โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อินเทล

ดัชนี อินเทล

ำนักงานใหญ่อินเทล ที่ซานตาคลารา อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 ในชื่อ Integrated Electronics Corporation โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อินเทลยังเป็นผู้ผลิตชิพเซตของเมนบอร์ด, เน็ตเวิร์คการ์ดและแผงวงจรรวม, แฟลชเมโมรี, ชิพกราฟิค, โปรเซสเซอร์ของระบบฝังตัว ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร อินเทลก่อตั้งขึ้นโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) และโรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกึ่งตัวนำ โดยเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor พนักงานยุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกคนของอินเทลคือ แอนดรูว์ โกรฟ ซึ่งในภายหลังเป็นผู้บริหารคนสำคัญ ที่ทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกในปัจจุบัน แต่เดิมนั้น ชื่อของอินเทลจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในหมู่วิศวกรและนักเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หลังจากที่โฆษณา อินเทล อินไซด์ ประสบผลสำเร็จอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษ 1990 ชื่อของอินเทลก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในทันที โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักคือ หน่วยประมวลผลกลางตระกูลเพนเทียม (Pentium).

24 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2511กรรมการผู้จัดการรัฐแคลิฟอร์เนียวงจรรวมสหรัฐสารกึ่งตัวนำหน่วยความจำแฟลชหน่วยประมวลผลกลางอินเทล อะตอมอินเทล คอร์อินเทล คอร์ 2อินเทล ไวฟ์อินเทล P5คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแอนดรูว์ โกรฟแผงวงจรหลักแนสแด็กไมโครโพรเซสเซอร์เพนเทียมเพนเทียมดูอัล-คอร์เพนเทียมโปรเอกซ์86เซเลรอน18 กรกฎาคม

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อินเทลและพ.ศ. 2511 · ดูเพิ่มเติม »

กรรมการผู้จัดการ

กรรมการผู้จัดการ (managing director, MD) ในระบบอังกฤษ หรือ ประธานบริหาร (chief executive officer, CEO) ในระบบอเมริกัน คือ ตำแหน่งสูงสุดในบริษัทหรือหน่วยงาน ในบริษัทขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือบริษัทครอบครัว ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดมักจะเป็นตำแหน่ง "กรรมการผู้จัดการ" แต่งตั้งมาจากผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการนี้เอง หรือแต่งตั้งเครือญาติมาดำรงตำแหน่ง แตกต่างจากตำแหน่ง "ประธานบริหาร" ที่มักจะพบในบริษัทขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานบริหารนี้จะได้รับการสรรหาและแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท ผู้ดำรงตำแหน่งอาจเป็นบุคคลจากภายในหรือภายนอกบริษัทก็ได้ มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างและได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือนตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดไว้.

ใหม่!!: อินเทลและกรรมการผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: อินเทลและรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

วงจรรวม

วงจรรวม วงจรรวม หรือ วงจรเบ็ดเสร็จ (integrated circuit; IC) หมายถึง วงจรที่นำเอาไดโอด, ทรานซิสเตอร์, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช้ทำงานควบคุม คอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ (RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: อินเทลและวงจรรวม · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: อินเทลและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สารกึ่งตัวนำ

รกึ่งตัวนำ (semiconductor) คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ มักมีตัวประกอบของ germanium, selenium, silicon วัสดุเนื้อแข็งผลึกพวกหนึ่งที่มีสมบัติเป็นตัวนำ หรือสื่อไฟฟ้าก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะหรือฉนวน ความเป็นตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่มีเจือปนอยู่ในวัสดุพวกนี้ ซึ่งอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็มี เช่น ธาตุเจอร์เมเนียม ซิลิคอน ซีลีเนียม และตะกั่วเทลลูไรด์ เป็นต้น วัสดุกึ่งตัวนำพวกนี้มีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะตรงข้ามกับโลหะทั้งปวง ที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็นผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้ สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์ เป็นสารที่เกิดขึ้นจากการเติมสารเจือปนลงไปในสารกึ่งตัวนำแท้ เช่น ซิลิกอน หรือเยอรมันเนียม เพื่อให้ได้สารกึ่งตัวนำที่มีสภาพการนำไฟฟ้าที่ดีขึ้น สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สารกึ่งตัวนำประเภทเอ็น (N-Type) และสารกึ่งตัวนำประเภทพี (P-Type).

ใหม่!!: อินเทลและสารกึ่งตัวนำ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำแฟลช

แฟลชไดรฟ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ซึ่งใช้หน่วยความจำแฟลชในการเก็บข้อมูล จากภาพ ทางด้านซ้ายคือหน่วยความจำแฟลช ทางด้านขวาคือวงจรควบคุม หน่วยความจำแฟลช (Flash memory) หรือ แฟลช คือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลถาวรสำหรับคอมพิวเตอร์ที่สามารถลบและเขียนใหม่ได้ โดยมีลักษณะการทำงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด กล่าวคือไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ขณะทำงาน (ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่มีจานแม่เหล็กหมุนตลอดเวลาขณะทำงาน) หน่วยความจำแฟลชพัฒนาต่อมาจาก EEPROM (หน่วยความจำแบบรอมที่สามารถลบข้อมูลได้) ปัจจุบันหน่วยความจำแฟลชมีด้วยกันสองชนิดคือ หน่วยความจำแฟลชชนิด NAND และหน่วยความจำแฟลชชนิด NOR ซึ่งเป็น NAND และ NOR เป็นชื่อของโลจิกเกตที่เซลล์หน่วยความจำแฟลชแต่ละชนิดใช้ หน่วยความจำแฟลชชนิดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ชนิด NAND และใช้เป็นหน่วยความจำใน แฟลชไดรฟ์, โซลิดสเตตไดรฟ์, เมโมรีการ์ด และมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก โดยถูกใช้เป็นหลักในอุปกรณ์พกพาเนื่องจากสามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีกว่าฮาร์ดดิสก์มาก หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยความจำถาวร หมวดหมู่:Solid-state computer storage media.

ใหม่!!: อินเทลและหน่วยความจำแฟลช · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ.

ใหม่!!: อินเทลและหน่วยประมวลผลกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล อะตอม

อินเทล อะตอม เปรียบเทียบกับเหรียญ 1 เซนต์ อินเทล อะตอม (Intel Atom) เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ซีพียู x86 และ x86-64 ของอินเทลสำหรับรุ่นที่ใช้พลังงานต่ำมาก ออกแบบบนพื้นฐาน CMOS 45 นาโนเมตร สำหรับใช้งาน เน็ตบุ๊ก เน็ตท็อป และ เอ็มไอดี โดยสัญญาณนาฬิกาของอะตอมจะอยู่ในช่วง 800 MHz ถึง 2.13 GHz 21 ธันวาคม 2552 อินเทลได้ประกาศเปิดตัวโพรเซสเซอร์อะตอมรุ่นถัดมาคือ N450 ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานลง 20% from Intel website อินเทลอะตอมเป็นรุ่นที่ถูกพัฒนาต่อจาก อินเทล A100 และ A110 (รหัสชื่อว่า สตีลลีย์) โดยเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2550 อินเทลได้ประกาศเปิดตัวโพรเซสเซอร์ตัวใหม่ภายใต้ชื่อรหัสว่า ไดอามอนด์วิลล์ สำหรับคอมพิวเตอร์ในลักษณะใกล้เคียงกับของที่ใช้ในโครงการโอแอลพีซี.

ใหม่!!: อินเทลและอินเทล อะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล คอร์

อินเทล คอร์ (Intel Core) เป็นชื่อแบรนด์ของซีพียู สถาปัตยกรรมประมวลผล แบบ x86 ของบริษัทอินเทล.

ใหม่!!: อินเทลและอินเทล คอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล คอร์ 2

อร์ 2 (Core 2 - /คอร์ทู/) เป็นแบรนด์ของทางอินเทลสำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ x86 และ x86-64 ที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมไมโครคอร์ ที่มีการทำงาน 1, 2 หรือ 4 คอร์ร่วมกัน สถาปัตยกรรมคอร์นั้นได้ลดอัตรานาฬิกาและลดการใช้พลังงานลงโดยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งแตกต่างจากสถาปัตยกรรมเน็ตเบิร์สต์รุ่นก่อนหน้าที่ใช้กับเพนเทียม 4 และ เพนเทียม D การตลาดของทางผลิตภัณฑ์คอร์ 2 นั้น อินเทลได้วางเป็นผลิตภัณฑ์ในราคากลางถึงบน โดยได้ลดชั้นของซีพียูภายใต้ชื่อเพนเทียมไปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดราคาปานกลางแทนที่ (เพนเทียมดูอัล-คอร์) โดยต่อมาทางอินเทลได้ถอนแบรนด์ของคอร์ 2 ออกและใช้ อินเทล คอร์ แทนที่สำหรับตลาดราคากลางถึงบน ภายใต้ชื่อ คอร์ i3, คอร์ i5 และ คอร์ i7 โดยใช้สถาปัตยกรรมใหม่คือเนเฮเลม.

ใหม่!!: อินเทลและอินเทล คอร์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล ไวฟ์

ลโก้ของ อินเทล ไวว์ อินเทล ไวว์ (Intel Viiv) เป็นชุดฮาร์ดแวร์ตามแผนการตลาดของบริษัทอินเทล (มีลักษณะใกล้เคียงกับ อินเทล เซนตริโน โดยมีส่วนประกอบของแรม เมนบอร์ด และการ์ดเน็ตเวิร์กเฉพาะ โดย อินเทล ไวว์ มีลักษณะใช้งานสำหรับความบันเทิงภายในบ้าน โดยรวมถึงการดูภาพยนตร์ ดีวีดี ฟังเพลง เล่นเกม และดูภาพถ่าย โดยไวว์ จะทำงานได้เหมือนชิปทั่วไป โดยเพิ่มความสามารถพิเศษที่สามารถดูสื่อเฉพาะสำหรับไวว์เท่านั้นได้ ไวว์ออกมาในสหรัฐอเมริกาในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2549 ในงาน ซีอีเอส 2006 (CES 2006) โดยอินเทลได้รับความร่วมมือการหลายบริษัท ได้แก่ อีเอสพีเอ็น ทีโมเบิล ทีโว ยาฮู! เอโอแอล แนปสเตอร์ เวอร์จินเรคอร์ด อะโดบี กูเกิล ไดเร็กทีวี พินนาเคิล สำหรับข้อมูลที่จะทำงานในไวว์ที่ต้องการถอดรหัสแบบพิเศษเฉ.

ใหม่!!: อินเทลและอินเทล ไวฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล P5

ปตระกูลเพนเทียม P5 เป็นสถาปัตยกรรมไมโครรุ่นแรกของเพนเทียม เป็นไมโครโพรเซสเซอร์แบบ x86 รุ่นที่ 5 ผลิตโดยบริษัทอินเทล วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1993 โดยเป็นรุ่นต่อจากไมโครโพรเซสเซอร์รุ่น 80486 เดิมทีอินเทลตั้งชื่อซีพียูรุ่นที่ 5 ว่า "586" (หรือ 80586, i586) ตามซีพียูรุ่นก่อนๆ แต่อินเทลพบปัญหาในด้านกฎหมาย เมื่อไม่สามารถร้องขอต่อศาล ให้จดชื่อทางการค้าที่เป็นตัวเลข (เช่น 486) เพื่อป้องกันคู่แข่งอย่างบริษัทเอเอ็มดีในการตั้งชื่อซีพียูชื่อใกล้เคียงกัน (เช่น Am486) ได้ อินเทลจึงหันมาใช้ชื่อที่สามารถจดเป็นชื่อการค้าแทน สัญลักษณ์ยี่ห้อ "เพนเทียม" ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีเพนเทียมรุ่นถัดๆ มามากมาย ขณะนี้อินเทลได้อยู่ในช่วงเวลาที่จะทดแทนยี่ห้อเพนเทียมด้วยยี่ห้อ อินเทล คอร์ (Intel Core) ซึ่งออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า P6 โดยมีลักษณะเด่นที่สามารถประมวลผลได้ดี ในความเร็วรอบ (frequency) ที่ต่ำ และใช้พลังงานไฟที่ต่ำมาก.

ใหม่!!: อินเทลและอินเทล P5 · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วามหมายอื่น|PC แก้ความ ไฟล์:ashton 01.svg|thumbภาพวาดของgmail.com เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี.

ใหม่!!: อินเทลและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรูว์ โกรฟ

แอนดรูว์ โกรฟ (ซ้าย) ระหว่างการประชุม World Economic Forum ในปี 1997 แอนดรูว์ สตีเฟน โกรฟ (Gróf András István; Andrew Stephen Grove) หรือ แอนดี โกรฟ (เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1936) เป็นวิศวกรและนักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายยิวฮังการี เป็นพนักงานยุคเริ่มแรกของบริษัทอินเทล ต่อมาได้เป็นซีอีโอและประธานบริษัท เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัท โกรฟเกิดในครอบครัวชาวยิวชนชั้นกลางในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ในปี..

ใหม่!!: อินเทลและแอนดรูว์ โกรฟ · ดูเพิ่มเติม »

แผงวงจรหลัก

แผงวงจรหลักคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (ในรูป ASRock KT400A) แผงวงจรหลัก, แผงหลัก หรือชื่ออื่นเช่น เมนบอร์ด (mainboard/main board), มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปจะมี ประกอบด้วยซ็อกเก็ตสำหรับบรรจุหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ทั้งอุปกรณ์ติดตั้งภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก แผงวงจรหลัก หมายถึง แผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อุปกรณ์ต่างๆเชื่อมต่ออยู่อีกทีหนึ่ง โฆษณาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในบางประเทศใช้ศัพท์สแลงเรียกแผงวงจรหลักว่า mobo (โมโบ) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard.

ใหม่!!: อินเทลและแผงวงจรหลัก · ดูเพิ่มเติม »

แนสแด็ก

แนสแด็กกลางไทม์สแควร์ แนสแด็ก (NASDAQ ย่อมาจาก National Association of Securities Dealers Automated Quotations) เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของสหรัฐอเมริกา และเป็นแห่งแรกที่ซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันเป็นตลาดที่มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากที.

ใหม่!!: อินเทลและแนสแด็ก · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครโพรเซสเซอร์

อินเทล 4004 ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วไปตัวแรกที่มีการจำหน่าย ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) หมายถึงชิปที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: อินเทลและไมโครโพรเซสเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียม

นเทียม (Pentium) เป็นเครื่องหมายการค้าและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 หลายตัวจากบริษัทอินเทล เพนเทียมเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยใช้สถาปัตยกรรม P5 และมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยชิปตัวใหม่ที่ออกมาจะใช้ชื่อรหัสตามหลังคำว่าเพนเทียมเช่น เพนเทียมโปร หรือ เพนเทียมดูอัล-คอร์ จนกระทั่งในปี 2553 ทางอินเทลได้เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อชิปในตระกูลเพนเทียมทั้งใหม่หมดให้ใช้เพียงแค่คำว่า "เพนเทียม" โดยไม่มีคำใดต่อท้าย แม้ว่าเพนเทียมถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ใช้สถาปัตยกรรม P5 ชิปที่พัฒนาต่อมาได้มีการนำสถาปัตยกรรมตัวใหม่ที่นำมาพัฒนามาใช้ภายใต้ชื่อตระกูลเพนเทียม เช่น P6, เน็ตเบิรสต์, คอร์, เนเฮเลม และล่าสุดคือสถาปัตยกรรมแซนดีบริดจ์ ในปี 2541 เพนเทียมได้ถูกจัดให้เป็นซีพียูสำหรับตลาดบนของทางอินเทลเมื่อบริษัทได้เปิดตัวแบรนด์เซเลรอน เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด ที่ประสิทธิภาพลดลงมา จนกระทั่งในปี 2549 อินเทลได้เปิดตัวตระกูลคอร์ โดยออกมาในชื่อ อินเทล คอร์ 2 ทำให้สถานะทางการตลาดของเพนเทียมอยู่ในระดับกลาง รองจากตระกูลคอร์แต่อยู่สูงกว่าตระกูลเซเลรอน โดยในปัจจุบันชื่อเพนเทียมเป็นชิปที่อยู่ในราคากลางโดยอยู่ระหว่างอินเทลคอร์และอินเทลเซเลรอน.

ใหม่!!: อินเทลและเพนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียมดูอัล-คอร์

นเทียมดูอัล-คอร์ (Pentium Dual-Core) เป็นแบรนด์ซีพียู x86 ของอินเทลในตระกูลเพนเทียม ในช่วงปี..

ใหม่!!: อินเทลและเพนเทียมดูอัล-คอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียมโปร

ซีพียูเพนเทียมโปร เพนเทียมโปร (Pentium Pro) เป็นหน่วยประมวลผลภายใต้ชื่อเพนเทียม โดยเป็นซีพียูรุ่นที่ 6 โดยใช้สถาปัตยกรรม P6 ที่ออกแบบมาใช้กับคำสั่งแบบ 32 บิตเท่านั้น ส่วนคำสั่งแบบ 16 บิต สามารถทำงานได้แต่ก็ยังไม่สามารถทำงานได้เร็วเท่ากับคำสั่งแบบ 32 บิต ในขณะที่การพัฒนาทาง อินเทลคาดว่าคำสั่งแบบ 16 บิต จะถูกแทนที่ด้วยคำสั่งแบบ 32 บิต เมื่อหน่วยประมวลผลนี้ออกจำหน่าย แต่เมื่อเพนเทียมโปร ออกจำหน่าย ในท้องตลาดก็ยังมีโปรแกรม 16 บิตอยู่มากมาย ทำให้เพนเทียมโปรไม่เป็นที่นิยมในผู้ใช้ทั่วไป แต่เพนเทียมโปรนิยมใช้กันมากในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เนื่องจากมีหน่วยความจำแคช L2 ที่ทำงานความเร็วเดียวกับหน่วยประมวลผล ทำให้ไม่มีปัญหาคอขว.

ใหม่!!: อินเทลและเพนเทียมโปร · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์86

ปเพนเทียม 4 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม x86 ในยุคหลัง เอกซ์86 (x86) เป็นชื่อทั่วไปของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ที่สร้างโดยบริษัทอินเทล ปัจจุบันสถาปัตยกรรมแบบ x86 เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป, โน้ตบุ๊คและเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก นับตั้งแต่เริ่มใช้ในไอบีเอ็มพีซี ช่วงทศวรรษที่ 80 ชื่อสถาปัตยกรรมถูกเรียกว่า "x86" เนื่องจากชื่อเรียกของไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกๆ จะลงท้ายด้วยตัวเลข 86 ได้แก่ 8086, 80186, 80286, 386 และ 486 ในภายหลังอินเทลได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ "เพนเทียม" (Pentium) (ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า "80586") แทนเนื่องจากไม่สามารถจดเครื่องหมายการค้าในชื่อตัวเลขได้ ใน..

ใหม่!!: อินเทลและเอกซ์86 · ดูเพิ่มเติม »

เซเลรอน

ซเลรอน (Celeron) เป็นชื่อแบรนด์ของซีพียู x86 ของทางอินเทล โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาย่อมเยา โพรเซสเซอร์เซเลรอนสามารถทำงานได้เหมือนตัวอื่นทั่วไป แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าโดยมักจะมี หน่วยความจำแคชที่น้อยกว่า หรือมีคุณสมบัติที่น้อยกว่า เซเลรอนเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2541 ซีพียูภายใต้ชื่อเซเลรอนตัวแรกพัฒนาจาก เพนเทียม II และต่อมาได้พัฒนาบนฐานของ เพนเทียม III, เพนเทียม 4, เพนเทียม M และ คอร์ 2 ดูโอ ตามลำดับ โดยการออกแบบเซเลรอนรุ่นล่าสุด (2552) พัฒนาบนฐานของ คอร์ 2 ดูโอ วูล์ฟเดลสำหรับเดสก์ทอป และ เพนรินสำหรับแล็ปท็อป โดยทำงานลักษณะของคอร์แยกจากกันอิสระ แต่มีแคชเพียง 25% เมื่อเทียบกับซีพียูคอร์ 2 ดูโอทั่วไป และถัดไปจะพัฒนาบนแซนดีบร.

ใหม่!!: อินเทลและเซเลรอน · ดูเพิ่มเติม »

18 กรกฎาคม

วันที่ 18 กรกฎาคม เป็นวันที่ 199 ของปี (วันที่ 200 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 166 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อินเทลและ18 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Intelบริษัทอินเทล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »