โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม

ดัชนี ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม

ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้ม (Midas blenny, Persian blenny) ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตั๊กแตนหิน (Blenniidae) เป็นปลาจำพวกปลาตั๊กแตนหิน หรือปลาเบลนนี่ มีลักษณะคล้ายปลาบู่ แต่ปากมีขนาดเล็ก เหนือตามีเส้นเป็นติ่งสั้น ๆ ไม่มีเกล็ด ครีบท้องเป็นเส้น ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางมีลักษณะเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ตามีสีน้ำเงินอมฟ้า ครีบหลังเป็นสีเหลืองทองขอบฟ้า ตอนหลังสีเหลืองทอง ส่วนท้องสีชมพู มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 12 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการัง อาศัยอยู่ตามซอกหิน กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ทะเลแดงจนถึงโพลีนีเซีย ในน่านน้ำไทยเป็นปลาที่พบได้ไม่บ่อย พบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

24 ความสัมพันธ์: ชวลิต วิทยานนท์พ.ศ. 2512พอลินีเชียพืดหินปะการังวงศ์ปลาบู่วงศ์ปลาตั๊กแตนหินสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสีชมพูสีทองสีน้ำเงินสีเหลืองสปีชีส์อันดับปลากะพงทะเลอันดามันทะเลแดงปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็มปลาเบลนนี่ปากแพลงก์ตอนเมตร

ชวลิต วิทยานนท์

ร.ชวลิต วิทยานนท์ ชวลิต วิทยานนท์ (ชื่อเล่น: แฟรงก์) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางวิทยาศาสตร์ทางทะเล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และค้นพบปลาชนิดใหม่จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงรวมกันแล้วถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และร่วมการค้นพบฟอสซิลเอปโคราช Khoratpithecus piriyai Chaimanee, Suteethorn, Jintasakul, Vidthayanon, Marandat & Jaeger, 2004 โดยมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะปลาในอันดับปลาหนัง มีผลงานการเขียนบทความตามวารสารต่าง ๆ เช่น สารคดี, Cichlid World เป็นต้น มีผลงานทางหนังสือ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า, ปลาน้ำจืดไทย (พ.ศ. 2544), คู่มือปลาน้ำจืด (พ.ศ. 2547), คู่มือปลาทะเล (พ.ศ. 2551), ปลาไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (พ.ศ. 2553) และมีผลงานทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น ซีดีฐานข้อมูลปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและสนับสนุนข้อมูลด้านอนุกรมวิธานปลาในการจัดนิทรรศการในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ของหน่วยราชการหลายแห่ง รวมถึงองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นองค์ความรู้ในการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำในท้องถิ่น เช่น บ้านกรูด บ่อนอก ลุ่มแม่น้ำสงคราม ปากมูล และเชียงของ เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์และอาจารย์พิเศษในสาขามีนวิทยาและสัตววิทยาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทางทะเลและแหล่งน้ำจืด ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (Worldwide Fund for Nature - WWF-Greater Mekong สำนักงานประเทศไทย) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำโครงงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมาธิการลุมแม่น้ำโขง (Environment Programme Mekong River Commission) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทน์ สปป.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและชวลิต วิทยานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2512

ทธศักราช 2512 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1969 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและพ.ศ. 2512 · ดูเพิ่มเติม »

พอลินีเชีย

นแดนพอลินีเชีย พอลินีเชีย หรือ พอลินีเซีย (Polynesia) คือภูมิภาคที่อยู่ในเขตโอเชียเนีย มหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือที่เรียกกันว่าสามเหลี่ยมโพลินีเซียน สำหรับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้ มีความเจริญสูงสุดในบรรดาภูมิภาคในโอเชียเนียทั้งหมด ซึ่งมีจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่หลายจักรวรรดิ มีวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นการเต้นรำเป็นต้น ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยดินแดนและประเทศทั้งหมด 4 ประเทศ 8 ดินแดน คือ.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและพอลินีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาบู่

วงศ์ปลาบู่ (Goby) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ทั้งในทะเลลึกกว่า 60 เมตร จนถึงลำธารบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และพบในประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gobiidae (/โก-บิ-ดี้/) มีลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เป็นปลากินเนื้อ กินแมลง, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาอื่นเป็นอาหาร วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ในทะเลและน้ำกร่อย พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด โดยเฉพาะเมนูอาหารจีน เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพง รวมทั้งมีสรรพคุณในการปรุงยา ในปลาชนิดที่มีขนาดเล็กและสีสันสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและวงศ์ปลาบู่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตั๊กแตนหิน

วงศ์ปลาตั๊กแตนหิน หรือ วงศ์ปลาตุ๊ดตู่ (Combtooth blennies, Scaleless blennies) เป็นวงศ์ของปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blenniidae (/เบลน-นิ-อิ-ดี้/) จัดเป็นปลาจำพวกปลาเบลนนี่ หรือปลาตั๊กแตนหิน มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรือปลาบู่ขนาดเล็ก มีหัวทู่ขนาดใหญ่ ดวงตากลมโตอยู่ด้านหน้าของส่วนหัว เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด มีก้านครีบแข็งจะฝังอยู่ที่ครีบท้อง มีก้านครีบอ่อน 2-4 อัน ครีบท้องเป็นเส้นขนาดเล็ก 2 เส้นแตกต่างจากปลาบู่ อยู่ด้านหน้าครีบอกหรือครีบหู มีก้านครีบแข็งขนาดเล็กที่ครีบหลัง 3-17 อัน มีก้านครีบอ่อน 9-119 อัน มีก้านครีบแข็งที่ครีบก้น 2 อัน ครีบหางเป็นวงกลม ปากอยู่ด้านล่างของส่วนหัว จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ชนิดที่ใหญ่ที่สุดยาวถึง 52 เซนติเมตร มีลักษณะเด่นอีกประการ คือ มีฟันแหลมคมคล้ายหวีติดแน่น หรือขยับกรามที่ขากรรไกรได้ บางชนิดเป็นฟันเขี้ยว สามารถที่จะกัดสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่ามากได้ เช่น ปลาอื่น หรือแม้แต่นักดำน้ำ ขณะที่บางสกุลจะมีต่อมพิษที่ฟันเขี้ยวนี้ ส่วนมากมีสีสันที่สวยงาม โดยเฉพาะในตัวผู้ เป็นปลาทะเลส่วนมาก กระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก และอินเดีย จะอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลในระดับความลึกตั้งแต่ 2-21 เมตร โดยหลบซ่อนอยู่ในซอกรูหินใต้น้ำ เป็นปลาที่มักไม่ค่อยอยู่นิ่ง จะว่ายเข้าว่ายออกรูที่อาศัยอยู่บ่อย ๆ หรือบางครั้งโผล่มาแต่หัวเพื่อสังเกตการณ์ มีพฤติกรรมวางไข่โดยตัวเมียวางไข่ในเปลือกหอยที่ว่างเปล่า ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันดูแลไข่ มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่พบได้ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืด หากินโดยกินตะไคร่น้ำเป็นหลัก แต่หลายชนิดก็สามารถที่จะกินเนื้อหรือสัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ หรือแม้แต่เศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือได้ โดยหากินใกล้ ๆ รูที่อาศัยอยู่ ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ ปัจจุบันพบแล้วมากกว่า 300 ชนิด ใน 57 สกุล นับว่ามากที่สุดในบรรดาปลาเบลนนี่ทั้งหมด ปลาในวงศ์นี้ มีความสำคัญในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมักที่จะนำมาเลี้ยงเพื่อทำความสะอาดตู้เลี้ยงเพื่อให้กำจัดตะไคร่น้ำ.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและวงศ์ปลาตั๊กแตนหิน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สีชมพู

ีชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีแดงและสีขาว ในบางครั้งจะถูกกล่าวถึงในลักษณะสีแดงอ่อน สีชมพูมักจะถูกใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กหญิง ซึ่งนิยมใช้ควบคู่กับ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ที่จะแสดงถึงเด็กชาย ในภาษาเหนือ เรียกสีชมพูว่า "จมออน" (จม-ออน).

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง

สีทอง เป็นสีเหลืองแกมส้ม และเป็นสีของทองคำในธรรมชาติ ทอง.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเบลนนี่

ปลาเบลนนี่ (Blennies) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blennioidei ปลาเบลนนี่ มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า "ปลาตั๊กแตนหิน" หรือ"ปลาตุ๊ดตู่" จากพฤติกรรมที่อาศัยและมุดไปมาอยู่ในรู เหมือนกับตุ๊ดตู่ มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวกลมยาวคล้ายปลาไหลหรือปลาบู่ แต่สั้นกว่ามาก มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ดวงตากลมโต ปากกว้าง ครีบหลังยาวต่อกันไปตลอดความยาวของลำตัว อาศัยอยู่ในรูหรือซอกหิน หรือเปลือกหอยที่ว่างเปล่า โดยจะโผล่มาแต่ส่วนหัวเพื่อสังเกตการณ์ เป็นปลาออกหากินในเวลากลางวัน โดยมักหากินตามพื้นทะเลใกล้ ๆ กับรูที่อาศัย ตัวผู้มีสีสันสดใสสวยกว่าตัวเมีย และมีขนาดใหญ่กว่าด้วย โดยมากเป็นปลากินพืชเป็นอาหาร มีอาหารหลัก คือ ตะไคร่น้ำ แต่ก็มีบางจำพวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยสามารถจำแนกวงศ์ของปลาเบลนนี่ ออกได้ทั้งหมด 6 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและปลาเบลนนี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและปาก · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาตั๊กแตนหินแปลงสีส้มและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ecsenius midas

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »