริย์แห่งฮะบะชะหฺก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง กษัตริย์ถามว่า นกอะไรหรือที่ทำปาฏิหาริย์เช่นนั้น อับรอหะหฺจึงเงยหน้าขึ้นชี้นกที่ติดตามเขามาตลอดทาง นกตัวนั้นก็ทิ้งก้อนหินตกลงมาบนศีรษะของเขา อับรอหะหฺก็สิ้นชีพในบัดดล ไม่ใช่ปกติวิสัยที่ชาวอาหรับจะได้เห็นช้างหรือกองทัพช้าง จึงเรียกกองทัพของอับรอหะหฺว่า ”อัศฮาบ อัลฟีล” (บรรดาเจ้าของช้าง) และจดจำเหตุการณ์ปีนั้นได้อย่างแม่นยำ และเรียกปีนั้นว่า ”อาม อัลฟีล” (ปีช้าง) ตั้งแต่นั้นมามีการนับศักราชโดยเริ่มจากปีช้าง เช่นมุฮัมมัดเกิดในปีช้าง เป็นต้น อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องกองทัพช้างในซูเราะหฺที่ 105 เหตุการณ์กองทัพช้างยังอยู่ในความทรงจำของชาวมักกะหฺตลอดมา เมื่อโองการนี้ประทานลงมา ชาวมักกะหฺจึงรำลึกถึงปาฏิหาริย์ ที่เคยปรากฏในอดีตเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว และไม่สามารถปฏิเสธต่อการอารักขาของอัลลอหฺต่อกะอฺบะหฺอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เหตุการณ์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงความศรัทธามั่นของอับดุลมุฏฏอลิบที่มีต่ออัลลอหฺ อันเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่า อับดุลมุฏฏอลิบ บิดาของอับดุลลอหฺ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของมุฮัมมัด และบิดาของ อะบูฏอลิบ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของอะลีย์ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนาของอิบรอฮีมและอิสมาอีล เขาได้กล่าวในบทกวีว่า หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและปีช้าง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

'Ali'Ali ibn Abi TalibAliAli bin Abi TalibAli bin Abu TalibAli ibn Abi TalebAli ibn Abi TaliAli ibn Abi TalibAli ibn Abu TalibAlīImam Aliอลีอะลีอะลีย์อะลีย์ บินอะบีฏอลิบอาลี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »