โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิศวกรเสียง

ดัชนี วิศวกรเสียง

วิศวกรเสียง (sound engineering หรือ audio engineering) คือ ผู้ที่มีความชำนาญและมีความรู้ในการจัดการด้านเสียงในกระบวนการและการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการอัดเสียง การบันทึกเสียงลงในสื่อต่างๆทั้งอะนาล็อก (Analog) และดิจิตอล (Digital) งานด้านวิศวกรรมเสียงมีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การควบคุมในกระบวนการบันทึกเสียง (sound recording), การเพิ่มคุณภาพเสียง (sound reinforcement)และการกระจายเสียงและการควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ (sound broadcasting equipment) ในการทำงานในห้องสตูดิโอนั้นวิศวกรเสียงมีหน้าที่ในการตัดต่อ ปรับแต่งเสียงโดยวิธีและเทคนิคต่างๆเพื่อที่จะสามารถสื่อถึงความหมายหรือความต้องการที่ศิลปินต้องการสื่อออกมาให้ได้มากที่สุด เมื่อพูดถึงวิศวกรรมทางด้านเสียง ส่วนมากผู้คนจะนึกถึงงานด้านอุตสาหกรรมดนตรี (music production) ซึ่งจริงๆแล้วยังมีสายงานที่กว้างกว่านั้นตั้งแต่การทำงานเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ (film post production), การควบคุมเสียงในงานแสดงสด (live sound reinforcement), งานด้านการโฆษณาและมัลติมีเดีย (advertising & multimedia) และการออกอากาศ (broadcasting) โดยในการทำงานนั้นวิศวกรเสียงจะทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์หรือผู้กำกับ และในบางกรณีบทบาทของวิศวกรเสียงก็จะผสมรวมไปเป็นหนึ่งในบทบาทของโปรดิวเซอร์ด้ว.

13 ความสัมพันธ์: การบันทึกเสียงการโฆษณาภาพยนตร์มหาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้าวิทยาลัยศิลปินสื่อประสมดิจิทัลดนตรีแอนะล็อกเสียง

การบันทึกเสียง

การบันทึกเสียง เบื้องต้นจะต้องมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ เช่น.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและการบันทึกเสียง · ดูเพิ่มเติม »

การโฆษณา

การโฆษณา (advertising) เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพื่อบอกกล่าวให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าและความแตกต่าง รู้จักและก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันทำโดยเผยแพร่งานโฆษณา ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางใดทางหนึ่ง.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและการโฆษณา · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย (University) หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและมหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมศาสตร์

การจะออกแบบสร้างกังหันลมในทะเลต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆสาขาประกอบเข้าด้วยกัน วิศวกรรมอาจจะหมายถึงพระวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและวิศวกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อ.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและวิศวกรรมไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัย

วิทยาลัย (College) มีหลายความหมาย ความหมายหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในสังคมไทย หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะเฉพาะสาขาวิชา เช่น การจัดการ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ช่าง ดนตรี เป็นต้น การจัดการศึกษาของวิทยาลัยนั้นอาจจะบริหารงานเป็นเอกเทศ เช่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา หรือเป็นหน่วยในสังกัดของมหาวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ อีกความหมายหนึ่งของวิทยาลัยนั้น อาจจะหมายถึงสถานศึกษาทั่ว ๆ ไป เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือในชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ (Assumption College) หรือโรงเรียนเซนต์คาเบรียล (St. Gabriel's College) เป็นต้น.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปิน

ศิลปิน (artist) เป็นกลุ่มบุคคลที่แสดงความคิดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้สัญลักษณ์ การแสดงออกทางร่างกาย การใช้เสียง การใช้อุปกรณ์ หรือการวาด หมวดหมู่:ศิลปะ หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและศิลปิน · ดูเพิ่มเติม »

สื่อประสม

การใช้เลเซอร์ช่วยในการสร้างความบันเทิง สื่อประสม หรือ สื่อหลายแบบ (multimedia) เป็นการใช้สื่อในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือ ภาพเคลื่อนไหว สำหรับให้ข้อมูลความรู้หรือให้ความสำราญต่อผู้ชม ปัจจุบันความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เอื้อให้นักออกแบบสื่อ มัลติมีเดีย สามารถประยุกต์สื่อต่างๆ ให้มารวมกันบนระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ สามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้ เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้พัฒนาขึ้นพร้อมกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและ บันทึกข้อมูล การพัฒนาหน่วยความจำให้มีขนาดที่เล็กลงแต่มีความจุมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์ต่อพ่วงสำคัญต่างๆ เพื่อ ให้ติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและสื่อประสม · ดูเพิ่มเติม »

ดิจิทัล

ทัล (digital), เฉพาะชื่อเฉพาะอาจสะกดเป็น ดิจิทอล หรือ ดิจิตอล) หรือในศัพท์บัญญัติว่า เชิงเลข ในทฤษฎีข้อมูลหรือระบบข้อมูล เป็นวิธีแทนความหมายของข้อมูลหรือชิ้นงานต่างๆในรูปแบบของตัวเลข โดยเฉพาะเลขฐานสอง ที่ไม่ต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างจากระบบแอนะล็อกที่ใช้ค่าต่อเนื่องหรือสัญญาณแอนะล็อกซึ่งเป็นค่าต่อเนื่อง หรือแทนความหมายของข้อมูลโดยการใช้ฟังชั่นที่ต่อเนื่อง ถึงแม้ว่า การแทนความหมายเป็นดิจิทัลจะไม่ต่อเนื่อง ข้อมูลที่ถูกแปลความหมายนั้นสามารถเป็นได้ทั้งไม่ต่อเนื่อง (เช่นตัวเลขหรือตัวหนังสือ) หรือต่อเนื่อง (เช่นเสียง,ภาพและการวัดอื่นๆ) คำว่าดิจิทัลที่มาจากแหล่งเดียวกันกับคำว่า digit และ digitus (ภาษาละตินแปลว่านิ้ว) เพราะนิ้วมือมักจะใช้สำหรับการนับที่ไม่ต่อเนื่อง นักคณิตศาสตร์ จอร์จ CStibitz ของห้องปฏิบัติการโทรศัพท์เบลล์ ใช้คำว่าดิจิทัลในการอ้างอิงถึงพัลส์ไฟฟ้าเร็วที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อเล็งและยิงปืนต่อต้านอากาศยานในปี 1942 มันเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการระบบคำนวณและระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริงจะถูกแปลงเป็นรูปแบบตัวเลขฐานสองเช่นในเสียงออดิโอดิจิทัลและการถ่ายภาพดิจิทัล.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและดิจิทัล · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

แอนะล็อก

แอนะล็อก (analog หรือ analogue) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและแอนะล็อก · ดูเพิ่มเติม »

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ใหม่!!: วิศวกรเสียงและเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Audio EngineeringSound Engineer

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »