โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดี. เอช. ลอว์เรนซ์

ดัชนี ดี. เอช. ลอว์เรนซ์

ี.

18 ความสัมพันธ์: ชาลส์ บูเคาว์สกีชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์พ.ศ. 2428พ.ศ. 2473ลัทธินอกศาสนาลูกชายและคนรักสหราชอาณาจักรอัลดัส ฮักซลีย์อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์จอยซ์ แคโรล โอทส์ประเทศฝรั่งเศสนวยุคนิยมนอตทิงแฮมเชอร์โจเซฟ คอนราดเอ. เอส. ไบแอ็ทเฮอร์แมน เมลวิลล์11 กันยายน2 มีนาคม

ชาลส์ บูเคาว์สกี

ลส์ บูเคาว์สกี (Charles Bukowski หรือ Henry Charles Bukowski) (16 สิงหาคม ค.ศ. 1920 - (9 มีนาคม ค.ศ. 1994) ชาลส์ บูเคาว์สกีเป็นนักเขียนนวนิยายและเรื่องสั้น กวี และนักเขียนคอลัมน์ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน งานเขียนของบูเคาว์สกีเป็นงานที่ได้รับอิทธิพลทางภูมิศาสตร์และบรรยากาศโดยตรงจากลอสแอนเจลิสที่เป็นเมืองที่พำนัก และเน้นการเขียนเกี่ยวกับชีวิตของคนอเมริกันธรรมดาที่มีฐานะยากจน, การเขียน, แอลกอฮอล์, ความสัมพันธ์กับสตรี และความน่าเบื่อหน่ายของการทำงาน บูเคาว์สกีผลิตงานเขียนเป็นจำนวนมากที่รวมทั้งกวีนิพนธ์เป็นจำนวนพัน เรื่องสั้นอีกเป็นร้อยเรื่อง นวนิยายหกเรื่อง และมีงานที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งสิ้นกว่า 60 เล่ม ในปี ค.ศ. 1986 ไทม์เรียกบูเคาว์สกีว่า “นักเขียนเอกแห่งชีวิตอเมริกันชั้นต่ำ” (laureate of American lowlife).

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และชาลส์ บูเคาว์สกี · ดูเพิ่มเติม »

ชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์

ู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์ (Lady Chatterley's Lover) เป็นนวนิยายโดยดี. เอช. ลอว์เรนซ์ นักเขียนชาวอังกฤษ เนื้อหากล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงชู้สาวระหว่างสตรีชั้นสูง กับชายผู้ใช้แรงงาน โดยมีบทบรรยายถึงฉากการร่วมเพศ และใช้คำศัพท์ อย่างโจ่งแจ้ง ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2428

ทธศักราช 2428 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1885 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และพ.ศ. 2428 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2473

ทธศักราช 2473 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1930 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และพ.ศ. 2473 · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ลูกชายและคนรัก

ลูกชายและคนรัก (Sons and Lovers) เป็นนวนิยายเชิงอัตชีวประวัติที่เขียนโดยนักเขียนชาวอังกฤษดี. เอช. ลอเรนซ์ ที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ค.ศ. 1913 “ลูกชายและคนรัก” เป็นนวนิยายเล่มที่สามของลอเรนซ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ที่เป็นเรื่องราวของพอล โมเรลชายวัยหนุ่มและศิลปินผู้กำลังเริ่มอาชีพ ริชาร์ด อัลดิงทันให้คำอธิบายเนื้อหาด้านอัตชีวประวัติของงานชิ้นนี้ว่า: หนังสือฉบับที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1913 เป็นฉบับที่เนื้อหาถูกตัดออกไปมากโดยบรรณาธิการเอ็ดเวิร์ด การ์เนทท์ ผู้ตัดเนื้อหาออกไปถึง 80 ย่อหน้าหรือราวหนึ่งในสิบของหนังสือทั้งเล่ม หนังสืออุทิศให้แก่การ์เนทท์ ผู้มีบทบาทในการทำให้ลอเรนซ์เป็นที่รู้จักกันในวงการหนังสือในลอนดอนระหว่างปี..

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และลูกชายและคนรัก · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

อัลดัส ฮักซลีย์

อัลดัส ฮักซลีย์ อัลดัส เลโอนาร์ด ฮักซลีย์ (Aldous Leonard Huxley, 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963)) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษ ที่อพยพไปสหรัฐอเมริกา เขาเป็นสมาชิกของครอบครัวฮักซลีย์อันโด่งดัง ที่มีนักคิดทางวิทยาศาสตร์หลายคน แม้จะเป็นที่รู้จักจากนวนิยายและความเรียงที่มีเนื้อหากว้างขวาง เขายังพิมพ์เรื่องสั้น, บทกวี และงานเขียนเชิงท่องเที่ยว ฮักซลีย์วิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ขนบธรรมเนียม ค่านิยม และแนวคิดของสังคม รวมถึงการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในทางที่ไม่ถูกต้องผ่านงานเขียนของเขา ในขณะที่สิ่งที่เขาสนใจในช่วงต้นอาจมองว่าเป็นแนว "มนุษย์นิยม" แต่ที่สุดแล้ว เขากลับมาสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวทาง "จิตวิญญาณ" เช่นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาเหนือคำอธิบาย และปรัชญาที่วางอยู่บนรากฐานของความเชื่อทางจิตวิญญาณ ซึ่งเขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้เช่นกัน ในช่วงท้ายของชีวิต เขาถูกจัดให้เป็น "ผู้นำของความคิดสมัยใหม่" โดยกลุ่มคนบางกลุ่ม.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และอัลดัส ฮักซลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์

อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันดีในความแจ่มแจ้งทางปรัชญาและทุทรรศนนิยมของความไม่มีพระเจ้า เมื่ออายุ 25 ปีโชเพนเฮาเออร์พิมพ์ปริญญานิพนธ์ “มูลบัญญัติสี่ประการของเหตุผล” (Über die vierfache Wurzel des Satzes vom zureichenden Grunde) ที่เป็นปรัชญาที่พิจารณาคำถามที่ว่าเหตุผลเพียงอย่างเดียวจะสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับโลกได้หรือไม่ งานชิ้นที่มีอิทธิพลที่สุดของโชเพนเฮาเออร์ “Die Welt als Wille und Vorstellung” (The World as Will and Representation) เน้นบทบาทของแรงบันดาลใจ (motivation) ของมนุษย์ที่โชเพนเฮาเออร์เรียกว่า “เจตจำนง” (Will) การวิจัยของโชเพนเฮาเออร์นำไปสู่การสรุปว่าความต้องการทางอารมณ์, ทางร่างกาย และทางเพศ เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะตอบสนองได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นโชเพนเฮาเออร์จึงนิยมวิถีชีวิตที่ลดความต้องการของมนุษย์ ที่คล้ายคลึงกับปรัชญาของศาสนาพุทธและเวทานต.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และอาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอยซ์ แคโรล โอทส์

อยซ์ แคโรล โอทส์ (Joyce Carol Oates) (16 มิถุนายน ค.ศ. 1938 -) จอยซ์ แคโรล โอทส์เป็นนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร โคลงกลอน วิพากษ์วรรณกรรม, ศาสตราจารย์ และ บรรณาธิการคนสำคัญชาวอเมริกัน งานเขียนหนังสือของโอทส์ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และจอยซ์ แคโรล โอทส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

นวยุคนิยม

ก้าอี้วาสซิลี (Wassily) ผลงานของมาร์แซล บรอยเยอร์ นวยุคนิยม, นวนิยม, ทันสมัยนิยม หรือ สมัยใหม่นิยม (modernism) อธิบายชุดของขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำดังกล่าวครอบคลุมชุดต่อเนื่องของขบวนการปฏิรูปในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, วรรณกรรม, และศิลปะประยุกต์ซึ่งอุบัติขึ้นในระหว่างช่วงนี้.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และนวยุคนิยม · ดูเพิ่มเติม »

นอตทิงแฮมเชอร์

นอตทิงแฮมเชอร์ (Nottinghamshire เขียนย่อ “Notts”) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน นอตทิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลเซาท์ยอร์คเชอร์, มณฑลลิงคอล์นเชอร์, มณฑลเลสเตอร์เชอร์ และมณฑลดาร์บีเชอร์ นอตทิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: รัชคลิฟฟ์, บร็อกซโทว์, แอชฟิล์ด, เก็ดลิง, นิวอาร์คและเชอร์วูด, แมนสฟิล์ด, บาสเซ็ทลอว์ และนอตทิงแฮม ตามธรรมเนียมแล้วนอตทิงแฮมเป็นเมืองหลวงของมณฑลแต่ปัจจุบันเมืองหลวงคือเวสต์บริดจ์ฟอร์ดบริเวณหนึ่งของปริมณฑลนอตทิงแฮม การบริหารนอตทิงแฮมเดิมเป็นส่วนหนึ่งของนอตทิงแฮมเชอร์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และนอตทิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ คอนราด

ซฟ คอนราด (Joseph Conrad) โจเซฟ คอนราด (Joseph Conrad) 3 ธันวาคม ค.ศ. 1857 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1924)เกิดที่ประเทศโปแลนด์เขตยูเครน เมื่อปี ค.ศ. 1857 และต้องเป็นกำพร้าด้วยวัย 12 ปี เด็กชายโยเซฟ ทีโอดอร์ คอร์เซนอฟสกีจึงย้ายไปอยู่กับลุงที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่หลังจากนั้นไม่นานได้เข้าทำงานกับบริษัทเดินเรือพาณิชย์แห่งฝรั่งเศส และต่อมาก็บริษัทเดินเรือพาณิชย์ของอังกฤษ ซึ่งเขาได้เป็นกัปตันเรือของตนเองในที่สุด ภายหลังได้รับสัญชาติอังกฤษ เขาเปลี่ยนชื่อเป็นโจเซฟ คอนราด เมื่ออายุ 36 เขาเลิกออกทะเล และตั้งหลักปักฐานในอังกฤษ แต่งงาน มีบุตรชายสองคน รวมทั้งเริ่มต้นอาชีพการประพันธ์อันมีมนต์สะกด โดยผลงานที่เด่นๆ ของเขาคือ Almayer’s Folly (..

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และโจเซฟ คอนราด · ดูเพิ่มเติม »

เอ. เอส. ไบแอ็ท

มอันโตเนีย ซูซาน ดัฟฟี หรือ เอ.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และเอ. เอส. ไบแอ็ท · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์แมน เมลวิลล์

อร์แมน แมลวิลล์ (Herman Melville) (1 สิงหาคม พ.ศ. 2362 – 28 กันยายน พ.ศ. 2434) เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน แต่งทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น เรียงความ และบทกวี วรรณกรรมชิ้นเอกของเขาคือ โมบี-ดิก (Moby Dick) ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394 เมื่อเฮอร์แมนมีอายุ 32 ปี.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และเฮอร์แมน เมลวิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

11 กันยายน

วันที่ 11 กันยายน เป็นวันที่ 254 ของปี (วันที่ 255 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 111 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และ11 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

2 มีนาคม

วันที่ 2 มีนาคม เป็นวันที่ 61 ของปี (วันที่ 62 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 304 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดี. เอช. ลอว์เรนซ์และ2 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

D H LawrenceD. H. LawrenceD.H. LawrenceD.H.LawrenceDH Lawrenceดี เอช ลอเรนซ์ดี. เอช. ลอเรนซ์ดี.เอช. ลอเรนซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »