โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มรรคาศักดิ์สิทธิ์

ดัชนี มรรคาศักดิ์สิทธิ์

มรรคาศักดิ์สิทธิ์ หรือ ทางสู่กางเขน (Stations of the Cross (ที่หมายสู่กางเขน); Via Crucis (ทางสู่กางเขน) หรือ Via Dolorosa (ทางแห่งความเศร้า) หรือ เรียกง่ายๆ ว่า The Way - ทาง) คือภาพงานศิลปะศาสนาคริสต์บรรยายถึงช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตพระเยซู ตั้งแต่เดินทางสู่การตรึงกางเขนและหลังการตรึงกางเขน เรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” ทำขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงความทรมานและความเสียสละของพระองค์ ประเพณีนี้ปฏิบัติกันในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และ ลูเทอแรน มรรคาศักดิ์สิทธิ์จะปฏิบัติเมื่อใดก็ได้แต่มักจะทำกันระหว่างเทศกาลมหาพรต โดยเฉพาะทุกค่ำวันศุกร์ระหว่างช่วงเวลานี้ และวันศุกร์ประเสริฐก่อนเทศกาลอีสเตอร.

38 ความสัมพันธ์: ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์พระทรมานของพระเยซูพระนางมารีย์พรหมจารีพระเยซูพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนการตรึงพระเยซูที่กางเขนยุโรปตะวันตกรัฐไอโอวาวันศุกร์ประเสริฐศาลเจ้าศาสนาคริสต์ศิลปะคริสเตียนศิลปะตะวันตกสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2อารามอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อีสเตอร์จิตรกรรมซีโมนเปโตรประติมากรรมประเทศอิตาลีปารีสป็อนติอุส ปีลาตุสนักบุญเวโรนีกานิกายลูเทอแรนนครรัฐวาติกันนครนิวยอร์กแองกลิคันแท่นบูชาแคว้นอุมเบรียโบสถ์คริสต์โรมันคาทอลิกโคลอสเซียมเมล กิบสันเยรูซาเลมเทศกาลมหาพรต

ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์

รูปเคารพของนักบุญแอนโทนีอธิการผู้ริเริ่มใช้ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์' (Christian monasticism) เป็นวิถีการปฏิบัติที่เริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก โดยอาศัยแบบอย่างและอุดมคติจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งรวมทั้งพันธสัญญาเดิมด้วย แต่มิได้ระบุไว้อย่างเป็นทางการ จนกระทั่งมีการบัญญัติวินัยของนักบวชขึ้นเช่น วินัยของนักบุญบาซิล วินัยของนักบุญเบเนดิกต์ วินัยของนักบุญออกัสติน ตลอดจนกฎหมายศาสนจักรคาทอลิกซึ่งระบุถึงการใช้ชีวิตอารามวาสี ผู้ที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต (ชาย) และนักพรตหญิง หรือเรียกโดยรวม ๆ ว่าอารามิกชน ในสมัยแรก นักพรตไม่ใด้อาศัยในอาราม แต่เป็นฤๅษีที่อยู่โดดเดี่ยวในป่า เมื่อนักพรตเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงหันมาอาศัยอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนนักพรตในอารามที่ยึดถือการปฏิบัติแบบพรตนิยม.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระทรมานของพระเยซู

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดย ลูคัส ครานาค ราว ค.ศ. 1538 พระทรมานของพระเยซู (Passion of Jesus) เป็นศัพท์ทางเทววิทยาคริสเตียนที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขนถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นหัวใจของความเชื่อในคริสต์ศาสนา รากศัพท์ของคำว่า “Passion” มาจากภาษาละติน “passus” (ซึ่งมีรากมาจาก “pati, patior” ที่แปลว่า “ความทรมาน” ที่เกิดจากภายนอก), เป็นคำที่เริ่มใช้ครั้งแรกในข้อเขียนทางคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่บรรยายความทุกข์ทรมานของพระเยซู แต่คำว่า “Passion” มามีความหมายกว้างขึ้นในสมัยต่อมา ส่วนวลี “ความระทมของพระเยซู” (“Agony of Jesus”) มีความหมายเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนเกทเสมนี -- “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” ที่ทรงอธิษฐานสวดภาวนาในสวนก่อนที่จะทรงถูกจับ “ความระทม” จึงหมายถึงสภาวะทางจิตใจ ข้อเขียนในพระวรสารในสารบบที่บรรยายถึงพระมหาทรมานเรียกว่า “Passion” หรือ “พระทรมานของพระเยซู” พระวรสารอื่นที่บรรยายเหตุการณ์นี้ก็ได้แก่พระวรสารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และพระทรมานของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน

“ชะลอร่างจากกางเขน” โดย รอสโซ ฟิโอเร็นทิโน (Rosso Fiorentino) ค.ศ. 1521 ที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี “ชะลอร่างจากกางเขน” โดยโรเจียร์ แวน เดอ เวย์เด็น ประมาณปี ค.ศ. 1435 สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 220 x 262 เซนติเมตร ที่พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด “ชะลอร่างจากกางเขน” ไม้แกะทาสีที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (Descent from the Cross/Deposition from the Cross หรือ Deposition; Αποκαθελωσις, “Apokathelosis”) เป็นฉากที่สร้างในศิลปะเช่นจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม เนื้อความมาจากพระวรสารนักบุญจอห์นซึ่งบรรยายการอัญเชิญพระศพพระเยซูลงจากกางเขนหลังจากที่มีการตรึงพระเยซูที่กางเขนแล้ว โดยโยเซฟแห่งอาริมาเธียและนิโคเดมัส (Nicodemus) (ยอห์น).

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และการตรึงพระเยซูที่กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันตก

แผนที่ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่ติดกับทะเลเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทำให้ดินแดนยุโรปตะวันตกนี้ไม่ห่างจากทะเลมากนัก เป็นผลทำให้มีความชื้นในอากาศสูงและอุณหภูมิหน้าหนาวไม่เย็นจัดเหมือนยุโรปที่อยู่ในภาคพื้นทวีปยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตกมีพื้นที่ประมาณ 36,933,412 ตารางกิโลเมตร ภาษาในภูมิภาคนี้มีมากมายเช่น กลุ่มภาษาโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ฯลฯ กลุ่มภาษาเยอรมานิค เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษ ภาษาสวีเดน ฯลฯ และ ภาษากรีก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และโรมันคาทอลิก ความแตกต่างของประเทศในยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกคือระบอบการปกครองและการเมืองช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่มักจะกล่าวถึงว่าเป็นประเทศในยุโรปตะวันตก.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐไอโอวา

อโอวา (Iowa) เป็นรัฐของสหรัฐอเมริกา อาณาเขตติดต่อกับรัฐอิลลินอยส์ทางด้านตะวันออก รัฐเนแบรสกาทางด้านตะวันตก รัฐมิสซูรีทางด้านใต้ รัฐมินนิโซตา รัฐวิสคอนซิน และรัฐเซาท์ดาโคตา ทางด้านเหนือ ไอโอวาเป็นที่รู้จักเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของข้าวโพด หมู และน้ำมันเอทานอล มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของรัฐไอโอวาได้แก่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต มหาวิทยาลัยไอโอวา และ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นไอโอวา ไอโอวาจะได้รับการสนใจในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี เนื่องจากเป็นรัฐแรกที่มีการคอคัส ชื่อรัฐไอโอวาตั้งชื่อตาม ชาวอินเดียแดง เผ่าไอโอว.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และรัฐไอโอวา · ดูเพิ่มเติม »

วันศุกร์ประเสริฐ

วันศุกร์ประเสริฐราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2 (Good Friday) หรือวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Friday) เป็นวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ในตรีวารปัสคา (ก่อนวันอีสเตอร์) ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อระลึกถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขน พระวรสารในสารบบระบุว่าพระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนในวันเตรียมวันสะบาโตซึ่งตรงกับวันศุกร์ และกลับคืนพระชนม์ในเช้าวันอาทิตย์หลังจากนั้น.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และวันศุกร์ประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้า

ักการสถานของโฮเดเกเทรีย มหาวิหารอัสสัมชัญในกรุงสโมเลงสค์ ประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1912 หีบสามกษัตริย์ของมหาวิหารโคโลญในเยอรมนีที่บรรจุกระดูกของโหราจารย์ถือกันว่าเป็น “หีบสักการะ” ภาพเขียน “The Shrine” โดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ ค.ศ. 1895 ศาลเจ้า ชาวคาทอลิกเรียกว่าสักการสถาน ตรงภาษาอังกฤษว่า “Shrine” มาจากภาษาละติน “Scrinium” ที่แปลว่า “หีบสำหรับหนังสือหรือเอกสาร” และภาษาฝรั่งเศสเก่า “escrin” ที่แปลว่า “กล่องหรือหีบ” คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้แก่บุคคลสำคัญทางศาสนา บรรพบุรุษ วีรบุรุษ มรณสักขี นักบุญ หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือเป็นที่นับถือผู้เป็นที่สักการะ ในศาลมักจะประกอบด้วยรูปเคารพ วัตถุมงคล หรือสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นที่สักการะ ศาลที่สร้างขึ้นเพื่อรับสิ่งสักการะเรียกว่า “แท่นบูชา” ศาลเจ้าเป็นสิ่งที่พบในศาสนาแทบทุกศาสนาในโลกที่รวมทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ศาสนาพื้นบ้านจีน และศาสนาชินโต และการใช้ในทางที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเช่นรำลึกสถานเกี่ยวกับสงคราม ศาลเจ้ามีลักษณะต่างกันไปหลายอย่าง ปูชนียสถานบางแห่งก็ตั้งอยู่ภายในโบสถ์ วัด สุสาน หรือแม้แต่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งก็จะเป็นแบบที่เคลื่อนย้ายได้ เช่นในลักษณะของ “หีบวัตถุมงคล” ศาลเจ้าบางครั้งก็อาจจะกลายมาเป็นศูนย์กลางที่ประดิษฐานเทวรูปต่าง.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และศาลเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันตก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 (อังกฤษ: Innocent III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1198 ถึง ค.ศ. 1216 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1160 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 อินโนเซนต์ที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในสงครามครูเสดครั้งที่ 5 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลัตซีโย.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีสเตอร์

นางมารีย์ชาวมักดาลากับพระเยซูที่ฟื้นคีนพระชนม์แล้ว อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ (Easter; Ēostre หรือ date; Pascha ปัสคา; Πάσχα, Paskha; פַּסחא Pasḥa; มาจาก פֶּסַח Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์ นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และอีสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ป็อนติอุส ปีลาตุส

ภาพความวุ่นวายของฝูงชนชาวยิวที่มาเรียกร้องให้ประหารพระเยซู ต่อหน้าปีลาตุส โดยศิลปินนิรนาม นี่คือตัวอย่างของผู้ที่มารับบทปีลาตุสในภาพยนตร์ แสดงโดยไมเคิล พาลิน ป็อนติอุส ปีลาตุส (Pontivs Pilatvs) เป็นข้าหลวงชาวโรมันผู้ว่าการมณฑลจูดีอา (ปัจจุบันคือประเทศอิสราเอลถึงเลบานอน) ในสมัยจักรพรรดิติแบริอุส และเป็นผู้สั่งประหารพระเยซูเพราะถูกเสียงกดดันจากฝูงชนชาวยิวที่ไม่เชื่อว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้าที่มาเรียกร้องในที่ว่าการอำเภอให้ออกหมายสั่งประหารพระเยซู คริสต์ศาสนานิกายเอธิโอเปียและนิกายโบสถ์ตะวันออกนับถือปีลาตุสเป็นนักบุญ หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หมวดหมู่:โรมัน หมวดหมู่:ศาสนาคริสต์.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และป็อนติอุส ปีลาตุส · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเวโรนีกา

นักบุญเวโรนิกาถือผ้าซับพระพักตร์ของพระเยซู นักบุญเวโรนีกา (อังกฤษ:saint veronika) หรือที่รู้จักกันในนาม นางเวโรนิกา มีชื่อจริงว่า เซราเฟีย เป็นนักบุญของนิกายโรมันคาทอลิกของศาสนาคริสต์ นักบุญท่านนี้มีชื่อเสียงจากการซับพระพักตร์ของพระเยซูคริสต์ก่อนที่พระเยซูจะสิ้นพระชนม.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และนักบุญเวโรนีกา · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

แท่นบูชา

แท่นบูชา แท่นบูชา (altar) เป็นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้วางสิ่งของที่ใช้ในพิธีมิสซาในคริสต์ศาสนสถาน ต้องจัดวางไว้ให้เด่นที่สุดในโบสถ์ และไม่ใช่เป็นโต๊ะวางสิ่งของจิปาถะ แท่นบูชาใช้วางผ้ารองศีล ผ้าเช็ดกาลิกส์ หนังสือมิสซา ถ้วยกาลิกส์ และแผ่นปัง แท่นบูชามีประโยชน์ใช้สอยทางสถาปัตยกรรมในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งอาคาร บนแท่นบูชานี้ จะต้องจัดให้สามารถนำภาชนะศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับภาคถวายมาวางไว้ได้อย่างสะดวกในเวลาประกอบพิธี เช่น จานรองศีล พร้อมแผ่นปัง กาลิกส์ที่มีเหล้าองุ่น นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิธีมิสซา ไมโครโฟน และสิ่งอื่นเท่าที่จำเป็น แท่นบูชาไม่ใช่โต๊ะวางของ จึงควรมีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับภาคถวายเท่านั้น แท่นบูชาของคริสตชนในสมัยแรกเป็นโต๊ะไม้เคลื่อนที่ได้ ต่อมาเป็นแบบตั้งอยู่กับที่ และในจารีตละตินให้เป็นแบบทำศิลาหรือหินเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของพระศาสนจักรที่รับสืบทอดกันมา และให้สอดคล้องกับ สัญลักษณ์จากพระคัมภีร์เกี่ยวกับแท่นบูชาจะต้องทำด้วยหิน และหินธรรมชาติด้วย ซึ่งแท่นหรือหินเป็นรูปแบบที่ชาวอิสราเอลใช้เป็นที่ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แท่นบูชามี 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอุมเบรีย

อุมเบรีย (Umbria) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นของประเทศอิตาลี มีเนื้อที่ทั้งหมด 8,456 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 900,000 คน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 จังหวัด คือ จังหวัดเปรูจาและจังหวัดแตร์นี เมืองหลักของแคว้นคือเปรู.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และแคว้นอุมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โคลอสเซียม

ลอสเซียม (Colosseum), โคลิเซียม (Coliseum) หรือทวิอัฒจันทร์ฟลาเวียน (Flavian Amphitheatre; Amphitheatrum Flavium; Anfiteatro Flavio หรือ Colosseo) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และโคลอสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

เมล กิบสัน

มล คอล์ม-ซิลลี่ เจอร์ราด กิบสัน เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1956 เป็นนักแสดง ผู้กำกับ และโปรดิวเซอร์ ที่เกิดในอเมริกาแต่โตในออสเตรเลีย เขาประสบความสำเร็จกับภาพยนตร์เรื่อง Mad Max และ Lethal Weapon ต่อมาประสบความสำเร็จกับการกำกับภาพยนตร์เรื่อง Braveheart ที่ได้รับรางวัลออสการ.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และเมล กิบสัน · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลมหาพรต

ผ้าคลุมไม้กางเขนที่โบสถ์แห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี เทศกาลมหาพรต (คาทอลิก) หรือเทศกาลเข้าสู่ธรรม (โปรเตสแตนต์) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 314-5 (Lent; Quadragesima แปลว่า ที่สี่สิบ เว็บไซต์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของศาสนาคริสต์ เริ่มต้นจากวันพุธรับเถ้าและสิ้นสุดวันอีสเตอร์ รวม 40 วัน โดยเทศกาลนี้มีไว้เพื่อระลึกถึงพระทรมานและการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ โดยกิจที่คริสต์ศาสนิกชนปฏิบัติในช่วงนี้คือการอธิษฐาน การบริจาคสิ่งของ การอดอาหาร และการไม่ฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ระยะเวลา 40 วันมีความสำคัญเนื่องจากเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลข 40 ไม่ว่าจะเป็น การบำเพ็ญเพียรอดอาหารของพระเยซูเป็นเวลา 40 วัน โมเสสอยู่บนเขากับพระเจ้า 40 วัน เกิดน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ 40 วัน และการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาก็ใช้เวลายาวนานถึง 40 ปี อย่างไรก็ดีเมื่อนับวันจริง ๆ แล้วจะเป็น 46 วัน เนื่องจากชาวคริสต์จะไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ จึงเหลือเพียง 36 วันและต้องเพิ่มวันจำศีลอีก 4 วันให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธ (วันพุธรับเถ้า) ต่างกับเทศกาลอื่น ๆ ที่เริ่มจากวันอาทิตย์แรกธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันในเฉพาะฝั่งศาสนาคริสต์ตะวันตก ส่วนในศาสนาคริสต์ตะวันออกจะเริ่มต้นวันจันทร์ เรียกว่า "วันจันทร์สะอาด" (Clean Monday) เว็บไซต์คริสตจักรวัฒนา ชาวคริสต์หมู่มากฉลองเทศกาลนี้ (เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน) ขณะที่บางกลุ่มเริ่มให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มากขึ้น (เช่น คริสตจักรแบปทิสต์).

ใหม่!!: มรรคาศักดิ์สิทธิ์และเทศกาลมหาพรต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Stations of the CrossVia Dolorosaทางสู่กางเขน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »