โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวไมรา

ดัชนี ดาวไมรา

วไมรา (Mira) อยู่ในกลุ่มดาวซีตัส ห่างจากโลกเราประมาณ 200-400 ปีแสง เป็นระบบดาวคู่ที่ประกอบด้วยดาวยักษ์แดง 2 ดวงคือ ดาวไมรา เอ (Mira A) และดาวไมรา บี (Mira B) ดาวไมรา เอ ยังเป็นดาวแปรแสงและเป็นดาวแปรแสงซึ่งมิใช่ซูเปอร์โนวาดวงแรกที่มีการค้นพบอีกด้วย หากไม่นับรวม Eta Carinae ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือแล้ว ไมราจัดว่าเป็นดาวแปรแสงแบบมีวงรอบที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า แต่อาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นในบางช่วงของวงรอบการส่องสว่างของมัน.

8 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวกระดูกงูเรือกลุ่มดาวซีตัสกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลระบบดาวคู่ดาวยักษ์แดงดาวแปรแสงปีแสงนาซา

กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ

กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ที่อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดาวเรืออาร์โก วัตถุท้องฟ้าเด่น คือ ดาวคาโนปัส ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในท้องฟ้ายามค่ำคืน และดาวอีตากระดูกงูเรือ ดาวที่มีมวลสูง อยู่ ณ ใจกลางเนบิวลากระดูกงูเรือ (เอ็นจีซี 3372) หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ หมวดหมู่:กลุ่มดาวเรืออาร์โก.

ใหม่!!: ดาวไมราและกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวซีตัส

กลุ่มดาวซีตัส หรือ กลุ่มดาววาฬ เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ในเทพปกรณัมกรีก กลุ่มดาวนี้แทนวาฬหรือสัตว์ทะเลร้าย อยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่าทะเลท้องฟ้า ซึ่งได้ชื่อมาจากการที่กลุ่มดาวหลายกลุ่มในบริเวณนี้มีชื่อเกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ กลุ่มดาวปลา และกลุ่มดาวแม่น้ำ กลุ่มดาววาฬ หมวดหมู่:กลุ่มดาว.

ใหม่!!: ดาวไมราและกลุ่มดาวซีตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: ดาวไมราและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดาวคู่

กล้องฮับเบิล ดาวซิริอุส B แทบจะมองไม่เห็น (ล่างซ้าย) ดาวคู่ (Binary star) คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์สองดวงโคจรไปรอบๆ จุดศูนย์กลางมวลของระบบ ดาวแต่ละดวงถือว่าเป็น ดาวเพื่อน ของอีกดวงหนึ่ง การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในดาราจักรทางช้างเผือกมักเป็นระบบดวงเดี่ยวมากกว่าระบบดาวคู่ มีความสำคัญต่อการศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เพราะการสังเกตการณ์วงโคจรร่วมของทั้งสองทำให้สามารถประเมินมวลของดาวได้ ขณะที่การประเมินมวลของดาวฤกษ์เดี่ยวจำนวนมากต้องทำจาก extrapolation ที่ได้จากการศึกษาดาวคู่ ดาวคู่เป็นคนละอย่างกับดาวแฝด (Double star) ที่เมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันอย่างมาก แต่ไม่ได้มีแรงดึงดูดระหว่างกัน ดาวคู่อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ในแสงปกติ หรืออาจต้องใช้วิธีทางอ้อมในการตรวจสอบ เช่นการใช้สเปกโทรสโกปี ถ้าดาวคู่โคจรรอบกันและกันในแนวระนาบเดียวกับสายตา เราจะเห็นมันเกิดคราสบังกันเอง กรณีนี้จะเรียกว่า ดาวคู่คราส (eclipsing binary) ระบบที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มากกว่า 2 ดวง ที่เรียกกันว่า ระบบดาวหลายดวง ถือเป็นระบบที่ไม่ปกติเช่นกัน องค์ประกอบภายในของระบบดาวคู่สามารถแลกเปลี่ยนมวลซึ่งกันและกันได้ ทำให้วิวัฒนาการของมันดำเนินไปในทิศทางที่ดาวฤกษ์เดี่ยวไม่อาจทำได้ ตัวอย่างของดาวคู่ได้แก่ Algol (เป็นดาวคู่คราส) ดาวซิริอุส และ ดาว Cygnus X-1 (ซึ่งดาวสมาชิกดวงหนึ่งอาจจะเป็นหลุมดำ).

ใหม่!!: ดาวไมราและระบบดาวคู่ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยักษ์แดง

นาดของดวงอาทิตย์ปัจจุบัน (อยู่บนแถบลำดับหลัก) เปรียบเทียบกับขนาดโดยประมาณหากอยู่ในสภาวะดาวยักษ์แดง ดาวยักษ์แดง (Red Giant) เป็นดาวฤกษ์มวลน้อยหรือมวลปานกลางขนาดยักษ์ที่ส่องสว่างมาก (มวลโดยประมาณ 0.5-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาท้ายๆ ของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ บรรยากาศรอบนอกของดาวจะลอยตัวและบางมาก ทำให้รัศมีของดาวขยายใหญ่ขึ้นมาก และอุณหภูมิพื้นผิวก็ต่ำ อาจอยู่ที่ประมาณ 5000 เคลวินหรือน้อยกว่านั้น ภาพปรากฏของดาวยักษ์แดงจะมีสีตั้งแต่เหลืองส้มออกไปจนถึงแดง ครอบคลุมระดับสเปกตรัมในชั้น K และ M อาจบางทีรวมถึงชั้น S และดาวคาร์บอนจำนวนมากด้วย ดาวยักษ์แดงส่วนใหญ่โดยทั่วไปมักเรียกกันเป็น red giant branch stars (RGB) ซึ่งยังมีปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมอยู่ แต่ที่แกนกลางจะเป็นฮีเลียมที่ไม่มีปฏิกิริยาแล้ว แต่ยังมีดาวยักษ์แดงอีกพวกหนึ่งคือ asymptotic giant branch stars (AGB) ที่สร้างคาร์บอนจากฮีเลียมด้วยกระบวนการทริปเปิล-อัลฟา ดาวยักษ์แดงประเภท AGB จะเป็นดาวคาร์บอนประเภท C-N หรือ C-R ช่วงปลายๆ ดาวยักษ์แดงที่สว่างและโดดเด่นในยามค่ำคืน ได้แก่ ดาวอัลดิบาแรน ดาวอาร์คตุรุส และแกมมาครูซิส เป็นต้น ขณะที่ดาวที่ใหญ่ยิ่งกว่านั้นคือดาวอันแตร์ส (อัลฟาสกอร์ปิไอ) และดาวบีเทลจุส เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง (red supergiant).

ใหม่!!: ดาวไมราและดาวยักษ์แดง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแปรแสง

วแปรแสง (Variable Star) คือดาวฤกษ์ ที่มีความสว่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แตกต่างจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในท้องฟ้าที่มีสภาพส่องสว่างเกือบคงที่ ดวงอาทิตย์ของเรา เป็นตัวอย่างที่ดีของดาวฤกษ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความสว่างน้อยมาก (โดยปกติเปลี่ยนแปลงประมาณ 0.1% ในวัฏจักรสุริยะ 11 ปี) ดาวแปรแสงมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงความสว่างจาก ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ตัวอย่างดาวฤกษ์ดวงที่เห็นได้ชัดเจนคือ "ดาวบีเทลจุส" ในกลุ่มดาวนายพราน.

ใหม่!!: ดาวไมราและดาวแปรแสง · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ดาวไมราและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ดาวไมราและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดาวมิรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »