เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สือดิบผู้จ่อง

ดัชนี สือดิบผู้จ่อง

ือดิบผู้จ่อง(古壮字 gǔ Zhuàngzì หรือ 方块壮字 fāngkuài Zhuàngzì)เป็นตัวอักษรพื้นเมืองของชาวจ้วงซึ่งเรียกตนเองว่าผู้จ่อง วิวัฒนาการมาจากอักษรจีนแบบเดียวกับอักษรจื๋อโนมที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยสือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า "นา" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า "หน่า" ผสมกับตัวที่อ่านว่า "หลาย"ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า "นา" เป็นต้น ต้นกำเนิดของอักษรสือดิบนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่ามีกำเนิดสมัยราชวงศ์ถัง บางส่วนกล่าวว่าเริ่มใช้ในสมัยราชวงศ์ซ้อง อย่างไรก็ตาม สือดิบไม่ได้มีสถานะเป็นอักษรราชการ เพราะชาวจ้วงอยู่ภายใต้การปกครองของจีน จึงใช้ภาษาจีนและอักษรจีนเป็นภาษาและอักษรราชการ ส่วนมากชาวจ้วงใช้สือดิบบันทึกเพลงและวรรณกรรมพื้นบ้าน เขียนจดหมายหรือใช้ในทางไสยศาสตร์ในแวดวงของหมอผีโดยใช้ปนกับอักษรจีน สือดิบจัดว่าเป็นอักษรที่ไม่ได้พัฒนามากนัก ปัจจุบันมีสือดิบเพียง 2,000 ตัวซึ่งถือว่าไม่เพียงพอต่อการใช้งานในฐานะอักษรภาพ นอกจากนั้น ภาษาจ้วงยังมีแตกต่างไปหลายสำเนียง แต่ละท้องถิ่น กำหนดสือดิบของตนขึ้นใช้โดยไม่มีสือดิบมาตรฐานสำหรับคนที่อยู่ต่างท้องที่กัน นอกจากนี้ การนำอักษรจีนมาใช้ปนกับสือดิบก็มีวิธีใช้ต่างกันไป บางครั้งนำมาใช้แทนเสียงโดยไม่คำนึงถึงความหมาย บางครั้งนำมาใช้โดยยึดความหมายแต่อ่านเป็นภาษาจ้วง ตัวอย่างเช่น อักษรจีนที่แปลว่า "ข้าพเจ้า" เมื่อนำมาใช้ในสือดิบจะใช้แต่ความหมาย โดยอ่านออกเสียงว่าเป็นภาษาจ้วงว่า "กู" เป็นต้น.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาจีนภาษาเวียดนามราชวงศ์ถังราชวงศ์ซ่งอักษรจีนจื๋อโนมจ้วงไสยศาสตร์

  2. หน่วยอักขระ

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ดู สือดิบผู้จ่องและกลุ่มภาษาจีน

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ดู สือดิบผู้จ่องและภาษาเวียดนาม

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ดู สือดิบผู้จ่องและราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ.

ดู สือดิบผู้จ่องและราชวงศ์ซ่ง

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ดู สือดิบผู้จ่องและอักษรจีน

จื๋อโนม

ื๋อโนม (chữ Nôm, 字喃/𡨸喃/𡦂喃) เป็นระบบอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จื๋อโนมประกอบด้วยอักษรจีน ("ฮั่นจื้อ" เรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า "ฮ้านตึ" - Hán tự) และอักขระที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอักษรจีน ตัวอย่างที่เก่าที่สุดอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มักนิยมใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงของเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ใช้บันทึกวรรณคดีเวียดนาม (งานเขียนที่เป็นทางการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนแบบแผน ไม่ใช่ภาษาเวียดนาม) ปัจจุบันถือว่าถูกแทนที่โดยสมบูรณ์ด้วยจื๋อโกว๊กหงือซึ่งดัดแปลงจากอักษรละติน.

ดู สือดิบผู้จ่องและจื๋อโนม

จ้วง

้วง หรือ ปู้จ้วง (จ้วง: Bouчcueŋь/Bouxcuengh) เป็นกลุ่มชนในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการจีนใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัยราชวงศ์ซ้อง คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัยราชวงศ์หยวน ใช้ตัวอักษรจีน ที่แปลว่า ปะทะ สมัยราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง จนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง เปลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง พ.ศ.

ดู สือดิบผู้จ่องและจ้วง

ไสยศาสตร์

ตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่เชื่อว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะจากคัมภีร์อถรรพเวท ที่มีพิธีเพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือทำอันตรายต่อผู้อื่น.

ดู สือดิบผู้จ่องและไสยศาสตร์

ดูเพิ่มเติม

หน่วยอักขระ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Zhuang logogramอักษรจ้วง