โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลูซิเฟอร์

ดัชนี ลูซิเฟอร์

หนังสือเอเสเคียล คำว่า "ลูซิเฟอร์" หมายถึงทูตสวรรค์ที่ถูกพระเจ้าขับไล่ ลูซิเฟอร์ (Lucifer) เป็นคำ ๆ หนึ่งจากการถอดเสียงคำภาษาฮีบรู הֵילֵל ในหนังสืออิสยาห์ บทที่ 14 ข้อที่ 12 คำนี้สามารถถอดเสียงออกมาได้ว่า เฮเลล คำนี้ปรากฏเพียงครั้งเดียวในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ส่องแสง": "shining one, morning star, Lucifer; of the king of Babylon and Satan (fig.)" ส่วนคำว่าลูซิเฟอร์นั้นมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกต ซึ่งถอดเสียง הֵילֵל ว่า ลูซีแฟร์ หมายถึง "ดาวประกายพรึก" หรือ "ผู้ส่องแสง" คริสตชนโบราณยุคหลัง มักจะใช้คำในภาษาละตินว่า ลูซิเฟอร์ ในฐานะปีศาจก่อนตกจากสวรรค์ เพื่อแทนตัวตนของปีศาจ/ซาตาน ทำให้ลูซิเฟอร์ในภาพลักษณ์ปีศาจถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวิหารและวรรณกรรมนิยมต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งแต่ก่อนคำว่าลูซิเฟอร์ในภาษาละตินนี้ไม่เคยถูกนำมาใช้อย่างเจาะจงในทางชั่วร้ายแบบนี้มาก่อน และความคิดนี้ก็แพร่หลายไปในคนทั่วไป โดยเฉพาะชาวคริสต์ ตัวตนของลูซิเฟอร์ในฐานะทูตสวรรค์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกตีความขึ้นมา หากจะอ้างจากพระคัมภีร์แล้วตัวตนของทูตสวรรค์ลูซิเฟอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ลูซิเฟอร์ที่เรารู้จักกันในฐานะปีศาจเป็นการตีความคำว่า הֵילֵל ของคริสตชน ซึ่งถูกนำไปเขียนในบทประพันธ์มากมายในฐานะปี.

16 ความสัมพันธ์: พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2พันธสัญญาใหม่ภาษาฮีบรูวัลเกตวีนัสสารานุกรมบริตานิกาสงครามบนสวรรค์หนังสือวิวรณ์หนังสืออิสยาห์ออริเจนดาวศุกร์คัมภีร์ฮีบรูคัมภีร์ไบเบิลซาตานปิศาจเทวดาตกสวรรค์

พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2

นบูคัดเนสซาร์ที่ 2 (נְבוּכַדְנֶצַּר; กรีกโบราณ: Ναβουχοδονόσωρ; อารบิก: نِبُوخَذنِصَّر) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ ระหว่างปี 605 ถึง 562 ก่อนคริสตกาล บาบิโลนในยุคของพระองค์เป็นอาณาจักรที่เรืองอำนาจมาก โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย กองทัพของพระองค์มีชัยเหนืออียิปต์ ตลอดจนเข้าทำลายกรุงเยรูซาเลมและกวาดต้อนชาวอิสราเอลไปยังบาบิโลน สิ่งก่อสร้างมหึมาของโลกยุคโบราณหลายแห่งถูกสร้างขึ้นในยุคของพระองค์ อาทิ สวนลอยบาบิโลน ตามบันทึกที่ปรากฏในหนังสือดาเนียลและคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า วันหนึ่ง ขณะที่พระองค์ทอดพระเนตรกรุงบาบิโลนจากบนดาดฟ้าของวัง พระองค์ก็ตรัสว่า "ดู​เมือง​ที่​เรา​สร้าง​สิ สวย​งาม​อะไร​อย่าง​นี้ เรา​คือ​ผู้​ยิ่ง​ใหญ่!" ทันใดนั้นก็มีเสียงดังขึ้นว่า "เนบูคัดเนสซาร์! เจ้า​ไม่​ได้​ปกครอง​อาณาจักร​นี้​แล้ว" พระเจ้าได้ริบรอนอำนาจและสติปัญญาของเนบูคัดเนสซาร์ เนบูคัดเนสซาร์ทำ​ตัว​เหมือน​สัตว์​และ​ถูกเนรเทศจาก​วัง​ไป​อยู่​กับ​สัตว์​ใน​ป่า ผม​ของ​เนบูคัดเนสซาร์​ยาว​เหมือน​ขน​นก​อินทรีและ​เล็บ​ของ​เขา​ยาว​เหมือน​กรง​เล็บ​ของ​นก เมื่อครบเวลาเจ็ดกาล (มักถูตีความเป็นเจ็ดปี) เนบูคัดเนสซาร์​ก็​กลับ​มา​เป็น​ปกติ พระเจ้าให้เขากลับมาครองบัลลังก์บาบิโลนอีกครั้ง (เชื่อว่าเรื่องนี้มาจากความแค้นของชาวยิวที่ถูกพระองค์ทำลายอาณาจักรยูดาร์และลดขั้นให้เป็นทาส) คำว่า "เนบูคัดเนสซาร์" นั้นเป็นภาษาแอกแคด มีความหมายว่า "ขอองค์เนโบโปรดพิทักษ์ซึ่งโอรสแรกแห่งข้า" ซึ่งเนโบนั้นคือเทพแห่งปัญญาผู้เป็นบุตรของเทพมาร์ดุกในศาสนาบาบิโลนเทวนิยม บางครั้งพระองค์ก็เป็นที่รู้จักในชื่อ บาคัตนาซาร์ ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้มีชัยเหนือโชคชะตา".

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และพันธสัญญาใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

วัลเกต

วัลเกต (Vulgate) คือคัมภีร์ไบเบิลที่เขียนเป็นภาษาละตินเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ที่ส่วนใหญ่เป็นผลงานของนักบุญเจอโรมผู้ที่ได้รับคำสั่งจากสมเด็จพระสันตะปาปาดามาซุสที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และวัลเกต · ดูเพิ่มเติม »

วีนัส

วีนัส (Venus) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และวีนัส · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามบนสวรรค์

การตกของทูตสวรรค์ฝ่ายกบฎ ภาพเขียนราว ค.ศ. 1500 ในหนังสือวิวรณ์ได้ระบุถึง สงครามบนสวรรค์ ไว้ว่าเป็นสงครามระหว่างฝ่ายทูตสวรรค์ที่มีอัครทูตสวรรค์มีคาเอลเป็นผู้นำ กับฝ่ายกบฎซึ่งนำโดย "มังกร" (สื่อถึงมารหรือซาตาน) มังกรนี้พ่ายแพ้และถูกเขวี้ยงลงมายังโลกพร้อมด้วยสมุนของมัน สงครามบนสวรรค์ถูกนำไปเชื่อมโยงกับเรื่องเทวดาตกสวรรค์ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ฮีบรูและม้วนหนังสือเดดซี ซึ่งในหนังสือเดดซีได้บันทึกเกี่ยวกับสงครามนี้ในชื่อ สงครามระหว่างบุตรแห่งแสงกับบุตรแห่งความมืด (מגילת מלחמת בני אור בבני חושך) หมวดหมู่:เทพตกสวรรค์.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และสงครามบนสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือวิวรณ์

หนังสือวิวรณ์ (Book of Revelation) เป็นหนังสือเล่มที่ 27 หรือเล่มสุดท้ายในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ซึ่งในตอนที่สี่ที่เป็นการพยากรณ์ มีหนังสือเล่มนี้เพียงเล่มเดียว ผู้เขียนระบุชื่อของตนเองอย่างชัดเจนว่าชื่อ ยอห์น และอาศัยอยู่ที่เกาะปัทมอส คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าเป็นยอห์นเดียวกับยอห์นอัครทูตและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร แต่จากการศึกษาด้านวิธีการประพันธ์ เนื้อหาทางเทววิทยา และการใช้ศัพท์ ที่ทั้งสามเล่มใช้แตกต่างกัน นักวิชาการจึงลงความเห็นว่าบุคคลทั้งสามไม่ใช่คนเดียวกัน จึงเรียกผู้เขียนหนังสือวิวรณ์ว่ายอห์นแห่งปัทมอสตามที่ระบุในหนังสือนั้น ยอห์นแห่งปัทมอสระบุว่าได้เขียนขึ้นขณะที่อยู่บนเกาะปัทมอส อันเป็นสถานที่ซึ่งได้ถูกเนรเทศมาและได้อยู่ที่นั่นจนสิ้นชีวิต ช่วงเวลาในการเขียนพระธรรมเล่มนี้น่าจะอยู่ในราวปี..

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และหนังสือวิวรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสืออิสยาห์

หนังสืออิสยาห์ (Book of Isaiah, ספר ישעיה) เป็นหนังสือลำดับที่ 5 ในหมวดผู้เผยพระวจนะ (Nevi'im) ของคัมภีร์ทานัค (Tanakh) และเป็นหนังสือเล่มที่ 1 ในหมวดประกาศกใหญ่ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม หนังสืออิสยาห์เขียนด้วยภาษาฮีบรู เชื่อมาแต่โบราณตามคำกล่าวอ้างในหนังสือคัมภีร์ว่าเขียนโดย อิสยาห์ ผู้เผยพระวจนะชาวยูดาห์ เมื่อ 800 ปีก่อนคริสตกาล บทที่ 1 - 39 (39 บท) ทำนายเคราะห์กรรมและการลงโทษ แก่ชาวยูเดียและประชาชาติทั้งหมดของโลกที่มีใจบาปต่อต้านพระเจ้า บทที่ 40 - 66 (27 บท) เรียกกันว่า "คัมภีร์แห่งการปลอบประโลม" ทำนายการฟื้นฟูประชาชาติอิสราเอลโดยพระเจ้า (ชาวคริสต์เชื่อว่าบางบทมีนัยความหมายถึง การเสด็จมาไถ่บาปของพระเยซูคริสต์) ส่วนนี้ยังรวมถึง "บทเพลงของผู้รับใช้ที่ได้รับความทุกข์ทน".

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และหนังสืออิสยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ออริเจน

ออริเจน (Origen; Ὠριγένης, Ōrigénēs) เป็นนักพรตและนักเทววิทยาชาวอะเล็กซานเดรีย ผู้มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผลงานของเขาแสดงถึงการวิจารณ์ตัวบท นัยวิเคราะห์คัมภีร์ไบเบิล อรรถปริวรรตศาสตร์ ปรัชญา และการใช้ชีวิตทางศาสนา และถือเป็นผู้มีอิทธิพลต่อมากที่สุดต่อวิถีพรตนิยมในศาสนาคริสต์ยุคแรก ออริเจนไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญอย่างปิตาจารย์ท่านอื่น ๆ เพราะคำสอนบางอย่างของเขาขัดกับคำสอนของเปาโลอัครทูตและยอห์นอัครทูต เช่น สอนว่าวิญญาณมีอยู่ก่อนการปฏิสนธิ สิ่งสร้างทั้งหมด (อาจรวมถึงปีศาจ) จะคืนดีกับพระเป็นเจ้าในวาระสุดท้าย พระเจ้าพระบุตรมีสถานะต่ำกว่าพระเจ้าพระบิดา เป็นต้น ซึ่งคำสอนเหล่านี้ศาสนาคริสต์กระแสหลักไม่ยอมรั.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และออริเจน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และดาวศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และคัมภีร์ฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ซาตาน

''Depiction of Satan'' โดย จอห์น มิลตัน ค.ศ. 1866 ซาตานถูกกำราบโดยอัครทูตสวรรค์มีคาเอล ซาตาน (שָּׂטָן satan หมายถึง "ศัตรู หรือ ปฏิปักษ์"; شيطان shaitan หมายถึง "หลงผิด") เป็นตัวตนซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาอับราฮัม ว่าเป็นผู้นำพาความชั่วร้ายและเป็นผู้ชักจูงมวลมนุษย์ไปในทางที่ผิด ในบางศาสนาสอนว่าซาตานคือทูตสวรรค์ที่เคยเปี่ยมด้วยความงดงามและเป็นที่เคารพ ซาตานทำให้เกิดสงครามบนสวรรค์และร่วงหล่นจากสวรรค์เพราะความหยิ่งผยองในตน และได้ล่อลวงมนุษย์ชาติไปสู่การโกหกและบาป จึงกลายเป็นผู้มีอำนาจในโลกมนุษย์ ในคัมภีร์ฮีบรูและพันธสัญญาใหม่ระบุว่าซาตานเป็นศัตรูตัวฉกาจ เป็นตัวแทนแห่งภัยชั่วร้ายอย่างแท้จริง บางครั้งก็เรียกว่าปีศาจ เป็นสัญลักษณ์ของความชิงชัง คำว่า "ซาตาน" มักไม่เป็นที่กล่าวถึงโดยตรงในคัมภีร์ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ แต่ใช้คำว่า ὁ δράκων (dragon) ซึ่งโรมันคาทอลิกแปลว่า "มังกร" ส่วนโปรเตสแตนต์แปลว่า "พญานาค" และใช้คำว่า "ศัตรู/ปฏิปักษ์" (adversary) แทน โดยมักปรากฏภาพอัครทูตสวรรค์มีคาเอลกำราบพญานาคอยู่ตามอาสนวิหารต่างๆ โดยในหนังสือวิวรณ์ระบุถึงพญานาคและเหตุการณ์นั้นไว้ว่า "...พญานาคสีแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่ง มันมีเจ็ดหัวและสิบเขา และบนหัวทั้งเจ็ดมีมงกุฎเจ็ดอัน และหางของพญานาคตวัดดวงดาวหนึ่งส่วนสามในท้องฟ้า แล้วทิ้งลงมาบนแผ่นดินโลก...ขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นในสวรรค์ มีคาเอลกับบรรดาทูตสวรรค์ของท่านต่อสู้กับพญานาค และพญานาคกับบริวารของมันก็ต่อสู้ แต่มันพ่ายแพ้และพบว่าไม่มีที่อยู่สำหรับพวกมันในสวรรค์อีกต่อไป พญานาคใหญ่ตัวนั้นคืองูดึกดำบรรพ์ ที่เขาเรียกกันว่ามารและซาตานผู้ล่อลวงมนุษย์ทั้งโลก มันถูกโยนลงมาที่แผ่นดินโลก และเหล่าบริวารของมันถูกโยนลงมากับมันด้วย" ในพระวรสารนักบุญมัทธิว เมื่อครั้งพระเยซูจะเดินทางเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ทรงถูกเปรโตรอัครสาวกหยุดยื้อไว้เพราะไม่ต้องการให้เหตุร้ายเกิดกับพระองค์ พระเยซูได้ตำหนิเปโตรอย่างรุนแรงว่า "จงไปให้พ้น เจ้าซาตาน เจ้าเป็นเครื่องกีดขวางเรา เพราะเจ้าไม่ได้คิดอย่างพระเจ้า แต่เจ้าคิดอย่างมนุษย์".

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และซาตาน · ดูเพิ่มเติม »

ปิศาจ

ปีศาจ (ปิศาจ; demon) หมายถึง ผี วิญญาณชั่วร้ายให้โทษ ตรงข้ามกับเทวดาหรือทูตสวรรค์ซึ่งเป็นวิญญาณฝ่ายดีและให้คุณ เป็นคติที่มักพบในศาสนา เรื่องลี้ลับ วรรณกรรม บันเทิงคดี เรื่องปรัมปรา และนิทานพื้นบ้าน.

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และปิศาจ · ดูเพิ่มเติม »

เทวดาตกสวรรค์

ทวดาตกสวรรค์ เป็นละครโทรทัศน์ไทย ประพันธ์โดย ประภาส ชลศรานนท์ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 4 สิงหาคม - 12 กันยายน..

ใหม่!!: ลูซิเฟอร์และเทวดาตกสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lucifer

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »