โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก

ดัชนี ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก หรือ ปลากระโทงแทงกล้วย (Banana sailfish, Indo-Pacific sailfish) เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และจัดเป็นปลากระโทงร่มชนิดหนึ่ง มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงชนิดอื่น ๆ ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีครีบท้องเป็นเส้นยาวชัดเจน มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนของทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาขนาดเล็ก ปลาที่ถูกตกได้ที่คอสตาริกา ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก.

33 ความสัมพันธ์: ชั่วโมงชายฝั่งพ.ศ. 2335กล้ามเนื้อการจับปลากิโลกรัมกิโลเมตรมหาสมุทรมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกมิลลิเมตรรังสีอัลตราไวโอเลตวงศ์ปลากระโทงสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีขาวสีดำสีน้ำเงินสปีชีส์สนุก.คอมหมึก (สัตว์)อันดับปลากะพงอ่าวไทยจารุจินต์ นภีตะภัฏทะเลทะเลอันดามันปลากระโทงร่มปลาที่มีก้านครีบปลาแมกเคอเรลปีเตอร์ เบลเกอร์น้ำหนักเกาะเมตร

ชั่วโมง

ั่วโมง อักษรย่อ ชม. (Hour: h หรือ hr) เป็นหน่วยของเวล.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและชั่วโมง · ดูเพิ่มเติม »

ชายฝั่ง

ฝั่งทางตะวันออกของบราซิล ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่างๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2335

ทธศักราช 2335 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1792 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและพ.ศ. 2335 · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระโทง

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก วงศ์ปลากระโทง, วงศ์ปลากระโทงแทง หรือ วงศ์ปลาปากนก ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่จำพวกหนึ่งอาศัยอยู่ในทะเล อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Istiophoridae โดยคำว่า Istiophoridae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ιστίων" (Istion) หมายถึง "ใบเรือ" รวมกับคำว่า "φέρειν" (pherein) หมายถึง "แบกไว้" ปลากระโทง เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่มีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จัดเป็นปลาที่สามารถว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกด้วยมีกล้ามเนื้อที่ทรงพลัง และกระดูกหลังที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถพุ่งจากน้ำได้เร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และในฤดูอพยพอาจทำความเร็วได้ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีลำตัวค่อนข้างกลม ปากกว้าง มีฟันแบบวิลลิฟอร์ม ครีบหลังและครีบก้นมีอย่างละ 2 ครีบ ไม่มีครีบฝอย ครีบท้องมีก้านครีบ 1-3 ก้าน มีสันที่คอดหาง ครีบหางเว้าลึก มีจุดเด่นคือปลายปากด้านบนมีกระดูกยื่นยาวแหลมออกมา ใช้ในการนำทาง ล่าเหยื่อ และป้องกันตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งที่เหลืออยู่จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันตัวจากบรรดาปลานักล่าต่าง ๆ ที่มีอยู่ดาษดื่นSuper Fish: fastest predator in the sea, สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต.ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2556 มีครีบกระโดงหลังมีสูงแหลม ในบางชนิด จะมีกระโดงสูงมากและครอบคลุมเกือบเต็มบริเวณหลัง ดูแลคล้ายใบเรือ มีสีและลวดลายข้างลำตัวแตกต่างออกไปตามแต่ชนิด ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสภาพอารมณ์ หากตกใจหรือเครียด สีจะซีด และใช้เป็นสิ่งที่แยกของปลาแต่ละตัว โดยมากแล้วมักจะอาศัยหากินอยู่บริเวณผิวน้ำ พบได้ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ออกล่าเหยื่อเป็นปลาขนาดเล็กกว่า บางครั้งอาจอยู่รวมเป็นฝูงนับร้อยตัว มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นปลาที่ล่าด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นหลัก สามารถโดดพ้นน้ำได้สูงและมีความสง่างามมาก จึงนิยมตกเป็นเกมกีฬา ได้รับฉายาจากนักตกปลาว่าเป็น "ราชินีแห่งท้องทะล" โดยมักจะออกตกด้วยการล่องเรือไปกลางทะเลและตกด้วยอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ด้วยกันเวลาหลายชั่วโมง ด้วยการให้ปลายื้อเบ็ดจนหมดแรงเอง โดยปลากระโทงชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลากระโทงสีน้ำเงิน (Makaira nigricans) เป็นชนิดที่พบที่มหาสมุทรแอตแลนติก ที่สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 636 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและวงศ์ปลากระโทง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สนุก.คอม

นุก.คอม (Sanook.com ตราสัญลักษณ์สะกดว่า Sanook!) เป็นเว็บท่าที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เว็บไซต์ สนุก.คอม ก่อตั้งโดย ปรเมศวร์ มินศิริ เมื่อปี..

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและสนุก.คอม · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและอ่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

จารุจินต์ นภีตะภัฏ

ร.จารุจินต์ นภีตะภัฏ (22 มกราคม พ.ศ. 2493 - 12 กันยายน พ.ศ. 2551) อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ อพว.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและจารุจินต์ นภีตะภัฏ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโทงร่ม

รีบหลังอันใหญ่เป็นเอกลักษณ์ ปลากระโทงร่ม หรือ ปลากระโทงแทงร่ม (Sailfish) เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในสกุล Istiophorus มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงสกุลอื่น ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน ปลากระโทงร่ม เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและปลากระโทงร่ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแมกเคอเรล

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (''Scomberomorus sinensis'') จัดเป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งในวงศ์ Scombridae ปลาแมกเคอเรล (mackerel) เป็นชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษของปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Scombridae (เป็นส่วนใหญ่), Carangidae, Hexagrammidae และ Gempylidae ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือ ผิวเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว ตัวเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ ครีบข้างหนึ่งคู่ หางสองแฉก อาศัยอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ปลาทูก็อยู่ในวงศ์ Scombridae ดังนั้นจึงจัดเป็นปลาแมกเคอเรลเช่นกัน ส่วนปลาซาร์ดีนอยู่ในวงศ์ Clupeidae ที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่จัดว่าเป็นปลาแมกเคอเรล ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาที่มนุษย์รับประทานได้ สามารถนำมาทำเป็นปลากระป๋อง โดยเก็บเนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและปลาแมกเคอเรล · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะ

กาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบซารานักล่าง เกาะ (island) เป็นพื้นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ มีขนาดเล็กกว่าทวีป อาจอยู่ในมหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ หรือแม่น้ำ เกาะขนาดเล็กเรียกว่า เกาะเล็ก (isle) ซึ่งรวมถึงอะทอลล์ (atoll) หรือ เกาะปะการังวงแหวน และ เกาะปริ่มน้ำ (key หรือ cay) ที่เป็นเกาะขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำ เกาะหลายเกาะที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มเกาะ (archipelago) อาจแบ่งเกาะได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เกาะริมทวีป (continental island) เกาะแม่น้ำ (river island) และ เกาะภูเขาไฟ (volcanic island) นอกจากนี้ยังมีเกาะเทียม (artificial island) ที่สร้างขึ้นโดยมนุษ.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Istiophorus platypterusกระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกกระโทงแทงกล้วยปลากระโทงแทงกล้วย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »