โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัดโจคัง

ดัชนี วัดโจคัง

งภาวนาและโบสถ์วัดโจคัง วัดโจคัง (Jokhang Monastery)ในปี..647 พระเจ้าซงเซน กัมโป โปรดให้สร้าง วัดโจคัง หรือ ต้าเจาซื่อ (Dazhao Si) ขึ้น เพื่อประดิษฐาน พระพุทธรูปพระอักโษภยพุทธะ (Akshobhya) ที่ เจ้าหญิงภกุฎเทวี ทรงอัญเชิญมาจากประเทศเนปาล ตามตำนานกล่าวว่า เป็นรูปเหมือนพระพุทธเจ้า เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 ชันษา แต่ต่อมา ในคริสต์ศวรรษที่ 8 เจ้าหญิงจากจีนอีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าหญิงจินเฉิง (Jincheng Gongzu) ซึ่งได้เดินทางมาอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าซื่อเต่อจู่จั้น-กษัตริย์ของทิเบตได้สลับเอา พระพุทธรูปโจโว ริมโปเช (Jovo Rimpoche) หรือ รูปเหมือนพระพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 12 ชันษา ที่ เจ้าหญิงเหวินเฉิง อัญเชิญจากนครฉางอาน ราชธานีแห่งราชวงศ์ถังมาสู่ดินแดนทิเบต ในครั้งที่ทรงเดินทางมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซงเซน กัมโป ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดราโมช (Ramoche Monastery) หรือ เสี่ยวเจาซื่อ (Xiaozhao Si) มาใว้ที่มหาวิหารวัดโจคัง แล้วย้ายพระพุทธรูปอักโษภยะไปใว้ที่วัดราโมชแทน โจโว รินโปเช เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวทิเบตทั้งผอง ที่ต่างหมายมุ่งเดินทางขอได้มากราบอัษฎางคประดิษฐ์ รอบพระวิหารวัดโจคัง และสักการะโจโว ริมโปเช ที่มีอายุมานานกว่า 1,400 ปีแห่งนี้ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต วัดโจคัง ตั้งอยู่ห่างจากพระราชวังโปตาลาราว 1 กิโลเมตร ภายในอารามโจคัง (Rimpoche Monastery) ประดิษฐาน โจโว ริมโปเช สีทองอร่าม ทรงเครื่องกษัตริย์ ประดับด้วยเพชรพลอยอัญมณีล้ำค่า สูง 1.5 เมตร เป็นองค์สำคัญที่สุด นอกจากนั้น ภายในวิหารอันขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ยังประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรย (หรือพระซัมบา) พระรูปของ ท่านปัทมสัมภาวะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสหัสหัตถ์ (พระเซ็นเรซี หรือพระกวนอิมโพธิสัตว์) เป็นต้น ภายนอกด้านหน้าวิหารมี แผ่นศิลาจารึก การเจรจาสันติภาพระหว่าง ทิเบต กับ จีน ในปี..821-822 สมัยพระเจ้าตรีซุกเตเซ็น จารึกเป็นภาษาทิเบตและภาษาจีน รวมถึงยังมี ก๊อกน้ำ ที่ชาวทิเบตเชื่อถือว่า เป็นสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลขึ้นมาจากหนองน้ำในอดีตทำให้ชาวทิเบตและผู้มาเยือนต่างเข้าแถวยืนรองน้ำจากก๊อกดังกล่าว เพื่อใช้ชำระร่างกายก่อนเข้าไปสวดมนต์สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ขึ้นไปบนยอดหลังคาปีกหน้าวิหาร มี กงล้อพระธรรมจักร และ กวางหมอบคู่หนึ่ง เป็นสัญลักษณ์การปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน รวมทั้งกระบอกมนตราขนาดใหญ่สีทอง แลไปเบื้องหน้าจะเห็นพระราชวังโปตาลาตั้งตระหง่าน เป็นฉากงามตระการยิ่งใหญ่มองลงไปเบื้องล่างรายรอบวัดโจคัง มีลานกว้างและตลาดใหญ่ ผู้คนเดินพลุกพล่านมากที่สุดในนครแห่งนี้ หมวดหมู่:ศาสนาพุทธแบบทิเบต หมวดหมู่:วัดในประเทศจีน.

5 ความสัมพันธ์: พระศรีอริยเมตไตรยพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระอักโษภยพุทธะกวนอิมโจโว รินโปเช

พระศรีอริยเมตไตรย

ระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (Metteyya เมตฺเตยฺย; मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีกจนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 80 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้เป็น พระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: วัดโจคังและพระศรีอริยเมตไตรย · ดูเพิ่มเติม »

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ใหม่!!: วัดโจคังและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอักโษภยพุทธะ

ระอักโษภยะพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง "ไม่หวั่นไหว" ประทับทางทิศตะวันออกของพุทธมณฑล พระกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระ เป็นสัญญลักษณ์แทนโพธิจิตในสรรพสัตว์ ถือดอกบัวที่เป็นสัญญลักษณ์แห่งความกรุณา และระฆังที่หมายถึงอิตถีภาวะแห่งเมตตาและขันติ ทรงช้างคู่สีน้ำเงิน อันเป็นสัญญลักษณ์แห่งพลังมหาศาล พระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระที่รู้จักกันดีคือพระวัชรปาณีโพธิสัตว์และพระกษิติครรภ์โพธิสัตว.

ใหม่!!: วัดโจคังและพระอักโษภยพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.

ใหม่!!: วัดโจคังและกวนอิม · ดูเพิ่มเติม »

โจโว รินโปเช

ว ศากยมุนี หรือ โจโว รินโปเช เป็นพุทธปฏิมาที่ชาวทิเบตเคารพบูชาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ประดิษฐานอยู่ที่วัดโจคัง ในนครลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบต คำว่า "โจโว" ในภาษาทิเบตมีความหมายว่า "พระเป็นเจ้า" (อันเป็นคำเรียกขานสิ่งที่มีศักดิ์สูงสุด เช่นเดียวกับที่ชาวไทยแต่โบราณใช้เรียกขานพระพุทธรูป และพระสงฆ์ รวมถึงพระมหากษัตริย์) ด้วยเหตุนี้ โจโว ศากย มุนี จึงพระศายมุนีเป็นเจ้า ประวัติ โจโว รินโปเช เชื่อกันว่าสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ โดยฝีมือของพระวิศวกรรม หรือพระวิษณุกรรม และยังได้รับการอำนวยพรโดยพระพุทธองค์ ให้มีพลังเยียวยารักษาผู้เคารพสักการะ ต่อมามหาราชแห่งแคว้นมคธได้ถวายพระพุทธรูปนี้แก่จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง และต่อมาเจ้าหญิงเหวินเฉิง พระภาติยะของจักรพรรดิถังไท่จง ทรงอาราธนามายังแผ่นดินทิเบต เมื่อคราที่พระองค์เสด็จมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซงเซินกัมโป กษัตริย์ทิเบต ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้ามังซง มังเซน พระนัดดาของพระเจ้าซงเซินกัมโป พระนางเหวินเฉิงได้ซุกซ่อนพระพุทธปฏิมานี้ในห้องลับของวัดโจคัง เนื่องจากในขณะนั้นอาณาจักรถังคิดรุกรานทิเบต ในเวลาต่อมาองค์หญิงจินเฉิง แห่งอาณาจักรถัง ซึ่งเดินทางมาเป็นพระชายาของกษัตริย์ท้องถิ่น เพื่อประสานไมตรีกับทิเบต ได้ทรงนำพระพุทธโจโว รินโปเช ออกมาประดิษฐาน ณ วิหารใหญ่ ของวัดโจคังอีกครั้ง ราวปี..

ใหม่!!: วัดโจคังและโจโว รินโปเช · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »