โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลายาด

ดัชนี ปลายาด

ปลายาด หรือ ปลาเวียน (Mahseers, Brook carps) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tor (/ทอร์/) มีลำตัวยาวและแบนข้างไม่มากนัก หัวค่อนข้างเล็ก มีหนวดที่ยาว 2 คู่ คู่แรกอยู่ที่ริมปากบน และคู่ที่สองอยู่ที่มุมปาก ปากโค้งเป็นรูปเกือกม้า ริมปากบนและล่างหนาเชื่อมติดต่อกัน ริมปากล่างมีร่องคั่นระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกรล่าง บางชนิดอาจมีกล้ามเนื้อแบ่งเป็นพู ๆ บนริมปากล่าง และบางชนิดไม่มีพูของกล้ามเนื้อดังกล่าว เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ เยื่อขอบกระดูกแก้มเชื่อมติดกับเอ็นคาง ฟันที่ลำคอรูปร่างเหมือนช้อน มี 3แถว โคนครีบหลังหุ้มด้วยเนื้อที่เป็นเกล็ด มีก้านครีบแขนง 8 หรือ 9 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบเรียบ ต้นแบบของสกุลนี้มาจาก Cyprinus tor ซึ่ง จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ได้ยกขึ้นเป็นชื่อสกุล โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor hamiltonii ก่อนหน้าสกุล Labeobarbus ของเอ็ดดวร์ด รุพเพิล ซึ่งนักมีนวิทยาหลายท่านได้นำเอาสกุล Labeobarbus ไปตั้งชื่อปลาที่พบในแถบคาบสมุทรอินโดออสเตรเลีย แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้สกุลอื่น ปลาในกลุ่มนี้จึงมีชื่อพ้องด้วยกันหลากหลาย พบทั้งหมดประมาณ 20 ชนิด ในทวีปเอเชีย ตามแม่น้ำสายใหญ.

24 ความสัมพันธ์: ชื่อพ้องพ.ศ. 2376พ.ศ. 2377พ.ศ. 2547มีนวิทยาวงศ์ปลาตะเพียนสกุล (ชีววิทยา)สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาตะเพียนทวีปเอเชียต้นแบบ (ชีววิทยา)ปลาพลวงชมพูปลาพลวงทองปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดปลาเวียนปลาเวียนทองปีเตอร์ เบลเกอร์แม่น้ำไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์U

ชื่อพ้อง

ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร.

ใหม่!!: ปลายาดและชื่อพ้อง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2376

ทธศักราช 2376 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลายาดและพ.ศ. 2376 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2377

ทธศักราช 2377 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1834.

ใหม่!!: ปลายาดและพ.ศ. 2377 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลายาดและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

มีนวิทยา

มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.

ใหม่!!: ปลายาดและมีนวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลายาดและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลายาดและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

มโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนครปฐม จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มรับราชการที่กรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ปลายาดและสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลายาดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลายาดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลายาดและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลายาดและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ปลายาดและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ต้นแบบ (ชีววิทยา)

ต้นแบบ (Biological type) คือสิ่งที่เป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกอ้างอิงถึงในการอธิบายลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ เป็นตัวแทนในการบ่งบอกถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ทั้งเรื่องความแตกต่างของลักษณะเพศ, ช่วงอายุ เป็นต้น สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพของเอกสารวิชาการที่กล่าวถึงและตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ได้ ใช้ในการเปรียบเทียบเมื่อมีการพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือในอีกทางหนึ่งเพื่อยุบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกันสองชนิด ในทางชีววิทยา ต้นแบบจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการตั้งชื่อทางอนุกรมวิธานตามระบบการตั้งชื่อ ต้นแบบอาจเป็น ตัวอย่าง ภาพวาด สิ่งมีชีวิต หรือรายละเอียดก็ได้ เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอนมีตัวอย่างหมายเลข 1886.6.24.20 ซึ่งเป็นตัวอย่างของเหยี่ยวลาย (Circus assimilis) ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างต้นแบบแรกของเหยี่ยวชนิดนี้ ชื่อ Circus assimilis โดยคำนิยามถึงชนิดของตัวอย่างที่พิเศษนี้ (assimilis หรือ adsimils แปลว่า คล้าย หรือ เหมือน ความหมาย คือ " ลักษณะคล้ายกับนกต้นแบบ ").

ใหม่!!: ปลายาดและต้นแบบ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพลวงชมพู

ปลาพลวงชมพู (Khela mahseer, Semah mahseer, River carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาเวียน (T. tambroides) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่ลำตัวเพรียวและเป็นทรงกระบอกมากกว่า ส่วนหัวค่อนข้างมน ริมฝีปากหนา ปากกว้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อสั้น ๆ มีหนวด 2 คู่เห็นชัดเจน ตาอยู่ค่อนไปทางด้านบนหัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหลังมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นสั้น ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีเงินเหลือบชมพูหรือทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีขาว มีขนาดความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบ 35 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก พบมากโดยเฉพาะในน้ำตกฮาลา-บาลา ภายในอุทยานแห่งชาติฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา เป็นปลาที่มีรสชาติดี เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดยะลา มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท และในฮ่องกงอาจมีราคาสูงถึง 5,000 บาท นับเป็นปลาที่มีราคาแพงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังจัดว่าเป็นปลาตระกูลปลาพลวงหรือปลาเวียนเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่รับประทานทั้งเกล็ดได้หน้า 7, ปลาพลวงชมพู เลี้ยงได้...กิโลละ 2 พัน.

ใหม่!!: ปลายาดและปลาพลวงชมพู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพลวงทอง

ปลาพลวงทอง (Golden mahseer, Gold soro brook carp) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในกลุ่มปลามาห์เซียร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissochilus soroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะคล้ายปลาพลวงหิน (N. stracheyi) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ว่ามีสีเหลืองเหลือบทองที่ด้านข้างลำตัวเห็นได้ชัดเจนกว่า และมีครีบต่าง ๆ สีแดงส้ม ด้านหลังมีสีน้ำตาล และไม่มีแถบสีดำด้านข้างลำตัวเหมือนปลาพลวงชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามต้นน้ำลำธารที่สะอาด และไหลแรงในป่าหรือน้ำตกโดยในประเทศไทยจะพบได้ที่จังหวัดแถบภาคตะวันออก และพบได้จนถึงประเทศมาเลเซีย มีความยาวเต็มที่ 50 เซนติเมตร นิยมตกเป็นเกมกีฬาและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และถือเป็นปลาประจำจังหวัดระยอง.

ใหม่!!: ปลายาดและปลาพลวงทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลายาดและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลายาดและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเวียน

ปลาเวียน (Thai mahseer, Greater brook carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งจำพวกมาห์เซียร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจะงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร ส่วนหัว อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4–8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี และถือเป็นปลาประจำจังหวัด เพราะมีเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย ปัจจุบัน กรมประมงสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ด้วยการรวบรวมพ่อแม่ปลาจากธรรมชาติ โดยมีวิธีการขยายพันธุ์ 2 วิธี คือ การเพาะพันธุ์แบบกึ่งธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงในระบบที่เลียนแบบธรรมชาติ ความสมบูรณ์ของพ่อแม่ปลาจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ ปลาแม่ที่พร้อมจะวางไข่จะมีการสลัดไข่ จึงนำมารีดผสมกับน้ำเชื้อของปลาตัวผู้ ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 72–96 ชั่วโมง และการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน.

ใหม่!!: ปลายาดและปลาเวียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเวียนทอง

ปลาเวียนทอง, ปลาเวียนยักษ์, ปลาเวียนหิมาลัย หรือในชื่อพื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำสาละวินเรียกว่า ปลาคม (Putitor mahseer, Himalayan mahseer, Golden mahseer.) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาที่อยู่ในสกุลปลาพลวง (Neolissochilus spp.) และปลาเวียน (Tor spp.) ชนิดอื่น เพียงแต่ขนาดเมื่อโตเต็มที่สามารถยาวได้ถึง 275 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 54 กิโลกรัม ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดสำหรับปลาในสกุลนี้ และนับว่าเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่ใหญ่ติดอันดับโลก มีลายแถบสีน้ำเงินนอนขวางลำตัวหนึ่งคู่ เกล็ดตลอดทั้งลำตัวมีสีเหลืองหรือสีทอง ครีบและหางมีสีเหลืองเข้ม พบในอินเดียทางตอนเหนือและตอนใต้ ในตอนเหนือพบที่เชิงเทือกเขาหิมาลัยแถบรัฐปัญจาบ และในแม่น้ำพรหมบุตร, แคว้นแคชเมียร์ในปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ภูฏาน และพบในแม่น้ำสาละวินแถบชายแดนพม่าติดกับไทยด้วย แต่พบน้อยมาก มีรายงานการพบเพียงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น ในรอบ 28 ปี.

ใหม่!!: ปลายาดและปลาเวียนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลายาดและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: ปลายาดและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: ปลายาดและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

U

U (ตัวใหญ่:U ตัวเล็ก:u) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 21 ซึ่งในภาษาอังกฤษอ่านว่า "ยู" ในขณะที่เยอรมัน อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส เรียกว่า "อู" ในขณะเดียวกันในประเทศไทยนิยมเรียกว่า "ยู" เช่นเดียวกับใน ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า "ยู" (ユー).

ใหม่!!: ปลายาดและU · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tor (genus)สกุลปลายาดสกุลปลาเวียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »