โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ

ดัชนี ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ

ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ (Lebuhraya Utara–Selatan Jajaran Utara) ซึ่งมีหมายเลขเป็น E1 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 เป็นทางหลวงในมาเลเซียตะวันตกที่มีการควบคุมการเข้าออก และมีการชำระค่าผ่านทาง มีระยะทาง เป็นเส้นทางในส่วนเหนือของทางด่วนเหนือ–ใต้ของประเทศมาเลเซีย เส้นทางผ่านรัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ รัฐเกอดะฮ์ รัฐปีนัง รัฐเประก์ และรัฐเซอลาโงร์ มีจุดเริ่มต้นทางทิศเหนือที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองบูกิตกายูฮีตัมในรัฐเกอดะฮ์ ซึ่งตั้งอยู่บนชายแดนมาเลเซีย-ไทย และสิ้นสุดที่บูกิตลันจัน ในรัฐเซอลาโงร์ ซึ่งตัดกับทางด่วนหุบเขากลังใหม่ ทางด่วนสายนี้ดำเนินการโดยพลัสเอกซ์เพรสเวย์ ทางด่วนสายนี้มีแนวเส้นทางจากเหนือไปใต้ ใกล้กับชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันเฉียงเหนือของคาบสมุทร เชื่อมเมืองใหญ่ต่าง ๆ ได้แก่ อลอร์สตาร์ บัตเตอร์เวิร์ท ไตปิง อีโปะฮ์ และราวัง และผ่านหมู่บ้านชนบทต่าง ๆ ทางด่วนสายนี้มีเส้นทางขนานไปกับทางหลวงมาเลเซียหมายเลข 1 ที่มีอยู่แล้ว และมีการใช้เส้นทางร่วมกันกับทางด่วนสายนี้จากเมืองบูกิตกายูฮีตัมถึงเมือง Jitra.

17 ความสัมพันธ์: บัตเตอร์เวิร์ทชายแดนมาเลเซีย-ไทยบูกิตกายูฮีตัมกัวลากังซาร์กัวลาลัมเปอร์มาเลเซียตะวันตกรัฐปีนังรัฐเกอดะฮ์รัฐเซอลาโงร์รัฐเปรักอาโลร์เซอตาร์อีโปะฮ์จอร์จทาวน์ (ปีนัง)ถนนเพชรเกษมทางหลวงสหพันธ์มาเลเซียหมายเลข 1ทางหลวงเอเชียสาย 2ซูไงเปอตานี

บัตเตอร์เวิร์ท

ัตเตอร์เวิร์ท (Butterworth) หรือภาษามลายูเรียกว่า บากัน (Bagan "ท่าเรือ") และชื่อภาษาจีนว่า เป่ย์ไห่ (北海 "ทะเลทางเหนือ") เป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งของรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งส่วนแผ่นดินเซอเบอรังเปอไร (เดิมเรียก พรอวินซ์เวลเลสลีย์) ตรงข้ามกับเมืองจอร์จทาวน์ มีประชากร 107,591 คน เมืองนี้ก่อตั้งขึ้นช่วยศตวรรษที่ 19 ถูกเรียกเป็นภาษามลายูว่า บากัน แปลว่า "ท่าเรือ" ส่วนชื่อ บัตเตอร์เวิร์ท ถูกตั้งตามชื่อของวิลเลียม จอห์น บัตเตอร์เวิร์ท อดีตผู้ปกครองอาณานิคมช่องแคบ จากที่นี่สามารถเดินทางต่อไปยังจอร์จทาวน์บนเกาะปีนังได้โดยการเดินทางด้วยเรือปีนังเฟอร์รีเซอร์วิซ หรือทางบกด้วยการนั่งรถยนต์ข้ามสะพานปีนัง และจากสถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ทก็สามารถเดินทางต่อไปยังกัวลาลัมเปอร์ หรือกรุงเทพมหานครได้การรถไฟแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและบัตเตอร์เวิร์ท · ดูเพิ่มเติม »

ชายแดนมาเลเซีย-ไทย

นตรวจคนเข้าเมืองช่องสะเดา ถ่ายจากฝั่งมาเลเซีย (เกอดะฮ์) พรมแดนมาเลเซีย-ไทย มีทั้งชายแดนระหว่างประเทศทั้งบนบกผ่านคาบสมุทรมลายู และทางน้ำทางช่องแคบมะละกา รวมไปถึง อ่าวไทย/ทะเลจีนใต้ มาเลเซียทอดตัวอยู่ทางตอนใต้ของ ประเทศไทย มีแม่น้ำโก-ลกเป็นพรมแดนระหว่างประเทศ ที่มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตรกั้นประเทศไทยและมาเลเซีย โดยประเทศไทยอยู่ทางเหนือ และประเทศมาเลเซียอยู่ทางใต้ พรมแดนระหว่างประเทศนี้ได้ใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ 1909 ระหว่างไทย (ซึ่งในตอนนั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าสยาม) กับอังกฤษซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในตอนเหนือของมาเลเซีย ซึ่งก็คือ เกอดะฮ์ (ไทรบุรี) กลันตัน ปะลิส และตรังกานูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในสมัยก่อนทั้งสี่รัฐนี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสยามมาก่อน และเป็นรัฐพรมแดนระหว่างประเทศของมาเลเซีย ซึ่งได้แก่ (เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก) ปะลิส เกอดะฮ์ เประก์ และกลันตัน กับ 4 จังหวัดพรมแดนระหว่างประเทศของไทย (เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก) คือ จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิว.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและชายแดนมาเลเซีย-ไทย · ดูเพิ่มเติม »

บูกิตกายูฮีตัม

ูกิตกายูฮีตัม (Bukit Kayu Hitam "ภูเขาไม้ดำ") เมืองหนึ่งของรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางตอนบนของประเทศใกล้กับเมืองจังโหลน และติดกับชายแดนไทยด่านจังโหลน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บูกิตกายูฮีตัม เป็นจุดสิ้นสุดของทางด่วนพิเศษเหนือ-ใต้ในมาเลเซีย ซึ่งจุดเริ่มต้นของถนนสายดังกล่าวอยู่ที่เมืองยะโฮร์บาห์รู รัฐยะโฮร์ทางใต้ของประเทศ อย่างไรก็ตามทางด่วนพิเศษเหนือ-ใต้ในบูกิตกายูฮีตัมก็เชื่อมต่อเข้ากับถนนเพชรเกษมของไทย และสามารถเดินทางต่อมายังกรุงเทพมหานครได้.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและบูกิตกายูฮีตัม · ดูเพิ่มเติม »

กัวลากังซาร์

กัวลากังซาร์ (Kuala Kangsar) เป็นเมืองที่สุลต่านเปรักประทับอยู่ มีประชากร39,000คน ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำกังซาร์ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำเปรัก ดอกไม้ประจำเขตคือดอกพุทธรักษา กัวลากังซาร์มีพื้นที่ทั้งหมด 204.94 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและกัวลากังซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและกัวลาลัมเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียตะวันตก

มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง).

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและมาเลเซียตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปีนัง

ปูเลาปีนัง (Pulau Pinang) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย เดิมชาวมลายูรุ่นแรกเรียกว่า ปูเลาวาซาตู หรือเกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลาปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะพรินซ์ออฟเวล.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและรัฐปีนัง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเกอดะฮ์

กอดะฮ์ (Kedah, قدح) หรือ ไทรบุรี มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอามัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและรัฐเกอดะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเซอลาโงร์

ซอลาโงร์ (Selangor, อักษรยาวี: سلانڠور) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรมลายู และล้อมรอบกัวลาลัมเปอร์ไว้ทั้งหมด อาณาเขตของรัฐเซอลาโงร์ ทิศเหนือติดรัฐเปรัก ทิศตะวันออกติดรัฐปะหัง ทิศตะวันตกติดช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เมืองหลวงของเซอลาโงร์ชื่อ ชะฮ์อาลัม เมืองเจ้าผู้ครองชื่อ กลัง เป็นรัฐทีใหญ่อันดับ 9 ของมาเลเซีย อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญของเซอลาโงร์คือเปอตาลิงจายา ซึ่งได้รับเป็นสถานะเป็นเมืองดีเด่นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2006.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและรัฐเซอลาโงร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเปรัก

ปรัก หรือ เประก์ (Perak, อักษรยาวี: ڨيرق) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองบนมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์และจังหวัดยะลาของประเทศไทยทางทิศเหนือ รัฐปีนังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกลันตันและรัฐปะหังทางทิศตะวันออก รัฐเซอลาโงร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตกจรดช่องแคบมะละกา "เปรัก" (Perak) ในภาษามลายูหมายถึงเงิน ซึ่งน่าจะมาจากสีเงินของแร่ดีบุก แต่บางคนก็ว่าชื่อของรัฐมาจาก "แสงวิบวับของปลาในน้ำ" ซึ่งส่องเป็นประกายเหมือนเงิน ส่วนชื่อเฉลิมเมืองในภาษาอาหรับคือ ดารุลริฎวาน ("ดินแดนแห่งความสง่างาม") เกาะปังกอร์เป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้ชายฝั่ง มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น การดำน้ำ.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและรัฐเปรัก · ดูเพิ่มเติม »

อาโลร์เซอตาร์

อาโลร์เซอตาร์ (Alor Setar; ยาวี: الور ستار) เป็นเมืองหลวงของรัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) และเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการของรัฐและมีรัฐมนตรีสูงสุด (Menteri Besar) เป็นผู้นำรัฐบาล ชื่อของรัฐนี้นั้นมีต้นกำเนิดมาจากคำว่า “Alor” (สายน้ำเล็ก ๆ) และ “Setar” (มะปราง) ด้วยคุณลักษณะที่ผสมผสานกันของความเป็นชนบทและอารยธรรม ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่สอดคล้องกันอย่างลงตัว หมวดหมู่:รัฐเกอดะฮ์ หมวดหมู่:เมืองในประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและอาโลร์เซอตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีโปะฮ์

อีโปะฮ์ (Ipoh, اڤوه) เป็นเมืองหลวงของรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย อยู่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปทางทิศเหนือราว 200 กิโลเมตร (125 ไมล์) ตามเส้นทางด่วนสายเหนือ-ใต้ อีโปะห์ได้รับการพัฒนาเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่สำคัญในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จากการตื่นตัวในการทำอุตสาหกรรมเหมืองดีบุก ด้านสถาปัตยกรรม เมืองมีห้องแถวจีนที่มีเอกลักษณ์แบบยุคอาณานิคม.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและอีโปะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จทาวน์ (ปีนัง)

ปีนัง (เรียกเฉพาะไทย) หรือ จอร์จทาวน์ (George Town; เดิมสะกดว่า Georgetown; 乔治市; ஜோர்ஜ் டவுன்) มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า ตันจุง (Tanjung) เป็นเมืองเอกของรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปีนัง ตัวเมืองมีประชากร 720,202 คน แต่หากรวมปริมณฑลคือเกาะปีนัง, เซอเบอรังเปอไร, ซูไงเปอตานี และกูลิม ก็จะมีประชากร 2,251,042 คน และจะถือเป็นมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสองของมาเลเซีย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและจอร์จทาวน์ (ปีนัง) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและถนนเพชรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงสหพันธ์มาเลเซียหมายเลข 1

ทางหลวงสหพันธ์หมายเลข 1 (Federal Route 1) เป็นทางหลวงสหพันธ์สายแรกในประเทศมาเลเซีย และเป็นทางหลวงสหพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ ทางหลวงสหพันธ์หมายเลข 1 เป็นเส้นทางที่เป็นกระดูกสันหลังของมาเลเซียตะวันตก ก่อนที่จะมีทางพิเศษเหนือ–ใต้ (E1 และ E2).

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและทางหลวงสหพันธ์มาเลเซียหมายเลข 1 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงเอเชียสาย 2

ทางหลวงเอเชียสาย 2 (AH2) เป็นเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ระยะทาง 8,230 ไมล์ (13,177 กม.) จากเดนพาซาร์, อินโดนีเซีย ถึง โคสราวี, อิหร่าน โดยช่วงที่ผ่านประเทศไทย เริ่มจากพรมแดนพม่าที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลงมาจนจรดชายแดนบ้านจังโหลน จังหวัดสงขลา เป็นระยะทาง 2,254 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและทางหลวงเอเชียสาย 2 · ดูเพิ่มเติม »

ซูไงเปอตานี

ซูไงเปอตานี หรือ สุไหงปัตตานี (Sungai Petani) หรืออาจรู้จักในชื่อย่อว่า เอสจีเปอตานี หรือ เอสพี เป็นเมืองหนึ่งในรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนบนของคาบสมุทรมลายู เมืองนี้มีประชากร 456,605 คน ถือว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐเกอดะฮ์ และมีประชากรมากกว่าเมืองอาโลร์เซอตาร์ เมืองเอกของรัฐ ซูไงเปอตานีเป็นที่ตั้งโบราณสถานยุคก่อนอิสลามคือหุบเขาบูจัง อายุกว่าหนึ่งพันปีซึ่งก่อสร้างขึ้นตามคติฮินดู-พุทธ ห่างจากตัวเมืองซูไงเปอตานี 17 กิโลเมตร ภายในหุบเขาได้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ที่แสดงโบราณวัตถุที่ขุดพบจากหุบเขาบูจัง ชื่อเมือง ซูไงเปอตานี แปลว่า แม่น้ำกสิกร มาจากคำว่า ซูไง (Sungai; ไทยเรียก สุไหง) แปลว่าแม่น้ำ กับคำว่า เปอตานี (Petani; ไทยเรียก ปัตตานี) ที่แปลว่า ชาวนาหรือเกษตรกร.

ใหม่!!: ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือและซูไงเปอตานี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทางพิเศษเหนือ–ใต้ สายเหนือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »