โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยูโรไมดาน

ดัชนี ยูโรไมดาน

ูโรไมดาน (Euromaidan, Євромайдан, Yevromaidan ความหมายตามอักษร "จัตุรัสยูโร") เป็นคลื่นการเดินขบวนและการก่อความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องให้มีบูรณาการยุโรปใกล้ชิดยิ่งขึ้น นับแต่นั้นขอบเขตการประท้วงวิวัฒนาขึ้น โดยมีการเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูคอวิชและรัฐบาลลาออกจำนวนมาก, Reuters (12 December 2013) ผู้ประท้วงยังประกาศว่าพวกตนเข้าร่วมเพราะการขับไล่ผู้ประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน และ "ความประสงค์เปลี่ยนแปลงชีวิตในยูเครน" จนถึงวันที่ 25 มกราคม 2557 การประท้วงได้มีเชื้อจากความเข้าใจการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล การละเมิดอำนาจและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในยูเครน, Radio Free Europe/Radio Liberty (25 January 2014) การเดินขบวนเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เมื่อมีการประท้วงอุบัติขึ้นหลายแห่งพร้อมกันในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ หลังรัฐบาลยูเครนระงับการเตรียมลงนามความตกลงการสมาคม (Association Agreement) และความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป โดยสนับสนุนการพึ่งพาประเทศรัสเซียทางเศรษฐกิจมากขึ้น ประธานาธิบดีได้ร้องขอเงินกู้และเงินอุดหนุน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ สหภาพยุโรปเต็มใจให้เงินกู้ 610 ล้านยูโร (838 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ทว่า รัสเซียเต็มใจเสนอเงินกู้ 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รัสเซียยังเสนอราคาแก๊สแก่ยูเครนในราคาที่ถูกลง นอกเหนือจากเงินแล้ว สหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎหมายในยูเครนอย่างมาก แต่รัสเซียไม่มีการกำหนดดังกล่าว วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เริ่มมีการปะทะระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและกระบอง ส่วนผู้ประท้วงใช้แก๊สน้ำตาและประทัด โดยตำรวจรายงานว่าผู้ประท้วงเป็นฝ่ายใช้ก่อน หลังการเดินขบวนไม่กี่วันให้หลัง มีจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้น แม้การเรียกร้องให้รื้อฟื้นบูรณาการยูเครน-สหภาพยุโรปจะยังไม่ได้รับการสนองตราบจนปัจจุบัน แต่ยูโรไมดานได้แสดงลักษณะเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์นิยมทางการเมืองสำคัญแก่สหภาพยุโรปซ้ำ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น "การเดินขบวนนิยมยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์" การประท้วงยังดำเนินอยู่แม้จะมีตำรวจอยู่เป็นจำนวนมาก, Kyiv Post (27, 28 & 29 November 2013), Euronews (27 November 2013) อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งและหิมะเป็นปกติ ความรุนแรงทวีขึ้นในเช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน จากกำลังฝ่ายรัฐบาลได้ทำให้ระดับการประท้วงยกสูงขึ้น โดยมีผู้ประท้วง 400,000–800,000 คนเดินขบวนในเคียฟในวันสุดสัปดาห์ 1 ธันวาคมและ 8 ธันวาคม หลายสัปดาห์นับจากนั้น ผู้เข้าร่วมการประท้วงอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000 ถึง 200,000 คนระหว่างการชุมนุมที่มีการจัดตั้ง, Reuters (12 January 2014) เหตุจลาจลรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม และวันที่ 19 ถึง 25 มกราคมเพื่อสนองต่อความทารุณของตำรวจ (police brutality) และการปราบปรามของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม อาคารผู้ว่าการหลายแห่งและสภาภูมิภาคหลายแห่งในทางตะวันตกของประเทศถูกยึดในการก่อการกำเริบโดยนักเคลื่อนไหวยูโรไมดาน, Aljazeera.com (26 January 2014) ตามการสำรวจความคิดเห็นเมื่อเดือนธันวาคม 2556 (จัดทำโดยผู้สำรวจสามแห่ง) ผลปรากฏว่า ชาวยูเครนระหว่าง 45% และกว่า 50% สนับสนุนยูโรไมดาน ขณะที่มีผู้คัดค้านระหว่าง 42% ถึง 50%, Research & Branding Group (10 December 2013), Interfax-Ukraine (30 December 2013) พบว่าผู้สนับสนุนการประท้วงมากที่สุดอยู่ในเคียฟ (ราว 75%) และยูเครนตะวันตก (กว่า 80%), Financial Times (29 December 2013) ในการสำรวจความคิดเห็นเมื่อวันที่ 7 และ 8 ธันวาคม ผู้ประท้วง 73% ตั้งใจว่าจะประท้วงต่อไปในเคียฟนานจนกว่าข้อเรียกร้องของพวกตนจะได้รับการตอบสนอง การสำรวจความคิดเห็นยังแสดงว่าประชาชนต่างวัยมีความเห็นแตกต่างกัน ขณะที่คนหนุ่มสาวส่วนมากสนับสนุนสหภาพยุโรป คนสูงวัย (กว่า 50 ปี) มักสนับสนุนสหภาพศุลกากรเบลารุส คาซัคสถานและรัสเซียมากกว่า จุดเปลี่ยนมาถึงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เมื่อสมาชิกพรรคของประธานาธิบดีที่หลบหนีหรือแปรพักตร์มีจำนวนมากพอกระทั่งพรรคเสียเสียงข้างมากในรัฐสภายูเครน ส่งผลให้ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก และมีองค์ประชุมเพียงพอในที่สุด ทำให้รัฐสภาสามารถผ่านชุดกฎหมายซึ่งถอนตำรวจออกจากเคียฟ ยกเลิกปฏิบัติการต่อต้านการประท้วง ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญปี 2547 ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และถอดถอนประธานาธิบดียานูโควิช ต่อมา ยานูโควิชหลบหนีไปยังเมืองคาร์คิฟ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของรัฐสภา รัฐสภากำหนดการเลือกตั้งล่วงหน้าในเดือนพฤษภาคม 2557.

10 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษการก่อความไม่สงบการเดินขบวนรอยเตอร์สวิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557สหภาพยุโรปอัลญะซีเราะฮ์ประเทศรัสเซียเดอะนิวยอร์กไทมส์เคียฟ

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ยูโรไมดานและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การก่อความไม่สงบ

การก่อความไม่สงบ (civil disorder, civil unrest หรือ civil strife) เป็นคำในความหมายกว้างซึ่งใช้โดยฝ่ายบังคับใช้กฎหมายในการอธิบายรูปแบบของการก่อให้เกิดความวุ่นวายของกลุ่มบุคคลตั้งแต่หนึ่งรูปแบบขึ้นไป การก่อความวุ่นวายของประชาชนเป็นเครื่องแสดงและเป็นรูปแบบหนึ่งของการประท้วงต่อปัญหาทางการเมืองและสังคมขนาดใหญ่ ความรุนแรงของพฤติการณ์เกิดขึ้นพร้อมกับการแสดงออกถึงความไม่พอใจของสาธารณะ ตัวอย่างของการก่อความไม่สงบเช่น การเดินขบวนประท้วงผิดกฎหมาย การยึดพื้นที่ประท้วง และการกีดขวางในรูปแบบอื่น การจลาจล การก่อวินาศกรรม และรูปแบบของอาชญากรรมอื่น ๆ การก่อความไม่สงบมีเจตนาที่จะเป็นการแสดงออกถึงสาธารณชนและรัฐบาล แต่ได้บานปลายจนกลายมาเป็นความสับสนอลหม่านโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ยูโรไมดานและการก่อความไม่สงบ · ดูเพิ่มเติม »

การเดินขบวน

งผ่านคบเพลิงโอลิมปิก ค.ศ. 2008 การเดินขบวนวันจันทร์ในเยอรมนีตะวันออก การเคลื่อนไหวของขบวนการสิทธิพลเมืองอเมริกันใน วอชิงตัน โดยเดินแถวไปสู่อนุสาวรีย์วอชิงตัน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1963 การปฏิวัติออเรนจ์ ผู้เดินขบวนจัดตั้งค่ายพักแรมเพื่อเดินขบวนกันอย่างยืดเยื้อ การเดินขบวนเพื่อสนับสนุน ข้อตกลงเจนีวา (Geneva Accord) เมื่อ ค.ศ. 2004 การประท้วงการเลือกตั้งในอิหร่าน พ.ศ. 2552 ประชาชนชาวไต้หวันปิดล้อมทำเนียบประธานาธิบดีที่กรุงไทเปเพื่อกดดันให้ เฉิน สุยเปี่ยน ประธานาธิบดีจีนลาออก การเดินขบวนหน้ารัฐสภาอังกฤษ การเดินขบวน (demonstration) เป็นรูปแบบหนึ่งของการเคลื่อนไหวโดยปราศจากความรุนแรง (nonviolent) ของกลุ่มบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการเมืองหรืออื่น ๆ ซึ่งปรกติมักมีการเดินรณรงค์เป็นขบวน และมีการชุมนุมพูดจาปราศรัย และบางทีก็อาจมีการปิดล้อม (blockade) และการยึดพื้นที่ประท้วง (sit-in) ด้วย ซึ่งการเดินขบวนจัดเป็นกิจกรรมหนึ่งในลัทธิกิจกรรมนิยม (activism) อันเป็นความนิยมกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายทางการเมืองของกลุ่มตน การเดินขบวนอาจมีขึ้นเพื่อแสดงมุมมองเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองด้านบวกก็ดี ด้านลบก็ดี และประเด็นเช่นว่ามักเกี่ยวกับการร้องทุกข์หรือความอยุติธรรมทางสังคม แต่บางครั้งก็เกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยผู้เดินขบวนมักเห็นว่ากิจกรรมของตนจะประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นถ้ามีผู้ร่วมกิจกรรมมากขึ้น ในภาษาอังกฤษ คำ "demonstration" เพิ่งเริ่มใช้ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อแทนที่ "monster meeting" อันหมายความว่า "การชุนนุมของอมนุษย์" ซึ่งคำ "demonstration" นั้นบัญญัติขึ้นโดยกลุ่มผู้ประท้วงในไอร์แลนด์ที่ได้รับอิทธิพลในการชุมนุมจากนักการเมือง แดเนียล โอคอนเนล (Daniel O'Connell) Oxford English Dictionary.

ใหม่!!: ยูโรไมดานและการเดินขบวน · ดูเพิ่มเติม »

รอยเตอร์ส

อาคารสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน สำนักข่าวรอยเตอร์ส (Reuters) คือผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินและรายงานข่าวต่างๆ ให้แก่สำนักข่าวต่างๆ ของโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยรอยเตอร์สได้รับรายได้ส่วนมาก (กว่าร้อยละ 90) จากการให้บริการข้อมูลทางการเงินต่างๆ เช่น ราคาหุ้นในตลาดต่างๆ อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน รายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นต้น และการให้บริการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตต่างๆ โดยปัจจุบันนี้รอยเตอร์สมีส่วนแบ่งการตลาดในด้านการบริการข้อมูลทางการเงินมากเป็นอันดับสอง ประมาณร้อยละ 23 รองจาก บลูมเบิร์ก (Bloomberg) ที่ควบคุมส่วนแบ่งการตลาดมากถึงร้อยละ 33 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 รอยเตอร์สได้รวมกิจการกับบริษัททอมสัน คอร์ปอเรชัน (Thomson Corporation) ผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินรายใหญ่จากแคนาดาที่มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11 โดยบริษัทใหม่ได้ใช้ชื่อว่า ทอมสัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters) และจะกลายเป็นผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 34 แซงหน้าบลูมเบิร์กที่มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 33.

ใหม่!!: ยูโรไมดานและรอยเตอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557

วิกฤตการณ์ไครเมี..

ใหม่!!: ยูโรไมดานและวิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: ยูโรไมดานและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

อัลญะซีเราะฮ์

อัลญะซีเราะฮ์ (قناة الجزيرة) หรือ แอลจะเซียรา (Al Jazeera) แปลว่า "คาบสมุทร" หมายถึง "คาบสมุทรอาหรับ" มาจาก شبه الجزيرة العربية šibh al-ğazīra al-‘arabīya, คาบสมุทรอาหรับ, เรียกอย่างย่อว่า الجزيرة العربية al-ğazīra al-‘arabīya, แปลว่า เกาะอาหรับ, شبه šibh แปลว่า "ราวกับ") เป็นสำนักข่าวอาหรับตั้งอยู่ ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2539 เจ้าของกิจการ คือ เชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี ผู้บริหารคนสำคัญ คือ วาดาห์ คันฟัร (Wadah Khanfar) ใช้งบประมาณก่อตั้ง 150 ล้านเรียลจากการอุปถัมภ์ของรัฐบาลกาตาร์ มีผู้ชมราว 45 ล้านคน เหตุที่เป็นสำนักข่าวยอดนิยมก็เพราะมักนำเสนอข่าวสงครามอัฟกานิสถาน อิรัก และเรื่องราวของอุซามะฮ์ บิน ลาดิน อย่างเจาะลึก มีคำขวัญคือ "ทัศนะและอีกทัศนะหนึ่ง" (الرأي و الرأي الآخر) นำเสนอข่าวผ่านดาวเทียม ไนล์แซต อาหรับแซต และฮอตเบิร์ด นอกเหนือจากช่องข่าว อัลญะซีเราะฮ์ยังมีช่องอื่น ๆ ของทางสถานี เช่น ช่องรายการสำหรับเด็ก ช่องรายการกีฬา ช่องรายการสารคดี ช่องภาคภาษาอังกฤษ ช่องภาคภาษาอุรดู.

ใหม่!!: ยูโรไมดานและอัลญะซีเราะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ยูโรไมดานและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ยูโรไมดานและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคียฟ

ียฟ (Київ, Kyyiv, คืยิว; Киев, Kiyev, คียิฟ; Kiev, Kyiv) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูเครน และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ด้วย โดยมีสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟเป็นสถานที่แข่งขัน ตั้งอยู่ภาคกลางตอนเหนือของประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ในปี พ.ศ. 2544 เคียฟมีประชากร 2,660,401 คน ในปัจจุบันคาดว่าเพิ่มเป็นมากกว่า 3.5 ล้านคน.

ใหม่!!: ยูโรไมดานและเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Euromaidan

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »