โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาสังกะวาด

ดัชนี ปลาสังกะวาด

ปลาสังกะวาด หรือ ปลายอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด โดยพบแล้วประมาณ 26 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Pangasius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวลื่นไม่มีเกล็ด หัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง รูจมูกคู่หลังอยู่ใกล้รูจมูกคู่หน้ามากกว่านัยน์ตา และอยู่เหนือระดับขอบบนของลูกนัยน์ตา มีหนวด 2 คู่สั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด (ริมปากบน 1 คู่ และคาง 1 คู่) มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลางและชิ้นข้าง แต่ในบางชนิดอาจหดหายไปเมื่อปลามีอายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนป้อม ครีบทั้งหมดโดยเฉพาะครีบหลังและครีบอกตั้งชี้ตรง และมีก้านแข็ง นัยน์ตาอยู่เหนือระดับมุมปากเล็กน้อย ท้องไม่เป็นสันคม ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 6 ก้าน มีขนาดรูปร่างที่แตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 ฟุต ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่เป็นฝูง ในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ พบตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้บริโภค ซึ่งมีการวิจัยพบว่าเนื้อปลาในสกุลนี้ มีสารโอเมกา 3 สูงกว่าปลาทะเลเสียอีก นอกจากนี้ยังใช้ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในบางชนิด ในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้โดยรวมว่า "สวาย" ในปลาที่มีขนาดใหญ่ และในปลาที่มีขนาดเล็กมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" ซึ่งซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) สำหรับในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ยอน" หรือ "ซวย" ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิดใหม่ที่ให้ผลผลิตดี โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า "ปลามรกต" หรือ "เขียวมรกต" นิยมเลี้ยงกันมากโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และในปัจจุบันนิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลาสำเร็จรูป ในชื่อ "แพนกาเชียส ดอรี่" ปลาสวาย (''P. hypophthalmus'') เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเพื่อการบริโภค และเป็นปลาสวยงาม.

50 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งฟุตพ.ศ. 2383พ.ศ. 2405พ.ศ. 2445พ.ศ. 2447พ.ศ. 2480พ.ศ. 2508พ.ศ. 2547พืชพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542กระปุก.คอมกรดไขมันโอเมกา-3การกินการร่วมเพศการจับปลาภาษาไทยภาษาไทยถิ่นอีสานภาคอีสาน (ประเทศไทย)มนุษย์วงศ์ปลาสวายวงศ์ปลาหวีเกศสกุล (ชีววิทยา)สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาหนังอินโดจีนอนุทวีปอินเดียจิตรกรรมคลองประเทศไทยปลายาวปลาสวยงามปลาสวายปลาสวายหางเหลืองปลาสังกะวังปลาสังกะวาดท้องคมปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็มปลาโมงปลาเผาะปลาเทพาปลาเทโพปีเตอร์ เบลเกอร์แม่น้ำเกาะเมตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ฟุต

ฟุต (foot; พหูพจน์: feet; ย่อว่า ft หรือ ′ (ไพรม์)) เป็นหน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ นิยามโดยให้มีขนาดเท่ากับ 0.3048 เมตรพอดี และแบ่งเป็นหน่วยย่อย 12 นิ้ว.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและฟุต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2383

ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพ.ศ. 2383 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2405

ทธศักราช 2405 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1862.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพ.ศ. 2405 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2445

ทธศักราช 2445 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1902 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพ.ศ. 2445 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2447

ทธศักราช 2447 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1904 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพ.ศ. 2447 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพ.ศ. 2480 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2508

ทธศักราช 2508 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1965 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพ.ศ. 2508 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

กระปุก.คอม

กระปุก.คอม (Kapook.com ในตราสัญลักษณ์สะกดว่า K@POOK!) เป็นเว็บไซต์ประเภท เว็บท่า ก่อตั้งโดยปรเมศวร์ มินศิริ โดยมีสโลแกนว่า "เว็บแรกที่คุณเลือก" ซึ่งมีบริการต่าง ๆ เช่น กระปุกดาวน์โหลด, Planet, ดุ๊กดิ๊ก (Glitter) เป็นต้น ควบคุมดูแลโดย บริษัท บัณฑิตเซ็นเตอร์ จำกัด กระปุก.คอมเริ่มเปิดเว็บไซต์วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 โดยเนื้อหาของ Kapook นั้นเน้นไปทางด้านวัยรุ่นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ วัย หรือการปรับตัว หรือรูปภาพ กระปุก.คอม เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมจากประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 11 (19 กันยายน 2557) จากการจัดอันดับโดยอะเล็กซ.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและกระปุก.คอม · ดูเพิ่มเติม »

กรดไขมันโอเมกา-3

Chia เมล็ดที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมกา-3 (ω-3 หรือ omega-3) ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันสำคัญในสมองและจอประสาทตา ดร.อลัน ไรอัน จาก มาร์เท็ค ไบโอไซน์ส (Martek Biosciences) จะนำเสนอผลของการบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ในเด็กอายุ 4 ขวบ ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายิ่งมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ในเลือดมากเท่าใด เด็กก็จะทำแบบทดสอบด้านการรับรู้ได้ดีเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควรมีการผสมกรดไขมันโอเมกา-3 ในอาหารสำหรับเด็ก กรดไขมันโอเมกา-3 พบได้ในไขมันปลา แต่ผู้เชี่ยวชาญมากมายแนะนำว่าสตรีและเด็กควรบริโภคไขมันปลาในปริมาณจำกัด กรดไขมันโอเมกา-3 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวสูง เป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ ซึ่งในสูตรโครงสร้างโมเลกุลจะมีพันธะคู่อยู่ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง โดยพันธะคู่แรกจะอยู่ที่ตำแหน่งของคาร์บอนตัวที่ 3 นับจากปลายโมเลกุลด้านที่มีกลุ่มเมธิล (methyl group) เข้าไป ส่วนพันธะคู่ต่อไปจะอยู่ตรงตำแหน่งคาร์บอนถัดไปครั้งละ 3 ตำแหน่ง สารสำคัญในตัวมันมี 2 ตัว คือ Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA) กรดไขมันโอเมกา-3 มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งเกี่ยวกับเรตินาในการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการและสุขภาพของคนเรา เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรเอธิลกลีเซอรอล (triethylglycerol) ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน (lipoprotien) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและหน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดผลดีในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ โรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคซึมเศร้า โอเมกา-3 พบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและกรดไขมันโอเมกา-3 · ดูเพิ่มเติม »

การกิน

การรับทานอาหารมักเป็นกิจกรรมทางสังคม การกิน หรือ การบริโภค เป็นการนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพลังงาน หมวดหมู่:อาหารและเครื่องดื่ม หมวดหมู่:สรีรวิทยา หมวดหมู่:กิจวัตรของมนุษย์.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและการกิน · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสวาย

วงศ์ปลาสวาย (Shark catfish) เป็นปลาหนัง มีรูปร่างเพรียว ส่วนท้องใหญ่ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวโต ตาโต มีหนวด 2 คู่ รูจมูกช่องหน้าและหลังมีขนาดเท่ากัน ครีบไขมันและครีบท้องเล็ก ฐานครีบก้นยาว กระเพาะขนาดใหญ่รียาว มี 1-4 ตอน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pangasiidae (/แพน-กา-ซิ-อาย-ดี้/) พบขนาดตั้งแต่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เช่น ปลาสังกะวาดท้องคม หรือ ปลายอนปีก (Pangasius pleurotaenia) จนถึง 3 เมตรใน ปลาบึก (Pangasianodon gigas) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การกระจายพันธุ์จากอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะบอร์เนียวในอินโดนีเชีย เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น กุ้ง หรือ หอยฝาเดียว นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่มีพฤติกรรมกินซากอีกด้วย ทั้งซากพืชและซากสัตว์ เช่น ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei) มีทั้งหมด 30 ชนิด และพบในประเทศไทยประมาณ 12 ชนิด ซึ่งปลาที่มีขนาดเล็กจะเรียกชื่อซ้ำซ้อนในแต่ละชนิดว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" จัดเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภคและรู้จักกันดี และจากการศึกษาล่าสุด พบว่าเนื้อปลาในวงศ์ปลาสวายนี้มีโอเมกา 3 มากกว่าปลาทะเลเสียอีก โดยเฉพาะอย่าง ปลาสวาย (P. hypophthalmus) มีโอเมกา 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและวงศ์ปลาสวาย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหวีเกศ

วงศ์ปลาหวีเกศ (วงศ์: Schilbeidae (/ชิล-ไบ-ดี/); Schilbid catfish, Glass catfish) เป็นปลาน้ำจืดกระดูกแข็ง อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ซึ่งเป็นปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด มีก้านครีบแข็งที่ครีบอกและครีบหลังและมีครีบไขมัน สำหรับปลาในวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาสวาย (Pangasidae) ซึ่งเดิมเคยรวมเป็นวงศ์เดียวกันมาก่อน แต่มีลำตัวขนาดเล็กกว่ามาก มีหนวด 3-4 คู่ ที่มีร่องเก็บหนวดแต่ละเส้นที่จะงอยปากข้างแก้มและใต้คาง รูจมูกช่องหลังมักใหญ่กว่าช่องหน้าและอยู่ชิดกัน ครีบอกและครีบหลังมีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาว ลำตัวมักแบนข้าง มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเขตซุนดา มีทั้งสิ้น 14 สกุล 61 ชนิด เฉพาะที่พบในประเทศไทยมี 4 สกุล ใน 5 ชนิด เช่น ปลาสังกะวาดขาว (Laides hexanema), ปลาหวีเกศ (Platytropius siamensis), ปลาอิแกลาเอ๊ะ (Pseudeutropius moolenburghae) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและวงศ์ปลาหวีเกศ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

มโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนครปฐม จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มรับราชการที่กรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

คลอง

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและคลอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลายาว

ปลายาว (Cá bông lau) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวเรียว ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก หนวดยาวถึงลูกตา รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลมและแบนข้างที่ด้านท้าย ตัวผู้มีปลายครีบหลังและครีบท้องยื่นเป็นเส้นสั้น ๆ ลำตัวมีสีเทาคล้ำอมฟ้า ข้างลำตัวสีจาง ครีบสีจาง ครีบหางมีสีเหลืองอ่อน ที่ขอบบนแฉกมีสีคล้ำจาง ๆ มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 80 เซนติเมตร พบเฉพาะในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดหนองคายถึงอุบลราชธานี เท่านั้น เป็นปลาที่ตายง่ายมากหลังการจับจึงได้อีกชื่อจากชาวประมงที่จังหวัดหนองคายว่า "ปลาซวยเสาะ" แต่ที่จังหวัดนครพนมเรียกว่า "ปลายาว" บริโภคโดยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี ปลายาวที่มีขนาดเล็กจะพบเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำโขง และชายฝั่งทะเลไปถึงเกาะไหหลำ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลายาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวาย

ปลาสวาย (Iridescent shark, Striped catfish, Sutchi catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก ที่อยู่สกุลเดียวกัน รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8-9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 โดยถือเป็นสัตว์น้ำชนิดแรกที่ทางกรมประมงของไทยผสมเทียมประสบความสำเร็จเป็นชนิดแรกด้วย ปลาในธรรมชาติมีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพเข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาสวาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวายหางเหลือง

ปลาสวายหางเหลือง เป็นปลาในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) พบในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยของประเทศบังกลาเทศ, อินเดีย, พม่า และ ปากีสถาน และถูกนำเข้าสู่ประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ปลามีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาสวายหางเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสังกะวัง

ปลาสังกะวัง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius polyuranodon ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ทั่วไป หากแต่มีหนวดยาวถึงหรือเลยครีบอก และครีบหางเป็นแผ่นหนาอย่างเห็นได้ชัด สีครีบทุกครีบออกเหลือง ส่วนหัวหลิมกลมและตำแหน่งตาอยู่ต่ำกว่ามุมปากคล้ายปลาบึก (Pangasianodon gigas) ขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 50-80 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงและปากแม่น้ำที่ติดกับทะเลที่เป็นน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำบางปะกง เป็นต้น มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลาสังกะวาดแวง" หรือ "ปลาชะแวง".

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาสังกะวัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสังกะวาดท้องคม

ปลาสังกะวาดท้องคม เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudolais pleurotaenia อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะ หัวสั้น ตาโต ปากแคบ หนวดสั้น ลำตัวแบนข้างกว่าชนิดอื่น ๆ ท้องเป็นสันคมตลอด ปลาตัวผู้มักมีรูปร่างเพรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบท้องเล็กอยู่สูงกว่าระดับสันท้อง ครีบไขมันเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าเป็นแฉก ตัวด้านบนสีคล้ำเหลือบเขียวหรือเหลือง ข้างลำตัวสีจางมีแถบสีคล้ำตามยาวตั้งแต่บริเวณโคนครีบอก ท้องสีจาง ครีบหางสีเหลืองอ่อนขอบคล้ำ มีขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร จัดว่าเป็นปลาขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ กินแมลงเป็นอาหารหลัก กินเมล็ดพืช ผลไม้ และพืชน้ำในบางครั้ง พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง พบน้อยในแม่น้ำตาปี เป็นปลาที่พบชุกชุม จึงเป็นปลาเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอีสาน นิยมบริโภคเป็นปลาแห้งและปรุงสด มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอีสานว่า "ปลายอนปีก" หรือ "ปลายอนหลังเขียว".

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาสังกะวาดท้องคม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโมง

ปลาโมง (Snail eater pangasius) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchophilus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pagasiidae) มีลักษณะคล้ายปลาเผาะ (P. bocourti) อันเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง หนวดยาวถึงบริเวณช่องเหงือก แถบฟันบนเพดานเชื่อมติดกันเป็นรูปเหลี่ยม รูปร่างเพรียว หางคอด ก้านครีบแข็งที่หลังค่อนข้างยาวและใหญ่ หัวและลำตัวสีเทาหรือสีเขียวมะกอกเหลือบเหลืองหรือเขียว บางตัวสีเทาจาง ข้างลำตัวสีจางและไม่มีแถบคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีจาง ลูกปลามีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร พบปลาที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2534 โดยระบุว่าเป็นปลาชนิดใหม่ที่มีขนาดเล็ก กินกุ้ง, ปู และแมลงเป็นส่วนใหญ่ ปลาขนาดใหญ่กินหอย, ปู และเมล็ดพืช โดยหอยจะถูกกินทั้งตัวแล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง มีการบริโภคโดยการปรุงสด และหมักสับปะรด เนื้อมีรสชาติดี ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจด้วย มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาโมงออดอ้อ", "ปลาเผาะ" (เรียกซ้ำกับปลาเผาะชนิด P. bocourti), "ปลาสายยู" หรือที่ทางกรมประมงตั้งให้ คือ "ปลาสายยูเผือก" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาโมง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเผาะ

ปลาเผาะ (Vietnamese pangasius, basa fish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius bocourti อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะส่วนหัวมนกลม ปากแคบ รูปร่างป้อม ท้องอูม ลำตัวตอนหน้าค่อนข้างกลม และแบนข้างเล็กน้อยที่ด้านท้าย ครีบไขมันเล็ก ปลาวัยอ่อนมีสีเทาเหลือบเหลืองหรือเขียวอ่อน ข้างลำตัวมีแถบคล้ำ ครีบอกมีแต้มสีจาง ปลาตัวเต็มวัยมีสีเทาอมน้ำตาลอ่อนหรือฟ้าอ่อน ท้องสีขาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำจาง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนกินแมลง ปลาตัวเต็มวัยกินพืชเป็นส่วนใหญ่ อาจกินแมลงและหอยบ้าง พบในแม่น้ำโขงถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และในแม่น้ำเจ้าพระยาFroese, Rainer, and Daniel Pauly, eds.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาเผาะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทพา

ปลาเทพา หรือที่ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเลิม (Chao Phraya giant catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาชนิดนี้ตั้งโดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ อธิบดีกรมประมงคนแรก เพื่อเป็นเกียรติแด่ ม.ร.ว.สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดันและบุกเบิกให้มีหน่วยงานทางด้านการศึกษาและจัดการสัตว์น้ำในประเทศ ซึ่งก็คือกรมประมงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาเทพา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทโพ

ปลาเทโพ (Black ear catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและจะงอยปากมน ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง รูปร่างป้อมสั้น ปลาขนาดใหญ่มีลำตัวส่วนท้องลึก ปลายครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว มีแต้มสีดำเห็นชัดเจนที่ฐานครีบอก ตัวมีสีเทาคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างมีสีเทาจาง ด้านท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ครีบก้นมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบหางมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร ปลาขนาดเล็กกินแมลง ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้, เมล็ดพืช, ปลา, หอย, แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และสาขาทั่วประเทศ โดยมักรวมฝูงกับปลาสวาย (P. hypophthalmus) ด้วย ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาปรุง "แกงเทโพ" มีการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "หูหมาด", "หูดำ" หรือ "ปึ่ง" ในภาษาเหนือ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปลาเทโพ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะ

กาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบซารานักล่าง เกาะ (island) เป็นพื้นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ มีขนาดเล็กกว่าทวีป อาจอยู่ในมหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ หรือแม่น้ำ เกาะขนาดเล็กเรียกว่า เกาะเล็ก (isle) ซึ่งรวมถึงอะทอลล์ (atoll) หรือ เกาะปะการังวงแหวน และ เกาะปริ่มน้ำ (key หรือ cay) ที่เป็นเกาะขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำ เกาะหลายเกาะที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มเกาะ (archipelago) อาจแบ่งเกาะได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เกาะริมทวีป (continental island) เกาะแม่น้ำ (river island) และ เกาะภูเขาไฟ (volcanic island) นอกจากนี้ยังมีเกาะเทียม (artificial island) ที่สร้างขึ้นโดยมนุษ.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ปลาสังกะวาดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pangasiusสังกะวาดปลายอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »