โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

ดัชนี มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

มหาภารตะ (Mahabharat) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ ละครเรื่องสร้างขึ้นโดยรีเมคจากละครเรื่อง มหาภารตะ ที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2531 นำแสดงโดย ซอรับห์ ราจ เจน, ชาเฮียร์ ชีคห์, พูจา ชาร์มา, อฮัม ชาร์มา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5เป็นตอนแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558.

49 ความสัมพันธ์: ช่อง 3 แฟมิลีพ.ศ. 2531พ.ศ. 2558พระกฤษณะพระวิษณุพระศิวะพระนางกุนตีพระนางสัตยวดีพระนางคานธารีพระนางเทราปตีกรรณะกษัตริย์การพนันภาษาฮินดีภีมะภีษมะมหาภารตะมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531)มหาภารตะ (แก้ความกำกวม)ยุธิษฐิระราชวงศ์ปาณฑพราชวงศ์เการพริยา ทิปสีลูกเต๋าศกุนิศานตนุสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกสงครามสงครามทุ่งกุรุเกษตรอภิมันยุอรชุนอัศวัตถามาจันทรคุปต์ ศึกรักชิงบัลลังก์ธฤษฏัทยุมนะทุรโยธน์ทุหศาสันท้าวธฤตราษฎร์ท้าวทรุปัทซาเมียร์ ธรรมาธิการีประเทศอินเดียปีนางอุตตรา (มหาภารตะ)โกล์! สู้สุดฝันโมหิต เรนะโทรทัศน์ความละเอียดสูงโทรณาจารย์เจ้าหญิงอัมพา1080i22 มิถุนายน

ช่อง 3 แฟมิลี

อง 3 แฟมิลี (Channel 3 Family) เป็นช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล กลุ่มบริการทางธุรกิจระดับชาติ ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เริ่มออกอากาศเป็นปฐมทัศน์ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยกำหนดสัดส่วนผังรายการออกเป็น ประเภทเด็กและครอบครัว ร้อยละ 75 ประเภทข่าวสารและสาระ ร้อยละ 25 ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาจากต่างประเทศ อาทิ ภาพยนตร์และละครชุด ในภาษาจีน, ภาษาเกาหลี และภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ ร่วมกับเนื้อหาของผู้ผลิตสัญชาติไทย เช่นบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีวีธันเดอร์ จำกัด, บริษัท บรอดคาสต์ไทยเทเลวิชัน จำกัด, อาร์แอลจี, มาร์กอินมีเดีย เป็นต้น โดยมีเนื้อหามุ่งไปที่ กลุ่มเด็ก.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และช่อง 3 แฟมิลี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพ.ศ. 2531 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2558

ทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักร.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพระกฤษณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางกุนตี

พระนางกุนตี มีชื่อเดิมว่า "ปฤถา" เป็นธิดาในท้าวศูระเสน กษัตริย์แห่งกรุงมถุรา มีพี่ชายนามว่า "วาสุเทพ" ซึ่งเป็นบิดาของ"พระกฤษณะ" ดังนั้นพระกฤษณะจึงมีศักดิ์เป็นหลานชายของพระนางนั่นเอง กาลต่อมาท้าวกุนติโภช ซึ่งเป็นพระญาติสนิทกับท้าวศูระเสนได้ขอพระนางไปเลี้ยงเป็นพระธิดาบุญธรรม เนื่องจากไม่มีโอรสธิดา ท้าวศูระเสนจึงมอบให้ด้วยความยินดี เมื่อมาอยู่กับท้าวกุนติโภชจึงได้นามใหม่ว่า "กุนตี" อยู่มาวันหนึ่งมหาฤๅษีทุรวาสได้เดินทางมายังเมืองของท้าวกุนติโภช ซึ่งท้าวกุนติโภชได้มอบหมายให้พระธิดากุนตีคอยปรนนิบัติรับใช้จนมหาฤๅษีพอใจ จึงให้พรเป็นมนต์สำหรับเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะมหาฤๅษีทุรวาสทราบด้วยญาณว่า ในอนาคตพระธิดากุนตีต้องเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะไม่อาจมีบุตรกับสวามีของนางได้นั่นเอง แต่ด้วยความคึกคะนองของนางที่อยากทดสอบมนต์ของมหาฤๅษีว่าจะศักดิ์สิทธิ์เพียงใด จึงลองเชิญพระสุริยเทพดู พระสุริยะเทพก็ปรากฏกายต่อหน้านาง แต่ด้วยความที่นางไร้เดียงสาจึงไม่ต้องการมีบุตร แต่ด้วยมนต์นั้นพระสุริยะเทพไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ จึงประทานบุตรให้แก่นางโดยที่นางไม่เสียพรหมจรรย์ เมื่อนางคลอดลูกแล้ว ด้วยความอายกลัวคนอื่นจะครหาว่ามีบุตรก่อนจะแต่งงาน นางจึงนำบุตรน้อยใส่กล่องแล้วลอยไปในแม่น้ำคงคา ซึ่งต่อมาบุตรคนนี้ก็คือ "กรรณะ" พี่ชายคนโตของเหล่าปาณฑพ แต่อยู่ฝ่ายเการพและมีบทบาทอย่างมากในสงครามมหาภารตะนั่นเอง ต่อมาท้าวกุนติโภชได้จัดพิธีสยุมพรให้แก่พระธิดากุนตีกับท้าวปาณฑุแห่งกรุงหัสตินาปุระ และต่อมาไม่นานท้าวปาณฑุก็มีชายาอีกองค์หนึ่ง นามว่า "พระนางมาทรี" ในตอนแรกพระนางกุนตียังไม่ยอมรับในพระนางมาทรีเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากันเห็นว่านางเป็นคนดีจึงยอมรับและรักนางเหมือนน้องสาวคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งท้าวปาณฑุได้ออกไปล่าสัตว์ เห็นกวางสองตัวกำลังเสพสังวาสกัน จึงแผลงศรไปโดนกวางทั้งสองตัวเข้า ซึ่งกวางทั้งสองเป็นพราหมณ์และพราหมณีแปลงร่างมา ก่อนทั้งสองจะสิ้นใจได้สาปว่า หากท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์ที่จะอภิรมย์สมสู่กับชายาตนเมื่อใด จงสิ้นชีวิตเมื่อนั้น ท้าวปาณฑุเกรงในคำสาปนี้จึงสละราชสมบัติให้ท้าวธฤตราษฎร์ขึ้นครองแทน แล้วไปบำเพ็ญศีลในป่า ซึ่งพระนางกุนตีและพระนางมาทรีได้ติดตามไปด้วย และในวันหนึ่งท้าวปาณฑุปรารถนาจะมีโอรส พระนางกุนตีจึงบอกเรื่องมนต์เชิญเทพเจ้ามาประทานบุตร ท้าวปาณฑุจึงขอให้พระนางกุนตีเชิญ "พระธรรมราช" (พระยม) "พระวายุ" และ"พระอินทร์" มาประทานบุตรให้ ซึ่งก็ได้บุตรชายคือ "ยุธิษฐิระ""ภีมะหรือภีมเสน" และ"อรชุน" ตามลำดับ ฝ่ายพระนางมาทรีปรารถนาจะมีโอรสบ้างจึงอ้อนวอนให้พระนางกุนตีสอนมนต์ให้แก่นาง พระนางกุนตีก็ไม่ขัดข้อง พระนางมาทรีจึงเชิญ "พระอัศวิน" โอรสฝาแฝดของพระสุริยะเทพมาประทานโอรสให้ ก็ได้โอรสแฝดนามว่า "นกุล" กับ "สหเทพ" รวมกันเป็นพี่น้อง "ปาณฑพ" นั่นเอง วันหนึ่งท้าวปาณฑุกับพระนางมาทรีไปหาฟืนและอาหารในป่า ท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์รักเข้าจึงจะสมสู่กับพระนางมาทรี แต่ในขณะกำลังซบบนพระถันของพระนางมาทรี ท้าวปาณฑุก็สิ้นใจตายในทันทีตามคำสาป พระนางมาทรีทำใจไม่ได้จึงตามท้าวปาณฑุไปในกองไฟเผาศพ แต่ก่อนไปพระนางได้ฝากฝังนกุลกับสหเทพให้กับพระนางกุนตีคอยดูแลด้วย ซึ่งต่อมาพระนางกุนตีกับโอรสทั้ง 5 ได้กลับไปยังกรุงหัสตินาปุระอีกครั้ง มีอยู่คราวหนึ่งพระนางกุนตีกับพี่น้องปาณฑพได้รับคำเชิญให้ไปประทับยังเมืองวาราณาวัต ซึ่งทุรโยธน์กับลุงนามศกุนิ ได้วางแผนให้ ปุโรจัน ไปสร้างพระราชวังที่ประทับให้กับพี่น้องปาณฑพซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อเหล่าปาณฑพกับพระนางกุนตีนอนหลับ ปุโรจันก็วางเพลิง แต่โชคดีที่มหามนตรีวิฑูรทราบเรื่องก่อน จึงเตรียมทางหนีไว้ให้ ทั้งพระนางกุนตีและพี่น้องปาณฑพจึงรอดจากการวางเพลิงไปได้ ส่วนปุโรจันนั้นตายในกองเพลิงนั้นเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพระนางกุนตี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางสัตยวดี

ท้าวศานตนุและนางสัตยวดี, ผลงานภาพวาดของ ราชา รวิ วรรมา พระนางสัตยวดี เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นลูกของกษัตริย์พระองค์หนึ่งกับนางอัปสรซึ่งถูกสาปให้เป็นปลากับ วันหนึ่งชาวประมงได้จับนางปลาออกมาผ่าท้อง เนื่องจากท้องโตผิดปกติ เมื่อผ่าออกมาดูปรากฏว่าเป็นเด็กผู้หญิง ซึ่งก็คือ พระนางสัตยวดี คนนี้นี่เอง ชาวประมงจึงเลี้ยงไว้ด้วยความสงสาร ในวัยเด็ก สัตยวดี มีกลิ่นตัวเป็นกลิ่นคาวปลาแรงมาก เพราะอาศัยอยู่ในท้องปลาเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีชายใดหมายปอง แต่เมื่อฤๅษีตนหนึ่งผ่านมาชื่อว่า ฤๅษีปราศร ก็ถูกใจนางสัตยวดีมากเพราะเป็นคนสวยและจริง ๆ แล้วเป็นคนวรรณะกษัตริย์ ก็ให้พรโดยให้กลิ่นตัวของนางหายไป และกลายเป็นกลิ่นหอมของดอกไม้มาแทน จากนั้นฤๅษีปราศรกับนางสัตยวดีก็มีความสัมพันธ์กันและมีลูกชายคนหนึ่งชื่อ ฤๅษีวยาส ซึ่งเป็นคนสำคัญในเรื่องมหาภารตะ เพราะเป็นปู่โดยตรงของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ และจะออกมาคลี่คลายปัญหาเป็นพัก ๆ ให้กับฝ่ายต่าง ๆ เมื่อนางสัตยวดีโตขึ้น พระราชาศานตนุก็มาเจอกับนางเข้าและถูกใจมาก แต่พ่อของนางขอไว้ว่าลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ ท้าวศานตนุไม่ตกลงในทันทีเพราะเห็นแก่ภีษมะ ลูกของพระองค์กับพระแม่คงคา แต่ผู้ให้สัญญานี้คือ ภีษมะ นั่นเอง พระนางสัตยวดีเมื่อแต่งงานกับพระราชาศานตนุก็มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ ซึ่งถือเป็นน้อยชายต่างมารดาของท้าวภีษมะ ๒ คน กล่าวได้ว่าท้าวศานตนุมีผู้สืบเชื้อสายโดยตรง ๑๐ พระองค์ แต่ ๗ คนแรก พระแม่คงคาได้นำไปทิ้งลงสู่แม่น้ำ ท้าวภีษมะก็สาบานต่อฟ้าดินอย่างเคร่งครัดไว้ว่าจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใด จิตรางคทะก็ถูกคนธรรพ์ชื่อเหมือนกันท้ารบและถูกฆ่าตายในวัยเยาว์ ส่วนวิจิตรวีรยะแม้จะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงอัมพิกาและเจ้าหญิงอัมพาลิกาแล้ว แต่ก็ยังไม่มีพระโอรสสืบต่อพระราชบัลลังก์แม้แต่คนเดียว พระนางสัตยวดีเกรงว่าตนจะเป็นคนบาปที่ทำให้ราชวงศ์กุรุต้องสิ้นสุด จึงให้ฤๅษีวยาส ลูกนอกสมรสมาทำพิธีนิโยค (รับภรรยาของญาติที่เป็นหม้ายมาเป็นภรรยาเพื่อสืบเชื้อสายของวงศ์ตระกูลต่อไป) ทำให้ลูกของฤๅษีวยาสกับเจ้าหญิงอัมพิกาชื่อ ธฤตราษฎร์ (ตาบอดตั้งแต่เกิด แต่มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นพระบิดาของฝ่ายเการพ), เจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาสชื่อ ปาณฑุ (มีสีผิวซีด สุขภาพไม่แข็งแรง แต่เป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่และเป็นพระบิดาของปาณฑพทั้งห้าด้วย), นางกำนัลกับฤๅษีวยาสชื่อ วิทูร (ครบถ้วนสมบูรณ์ดี เป็นผู้ที่มีความเที่ยงธรรม) หลังจากที่พระราชาปาณฑุสิ้นพระชนม์ ฤๅษีวยาสก็แนะนำให้พระนางสัตยวดีไปบำเพ็ญเพียรช่วงสุดท้ายของชีวิตในป่า จะได้ไม่ต้องมารับรู้เรื่องที่หลาน ๆ เหลน ๆ จะมาฆ่าฟันกัน พระนางสัตยวดีเห็นดีด้วยจึงทำตามคำแนะนำของฤๅษีวยาส และออกป่าไปพร้อมกับพระนางอัมพิกาและพระนางอัมพาลิกาและในเรื่องก็ไม่ได้พูดถึงอีก หมวดหมู่:นางในวรรณคดี หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพระนางสัตยวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางคานธารี

คานธารี เป็นธิดาของท้าวสุพล แห่งนครคันธาระ มีพี่ชายชื่อศกุนิผู้เลวทราม เมื่อพระนางคานธารี รู้ว่าต้องอภิเษกกับท้าวธฤตราษฎร์ สามีตาบอด นางได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณถวายความภักดี โดยใช้ผ้าผูกตาให้มืดมิดเหมือนสวามีชั่วชีวิต พระนางมีโอรส 100 คนและธิดาอีก 1 พระองค์ โดยมีทุรโยธน์ เป็นพี่ใหญ่ มีนิสัยอันธพาลชาติชั่ว เหมือนศกุนิผู้เป็นลุง พระนางคานธารี เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรมมาโดยตลอด แต่ไม่ทัดทานนิสัยของลูกๆ และพี่ชายได้เลย จึงปล่อยไปตามยถากรรม จึงเกิดศึกมหาภารตะของปาณฑพ และเการพขึ้น เนื่องจากศึกมหาภารตะ ทำให้ลูกของนางและพี่ชายตายจนหมด นางแค้นใจพระกฤษณะผู้ชี้ทางแก่ปาณฑพ จนสังหารลูกของนางตายจนเกลี้ยง จึงสาปแช่งพระกฤษณะ และวงศาคณาญาติให้รบราฆ่าฟันสังหารกันเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพระนางคานธารี · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเทราปตี

ระนางเทราปที (द्रौपदी) (อ่านว่า ทะเรา-ปะ-ที พยางค์หน้าออกเสียง/อะ/ กึ่งมาตรา) เป็นบุตรของท้าวทรุปัทและเป็นน้องสาวของธฤษฏัทยุมนะ มีต้นกำเนิดมาจากกองไฟยัญญะ ที่ฤๅษีได้ทำพิธีขึ้นมา เนื่องจากท้าวทรุปัทมีความแค้นโทรณาจารย์ที่ได้ให้ลูกศิษย์คือ อรชุน มาแก้แค้นและแพ้สงครามแก่อรชุน จึงแค้นใจตนเองว่าเหตุใดจึงไม่มีบุตรที่เก่งกาจดังเช่นอรชุน จึงให้ฤๅษีกระทำพิธีขอบุตรชายที่รบและเก่งในการทำสงครามและบุตรสาวที่รูปงามเพื่อที่จะมาเป็นภรรยาของอรชุนในภายภาคหน้า ต่อมาท้าวทรุปัทได้ให้ทำพิธีสยุมพรแก่พระนางเทราปที ปรากฏว่าอรชุนได้รับเลือกเป็นสามี แต่ต่อมาอรชุนได้ยกพระนางเทราปทีแก่เหล่าพี่น้องได้แก่ 1.ยุธิษฐิระ 2.ภีมะ 3.นกุล 4.สหเทพ ให้มาเป็นสามีร่วมกัน เนื่องจากพระนางกุนตีผู้เป็นพระมารดาของปาณฑพได้กล่าวให้แบ่งกันอย่างเท่าเทียมกันด้วยความไม่ได้ตั้งใจ และพวกปาณฑพเองต่างได้ถือคำพูดของมารดาเป็นวาจาสิทธิ์ นอกจากนั้นพระนางเทราปทียังเป็นชนวนเหตุของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรอีกด้วย เพราะพระนางเทราปทีได้ถูกทุหศาสันลากมากระทำอนาจารที่กลางสถา ทำให้ฝ่ายปาณฑพแค้นมากจึงประกาศสงครามขึ้น นางเทราปทีได้ให้กำเนิดพระโอรสแก่พี่น้องปาณฑพทั้งห้า ดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และพระนางเทราปตี · ดูเพิ่มเติม »

กรรณะ

กรรณะ (कर्ण) หรือ ราเธยะ (राधेय) เป็นตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตามเนื้อเรื่องแล้ว กรรณะเป็นบุตรของพระอาทิตย์และพระนางกุนตี ซึ่งพระนางกุนตีไม่ตั้งใจที่จะเรียกมนต์วิเศษให้พระอาทิตย์มาสมสู่กับตน แต่เมื่อนางเรียกมาแล้วก็ได้ลูกเป็นกรรณะคนนี้ แต่หลังจากนั้นจึงกลายเป็นสาวพรหมจรรย์ตามมนต์วิเศษ กรรณะ แปลว่า ผู้เกิดมาพร้อมเกราะและต่างหู กรรณะยังมีชื่ออื่นๆอีก ดังนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และกรรณะ · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

การพนัน

ร้านปาจิงโกะในญี่ปุ่น การพนันชนิดหนึ่ง การพนัน (gambling) หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่งเพื่อเอาเงินหรือสิ่งอื่นใดด้วยการเสี่ยงโชค โดยการทำนายหรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต การพนันอาจแบ่งได้หลายอย่าง เช่น การพนันในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เกมไพ่ เกมลูกเต๋า การพนันโดยการทำนายผลที่คาดว่าเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การแทงบอล การแทงม้า และการพนันที่ไม่มีการแข่งขันโดยขึ้นกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดเช่น หว.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และการพนัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภีมะ

ีมะ (สันสกฤต: भीम) เป็นโอรสที่เกิดจากพรของพระพายและเป็นน้องชายต่างมารดาของหนุมาน ซึ่งเกิดวัน เดือน และปีเดียวกับทุรโยธน์ เป็นศิษย์ของพระพลรามผู้เป็นพี่ชายของพระกฤษณะ วันสุดท้ายของสงครามได้ตีหน้าตักของทุรโยธน์แหลกเป็นเสี่ยงตามคำสาบานของภีมะเอง และที่ฤๅษีไมเตรยะเคยสาปไว้ด้ว.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และภีมะ · ดูเพิ่มเติม »

ภีษมะ

"คำปฏิญาณของภีษมะ" ผลงานของ ราชา รวิ วรรมา "มรณกรรมของภีษมะ" ภีษมะนอนบนเตียงลูกศร รายล้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ที่เข้าร่วมในสงครามทุ่งกุรุเกษตรทั้งฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ (ศิลปะอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมบัติของพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา) ภีษมะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับพระแม่คงคา เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ภายหลังจากที่เจ้าชายเทวพรตได้ให้สัตย์สาบานแก่ฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์กษัตริย์และจะไม่แต่งงานมีลูกกับหญิงคนใดแล้วนั้น ก็ได้ชื่อใหม่คือ ท้าวภีษมะ พระบิดาคือท้าวศานตนุก็ซาบซึ้งพระทัยมากจึงให้พรกับภีษมะว่าจะให้ภีษมะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้ ไม่มีวันตาย นอกเสียจากว่าภีษมะจะต้องการตายเองจริง ๆ ภีษมะนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพราะเป็นผู้เห็นเรื่องราวทุกอย่าง ความพินาศของราชวงศ์กุรุ การรบพุ่งกันบนสงครามกุรุเกษตร และผลพวงของสงคราม ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาติก่อนท้าวภีษมะเคยเกิดเป็น หนึ่งในคณะเทพวสุ ก็คือคณะเทพที่มี 8 องค์ด้วยกัน และมีภรรยาครบทุกองค์ เมื่อจะไปที่ใดก็ต้องเสด็จไปทั้ง 16 องค์ มีอยู่วันหนึ่ง ภรรยาของเทพทยุ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเทพวสุ อยากได้แม่โคนันทินีของฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นฤๅษีคนสำคัญ เทพทยุรู้ว่าผิดแต่ก็ช่วยกันกับเทพอีก 7 องค์ในการโขมยวัวในระหว่างที่ฤๅษีวสิษฐ์ออกไปเก็บผลไม้ในป่า แต่ฤๅษีวสิษฐ์ก็จับได้เข้า จึงสาปให้เทพทั้ง 8 องค์ไปเกิดรับความทรมานบนโลกมนุษย์ แต่เทพ 7 องค์นั้นเป็นเพียงตัวประกอบในการช่วยกันโขมยวัวเท่านั้น ตัวตั้งตัวตีนั้นคือเทพทยุ จึงถูกสาปให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์รับความทรมานแสนสาหัสหนักกว่าใครเพื่อน ด้วยเหตุนี้พระแม่คงคาจึงรับหน้าที่เป็นพระมารดาของเทพ 8 องค์ นี้ และโยนเทพทั้ง 7 องค์ที่มาเกิดบนโลกมนุษย์นี้ลงแม่น้ำทันทีจะได้ไม่ต้องมารับกรรมมาก ส่วนเทพทยุที่ทำผิดหนักกว่าใครเพื่อนก็ได้มาเกิดนานกว่าคนอื่นก็คือ ท้าวภีษมะ นั่นเอง โดยพระแม่คงคาได้นำตัวท้าวภีษมะไปร่ำเรียนวิชาพระเวทและคัมภีร์เวทานตะโดยฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับที่สาปให้ภีษมะมาเกิดบนโลกนานกว่าใคร,วิชารัฐศาสตร์โดยพระพฤหัสบดี และวิชายิงธนูโดยภควาจารย์หรือฤๅษีปรศุราม(ที่เกลียดพวกวรรณะกษัตริย์แต่คราวนี้ยอมสอนให้) ท้าวภีษมะนั่นไม่ได้แต่งงานแต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ไปชิงตัวเจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี 3 พระองค์ก็คือ เจ้าหญิงอัมพา เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา มาเป็นมเหสีของวิจิตรวีรยะผู้เป็นน้องต่างมารดา (ตอนนั้นจิตรางคทะเสียชีวิตไปแล้วและโดยปกติมีข้อตกลงกันมานานแล้วว่า หากแคว้นกาสีมีพระธิดาจะต้องยกให้กับเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระก่อน แต่คราวนี้กลับทำพิธีสยุมพรแต่ไม่ได้เชิญเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระไปร่วมด้วย) แต่เมื่อชิงตัวทั้งสามมายังกรุงหัสตินาปุระเรียบร้อย เจ้าหญิงอัมพาเกิดบอกกับภีษมะว่าตอนที่ภีษมะกำลังจะไปชิงตัวนางนั้น นางกำลังจะทำพิธีสยุมพรกับท้าวศัลวะ ซึ่งเป็นคู่รักของนาง ทุกคนคือท้าวภีษมะ พระนางสัตยวดีและวิจิตรวีรยะตกใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น จึงส่งตัวเจ้าหญิงอัมพาให้ท้าวศัลวะ แต่ท้าวศัลวะไม่ยอมรับตัวเจ้าหญิงอีกต่อไป เจ้าหญิงอัมพาเสียใจมาก เมื่อกลับมาหาท้าวภีษมะและขอร้องให้แต่งงานกับตน แต่ท้าวภีษมะทำไม่ได้เพราะเคยให้สัตย์สาบานกับฟ้าดินไว้ นางอัมพาโกรธแค้นท้าวภีษมะมากจึงขอให้ฤๅษีปรศุรามผู้เป็นอาจารย์ของท้าวภีษมะมาขอร้องแทนแต่ก็ไม่เป็นผลและยังต้องต่อสู้กับท้าวภีษมะอีกด้วย แต่ผลก็ไม่รู้แพ้รู้ชนะเพราะภีษมะกำลังจะตัดสินการสู้กันโดยใช้วิชาอัสตระชื่อวิชาปรัสวาปะ ซึ่งเป็นวิชาทำลายล้างโลก แต่ก็ถูกพระนารายณ์และพระศิวะห้ามไว้ก่อน เจ้าหญิงอัมพาจึงไม่สมหวังและขอพรกับเทพบุตรสันมุข พระองค์จึงให้พวงมาลัยที่ไม่มีวันเหี่ยวเฉากับนาง เพื่อเอาไปคล้องคอกับผู้ที่จะฆ่าท้าวภีษมะให้ แต่ไม่มีกษัตริย์คนใดยอมรับ มาถึงคนสุดท้ายคือท้าวทรุปัท พระองค์ก็ไม่ยอมเช่นกัน เจ้าหญิงจึงแขวนพวงมาลัยในที่เสาในท้องพระโรงและได้พรจากพระศิวะให้นางเป็นคนฆ่าภีษมะด้วยตนเอง นางทนรอชาติหน้าไม่ไหวจึงเผาตนเองในกองไฟไปเกิดใหม่เป็นพระธิดาของท้าวทรุปัทชื่อ ศิขัณทิน (แต่ภายหลังได้แลกเพศกับยักษ์ตนหนึ่ง) ส่วนในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับทุรโยธน์ ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของอรชุนซึ่งเป็นหลาน ไม่ใช่ศิขัณทิน ในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร โดยอรชุนระดมยิงธนูใส่ภีษมะเป็นจำนวนมาก แต่ภีษมะยังไม่ตาย โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และภีษมะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531)

มหาภารตะ (เทวนาครี:महाभारत (टीवी धारावाहिक) อังกฤษ: Mahabharat) เป็นละครอินเดียที่เคยมาฉายที่ ช่อง 3 เมื่อปี..

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2531) · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ (แก้ความกำกวม)

* มหาภารตะ เป็นวรรณกรรมภาษาสันสกฤตเรื่องยิ่งใหญ่ของอินเดียเรื่องที่สอง นอกจากนี้ มหาภารตะ ยังสามารถหมายถึง.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และมหาภารตะ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ยุธิษฐิระ

ยุธิษฐิระ (สันสกฤต:युधिष्ठिर) เป็นพี่ชายคนโตของตระกูลปาณฑพ โดยถือว่าเป็นพระโอรสของท้าวปาณฑุ กับ พระนางกุนตี แต่จริง ๆ แล้วเป็นพระโอรสของพระนางกุนตีและพระธรรมเทพ (พระยม) มีลักษณะโดดเด่นคือเป็นผู้มีความยุติธรรม ตั้งอยู่บนหลักธรรมเคร่งครัดตลอดมา พี่น้องปาณฑพจึงยึดเอาการตัดสินใจของพี่คนโตคนนี้เป็นหลัก ยุธิษฐิระ แปลว่า ผู้มีความมั่นคงในการสงคราม และยังมีชื่ออื่นๆอีก เช่น ภารตะวงศี อชาตศัตรู ธรรมนันทัน ธรรมราช ยุธิษฐิระมีพระมเหสีคือพระนางเทราปตี (ซึ่งเป็นพระมเหสีของปาณฑพทั้งห้า) มีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์คือ ประติวินธยะ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์อิจฉาพวกปานฑพมาก จึงขอให้ท้าวธฤตราษฎร์แบ่งกรุงหัสตินาปุระออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือกรุงหัสตินาปุระที่รุ่งเรืองให้กับทุรโยธน์ครอบครองและดินแดนขาณฑวปรัสถ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงหัสตินาปุระ ให้พวกปาณฑพครอบครอง ยุธิษฐิระซึ่งเป็นพี่คนโตและมีหลักธรรมประจำใจว่าจะไม่ปฏิเสธคำของผู้ใหญ่จึงรับดินแดนส่วนนี้ไว้ พระกฤษณะ (นารายณ์อวตาร) ทราบจึงมาช่วยพวกปาณฑพพลิกฟื้นดินแดนส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ โดยให้พระวิษณุกรรม (พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชฉลูกรรม) ซึ่งเป็นสถาปนิกของพระอินทร์มาช่วยสร้างพระราชวังใหญ่โตให้กับพวกปาณฑพ โดยยุธิษฐิระเป็นกษัตริย์และตั้งชื่อว่ากรุงอินทรปรัสถ์ จากนั้นเมื่อมีผู้ทราบว่าพวกปาณฑพมาเป็นกษัตริย์ที่เมืองนี้ ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อินทรปรัสถ์บ้าง ทำให้กรุงอินทรปรัสถ์รุ่งเรืองขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากที่ไม่มีอะไรเลย มีอยู่วันหนึ่งพระกฤษณะและอรชุนได้ช่วยยักษ์ที่ชื่อมายาสูร (เป็นผู้ช่วยพระวิษณุกรรมด้วย) ไม่ให้พระอัคนีที่กำลังเผาป่าขาณฑวะกินเป็นอาหาร เผายักษ์ตนนี้ด้วย ยักษ์มายาจึงสำนึกในบุญคุณของอรชุนและพระกฤษณะมากจึงดำเนินการสร้างสภาอันยิ่งใหญ่ตระการตาให้กับพวกปาณฑพ โดยตั้งชื่อว่า มายาสภา หลังจากสร้างมายาสภาได้ไม่นาน เทพฤๅษีนารัทมุนี ก็แนะนำให้ยุธิษฐิระทำพิธีราชสูยะ (เป็นพิธีที่ประกาศความยิ่งใหญ่ของกรุงอินทรปรัสถ์ โดยส่งสาส์นออกไปให้พระราชาแคว้นต่าง ๆ ยอมรับ หากไม่ยอมรับก็ทำสงครามกัน) อรชุนไปทางทิศเหนือ ภีมะไปทางทิศตะวันออก นกุลเลือกทิศตะวันตก ส่วนสหเทพเลือกทิศใต้ โดยทำได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยเหตุนี้ทำให้พวกทุรโยธน์อิจฉาขึ้นมาอีก จึงสร้างสภาขึ้นมาบ้างและเชิญพวกปาณฑพมาเล่นสกากัน จุดมุ่งหมายคือ จะเล่นสกาพนันเอาบ้านเอาเมืองกัน ยุธิษฐิระเมื่อเห็นว่าท้าวธฤตราษฎร์เป็นผู้กล่าวชักชวน จึงไม่ปฏิเสธ โดยทุรโยธน์ให้ศกุนิผู้เป็นลุงและชำนาญในการเล่นสกามาก เป็นผู้เล่นแทนและชนะทุกครั้ง ผลคือพวกปาณฑพแพ้และไม่เหลืออะไรสักอย่าง ยุธิษฐิระจึงเริ่มจากการพนันน้องชาย นกุล สหเทพ อรชุน และภีมะตามลำดับ จากนั้นจึงเอาตัวเองเป็นพนันและเล่นสกาต่อไปโดยใช้พระนางเทราปตีพนัน แต่ก็แพ้จนหมด ทุรโยธน์สั่งให้ทุหศาสันนำตัวพระนางเทราปตีมายังสภาและย่ำยีเกียรติของนางโดยบอกให้นางมานั่งตัก ภีมะทนไม่ไหวจึงลั่นคำสาบานออกมาว่าจะใช้คทาของภีมะเองทุบหน้าขาของทุรโยธน์ให้แหลก จากนั้นกรรณะหรือราธียะก็ให้ทุหศาสันดึงผ้าส่าหรีของพระนางเทราปตีออกมา แต่พระนางได้ขอให้พระกฤษณะช่วยไว้ พระกฤษณะจึงประทานผ้าส่าหรีให้นางไม่มีวันหมดสิ้นจนในที่สุดทุหศาสันก็หมดแรง ภีมะลั่นคำสาบานออกมาอีกเป็นรอบที่สองคือ จะฉีกอกทุหศาสันเพื่อดื่มเลือดให้หายแค้น นอกจากนี้ภีมะยังบอกอีกว่า ตนจะเป็นคนฆ่าทุรโยธน์ ทุหศาสันและ อรชุนจะฆ่ากรรณะ สหเทพจะฆ่าศกุนิ ส่วนนกุลก็สาบานว่าจะฆ่าลูกของศกุนิ เช่น อูลูกะ เรื่องราวเลยเถิดออกมามากจนในที่สุดท้าวธฤตราษฎร์ก็ขอให้พระนางเทราปตีให้อภัยและแลกกับให้นางขออะไรก็ได้ นางจึงขอให้คืนทุกอย่างกลับสู่สภาพเดิม ท้าวธฤตราษฎร์จึงตกลงตามที่ว่า แต่ทุรโยธน์ไม่จบแค่นั้น ยังให้ท้าวธฤตราษฎร์ชักชวนให้พวกปาณฑพมาเล่นสกาอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้แพ้ต้องออกป่าเป็นเวลา 13 ปี และในปีที่ 13 ห้ามให้ใครจำได้ ถ้าใครจำได้ต้องเดินป่าอีก 13 ปี ยุธิษฐิระทราบชะตากรรมดี แต่ก็ยอมเล่นสกา ระหว่างที่เดินป่าฤๅษีวยาสก็สอนมนต์เพื่อขออาวุธวิเศษจากพระศิวะแก่ยุธิษฐิระเพื่อถ่ายทอดให้กับอรชุนต่อไปด้วย อรชุนจึงได้อาวุธวิเศษกลับมาพร้อมทั้งได้รับการสอนการร่ายรำ นาฏศิลป์ต่าง ๆ จากท้าวจิตรเสนและรับการสอนการใช้อาวุธจากอินทรเทพผู้เป็นพระบิดาอีกด้วย ระหว่างนั้น นางอัปสรอุรวศีก็พอใจอรชุนมาก แต่อรชุนเห็นว่านางเป็นแม่เท่านั้น นางโกรธมากจึงสาปให้อรชุนเป็นกะเทยตลอดไป แต่พระอินทร์ก็เกลี้ยกล่อมให้นางลดคำสาปเหลือ 1 ปี ให้เป็นในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องเดินป่า จะได้เป็นประโยชน์ในการอำพรางตัว ในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องไม่ให้ใครจำได้นั้น ยุธิษฐิระได้ขอพรจากพระธรรมเทพผู้เป็นบิดาว่าในปีที่ 13 นี้ขอให้ไม่มีใครจำได้ เนื่องจากพระธรรมเทพมาพิสูจน์ความตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมของยุธิษฐิระ โดยการทำให้น้องชายทั้งสี่คนตายไปและแปลงกายเป็นยักษ์ ผู้เฝ้าธารน้ำที่พี่น้องปาณฑพสี่คนลงไปดื่ม แล้วถามว่ายุธิษฐิระจะเลือกใครให้ฟื้นขึ้นมา จึงเลือกนกุล เพราะตนเป็นบุตรพระมารดากุนตี ส่วนบุตรของพระมารดามาทรีหรือมัทรีได้ตายไปหมดแล้ว จึงเลือกนกุลให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง พระธรรมเทพพอใจมากจึงคืนชีวิตให้กับทุกคนและปรากฏร่างเป็นพระธรรมเทพดังเดิม จากนั้นปาณฑพตกลงว่าจะแฝงตัวไปทำงานในวังของท้าววิราฎ แคว้นมัตสยะ โดยยุธิษฐิระได้ใช้ชื่อว่า กังกะ เข้ามาทำงานเป็นมหามนตรีและสอนสกาแก่ท้าววิราฏ, ภีมะใช้ชื่อว่าวัลลภ เข้ามาทำงานเป็นพ่อครัวหลวง, อรชุน ใช้ชื่อว่าพฤหันนลา(ในขณะนั้นเป็นกะเทย) เข้ามาทำงานสอนนาฏศิลป์แก่เจ้าหญิงอุตตรา พระธิดาของท้าววิราฏ,นกุล ใช้ชื่อว่า ครันถิกะ เข้ามาทำงานดูแลม้า, สหเทพ ใช้ชื่อว่า ตันติบาล เข้ามาทำงานดูแลปศุสัตว์ ส่วนพระนางเทราปตีใช้ชื่อว่า ไศรันทรี เข้ามาทำงานดูแลความงามให้กับพระนางสุเทศนา พระมเหสีของท้าววิราฎ เมื่อสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรเกิดขึ้น ยุธิษฐิระก็ได้เข้าร่วมการรบด้วย แต่ไม่ได้ตายในสงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุด ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิกรุงหัสตินาปุระ แต่หลังจากนั้นปาณฑพเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเพราะเห็นผลของสงคราม จึงยกบัลลังก์ให้ปรีกษิต หลานชายของอรชุน และพี่น้องปาณฑพกับนางเทราปตีก็ออกเดินป่า พร้อมกับสุนัขอีก 1 ตัว สุดท้ายพี่น้องปาณฑพทั้งสี่และนางเทราปตีก็สิ้นชีวิตลงและขึ้นสวรรค์บนยอดเขาหิมาลัย จากนั้นสุนัขที่ติดตามมาด้วยก็กลับกลายเป็นพระธรรมเทพ และพายุธิษฐิระขึ้นไปบนสวรรค์ (แต่ตอนนั้นยุธิษฐิระยังไม่ตาย และมีผู้กล่าวว่ายุธิษฐิระเป็นคนคนเดียวในโลกที่สามารถขึ้นไปยังยอดเขาหิมาลัยได้ทั้งเป็น) แต่กลับพบว่าทุรโยธน์นั่งครองบัลลังก์อยู่ แต่ปาณฑพและนางเทราปตีต้องตกนรกเพราะฆ่าพี่น้องของตน ยุธิษฐิระจึงตัดสินใจตกนรกด้วย จากนั้นพระธรรมเทพจึงบอกว่าทั้งหมดเป็นภาพลวงตา จริง ๆ แล้วเการพต้องตกนรก แต่ปาณฑพอยู่บนสวรรค์ ทั้งหมดที่ทำมาคือการทดสอบจิตใจของยุธิษฐิระ ยุธิษฐิระ พี่น้องปาณฑพและนางเทราปตีก็ได้อยู่บนสวรรค์ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และยุธิษฐิระ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ปาณฑพ

กซ้าย ภีมะ, อรชุน, ยุธิษฐิระ, ฝาแฝดนกุลและสหเทพ และพระนางเทราปตี ในเรื่องมหาภารตะ ปาณฑพ(ปาน-ดบ) เป็นกลุ่มพี่น้อง 5 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวปาณฑุ ประสูติจากพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ที่ร่ายเวทมนตร์อัญเชิญเทพมาประทานโอร.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และราชวงศ์ปาณฑพ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เการพ

ทุรโยธน์ ผู้นำแห่งเการพ ในเรื่องมหาภารตะ เการพ เป็นกลุ่มพี่น้อง 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ ประสูติจากพระนางคานธารีธิดาของแห่งนครคันธาร.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และราชวงศ์เการพ · ดูเพิ่มเติม »

ริยา ทิปสี

ริยา ทิปสี (Riya Deepsi) เป็นนักแสดงสาวชาวอินเดีย มีชื่อเสียงโด่งดังจากบท พระนางคานธารี จากซีรีส์เรื่อง มหาภารตะ และบทบาท เจ้าหญิงบาร์ซิน บุตรสาวของ พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ในซีรีส์เรื่อง ศึกสองราชันย์ โปรุส VS อเล็กซานเดอร์ (โปรุส ศึกสองราชันย์).

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และริยา ทิปสี · ดูเพิ่มเติม »

ลูกเต๋า

ลูกเต๋าธรรมดาสี่ลูก จัดวางให้เห็นหน้าที่แตกต่างกันทั้งหกหน้า ลูกเต๋า(douse)เป็นวัตถุทรงลูกบาศก์หรือทรงเรขาคณิตอื่นๆ ซึ่งแต่ละด้านกำกับด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสุ่ม สำหรับเกมต่างๆ ทั้งที่เป็นเกมการพนันในกาสิโนหรือบ่อนการพนัน เช่น แครปส์ ไฮโล และเกมที่ไม่ใช่การพนัน โดยเฉพาะเกมกระดาน เช่น แบ็กแกมมอน งูตกบันได ลูกเต๋าธรรมดา เป็นลูกบาศก์ ขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร แต่ละด้านของลูกเต๋า (เรียกว่า หน้า) จะระบุตัวเลข แสดงเป็นจุดจำนวนต่าง ๆ กันตั้งแต่ 1 ถึง 6 เมื่อต้องการสุ่มตัวเลข ผู้ใช้จะโยนลูกเต๋าไปบนพื้นราบให้ลูกเต๋าหมุนหรือกลิ้ง (เรียกว่า ทอยลูกเต๋า หรือ ทอดลูกเต๋า) หรือใช้วิธีการอื่นใด เพื่อให้ลูกเต๋าหมุนหรือกลิ้งก็ได้ เมื่อลูกเต๋าหยุดหมุนหรือกลิ้งแล้ว ถือว่าตัวเลขที่สุ่มได้คือตัวเลขที่อยู่บนด้านบนสุดของลูกเต๋า เช่น หากทอยลูกเต๋าแล้ว หน้าที่แสดงเลข 4 อยู่บนสุด ถือว่าสุ่มได้เลข 4 หรืออาจเรียกว่า ออกเลข 4 ก็ได้ ในบางเกมจะใช้ลูกเต๋ามากกว่า 1 ลูก โยนพร้อมกัน แล้วถือว่าตัวเลขที่สุ่มได้คือผลรวมของเลขที่ออกทั้งหมด หากใช้ลูกเต๋าธรรมดาลูกเดียว ตัวเลข 1 ถึง 6 จะมีความน่าจะเป็นที่จะถูกสุ่มขึ้นมาได้เท่า ๆ กัน หากต้องการสุ่มสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเลข 1 ถึง 6 อาจใช้ลูกเต๋าชนิดอื่น ที่มีจำนวนหน้าหรือสัญลักษณ์แตกต่างจากลูกเต๋าธรรมดา และหากต้องการให้ความน่าจะเป็นที่ออกแต่ละหน้าไม่เท่ากัน อาจใช้ลูกเต๋าถ่วง ซึ่งโดยปกติแล้วการใช้ลูกเต๋าถ่วงถือเป็นการโกงอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และลูกเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ศกุนิ

ศกุนิ (สันสกฤต:शकुनि) พระราชาแห่งแคว้นคันธาระ เป็นโอรสของท้าวสุพลกับนางวสุมดี แห่งแคว้นคันธาระ มีอีกหลายชื่อเช่น เสาพละ,คันธารนเรศ,คันธารราช,สุพลราช มีมเหสีชื่อ นางอารศี มีบุตรชื่อ อุลูกะ และ วฤกาสุระ มีน้องสาว ชื่อ พระนางคานธารี เมื่อคราวที่ ท้าวธฤตราษฎร์ อภิเษกกับพระนางคานธารี ศกุนิจึงย้ายมาอยู่ที่หัสตินาปุระ ศกุนิไม่พอใจที่น้องสาวต้องแต่งงานกับท้าวธฤตราษฎร์ พระราชาตาบอด เขาจึงทำทุกวิถีทางที่จะทำลายราชวงศ์แห่งหัสตินาปุระ ศกุนิชอบเล่นสกา และมักโกงการเล่นสกา ว่ากันว่า ศกุนิได้นำอัฐิของท้าวสุพลมาทำเป็นลูกเต๋าสกา จึงสามารถควบคุมลูกเต๋าสกาได้ ศกุนิ คือ ปีศาจทวาบร ในเรื่อง พระนลและทมยันตี กลับชาติมาเกิด ศกุนิ ยังเป็นตัวแทนแห่งทวาปรยุคอีกด้วย ศกุนิได้วางแผนร้ายต่างๆในการทำลายเหล่าปาณฑพ เพื่อจะให้ทุรโยธน์ ผู้เป็นหลานได้ขึ้นเป็นใหญ่ เช่น ได้ยุยงให้ทุรโยธน์ในวัยเด็กวางยาพิษให้ภีมะกิน การจ้างปุโรจันให้สร้างพระราชวังที่ทำจากขี้ผึ้ง ชื่อ ลักษาคฤหะ ในวรรณาพรต และลอบวางเพลิง การขอร้องให้พญาตักษกนาคราชขโมยวัวในพิธีราชสูยะของยุธิษฐิระ การโกงการเล่นสกาและการเปลื้องพัสตราภรณ์ของพระนางเทราปทีในราชสภากรุงหัสตินาปุระ ศกุนิเล่นสกาโกงฝ่ายปาณฑพ ทำให้พี่น้องปาณฑพและพระนางเทราปที ต้องถูกเนรเทศเป็นเวลา 13 ปี ก่อนเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตร ศกุนิได้วางแผนหลอกท้าวศัลยะ พระมาตุลาของฝ่ายปาณฑพให้มาอยู่ฝ่ายเการพ เมื่อเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตรเป็นระยะเวลา 18 วัน ในวันที่ 13 ศกุนิได้วางแผนที่จะสังหารอภิมันยุ โดยให้โทรณาจารย์ สร้างจักรพยุหะและยังได้ร่วมสังหารอภิมันยุอีกด้วย คืนวันที่ 16 ศกุนิขอให้พญาตักษกนาคราช มาสถิตเป็นศรนาคศาสตร์ให้กรรณะ คืนวันที่ 17 ศกุนิขอร้องให้พระนางคานธารี แก้ผ้าผูกตาของนางออก เพื่อจะทำให้ทุรโยธน์มีร่างกายแข็งแกร่งดังวัชระ ศกุนิถูกสหเทพใช้ขวานฟันคอตายในวันที่ 18 ของสงคราม หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และศกุนิ · ดูเพิ่มเติม »

ศานตนุ

ท้าวศานตนุ เป็นโอรสของราชาประตีปะ ซึ่งครองกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ ส่วนตัวของท้าวศานตนุ มีพี่น้องรวมอุทร ๓ คน คือ เทวาปิ(ภายหลังได้รับพรให้เป็นอมตะไป)พี่คนโต พาหลีกะ หรือ วาหลีกะ น้องชายคนสุดท้าย และท้าวศานตนุเป็นคนกลาง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ในขณะนั้นได้เป็นผู้ให้กำเนิดบุคคลสำคัญของเรื่องมหากาพย์มหาภารตะอีกคนหนึ่ง นั่นก็คือ เจ้าชายเทวพรต หรือตอนหลังถูกขนานนามว่า ภีษมะ นั่นเอง ซึ่งเป็นพระโอรสของท้าวศานตนุและพระแม่คงคา หลังจากอยู่กินกับพระแม่คงคาได้ไม่นาน ก็ได้พระโอรสออกมาหนึ่งพระองค์ ท้าวศานตนุดีใจมาก แต่เมื่อจะเสด็จไปหาพระแม่คงคา ปรากฏว่าพระนางนั้นไม่อยู่กับที่ประทับ และกลับทิ้งพระโอรสลงไปในแม่น้ำ โดยทำอย่างนี้กับพระโอรสถึงเจ็ดพระองค์ด้วยกัน (เมื่อครั้งที่ท้าวศานตนุได้เจอกับพระแม่คงคานั้น ได้ให้สัญญาไว้ว่า จะไม่โกรธไม่เกลียดและจะไม่ซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่พระแม่คงคาทำทั้งสิ้น) แต่เมื่อพระแม่คงคาได้ให้ประสูติพระโอรสองค์ที่แปดออกมาท้าวศานตนุก็ทนไม่ไหวและซักถามพระแม่คงคา พระนางจึงตรัสบอกกับพระองค์ว่าจะนำพระโอรสองค์ที่ ๘ (ซึ่งก็คือเจ้าชายเทวพรตหรือภีษมะ) ไปเลี้ยงดูเอง หลังจากนั้น ๑๖ ปีพระแม่คงคาก็นำพระโอรสองค์ที่ ๘ มาคืนกับท้าวศานตนุ ท้าวศานตนุอยู่กับเจ้าชายเทวพรตอย่างมีความสุขมาประมาณ ๔ ปี และตั้งให้เจ้าชายเทวพรตเป็นพระยุพราช (ผู้มีตำแหน่งจะได้ครอบครองบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์) พระองค์ก็เจอกับลูกสาวชาวประมงซึ่งมีกลิ่นกายหอมมาก ชื่อว่า สัตยวดี จึงไปสู่ขอนางกับพ่อของนาง แต่พ่อของนางกลับบอกว่าต้องให้ลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีเป็นกษัตริย์ต่อจากท้าวศานตนุแทนเจ้าชายเทวพรต ท้าวศานตนุไม่ตรัสอะไรและกลับไปยังพระราชวัง จากนั้นก็ซึมเศร้าตลอดมา เจ้าชายเทวพรตจึงไปไถ่ถามกับสารถีของพระบิดาว่าเหตุใดหลังจากกลับมาแล้วพระองค์ดูเศร้าโศกผิดปกติ สารถีจึงตอบไปตามความ เจ้าชายเทวพรตเมื่อเห็นพระบิดาเศร้าโศกเสียพระทัยก็ไม่สบายใจจึงไปที่บ้านของชาวประมงและตกลงว่าพระองค์จะให้ตำแหน่งพระยุพราชแก่น้องชายที่เกิดจากท้าวศานตนุและนางสัตยวดี แต่พ่อของนางกลับไม่พอใจแค่นั้น กลับพูดทำนองที่ว่า "ข้าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าลูกหลานที่เกิดจากท่าน เจ้าชายเทวพรต จะไม่มาชิงบัลลังก์ของหลานชายข้า" เจ้าชายเทวพรตก็ค่อนข้างหงุดหงิดแต่ก็ต้องการทำตามพระประสงค์ของพระบิดาจึงให้คำสาบานต่อฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์พระราชาและจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใดอีกตลอดชีวิตอย่างหนักแน่น จึงเป็นที่มาของชื่อที่รู้จักกันดีคือ ภีษมะ เมื่อท้าวศานตนุอภิเษกสมรสกับนางสัตยวดีไม่นานก็มีพระโอรสสองพระองค์คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ จากนั้นไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และศานตนุ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

นีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (Royal Thai Army Radio and Television; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม..

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามทุ่งกุรุเกษตร

ีษมะนอนบนเตียงธนู สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ในมหาภารตะ ทุ่งกุรุเกษตร เป็นที่ราบที่อยู่ใกล้ ๆ กับกรุงหัสตินาปุระ ที่ทั้งสองตระกูลคือปาณฑพและเการพใช้เป็นสมรภูมิรบ มีทหาร เจ้าชายและกษัตริย์จากแคว้นเมืองต่าง ๆ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่สมรภูมิรบแห่งนี้ ฝ่ายปาณฑพมีกำลังพลและหน่วยรบรวมกันทั้งหมด 7 อักเษาหิณี (ประมาณ 2 ล้านคน) และฝ่ายเการพ 11 อักเษาหิณี (ประมาณ 3 ล้านคน) ในสงครามหนนี้ มีผู้คนล้มตายไปราว ๆ 5 ล้านคน ที่รอดจากสงครามมาได้ก็มีเพียงฝ่ายปาณฑ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และสงครามทุ่งกุรุเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

อภิมันยุ

อภิมันยุเป็นโอรสของ อรชุน กับ เจ้าหญิงสุภัทรา น้องสาวของ พระกฤษณะ อภิมันยุได้อาศัยอยู่กับพระกฤษณะที่ กรุงทวารกา พระกฤษณะได้สอนอภิมันยุยิงธนูจนเก่งกาจเทียบเท่าอรชุนผู้เป็นพระบิดา เมื่ออภิมันยุเติบโตเป็นหนุ่มก็ได้สมรสกับ นางอุตตรา (มหาภารตะ)ธิดาของท้าววิราฏ กับ พระนางสุเทศนา แห่งแคว้นมัตสยะ อภิมันยุมีลูกกับนางอุตตราคือ ปรีกษิต ต่อมาได้เกิดศึกมหาภารตะซึ่งเป็นศึกระหว่าง ฝ่ายปาณฑพ ซึ่งเป็นฝ่ายของพระบิดา กับ ฝ่ายเการพของ ทุรโยธน์ ในวันที่ 13 ของการรบ ฝ่ายเการพได้ท้าอรชุนรบไปอีกฟากหนึ่งของสมรภูมิ แต่แล้วยุธิษฐิระก็ต้องตะลึงกับการจัดทัพที่เรียกว่า จักรพยุหะ ของฝ่ายเการพ ซึ่งอรชุนเป็นผู้รู้ถึงวิธีเข้าโจมตีและวิธีฝ่าออกมาเพียงผู้เดียว อภิมันยุผู้เป็นโอรสอรชุนก็รู้แต่ วิธีเข้าโจมตีอย่างเดียว ยุธิษฐิระ จึงให้อภิมันยุเข้าโจมตีขบวนทัพนี้ ส่วนยุธิษฐิระกับภีมจะรีบเคลื่อนทัพตามติดเข้าไป แต่เมื่ออภิมันยุเข้าไปอยู่ท่ามกลางกองทัพของศัตรู ยุธิษฐิระกับ ภีมะ กลับถูก ชัยทรัถ ขัดขวาง ทางด้านอภิมันยุได้บุกผ่านด่านแต่ละชั้น จนอยู่ตรงกลาง โทรณาจารย์ผู้บัญชาการรบจึงออกคำสั่งให้กฤตวรมา กับ อัศวัตถามา ทำลายรถศึกของอภิมันยุ อภิมันยุจึงใช้ล้อรถเป็นอาวุธ แต่ก็ถูกเหล่าแม่ทัพที่รายล้อมอยู่ คือ ศกุนิ ทุรโยธน์ ทุหศาสัน กรรณะ อัศวัตถามา และกฤตวรมา ได้รุมยิงธนูสังหาร ทั้งยังถูกตะบองของทุรมะเสน โอรสของทุหศาสัน ฟาดใส่จนสิ้นใจตาย หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และอภิมันยุ · ดูเพิ่มเติม »

อรชุน

อรชุน (เทวนาครี: अर्जुन, อังกฤษ: Arjuna) เป็นหนึ่งในตัวละครเอกในมหากาพย์มหาภารตะ ชื่อนี้หมายถึง สว่าง ส่องแสง ขาว หรือ เงิน อรชุนเป็นนักยิงธนูที่มีฝีมือสูงส่ง ไม่มีใครเทียบได้ เป็นพี่น้องคนที่สามในบรรดาปาณฑพทั้งห้า เป็นลูกของนางกุนตี ภรรยาคนแรกของปาณฑุ และเป็นคนเดียวในพี่น้องปาณฑพที่ได้รับพรและอาวุธวิเศษจากเทพเจ้ามากที่สุดด้ว.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และอรชุน · ดูเพิ่มเติม »

อัศวัตถามา

อัศวัตถามา (สันสกฤต: अश्वत्थामा) มีอีกชื่อคือ เทราณี เป็นบุตรชายของโทรณาจารย์ ครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักนครหัสตินาปุระ และเป็นหลานของฤๅษีภรัทวาชะ อัศวัตถามาเป็นมหารถี (นักรบ) ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ในฝั่งเการพที่ต่อสู้กับฝั่งปาณฑพ อัศวัตถามาถือว่าเป็นอวตารหนึ่งใน ๑๙ อวตารของพระศิวะ หนึ่งในพระตรีมูรติทั้ง ๓ พระองค์ อัศวถามาได้ร่วมทำสงครามกุรุเกษตรโดยอยู่ฝั่งเการพเพราะอัศวัตถามาเป็นสหายของทุรโยธน์ พี่ชายคนโตของพี่น้องเการพ ด้วยเหตุนี้อัศวัตถามาจึงเข้าร่วมกับฝั่งเการพในสงครามทุ่งกุรุเกษตร อัศวัตถามาถือว่าเป็นนักรบไม่กี่คนของฝั่งเการพที่ไม่ตายในสงครามทุ่งกุรุเกษตร และในตอนท้ายของมหากาพย์มหาภารตะ อัศวัตถามาได้แอบเข้าไปสังหารธฤษฏัทยุมนะ ศิขัณฑี อุปปาณฑพ และเหล่าทหารของฝั่งปาณฑพ นอกจากนี้ยังใช้ศรพรหมเศียรพยายามฆ่าบุตรในครรภ์ของนางอุตตรา ชายาของอภิมันยุ พระกฤษณะจึงใช้จักรสุทรรศนะตัดอัญมณีบนหน้าผากของอัศวัตถามาออกพร้อมกับสาปให้อัศวัตถามามีหน้าตาหน้าเกลียดมีเลือดไหลออกจากร่างและไม่มีวันตายจนกว่าจะถึงการสิ้นสุดของโลกพร้อมกับต้องเร่ร่อนไม่มีใครจำได้ตลอดชั่วกัลปาวสาน หมวดหมู่: ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารต.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และอัศวัตถามา · ดูเพิ่มเติม »

จันทรคุปต์ ศึกรักชิงบัลลังก์

ันทรคุปต์ ศึกรักชิงบัลลังก์ (Chandra Nandini) เป็นละครโทรทัศน์ภาษาฮินดี ออกอากาศครั้งแรกทางช่อง Star Plus ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม..

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และจันทรคุปต์ ศึกรักชิงบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

ธฤษฏัทยุมนะ

ธฤษฏัทยุมนะ (धृष्टद्युम्न, dhṛṣṭadyumna) คือตัวละครหนึ่งในมหากาพย์มหาภารตะ เป็นบุตรของท้าวทรุปัท ที่เกิดจากการประกอบพิธียัญญะบูชาตามพิธีพราหมณ์ หลังจากที่ท้าวทรุปัทพ่ายแพ้ต่ออรชุน และถูกจับตัวไปเป็นเชลย มอบให้กับ โทรณาจารย์ แต่ภายหลัง โทรณาจารย์ปล่อยตัวโดยขอดินแดนแคว้นปัญจาละ ครึ่งหนึ่ง ท้าวทรุปัทรู้สึกเจ็บแค้นและเสียใจที่ไม่มีบุตรชายสืบเชื้อสาย ในการประกอบพิธีในครั้งนั้น ทำให้ท้าวทรุปัท ได้บุตร สองคน คือ ธฤษฏัทยุมนะ และ พระนางเทราปตี (ภายหลังได้กลายเป็นมเหสีของพี่น้องปาณฑพ ทั้ง 5 คน) ในสงครามมหายุทธ ณ ทุ่งกุรุเกษตร ธฤษฏัทยุมนะได้รับหน้าที่เป็นประธานเสนาบดี(แม่ทัพ)ฝ่ายปาณฑพ นำกำลังพลทั้งสิ้น 7 อักเษาหิณี (เป็นหน่วยนับจำนวนของอินเดียโบราณ) ภายหลังธฤษฏัทยุมนะได้ขอเข้ามาเป็นศิษย์ในสำนักของโทรณาจารย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาและยุทธวิทยาการรบ แต่ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร ธฤษฏัทยุมนะกลับเป็นคนที่สังหารโทรณาจารย์ ในการรบวันที่ 15 จากการรบทั้งสิ้น 18 วันโดยการใช้ดาบตัดศีรษะ การที่ศิษย์ต้องมาสังหารอาจารย์นั้นก็เพราะเป็นการล้างแค้นแทนท้าวทรุปัทผู้เป็นบิดาซึ่งถูกสังหารโดยโทรณาจารย์ ที่เป็นอาจารย์ของตนเอง นั่นนับเป็นอีกสิ่งเลวร้ายอีกหนึ่งอย่างในหลายๆ สิ่งในสงครามครั้งนั้น และในวันสุดท้ายของศึก ธฤษฏัทยุมนะ ก็ถูกสังหารโดยอัศวัตถามา บุตรชายของโทรณาจารย์โดยการใช้ดาบตัดศีรษะเพื่อล้างแค้นให้บิดาเช่นกัน หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และธฤษฏัทยุมนะ · ดูเพิ่มเติม »

ทุรโยธน์

ทุรโยธน์ หัวหน้าตัวละครฝ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ เป็นลูกของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารี ในขณะที่พระนางคานธารีทรงตั้งครรภ์อยู่ 2 ปีนั้น พระนางคานธารีก็เลยได้รับสั่งให้นางข้าหลวงเอาฆ้อนเหล็กทุบไปที่ท้องพร้อมกับบอกว่านี่เป็นวิธีช่วยให้ประสูติการ นางข้าหลวงจึงตีไปที่ครรภ์ของพระนางคานธารี ครั้งแรกยังไม่ออก จึงตีไปอีกสองครั้ง จนในที่สุดพระนางคานธารีก็คลอดออกมาเป็นก้อนเนื้อใหญ่และเย็นเฉียบ เมื่อพระนางคานธารีทราบดังนั้น พระนางคานธารีจึงรับสั่งให้เอาก้อนเนื้อนั้นไปทิ้งสระ ครั้นเมื่อนางข้าหลวงจะเอาก้อนเนื้อไปทิ้งสระก็ได้มีฤๅษีเข้ามาขวางแล้วบอกว่า ให้เอาก้อนเนื้อนั้นเอามาแล่เป็นชิ้น ๆ 100 ชิ้น เอาชิ้นแต่ละชิ้นไปใส่หม้อดินแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์พรมลงไป ก้อนเนื้อทั้งร้อยชิ้นก็จะกลายเป็นกุมาร ลูกคนแรกที่คลอดนั้นพอเกิดมา หมาหอนทั้งเมืองแร้งการ้องลั่นพระนคร กุมารองค์โตนี้ ชื่อ ทุรโยธน์ แปลว่า ผู้ซึ่งยากที่ใครจะเอาชนะได้ ท้าวธฤตราษฎร์ได้ยินเสียงนกกาแร้งหมาร้องลั่นระงมทั้งเมืองก็ตกใจวิ่งไปถามท้าวภีษมะผู้เป็นลุงว่า เกิดอะไรขึ้น ท้าวภีษมะก็บอกว่านี่เป็นเหตุอุบาทว์ของลูกชายเจ้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับความจัญไร นำมาซึ่งเสนียดแก่หัสตินปุระ ภีษมะจึงบอกให้ท้าวธฤตราษฎร์เอาลูกไปฆ่าทิ้งเสียทั้งหมด แต่ท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีไม่ยอมจึงฝืนเลี้ยงโอรสทั้ง 100 คนเรื่อยมา พร้อมกับพระธิดาอีก 1 คนซึ่งพี่น้องทั้ง 101 คนนั้นก็คือ พี่น้องตระกูลเการพ ทุรโยธน์ได้พรให้เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ในการใช้วาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่ก็เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยากับปาณฑพอย่างแรงกล้า จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา แต่ตอนสุดท้ายทุรโยธน์ก็ต้องถูกภีมะใช้กระบองฟาดต้นขาตาย ไปพร้อมกับพี่น้องตระกูลเการพทั้งหมด ยกเว้นแต่นางทุหศาลา(พระธิดาองค์เดียวของท้าวธฤตราษฎร์).

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และทุรโยธน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทุหศาสัน

ทุหศาสัน เป็นโอรสองค์ที่สองของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีแห่งกรุงหัสตินาปุระ และเป็นน้องชายของทุรโยธน์ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์เชิญยุธิษฐิระมาเล่นสกา การแข่งขันดำเนินไปอย่างยาวนาน ยุธิษฐิระเริ่มแพ้พนันสกาไปเรื่อย ๆ ทรัพย์สินและบ้านเมืองที่ใช้เดิมพันถูกทุรโยธน์ยึดไว้ทั้งหมด ยุธิษฐิระหน้ามืดตามัวเดิมพันตัวเองและน้อง ๆ ทั้งสี่ (คือ ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพ) แต่ก็แพ้ตกเป็นทาสของทุรโยธน์ ในที่สุดก็นำพระนางเทราปตี พระชายามาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์จึงให้ทุหศาสันลากตัวพระนางเทราปทีมาประจานที่กลางสภาเพื่อให้ทุกคนรับรู้ ทุหศาสันจิกผมนางและลากนางมาที่สภา ทุรโยธน์ออกคำสั่งให้ทุหศาสันเปลื้องผ้านางออก นางจึงขอให้พระกฤษณะ (ซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่ 8) ช่วยนาง พระองค์จึงเนรมิตผ้าสาหรี่ให้มีความยาวไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันดึงผ้านางอยู่นานก็ไม่มีทีท่าที่จะหมดไปจากกายนาง จนกระทั่งทุหศาสันหมดแรงไปเอง จากการกระทำอันชั่วช้าในครั้งนี้ ภีมะประกาศกร้าวที่จะฉีกอกทุหศาสันเอาเลือดจากอกมาดื่มกิน และเอาเลือดมาล้างผมพระนางเทราปทีเป็นการลบล้างมลทิน ต่อมาเมื่อเกิดศึกมหาภารตะที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ระหว่างฝ่ายเการพของทุรโยธน์กับฝ่ายปาณฑพของยุธิษฐิระ ในวันที่ 16 ของสงครามทุ่งราบกุรุเกษตรนี้ ภีมะมีโอกาสได้สู้กับทุหศาสัน ภีมะฟาดกระะบองใส่ทุหศาสันจนล้มฟุบ แล้วตามไปกระชากแขนทั้งสองข้างจนขาดออกมาอย่างโหดเหี้ยม จากนั้นก็ฉีกอกทุหศาสันล้วงเอาเลือดออกมาดื่ม ตามคำสาบานที่เขาประกาศไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และทุหศาสัน · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวธฤตราษฎร์

ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นโอรสในนามของวิจิตรวีรยะและอัมพิกา แต่ที่จริงเป็นบุตรของฤๅษีวยาส กับการนิโยคกับอัมพิกา จึงได้บุตรชายชื่อ ท้าวธฤตราษฎร์ ผู้มีนัยน์ตาบอด พระองค์มีมเหสีชื่อ พระนางคานธารีและมีบุตร 100 คนและธิดา 1 องค์ เรียกว่า เการพ และมีบุตรกับนางสนม 1 คนคือ ยุยุตสุ ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกรุงหัสตินาปุระ เป็นคนอ่อนไหว ใจโลเล และลำเอียง ไม่อบรมสอนสั่งลูก จึงเป็นเหตุให้ทุรโยธน์มีใจชั่วร้าย กระทำเลวร้ายต่อฝ่ายปาณฑพ และเป็นเหตุให้เกิดสงครามมหาภารตะขึ้น หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และท้าวธฤตราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวทรุปัท

ท้าวทรุปัท หรือ ท้าวยัชนเสน เป็นกษัตริย์ครองแคว้นปัญจาละ เป็นบิดาของศิขัณฑี ธฤษฏัทยุมนะ และพระนางเทราปตี (2 คนหลังเกิดจากการทำพิธี) ต่อมาโทรณาจารย์ได้ให้เหล่าลูกศิษย์จับตัวท้าวทรุปัทมาให้ตน ซึ่งเป็นพิธีคุรุทักษิณา โดยทุรโยธน์นำน้อง ๆ บุกตะลุยก่อนแต่ถูกท้าวทรุปัทตีทัพพ่ายกลับมา ต่อมาปาณฑพทั้ง 5 ได้มาต่อสู้กับท้าวทรุปัทอีกครั้ง ท้าวทรุปัทรบแพ้อรชุนและจับตัวไปให้คุรุโทรณาจารย์ แต่โทรณาจารย์ปล่อยตัวไปแต่ได้ขอดินแดนปัญจาละไว้ครึ่งหนึ่ง ท้าวทรุปัทรู้สึกน้อยใจว่าเหตุใดตนจึงไม่มีบุตรที่เก่งกาจดังเช่นอรชุน ทำให้ท้าวทรุปัทอยากได้อรชุนมาเป็นลูกเขยจึงได้ให้ฤๅษีทำพิธีขอบุตรให้กับตน 2 คน คือ ธฤษฏัทยุมนะ จุดมุ่งหมายคือสังหารโทรณาจารย์ และพระนางเทราปทีเพื่อเป็นชายาของอรชุน ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร ท้าวทรุปัทได้เข้าร่วมกำลังรบกับฝ่ายปาณฑพ และถูกโทรณาจารย์ คู่อริสังหารด้วยดาบในการรบวันที่ 15 ของสงครามทุ่งกุรุเกษตร.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และท้าวทรุปัท · ดูเพิ่มเติม »

ซาเมียร์ ธรรมาธิการี

ซาเมียร์ ธรรมาธิการี (Sameer Dhamadhikari) เป็นนักแสดงชายชาวอินเดีย มีชื่อเสียงโด่งดังจากบท พระเจ้าสุทโธทนะ จากซีรีส์เรื่อง พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก, พระเจ้าพินทุสาร จากซีรีส์เรื่อง อโศกมหาราช และบทบาท ท้าวศานตนุ ในซีรีส์เรื่อง มหาภารต.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และซาเมียร์ ธรรมาธิการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และปี · ดูเพิ่มเติม »

นางอุตตรา (มหาภารตะ)

นางอุตตรา ขณะเจ้าชายอภิมันยุ พระสวามี เสด็จไปออกศึก นางอุตตรา เป็นตัวละครในมหาภารตะ เป็นพระธิดาของท้าววิราฏแห่งมัสตยะ และเป็นชายาของเจ้าชายอภิมันยุ มีโอรสด้วยกันคือ เจ้าชายปริกษิต หมวดหมู่: ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และนางอุตตรา (มหาภารตะ) · ดูเพิ่มเติม »

โกล์! สู้สุดฝัน

กล์! สู้สุดฝัน (Go! Fighting! 旋风十一人) เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2557 กล่าวถึงเรื่องราวของนักฟุตบอลที่ต้องทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะ และสานฝันของตัวเองให้สำเร็จ นำแสดงโดย หู เกอ, เจียง ซูหยิ่ง, เฉียน ฟง, เจิง หลี ออกอากาศทางช่อง Dragon TV ในประเทศจีน ส่วนในไทย จะออกอากาศทางช่อง 3 แฟมิลี.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และโกล์! สู้สุดฝัน · ดูเพิ่มเติม »

โมหิต เรนะ

มหิต เรนะ (Mohit Raina) เป็นนักแสดงชายชาวอินเดีย มีชื่อเสียงโด่งดังจากบท พระศิวะ จากซีรีส์เรื่อง ศิวะ พระมหาเทพ และเรื่อง มหาภารตะ และบทบาท พระเจ้าอโศกมหาราช ในซีรีส์เรื่อง อโศกมหาร.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และโมหิต เรนะ · ดูเพิ่มเติม »

โทรทัศน์ความละเอียดสูง

ทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition television - HDTV) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ ที่มีความละเอียดของภาพ มากกว่าระบบถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (คือระบบเอ็นทีเอสซี, ซีแคม และพาล) โดยสัญญาณดังกล่าวจะแพร่ภาพด้วยระบบโทรทัศน์ดิจิทัล การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง สามารถให้ความละเอียดสูงสุด 1920x1080 จุดภาพ (Pixel) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า โทรทัศน์ความละเอียดสูงเต็มรูปแบบ (Full HD) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่สัญญาณภาพจะสามารถรองรับ ระบบการออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-Definition Broadcast) สำหรับความละเอียดของภาพ ที่สามารถแสดงบนจอโทรทัศน์ความละเอียดสูง ในปัจจุบันสูงถึง 3840x2160 จุดภาพ หรือที่เรียกว่า Quad HD ซึ่งเกินจากความสามารถที่สัญญาณโทรทัศน์จะส่งได้ แต่ใช้เฉพาะกับการแสดงภาพความละเอียดสูงจากช่องทางอื่น.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และโทรทัศน์ความละเอียดสูง · ดูเพิ่มเติม »

โทรณาจารย์

ทรณะ (Droṇa) หรือ โทรณาจารย์ เป็นครูสอนวิชาอาวุธผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชสำนักหัสตินาปุระ และเป็นอาจารย์ของเหล่าตัวละครเอกในเรื่องมหาภารตะทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ ภายหลังเมื่อเกิดสงครามทุ่งกุรุเกษตร โทรณะได้เป็นหนึ่งในแม่ทัพของฝ่ายเการพ จนกระทั่งเสียชีวิตลงด้วยน้ำมือของธฤษฏะทฺยุมัน ในสงครามครั้งนั้น.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และโทรณาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอัมพา

เจ้าหญิงอัมพา ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เป็น เจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี เป็นพี่สาวของ อัมพิกาและอัมพาลิกา เมื่อถึงพิธีสยุมพรให้เจ้าหญิงทั้งสามเลือกคู่ กับเจ้าชายเมืองต่างๆ ภีษมะ ต้องการให้เจ้าหญิงทั้งสาม เป็นมเหสีของ วิจิตรวีรยะ น้องชายต่างมารดา แต่เนื่องจากว่าเจ้าหญิงอัมพามีใจให้กับราชาศาลวะ แต่ภีษมะกระทำรากษสวิวาห์ ศาลวะจึงคิดว่าอัมพาเป็นสมบัติของภีษมะ แม้อัมพาจะอธิบายอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้ายราชาศาลวะก็ไม่ต้องการอัมพา ทำให้อัมพาไปหาภีษมะอีกครั้ง แต่ภีษมะไม่รับรับนางเป็นชายา อัมพาจึงสรรหาผู้ที่จะสังหารภีษมะแต่ไม่มีใครอาสา อัมพาจึงบำเพ็ญตบะแด่พระขันธกุมาร พระขันธกุมารจึงมอบพวงมาลัย (คนที่สวมพวงมาลัยจะสังหารภีษมะได้) แต่ไม่มีราชาคนใดอาสาสังหารภีษมะ จนถึงแคว้นปัญจาละของท้าวทรุปัท นางจึงแขวนพวงมาลัยไว้หน้าเมือง แล้วจึงขอพรพระศิวะ ให้ตนเกิดใหม่เป็นผู้นำความตายสู่ภีษมะ และเผาตนเองในกองไฟ แล้วไปเกิดใหม่เป็น ศิขัณฑิณ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ en:Amba (Mahabharata).

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และเจ้าหญิงอัมพา · ดูเพิ่มเติม »

1080i

1080i เป็นชื่อย่อที่แสดงความสัมพันธ์ของความละเอียดในการแสดงผลในหนึ่งเฟรมภาพกับลักษณะการสแกนภาพ เลข 1080 หมายถึงจำนวนเส้นตามความละเอียดในแนวตั้ง ส่วนตัวอักษร i หมายถึงวิธีการแสดงเส้นแบบอินเตอร์เลซ (Interlace) ที่หมายถึงการสแกนภาพเส้นคี่ก่อน นั่นคือ เส้นที่ 1, 3, 5, 6,...1079 แล้วจึงสแกน 2, 4, 6,...1080. 1080i ถือเป็นความละเอียดที่เรียกว่า FHD(Full HD) ของโทรทัศน์ความละเอียดสูง (HDTV) และวีดีโอความละเอียดสูง โดยมีอัตราส่วนแบบจอกว้างที่ 16:9 (ยาว 16 กว้าง 9) ซึ่งมีขนาดจริงที่ 1920 x 1080 หรือ 2.1 ล้านพิกเซล ส่งสัญญาณภาพผ่านสาย Component Video และสาย HDMI 1080i เป็นความละเอียดตามมาตรฐาน ITU:en:Rec. 709 หรือ BT.709 สำหรับการแสดงผลขนาด 1080 แบบที่ไม่เป็นอินเตอร์เลซ (non-interlaced) หรือ แบบโปรเกรสซีฟ (progressive) นั้นเรียกว่า 1080p การสแกนแบบนี้ จะสแกนตั้งแต่เส้นที่ 1, 2, 3,...1080 ตามลำดับ ทำให้มีความชัดมากกว่า 1080i.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และ1080i · ดูเพิ่มเติม »

22 มิถุนายน

วันที่ 22 มิถุนายน เป็นวันที่ 173 ของปี (วันที่ 174 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 192 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และ22 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »