โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หุ้น

ดัชนี หุ้น

หุ้นคือ ตราสารที่ออกโดยบริษัท ห้างหุ้นส่วน และ สหกรณ์ หุ้นมีหลายชนิด คือ.

7 ความสัมพันธ์: บริษัทสหกรณ์หุ้นบุริมสิทธิหุ้นกู้หุ้นสามัญห้างหุ้นส่วนตลาดหลักทรัพย์

บริษัท

บริษัท (company) หมายถึงองค์กรธุรกิจชนิดหนึ่ง เป็นการรวมกลุ่มหรือการรวบรวมปัจเจกบุคคลและ/หรือบริษัทอื่น ผู้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัท บุคคลกลุ่มนี้มีความมุ่งประสงค์หรือจุดสนใจร่วมกัน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาผลกำไร การรวมกลุ่มเช่นนี้สามารถกระทำได้ภายใต้กฎหมาย และตัวบริษัทเองนั้นก็จะถือว่าเป็นนิติบุคคล (legal person) ชื่อของบริษัทก็จะถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงแทนกลุ่มบุคคลเหล่านั้น หมวดหมู่:บริษัท หมวดหมู่:องคภาวะตามกฎหมาย.

ใหม่!!: หุ้นและบริษัท · ดูเพิ่มเติม »

สหกรณ์

หลักการสหกรณ์ (cooperative principles) คือ แนวทางที่สหกรณ์ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้คุณค่าของสหกรณ์เกิดผลเป็นรูปธรรม เรียกว่า หลักการรอชเดล (Rochdale Principles) มี 7 ประการคือ หลักการที่ 1 การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง (Voluntary and Open Membership) ใช้บริการสหกรณ์ได้และเต็มใจจะรับผิดชอบในฐานะสมาชิก เข้าเป็นสมาชิกโดยปราศจากการกีดกันทางเพศ ฐานะทางสังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย (Democratic Member Control) สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่มีการควบคุมโดยสมาชิก ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นผู้แทนสมาชิก ต้องรับผิดชอบต่อสมาชิก ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิ์ในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นๆ ก็ดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก (Member Economic Participation) สมาชิกมีส่วนร่วมในการลงทุน (ซื้อหุ้น) ในสหกรณ์ของตนเองอย่างเสมอภาคกัน และมีส่วนในการควบคุมการใช้เงินทุนของสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยๆ ส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์ โดยปกติสมาชิกจะได้รับผลตอบแทน (ถ้ามี) ในอัตราที่จำกัดตามเงินลงทุน (หุ้น) ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิก สมาชิกสามารถจัดสรรเงินส่วนเกินของสหกรณ์เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งหรือทุกอย่างตามข้อบังคับดังนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์โดยอาจกันไว้เป็นทุนสำรองซึ่งอย่างน้อยๆ จะต้องมีส่วนหนึ่งที่นำมาแบ่งปันกันไม่ได้ เพื่อตอบแทนแก่สมาชิกตามสัดส่วนของปริมาณธุรกิจที่สมาชิกได้ทำกับสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ หลักการที่ 4 การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ (Autonomy and Independence) สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาตนเองและปกครองตนเอง โดยการควบคุมของมวลสมาชิก หากสหกรณ์จะต้องมีข้อตกลงผูกพันกับองค์การอื่นใด ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐบาลด้วย หรือจะต้องเพิ่มเงินลงทุน โดยอาศัยแหล่งเงินทุนจากภายนอกสหกรณ์ สหกรณ์จะต้องกระทำการดังกล่าวภายใต้เงื่อนไขที่มั่นใจได้ว่ามวลสมาชิกจะยังคงธำรงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย และสหกรณ์ยังคงดำรงความเป็นอิสระ หลักการที่ 5 การศึกษา ฝึกอบรม และสารสนเทศ (Education, Trainning and Information) สหกรณ์พึงให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่สมาชิก ผู้แทนสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ เพื่อให้บุคลากรเหล่านี้สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิผล และพึงให้ข่าวสารแก่สาธารณชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิดในเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ หลักการที่ 6 การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ (Cooperation among Cooperatives) สหกรณ์จะสามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ หลักการที่ 7 การเอื้ออาทรต่อชุมชน (Concern for Community) สหกรณ์พึงดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญยั่งยืนตามนโยบาย ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ หมวดหมู่:ธุรก.

ใหม่!!: หุ้นและสหกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ รายละเอียดของบุริมสิทธิที่พึงจะมีจะต้องดูในเอกสารของบริษัทนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย หรือภาษาเทคนิคเรียกว่ามีสภาพคล่องต่ำ หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ + หรือ P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ หมวดหมู่:หุ้น หมวดหมู่:ตราสารทางการเงิน.

ใหม่!!: หุ้นและหุ้นบุริมสิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

หุ้นกู้

หุ้นกู้ (corporate bond หรือ debenture) คือ ตราสารหนี้ระยะยาว ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หรือ บริษัท มหาชน จำกัด ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุของหุ้นกู้ไว้ แต่โดยทั่วไป บริษัทผู้ออก มักจะกำหนดอายุของหุ้นกู้ประมาณ 2 - 20 ปี.

ใหม่!!: หุ้นและหุ้นกู้ · ดูเพิ่มเติม »

หุ้นสามัญ

หุ้นสามัญ เป็นตราสารทุนที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ การถือหุ้นสามัญเป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลายหรือเลิกกิจการ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีเครื่องหมาย -(ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน เช่น.

ใหม่!!: หุ้นและหุ้นสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

ห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) คือ องค์การธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ และจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมี 2 ชนิด คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) และห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.).

ใหม่!!: หุ้นและห้างหุ้นส่วน · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตลาดหุ้น เป็นสถานที่สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ระยะยาว ของ บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งถือว่าเป็นตลาดรอง (Secondary Market) ทั้งนี้เนื่องจากจะทำการซื้อขายเฉพาะหลักทรัพย์ที่ได้ออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปแล้วเท่านั้น หลักทรัพย์ระยะยาว จะประกอบไปด้วยตราสารหนี้ และตราสารทุนซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิแบบต่าง ๆ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หุ้นกู้ และ หน่วยลงทุน เป็นต้น โดยเรียกว่าเป็นประเภทของตราสารเพื่อการลงทุนตลาดหลักทรัพย์มีอยู่แทบทุกประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: หุ้นและตลาดหลักทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »