โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาร์แอนด์บีร่วมสมัย

ดัชนี อาร์แอนด์บีร่วมสมัย

อาร์แอนด์บีร่วมสมัย (Contemporary R&B) คือแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในฝั่งตะวันตก ถึงแม้ว่าคำย่อของคำว่า อาร์แอนด์บี จะดูเชื่อมโยงกับเพลงริทึมแอนด์บลูส์ดั้งเดิม แต่คำว่าอาร์แอนด์บีในปัจจุบันมักจะใช้ระบุหมายถึง ดนตรีของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ที่มีต้นกำเนิดหลังจากการจากไปของดนตรีดิสโก้ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 แนวเพลงใหม่นี้มีองค์ประกอบของดนตรีโซล ฟังก์ แดนซ์ และตั้งแต่ปี 1986 เป็นต้นมาหลังการเกิดของเพลงนิวแจ็กสวิงที่เป็นเพลงอาร์แอนด์บี ฮิปฮอป คำย่อ อาร์แอนด์บี โดยมากมักจะมีความหมายความหมายรวมทั้งหมดของริทึมแอนด์บลูส์ ถึงแม้ว่าบางแหล่งจะอ้างว่าหมายถึงเพลงแนวเออเบินคอนเทมโพแรรี (ชื่อใช้เช่นเดียวกับรูปแบบสถานีวิทยุที่เปิดเพลงในแนวฮิปฮอปและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย) เพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัยเป็นงานเพลงที่ลื่นไหล มีจังหวะดรัมแมชชีนเป็นเบื้องหลัง ในบางครั้งใช้จังหวะแซกโซโฟนร้อยเข้ากับจังหวะให้ได้ความรู้สึกแบบแจ๊ซ (โดยมากเพลงอาร์แอนด์บีเช่นนี้จะมีในปี 1993) และดูนุ่มนวล การเรียบเรียงเสียงร้องอย่างโอ่อ่า ใช้จังหวะที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงฮิปฮอป ถึงแม้ว่าความกระด้างที่เป็นลักษณะทั่วไปของฮิปฮอปจะมีอยู่แต่ก็ลบและทำให้ดูนุ่มนวลลงในเพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัย นักร้องแนวอาร์แอนด์บีมักใช้เทคนิคที่เรียกว่าเมลิสม่า นักร้องที่ได้รับความนิยมเช่น สตีวี วันเดอร์, วิตนีย์ ฮูสตัน, และมารายห์ แครี.

30 ความสัมพันธ์: ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาชิคาโกฟังก์พ.ศ. 2549พ.ศ. 2551การร้องเพลงมอนทรีออลมารายห์ แครีมีลิสมาริทึมแอนด์บลูส์ลอสแอนเจลิสลิ่มนิ้ววิตนีย์ ฮิวสตันสตีวี วันเดอร์ฮิวสตันฮิปฮอปทวีปอเมริกาเหนือทูสเตปการาจดรัมแมชชีนดนตรีแดนซ์คริสต์ทศวรรษ 1980ป็อปนิวแจ็กสวิงนีโอโซลนครนิวยอร์กแอตแลนตาโรลลิงสโตนโทรอนโตโซล (แนวดนตรี)เครื่องสังเคราะห์เสียง

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่มีชื่อเสียง แถวบน:ดับเบิลยู. อี. บี. ดู บอยส์ • มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ • เอดเวิร์ด บรูกแถวล่าง:มัลคอล์ม เอกซ์ • โรซา พรากส์ • ซอเยอร์เนอร์ ทรูธ ในสหรัฐอเมริกา คำว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา (African-American, Afro-American) ภาษาปากว่า ชาวอเมริกันผิวดำ (Black American) เป็นชื่อเรียกของคนที่มีผิวสีดำแตกต่างจากคนอเมริกันที่มีผิวขาว โดยต้นกำเนิดของคนผิวสีส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมาจากทวีปแอฟริกา แต่เนื่องจากเหตุการณ์การล่าอาณานิคมและธุรกิจการค้าทาส ทำให้ผู้คนเหล่านี้ถูกพาเข้ามาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก ในอดีตสหรัฐอเมริกามีปัญหาการเหยียดสีผิวอย่างรุนแรง แต่ในปัจจุบันนี้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมกันในสังคม วัฒนธรรมของคนดำนั้นได้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านดนตรี รวมทั้งการแต่งกายและการกีฬา หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ชิคาโก

ก (Chicago; คำอ่าน) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ รู้จักกันในชื่อ "เมืองแห่งลม" (Windy City) ชื่อเล่นนี้ มีที่มาจากการที่นักข่าวเขียนล้อเลียนนักการเมืองของ ชิคาโกใน ศตวรรตที่ 19 เกี่ยวกับการพูดจากลับกลอกไปมา บางคนเชื่อว่ามีที่มาจากการที่เป็นเมืองที่มีลมพัดแรงตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆเขียนสนับสนุนทฤษฎีนี้ ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่อันดับสามในสหรัฐอเมริกาเทียบตามจำนวนประชากร รองจากเมืองนิวยอร์ก และลอสแอนเจลิส เมืองชิคาโกตั้งอยู่ในเคาน์ตีคุก รัฐอิลลินอยส์ เขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อรวมเคาน์ตีรอบ ๆ ชิคาโกทั้ง 8 เคาน์ตีจะเรียกเขตว่า ชิคาโกแลนด์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน ชิคาโกพัฒนาจากเมืองทุ่งนาจากปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) กลายมาเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของโลก และในปัจจุบันนับเป็น 1 ใน 10 เมืองสำคัญของโลกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ชิคาโกยังคงเป็นศูนย์กลางทางด้านความเจริญ การเงิน การคมนาคม และวัฒนธรรมที่สำคัญของเขตมิดเวสต์ ในชิคาโกมีสนามบินอยู่ 3 แห่ง โดยสนามบินโอ'แฮร์ เป็นสนามบินนานาชาติที่มีการจราจรทางอากาศมากที่สุดเป็นหนึ่งในสามของสหรัฐอเมริกา ประชากรในชิคาโกประกอบด้วยหนึ่งในสามเป็นคนขาว และอีกหนึ่งในสามเป็นคนดำ และที่เหลือเป็นคนกลุ่มอื่น โดยในเมืองชิคาโกแบ่งออกเป็น 77 ชุมชนแยกตามกลุ่มประชากรที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์

ฟังก์ (Funk) เป็นแนวเพลงชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนักดนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้รวมเพลงแนวโซล เข้ากับโซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บี ให้มีจังหวะ สามารถเต้นรำได้ เกิดแนวเพลงชนิดใหม่ ฟังก์ได้ลดความเด่นของเมโลดี้และความกลมกลืนลง และนำจังหวะสนุกสนานเพิ่มขึ้นด้วยเบสอิเล็กทรอนิกและกลองให้ชัดขึ้น ไม่เหมือนกับเพลงอาร์แอนด์บีหรือโซล ที่มีการเปลี่ยนคอร์ดหลายครั้ง เพลงฟังก์มักจะมีคอร์ดเดียว ฟังก์ประกอบด้วยจังหวะของเครื่องดนตรีอย่าง กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน และกลอง เล่นในจังหวะที่เกาะเกี่ยวกัน วงฟังก์มักจะมีเครื่องเป่าอยู่ด้วย อย่าง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หรือในบางครั้งก็มี ทรอมโบน ผู้มีอิทธิพลต่อดนตรีฟังก์ เช่น เจมส์ บราวน์,สลาย แอนด์ เดอะ แฟมิลี สโตน, จอร์จ คลินตัน แอนด์ พาร์ไลเมน-ฟังก์คาเดลิก,เคอร์ติส เมฟิลด์, เดอะ เมเตอร์ส,เดอะ ฟังก์ บราเตอร์ส, บูทซี คอลลินส์ และ พรินซ์ วงดนตรีที่เป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1970 อย่าง เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์,ทาวเวอร์ ออฟ พาวเวอร์, คอมโมดอร์ส และคูลแอนด์เดอะแก๊ง ที่โด่งดังหลายๆ วง ก็เล่นเพลงในแนวดิสโก้และโซลด้วย ดนตรีฟังก์ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในช่วงที่ดนตรีดิสโก้โด่งดัง มีความนิยมในการใช้ท่อมแซมเปิ้ลของดนตรีฟังก์ในดนตรีฮิปฮอป และฟังก์ยังมีอิทธิพลต่อแนวดนตรี โก-โก ฟังก์อย่างมีอิทธิพลต่อเพลงแนวนิวเวฟและโพสต์พังก์บ้าง.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและฟังก์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

การร้องเพลง

แพตตี สมิธ ร้องเพลงในปี 2007 การร้องเพลง หรือ การขับร้อง คือการทำให้เกิดเสียงดนตรีจากเสียงและเสริมด้วยถ้อยคำทั้งระบบเสียงสูงต่ำและจังหวะ คนที่ขับร้องเพลงเรียกว่านักร้อง และนักร้องจะแสดงการขับร้องเพลง ซึ่งอาจจะร้องแบบอะแคปเปลา (ร้องโดยไม่ใช้ดนตรี) หรือมีนักดนตรี เครื่องดนตรีประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีตัวเดียวหรือเต็มวง การร้องนั้นส่วนใหญ่จะร้องร่วมการแสดงกับนักดนตรีกลุ่มอื่น ไม่ว่าจ่ะเป็นกลุ่มคอรัสที่ร้องในเสียงที่แตกต่างกัน หรือกลุ่มนักเล่นดนตรี อย่างเช่นวงร็อกเป็นต้น การร้องเพลงนั้นอาจร้องแบบไม่เป็นทางการ ร้องเพื่อความบันเทิง อย่างเช่นร้องระหว่างการอาบน้ำ ร้องคาราโอเกะ หรือในบางกรณีร้องอย่างเป็นทางการ เช่นร้องในระหว่างพิธีทางศาสนา หรือนักร้องอาชีพร้องเพื่อแสดงบนเวทีหรือร้องในสตูดิโอ การร้องที่มีทักษะสูงหรือร้องในระดับอาชีพ มักจะต้องอาศัยความสามารถแต่กำเนิด การเรียนการสอน และการฝึกฝน นักร้องมืออาชีพจะสร้างหนทางสู่อาชีพด้วยการเป็นนักร้องในแนวเพลงต่าง ๆ อย่างเช่น นักร้องคลาสสิก นักร้องร็อก พวกเขาต้องฝึกทักษะการร้องในแนวเพลงนั้น ทั้งจากครูสอนร้องหรือโค้ชร้อง ในอาชีพของพวก.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและการร้องเพลง · ดูเพิ่มเติม »

มอนทรีออล

มอนทรีออล (Montreal) หรือ มงเรอาล (Montréal) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตการปกครองของรัฐควิเบก และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศแคนาดา มอนทรีออลเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดถึงในยุคทศวรรษ 1970 หลังจากนั้นเมืองโทรอนโตก็แซงหน้าไป เดิมเมืองนี้มีชื่อว่า วีล-มารี (Ville-Marie 'เมืองของมารี') ภาษาทางการของมอนทรีออลคือ ภาษาฝรั่งเศส จากข้อมูลในเอกสารทางการ มอนทรีออลยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ที่มีประชากรพูดภาษาฝรั่งเศสมากที่สุดในโลก รองจากปารีส ในปี 2007 นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้เมืองมอนทรีออลอยู่อันดับ 10 ของเมืองที่สะอาดที่สุดในโลก และในปี 2008 นิตยสารโมโนเคิลจัดอันดับให้เมืองมอนทรีออลอยู่ที่อันดับ 16 ใน 25 เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและมอนทรีออล · ดูเพิ่มเติม »

มารายห์ แครี

ำหรับอัลบั้มเพลงในชื่อเดียวกันนี้ ดูที่ มารายห์ แครี (อัลบั้ม) มารายห์ แครี (เกิด 27 มีนาคม ค.ศ. 1970) เป็นนักร้องชาวอเมริกา นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์เพลง และนักแสดง เธอมีผลงานเปิดตัวครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและมารายห์ แครี · ดูเพิ่มเติม »

มีลิสมา

มีลิสมา (melisma) คือ การขับร้องโน้ตหลายตัวต่อเนื่องกันในพยางค์หนึ่ง ดนตรีที่ขับร้องเช่นนี้ ภาษาอังกฤษเรียก "เมลิสแมติก" (melismatic) ตรงกันข้ามกับ "ซิลแลบิก" (syllabic) ซึ่งแต่ละพยางค์จะร้องเป็นโน้ตเดียว.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและมีลิสมา · ดูเพิ่มเติม »

ริทึมแอนด์บลูส์

ริทึมแอนด์บลูส์ (rhythm and blues หรือรู้จักกันในชื่อ R&B หรือ RnB) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยม โดยผสมผสานระหว่างเพลงแนว แจ๊ส กอสเปล และบลูส์ โดยเริ่มแรกจะเล่นโดยศิลปินแอฟริกัน-อเมริกัน.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและริทึมแอนด์บลูส์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอสแอนเจลิส

ลอสแอนเจลิส (Los Angeles) หรือที่รู้จักในชื่อ แอลเอ (L.A.) เป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง ทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการบันเทิง ลอสแอนเจลิสตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเริ่มตั้งเป็นเมืองเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) ในขณะที่มีประชากร 1,610 คน ในปี พ.ศ. 2543 ตามสำมะโนประชากรลอสแอนเจลิส มีประชากรประมาณ 4 ล้านคนในเขตตัวเมือง และเขตรอบนอกประมาณ 17.5 ล้านคน ลอสแอนเจลิสได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการปะปนของวัฒนธรรมมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง เนื่องจากการอพยพของคนหลายเชื่อชาติโดยเฉพาะชาวเอเชีย และอเมริกาใต้ เนื่องจากลักษณะของอากาศที่อบอุ่นสบาย และลักษณะการเป็นอยู่ต่างๆ ชื่อเมืองลอสแอนเจลิส (Los Angeles) มาจากคำว่า โลสอังเคเลส (Los Ángeles) ในภาษาสเปน หมายถึง ทูตสวรรค์หลายองค์ เป็นรูปพหูพจน์ของคำว่า el ángel ซึ่งเป็นเพศชาย ชื่อเมืองจึงมีความหมายว่า "เมืองแห่งทูตสวรรค์" ลอสแอนเจลิสได้เป็นที่รู้จักในฐานะเป็นที่ตั้งของฮอลลีวูด และปลายทางของถนนสายประวัติศาสตร์ ทางหลวงสหรัฐหมายเลข 66 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) และมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย (USC) ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในเมือง ได้แก่ ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส (บาสเกตบอล) ลอสแอนเจลิส คลิปเปอร์ส (บาสเกตบอล) ลอสแอนเจลิส สปาร์ค (บาสเกตบอลหญิง) ลอสแอนเจลิส ดอดจ์เจอร์ส (เบสบอล) ลอสแอนเจลิส คิงส์ (ฮอกกี้น้ำแข็ง) ลอสแอนเจลิส กาแลกซี (ฟุตบอล) ซี.ดี. ชีวาส ยูเอสเอ (ฟุตบอล) นอกจากนี้ในเมืองลอสแอนเจลิส ได้เคยเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) และ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ในอดีตมีทีมอเมริกันฟุตบอลในชื่อ "ลอสแอนเจลิส เรดเดอร์ส" ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายไปไปประจำเมืองโอคแลนด์ และเปลี่ยนชื่อเป็นโอคแลนด์ เรดเดอรส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและลอสแอนเจลิส · ดูเพิ่มเติม »

ลิ่มนิ้ว

ผังลิ่มนิ้วทั่วไป (แสดง 3 อ็อกเทฟ) ลิ่มนิ้วที่อยู่บนแกรนด์เปียโน ลิ่มนิ้ว หรือ คีย์บอร์ด คือชุดของก้านเสียงหรือคีย์ที่อยู่ติดกันซึ่งสามารถกดด้วยนิ้วได้ เป็นส่วนประกอบของเครื่องดนตรีหลายชนิด ปกติลิ่มนิ้วมักจะมีคีย์ในการเล่นชุดละ 12 ก้านเสียงสำหรับบันไดเสียงแบบตะวันตก มีทั้งอันสั้นและอันยาวประกอบกันและวนซ้ำกันไปเรื่อยในช่วงอ็อกเทฟ การกดคีย์บนลิ่มนิ้วจะทำให้เครื่องดนตรีนั้นส่งเสียงออกมา ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเคาะสายสตริงหรือเดือยแหลม (สำหรับเปียโน เปียโนไฟฟ้า แคลฟวิคอร์ด) การดีดสายสตริง (ฮาร์ปซิคอร์ด) การทำให้อากาศไหลผ่านท่อ (ออร์แกน) หรือการตีระฆัง (แคริลลอน) ส่วนในเครื่องดนตรีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การกดคีย์จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อในแผงวงจร (แฮมมอนด์ออร์แกน เปียโนดิจิทัล ซินทีไซเซอร์) และเนื่องจากเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วที่เป็นแบบสามัญที่สุดคือเปียโน ผังลิ่มนิ้วจึงอาจเรียกว่าเป็น คีย์บอร์ดเปียโน ปกติแล้วลิ่มนิ้วอันยาวจะเป็นสีขาว มี 7 อันในหนึ่งอ็อกเทฟ ไล่เรียงไปตามบันไดเสียง C เมเจอร์ (C D E F G A B) ส่วนลิ่มนิ้วอันสั้นเป็นสีดำ มี 5 อันในหนึ่งอ็อกเทฟ จะอยู่ระหว่างลิ่มนิ้วสีขาว เป็นครึ่งขั้นเสียงของ C เมเจอร์ (C/D D/E F/G G/A A/B) ในเครื่องดนตรีบางชนิด เช่นไพป์ออร์แกนและฮาร์ปซิคอร์ด อาจใช้สีสลับกัน จากขาวเป็นดำและจากดำเป็นขาว แต่ก็มีผังลิ่มนิ้วที่เหมือนกัน หมวดหมู่:เครื่องดนตรีสากล หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและลิ่มนิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

วิตนีย์ ฮิวสตัน

วิตนีย์ ฮิวสตัน (Whitney Houston) หรือชื่อจริงว่า วิตนีย์ เอลิซาเบธ ฮิวสตัน (Whitney Elizabeth Houston; 9 สิงหาคม 2506 — 11 กุมภาพันธ์ 2555) เป็นนักร้องอเมริกัน, นักแสดง, โปรดิวเซอร์, และนางแบบในปี..

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและวิตนีย์ ฮิวสตัน · ดูเพิ่มเติม »

สตีวี วันเดอร์

ตีวี วันเดอร์ (Stevie Wonder มีชื่อตามเกิด Stevland Hardaway Judkins ภายหลังเปลี่ยนเป็น Stevland Hardaway Morris) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1950 เป็นนักร้องชาวอเมริกัน นักประพันธ์เพลง และโปรดิวเซอร์ดนตรี สตีวี วันเดอร์มีเพลงติดท็อปเท็น มากกว่า 30 เพลงในอเมริกา ได้รับรางวัลแกรมมี่ 22 ครั้ง ยังได้รับรางวัลออสการ์สาขาเพลงยอดเยี่ยม สตีวี วันเดอร์ตาบอดมาตั้งแต่เด็ก เขาเซ็นสัญญากับโมทาวน์ตั้งแต่อายุ 11 ปี และเริ่มแสดงและบันทึกเสียงกับค่ายเพลง โดยมีเพลงอันดับ 1 เพลงแรก Fingertips (Pt. 2) ตั้งแต่อายุ 13 ปี และมีเพลงอันดับ 1 ในอเมริการวม 9 เพลง มียอดขายอัลบั้มมากกว่า 100 ล้านชุด นอกจากนั้นเขายังเป็นนักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินดังหลายๆ คน ตัวเขาสามารถเล่นดนตรีได้หลายชนิดเช่น กลอง,เบสกีตาร์,ออร์แกน,ฮาร์โมนิกา,เปียโน,เครื่องสังเคราะห์เสียง และอื่นๆ โดยเฉพาะเสียงฮาร์โมนิกาของเขาที่เป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและสตีวี วันเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวสตัน

วสตัน (Houston) เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดในรัฐเทกซัส และเมืองขนาดใหญ่อันดับสี่ของสหรัฐอเมริกา ฮิวสตันเป็นที่รู้จักในชื่อเสียงของอุตสาหกรรมพลังงาน น้ำมัน อากาศยาน และการขนส่งทางเรือ ท่าเรือในฮิวสตันเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลก มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในเมืองได้แก่ มหาวิทยาลัยไรซ์ ทีมกีฬาที่สำคัญได้แก.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและฮิวสตัน · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปฮอป

ปฮอป (Hip Hop) หรืออาจเขียนเป็น ฮิป-ฮอป (Hip-hop) มีความหมายถึงในด้านดนตรีแนวฮิปฮอป ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นอเมริกาและทั่วโลก จนถูกยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานการพัฒนามาจากชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และ ชาวละติน โดยในช่วงยุค 70' หลังจากที่ดนตรีดิสโก้ที่พัฒนามาจาก แนวเพลงฟังค์ ในแบบของโมทาวน์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเปิดแผ่นเพลงในคลับต่าง ๆ และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการสร้าง loop, beat ใหม่ ๆ ขึ้นมา ดนตรีฮิปฮอป จึงถือกำเนิดขึ้น.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและฮิปฮอป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทูสเตปการาจ

ทูสเตปการาจ (2-step garage) เป็นแนวเพลงประเภทอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ทันสมัย เป็นแนวเพลงย่อยที่ได้รับความนิยมอย่างยูเคการาจ หมวดหมู่:แนวดนตรี หมวดหมู่:ประเภทดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและทูสเตปการาจ · ดูเพิ่มเติม »

ดรัมแมชชีน

รัมแมชชีน Yamaha RY30 ดรัมแมชชีน (Drum machine) เป็นเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่จำรองเสียงกลอง ฉาบ เครื่องเคาะจังหวะอื่นๆ และเบสไลน์ ดรัมแมชชีนมักมีความเกี่ยวข้องกับดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ดนตรีเฮาส์ แต่ยังรวมถึงแนวเพลงอื่นๆ อีกมากมาย ยังถูกใช้แทนมือกลองที่ไม่ว่างหรือการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างมือกลองที่มีค่าจ้างแพง นอกจากนี้ดรัมแมชชีนในปัจจุบันมีเสียงหลายรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน และช่วยให้ผู้ใช้แต่งจังหวะและการเขียนที่ไม่ซ้ำกันด้วย ที่ใช้งานไม่ยากและง่ายเหมือนคนตีกลองของจริง ในปัจจุบันดรัมแมชชีนยังเป็นซีเควนเซอร์ในรูปแบบแซมเพิล (rompler) หรือ ซินธิไซเซอร์ที่สังเคราะห์เสียงกลองจากกลอง.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและดรัมแมชชีน · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีแดนซ์

ดนตรีแดนซ์ (dance music) เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อคลอไปกับการเต้นรำ ในด้านการแสดง ดนตรีแดนซ์แบ่งประเภทหลักเป็นดนตรีแดนซ์สดกับดนตรีแดนซ์ที่บันทึกไว้ ขณะที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการเต้นรำพร้อมกับดนตรีตั้งแต่ยุคโบราณ (ตัวอย่างเช่น แจกันสมัยกรีกโบราณแสดงนักเต้นรำร่วมกับนักดนตรี) ดนตรีแดนซ์ฝั่งตะวันตกยุคแรก ๆ คือการเต้นรำยุคกลางที่เหลือรอดมาได้ ในยุคบาโรก รูปแบบการเต้นรำหลัก ๆ คือการเต้นรำในราชสำนักคนชั้นสูง ดนตรีแดนซ์สมัยใหม่ได้เกิดขึ้นจากเพลงลีลาศแบบตะวันตกในปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การเต้นลีลาศได้เพิ่มความนิยมในหมู่ชนชั้นแรงงานที่มักเข้าร่วมงานเต้นรำสาธารณะ ดนตรีแดนซ์กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงยุค 1920 ในยุค 1930 ดนตรีสวิงเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยมในอเมริกา ยุค 1950 ร็อกแอนด์โรลกลายเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยม ในช่วงปลายยุค 1960 มีการเกิดของแนวเพลงโซลและอาร์แอนด์บีและดิสโก้ในยุค 1970 ซึ่งทำให้ดนตรีแดนซ์เป็นที่นิยมมากในผู้คนทั่วไป มาถึงช่วงปลายยุค 1970 ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ได้รับการพัฒนามาเรี่อย ๆ โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรูปแบบของเพลงสมัยนิยมที่มักจะเปิดในไนต์คลับ สถานีวิทยุ คอนเสิร์ต หมวดหมู่:ดนตรีแดนซ์.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและดนตรีแดนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1980

ริสต์ทศวรรษ 1980 (1980s) หรือยุคเอจตี้ส์ เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1980 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1989 เป็นช่วงเวลาที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทั่วไปอย่างความร่ำรวย การผลิตที่เปลี่ยนไปสู่ยุคเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม เศรษฐกิจเสรีที่พัฒนาไปทั่วโลก บริษัทข้ามชาติทางด้านอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ประเทศอย่าง ประเทศไทย มาเลเซีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ ไต้หวัน ประเทศจีน และเศรษฐกิจตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก ตามมาด้วยการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนีถือเป็นประเทศที่เห็นเด่นชัดว่าพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตลอดทศวรรษนี้ ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกมีประสบความยากลำบากด้านความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ประเทศเหล่านั้นพบกับปัญหาหนี้สินในคริสต์ทศวรรษ 1980 ประเทศเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ประเทศเอธิโอเปียประสบปัญหาความยากจนในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผลคือประเทศต้องการความช่วยเหลือจากต่างชาติในด้านอาหารกับประชากรและทั่วโลกต่างกันช่วยหาเงินช่วยเหลือต่อชาวเอธิโอเปีย อย่างเช่นคอนเสิร์ตไลฟ์เอด ในปี 1985 ที่จัดขึ้นเพื่อหาเงินดังกล่าว ปัญหาด้านสงคราม เกิดความรุนแรงในตะวันออกกลาง อย่างสงครามอิรัก-อิหร่าน และความขัดแย้งในเลบานอนช่วงปี 1982 ถึง 1983 และกองทัพอเมริกันเข้าบุกลิเบียในปี 1985 และ Intifada ในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ คริสต์ทศวรรษ 1980 ยังเป็นยุคที่มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรอย่างมาก ไปทั่วโลก มากกว่าแม้ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1990 มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะชาวแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ตลอดทศวรรษ ด้วยอัตราการเพิ่มใกล้หรือมากกว่า 4% ต่อปี.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและคริสต์ทศวรรษ 1980 · ดูเพิ่มเติม »

ป็อป

นตรีป็อป หรือ เพลงป็อป (pop music พอปมิวสิก) เป็นประเภทของเพลงสมัยนิยมที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950S.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและป็อป · ดูเพิ่มเติม »

นิวแจ็กสวิง

นิวแจ็กสวิง (New jack swing) หรือ สวิงบีต (swingbeat) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ไปจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ผสมผสานจังหวะ แซมเพิล และเทคนิคการทำเพลงแบบฮิปฮอปเข้ากับดนตรีเออเบินร่วมสมัยของอาร์แอนด์บี เพลงแนวนิวแจ็กสวิงพัฒนามาจากเพลงอาร์แอนด์บีก่อนหน้าหลายสไตล์ เข้ากับองค์ประกอบทั้งเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน ใช้การโซโลหวาน ๆ หรือการร้องกลมกลืนกับจังหวะและจังหวะแบบ "สตรีต" ที่ได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีเออเบิน ส่วนดนตรีของนิวแจ็กสวิงจะมาจากฮิปฮอปแบบ "สวิง" ที่สร้างสรรค์โดยดรัมแมชชีน และการใช้แซมเพิล ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคทองของฮิปฮอป และสไตล์การร้องแบบอาร์แอนด์บีร่วมสมัย คำว่า "นิวแจ็กสวิง" เป็นคำที่คิดค้นโดยนักเขียน-ผู้สร้างหนังที่ชื่อ แบร์รี ไมเคิล คูเปอร์ (เขียนบทให้กับภาพยนตร์อย่าง New Jack City, Above the Rim และ Sugar Hill) ในหนังสือพิมพ์ The Village Voice หัวข้อ "Teddy Riley Groove Master: Harlem Gangsters Raise a Genius" ในฉบับวันที่ 18 ตุลาคม..

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและนิวแจ็กสวิง · ดูเพิ่มเติม »

นีโอโซล

นีโอโซล หรือบางครั้งเรียก นูโซล (nu soul) เป็นแนวเพลงย่อยของแนวเพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัย ดนตรีมักผสมผสามดนตรีโซลในยุค 70 และได้รับอิทธิพลจากแนวเพลงแจ๊ซ ฟังก์ ละติน แอฟริกัน ฮิปฮอป และดนตรีเฮาส์ คำว่านีโอโซลมีที่มาจากเคดาร์ มาสเซนเบิร์ก จากค่ายโมทาวน์ในช่วงปลายยุค 1990 โดยกลุ่มคนฟังแนวเพลงนี้มักจะสนใจเพลงใต้ดิน ไร้สังกัด และความเป็นโซลมากกว่าแนวเพลงกระแสหลัก หมวดหมู่:แนวดนตรี.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและนีโอโซล · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แอตแลนตา

แอตแลนตา (Atlanta, บางสำเนียงออกเสียง แอตแลนนา) เป็นเมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ในรัฐจอร์เจียของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประชากร ตามสัมมโนประชากรในปี 2548 ทั้งหมด 470,688 คน ซึ่งแอตแลนตานี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของธุรกิจสำคัญระดับโลกหลายอย่าง ไม่ว่า โค้ก เอทีแอนด์ทีไวร์เลสส์ เดลต้า แอร์ไลน์ และ โฮมดีโปต์ รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นที่สุดของโลกฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสัน นอกจากนี้ในแอตแลนตายังเป็นที่ตั้งของ สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย ที่รู้จักในชื่อย่อว่า จอร์เจียเทค สถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่ง และที่ตั้งของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC: Centers for Disease Control and Prevention) แอตแลนตาเคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1996 และในแอตแลนตายังมีทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายทีม อาทิ เช่น แอตแลนตา ฮอกส์ (บาสเกตบอล) และ แอตแลนตา ฟัลคอนส์ (อเมริกันฟุตบอล) อแตแลนตา อแตแลนตา หมวดหมู่:เมืองในรัฐจอร์เจีย.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและแอตแลนตา · ดูเพิ่มเติม »

โรลลิงสโตน

รลลิงสโตน เป็นนิตยสารมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับดนตรี การเมือง วัฒนธรรมสมัยนิยม พิมพ์ทุก 2 อาทิตย์ โรลลิงสโตนก่อตั้งครั้งแรกในซานฟรานซิสโก ในปี..

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและโรลลิงสโตน · ดูเพิ่มเติม »

โทรอนโต

ใจกลางเมืองโทรอนโต โดยมี ซีเอ็นทาวเวอร์ตั้งอยู่ใจกลาง โทรอนโต (Toronto) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับที่ 4 ในทวีปอเมริกาเหนือ และโทรอนโตเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐออนแทรีโอ ของแคนาดา โทรอนโตมีประชากรประมาณ 5,555,912 คน (ข้อมูลคาดการณ์ ในปี พ.ศ. 2549)The fact that these municipalities form the GTA is stated in โทรอนโตได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีหลายเชื้อชาติมากที่สุดเมืองหนึ่ง และโทรอนโตเป็นศูนย์กลางทาด้านเศรษฐกิจ ศิลปะ วัฒนธรรมของประเทศแคนาดา โดยในปี..

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและโทรอนโต · ดูเพิ่มเติม »

โซล (แนวดนตรี)

ซล เป็นแนวเพลงประเภทหนึ่งที่รวมกันระหว่างอาร์แอนด์บีและกอสเปล กำเนิดในประเทศสหรัฐอเมริกา จากร็อกแอนด์โรลฮอลล์ออฟเฟม โซลมีความหมายว่า "ดนตรีที่เกิดขึ้นโดยคนผิวสี ในอเมริกา ที่เปลี่ยนรูปจากกอสเปลและอาร์แอนด์บี ในจังหวะที่สนุกสนาน โดยไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทางศาสนา" การแสดงจะผ่านทางอารมณ์ และเมโลดี้มีการตกแต่งในลักษณะคีตปฏิภาณ นอกจากนี้ยังใช้ซาวด์แบบวนและเป็นเครื่องเสริม จังหวะที่ติดหู อาจมีการตบมือประกอบ การเคลื่อนไหวแบบพลาสติก องค์ประกอบอีกอย่างของโซลที่เรียกว่า call and response ที่เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่าง นักร้อง กับคอรัส โดยเฉพาะเสียงที่ตึง.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและโซล (แนวดนตรี) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสังเคราะห์เสียง

Synthesizer เครื่องสังเคราะห์เสียง หรือ ซินธิไซเซอร์ (synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์ ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง.

ใหม่!!: อาร์แอนด์บีร่วมสมัยและเครื่องสังเคราะห์เสียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Contemporary R&Bคอนเทมโพแรรีอาร์แอนด์บีคอนเท็มโพรารีอาร์แอนด์บี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »