โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาหมอลายเมฆ

ดัชนี ปลาหมอลายเมฆ

ปลาหมอลายเมฆ หรือ ปลาหมอนิมโบโครมิส (Sleeper cichlid) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Nimbochromis (/นิม-โบ-โคร-มิส/) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอสีที่พบได้เฉพาะในทะเลสาบมาลาวี รวมถึงแหล่งน้ำอื่นใกล้เคียงเท่านั้น ปลาหมอลายเมฆ มีลักษณะเฉพาะ คือ ตามลำตัวมีลวดลายที่ดูแปลก เป็นจ้ำ ๆ มีสีน้ำตาลอยู่บนพื้นสีเหลือง ดูคล้ายกากบาทหรือตัวอักษร X หรือลายพรางของทหาร สีบริเวณส่วนหัวเป็นสีน้ำเงิน มีขนาดประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยที่คำว่า Nimbochromis ที่ใช้เป็นชื่อสกุลนั้นมาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Nimbo ที่หมายถึง "เมฆในฤดูฝน" และ chromis ที่หมายถึง "ปลาหมอสี" อันหมายถึง ลวดลายบนตัวปล.

12 ความสัมพันธ์: ชาลส์ เทต รีกันภาษาละตินวงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาวงศ์ปลาหมอสีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสปีชีส์อันดับปลากะพงทะเลสาบมาลาวีปลาหมอลิฟวิงสโตนปลาที่มีก้านครีบ

ชาลส์ เทต รีกัน

ลส์ เทต รีกัน (Charles Tate Regan) นักมีนวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 ที่เมืองเชอร์บอร์น มณฑลดอร์เซต จบการศึกษาจากโรงเรียนดาร์บีและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1901 รีกันได้เข้าทำงานในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ และเป็นนักสัตววิทยาประจำพิพิธภัณฑ์ระหว่างปี ค.ศ. 1927-ค.ศ. 1938 ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนในปี ค.ศ. 1917 รีกัน เป็นนักมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งคนหนึ่ง โดยเป็นผู้ศึกษาและอนุกรมวิธานปลาชนิดต่าง ๆ มากมาย เช่น ปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae), การบรรยายลักษณะต่าง ๆ ของปลาในวงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Elopidae) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุกรมวิธานปลากัดไทย หรือ ปลากัดสยาม (Betta splendens) ที่มีชื่อเสียง รีกันได้ร่วมทำงานกับนักมีนวิทยาชาวอังกฤษอีกคนที่มีชื่อเสียง คือ อีเทลเวนน์ เทรวาวาส ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ได้มีปลาจำนวนมากที่ถูกตั้งชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่รีกัน โดยจะใช้ชื่อว่า regani อาทิ Anadoras regani, Apistogramma regani, Julidochromis regani เป็นต้น ชาลส์ เทต รีกัน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1943.

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและชาลส์ เทต รีกัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา (African cichlid) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยกระดูกแข็งในวงศ์ Cichlidae หรือปลาหมอสี ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudocrenilabrinae เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงแอฟริกากลาง สามารถแบ่งออกได้เป็นเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่า และหลายสกุล โดยแหล่งที่พบที่ใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบมาลาวี และทะเลสาบแทนกันยีกา รวมถึงทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นปลาที่ใช้รับประทานเป็นอาหารในท้องถิ่น และส่งออกไปจำหน่ายเป็นปลาเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งปลาในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไจแอนท์แทนกันยีกา (Boulengerochromis microlepis) ที่มีความยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร ก็อยู่รวมในวงศ์ย่อยนี้ด้วย ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายมากมายทั้งสกุล และชนิด (คาดว่ามีประมาณ 1,900 ชนิด และ 400 ชนิด กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ และสาหร่ายหรือตะไคร่น้ำเป็นอาหาร) มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างกันออกไป หลายสกุล หลายชนิดวางไข่ไว้ในเปลือกหอยฝาเดียว บางชนิดก็แทะเล็มตะไคร่น้ำและสาหร่ายตามโขดหินเป็นอาหาร ด้วยฟันขนาดเล็ก ๆ แหลมคมหลายชุด ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้มีการกินอาหารแตกต่างกันไป เช่น กัด, ขูด, ดูด และกลืน บางชนิดก็ล่าปลาขนาดเล็กและปลาหมอสีด้วยกันเป็นอาหาร ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ กับที่ หรือฝังตัวอยู่ใต้ทราย หรือแม้กระทั่งแกล้งทำเป็นตาย ด้วยการหยุดการทำงานของช่องเหงือกเพื่อหายใจ บางชนิดก็กินเกล็ดปลาอื่นเป็นอาหาร ขณะที่หลายชนิดมีพฤติกรรมฟักลูกปลาไว้ในปาก แต่ก็ต้องเลี้ยงลูกจำพวกอื่นไปด้วย เช่น ปลาหนังขนาดใหญ่บางชนิด โดยเฉพาะในวงศ์ปลากดคัดคู (Mochokidae) โดยที่ไม่รู้เลยว่านั่นไม่ใช่ลูกของตัว และลูกปลาหนังนั้นก็จะกินลูกปลาหมอสีขณะที่อยู่ในปากด้วยMutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet".

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและวงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43 สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 และ หนังสือ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2547 ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาเวสเทิร์น เกทส์ ในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด, เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชน.

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบมาลาวี

ทะเลสาบมาลาวี หรือ ทะเลสาบนยาซา หรือ ทะเลสาบนิอัสซา (Lake Malawi, Lake Nyasa, Lake Nyassa, Lake Niassa; ชื่อหลังเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในโมซัมบิก) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา เช่นเดียวกับทะเลสาบวิกตอเรียหรือทะเลสาบแทนกันยีกา นับว่าเป็นทะเลสาบที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดา 3 ทะเลสาบนี้ ทะเลสาบมาลาวี เกิดจากการที่พื้นผิวโลกในบริเวณหุบเขาเกรตริฟต์แวลลีย์แยกตัวออกจากกันเมื่อ 8 ล้านปีก่อน และกำเนิดเป็นทะเลสาบเมื่อ 4 ล้านปีก่อน จากน้ำที่เอ่อล้นในทะเลสาบแทนกันยีกา ไหลมารวมกันที่นี่Mutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet".

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและทะเลสาบมาลาวี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอลิฟวิงสโตน

ปลาหมอลิฟวิงสโตน (Livingston's cichild) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอลายเมฆ หรือปลาหมอในสกุล Nimbochromis ชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเลสาบมาลาวี และแหล่งน้ำใกล้เคียง โดยเฉพาะทางตอนใต้ โดยชื่อวิทยาศาสตร์นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ เดวิด ลิฟวิงสโตน นักสำรวจทวีปแอฟริกาชาวสกอต เป็นปลาที่มีลวดลายสีน้ำตาลเข้มอยู่บนพื้นลำตัวสีขาวหรือสีครีมเด่นชัด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย โดยใช้สีและลวดลายที่โดดเด่นนี้ในการปรับสีสันให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ โดยจะปรับสีลำตัวให้กลมกลืนกับพื้นทราย และแกล้งทำเป็นตายด้วยการนอนนิ่ง ๆ เมื่อมีปลาขนาดเล็กว่ายผ่านเข้ามา ก็จะฮุบด้วยความรวดเร็ว และกลับไปนอนนิ่ง ๆ อีกครั้ง ซึ่งชื่อในภาษาพื้นเมืองเรียกปลาหมอลิฟวิงสโตนว่า "คาลิงโกโน" (kalingono) หมายถึง "นอนหลับ" และอาจจัดว่าเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่โลกที่สามารถกระทำเช่นนี้ได้ ปลาหมอลิฟวิงสโตนตัวผู้ในช่วงผสมพันธุ์จะมีสีสันสวยงามเป็นพิเศษ สีพื้นบริเวณลำตัวที่เป็นสีขาวก็จะกลายเป็นสีฟ้าหรือบางครั้งก็เป็นสีน้ำเงิน ในธรรมชาติชอบทำรังและวางไข่บนพื้นทรายใกล้กับโขดหิน ปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ก่อน จากนั้นตัวเมียค่อยอมไข่เหล่านั้นไว้ในปาก ซึ่งผิดกับปลาหมอสีอมไข่ทั่วไปที่มักอมไข่ก่อนแล้วค่อยปล่อยน้ำเชื้อเข้าปฏิสนธิ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยใช้ชื่อว่าเป็นปลาหมอลายเมฆที่มีสีสันสวยงามที่สุด โดยพฤติกรรมในที่เลี้ยงมักจะไม่ค่อยทำแกล้งตายเหมือนปลาในธรรมชาติหน้า 102, ปลาหมอลายเมฆ และผองเพื่อน (ตอนที่ 2) โดย พิชิต ไทยยืนวงษ.

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและปลาหมอลิฟวิงสโตน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาหมอลายเมฆและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

NimbochromisSleeper cichlidSleeper cichlidsปลาหมอนิมโบโครมิส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »