โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาซิวข้าวสาร

ดัชนี ปลาซิวข้าวสาร

ำหรับปลาทะเลขนาดเล็ก ดูที่: ปลากะตัก ปลาซิวข้าวสาร หรือ ปลาในนาข้าว (วงศ์: Adrianichthyidae; Ricefishes) เป็นชื่อวงศ์ของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีขนาดโดยเฉลี่ยไม่เกิน 9 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงญี่ปุ่น เกาะสุลาเวสี คาบสมุทรอินโดจีนจนถึงออสเตรเลีย เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Oryziidae แต่ปัจจุบันวงศ์นี้ได้กลายเป็นเพียงวงศ์ย่อยและสกุลหนึ่งของวงศ์นี้ มีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ คือ ไม่มีเส้นข้างลำตัว ช่องจมูกเปิดทะลุถึงก้น นัยน์ตาโต ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย ครีบหลังอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบหางมีทั้งปลายตรงและปลายกลมมน โดยปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ในนาข้าวที่ประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษ โดยชนิดที่ค้นพบล่าสุด พบที่ลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอีสานของไทย คือ ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม (Oryzias songkhramensis) เมื่อปี ค.ศ. 2010.

28 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2547พ.ศ. 2553การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาคอีสาน (ประเทศไทย)สกุล (ชีววิทยา)สกุลออรีเซียสสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาเข็มอินโดจีนอนุกรมวิธานต้นแบบ (ชีววิทยา)ประเทศญี่ปุ่นประเทศออสเตรเลียประเทศอินเดียประเทศไทยปลากะตักปลาที่มีก้านครีบปลาซิวข้าวสารปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่นปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงครามปลาน้ำกร่อยปลาน้ำจืดนาแม่น้ำโขงเกาะซูลาเวซีเมตร

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลออรีเซียส

กุลออรีเซียส เป็นสกุลของปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Oryzias (/ออ-รี-เซียส/) โดยมาจากภาษากรีกคำว่า ὄρυζα ซึ่งแปลว่า "ข้าว" อ้างอิงมาจากสถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ นาข้าว มีลักษณะสำคัญ คือ ขากรรไกรไม่ยืดหด ฐานด้านบนของครีบอกอยู่ใกล้แนวสันหลังของลำตัว ครีบหลังอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบก้นมีฐานยาว ครีบหางมีปลายกลมมน เป็นปลาที่เก็บไข่ไว้ใต้ครีบอก มีความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร ขนาดเต็มที่ไม่เกิน 9 เซนติเมตร โดยพบในแหล่งน้ำที่มีพรรณไม้น้ำมากมาย โดยมากพบในอุณหภูมิประมาณ 28 เซนติเมตร บ่อยครั้งที่พบในแหล่งน้ำที่มีค่าแร่ธาตุคาร์บอเนต และมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ประมาณ 7.5 และอาจพบได้ในน้ำกร่อยได้ด้วย มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงญี่ปุ่น, เกาะสุลาเวสี, คาบสมุทรอินโดจีนจนถึงออสเตรเลีย ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 32 ชนิด เป็นการพบได้ในประเทศไทย 6 ชนิด หน้า 26-27, สกุล Oryzias ปลาข้าวสาร โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและสกุลออรีเซียส · ดูเพิ่มเติม »

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

มโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนครปฐม จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มรับราชการที่กรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาเข็ม

อันดับปลาเข็ม เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beloniformes มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาขนาดเล็ก มักว่ายรวมฝูงหรือหากินกันบริเวณผิวน้ำ เมื่อตกใจสามารถกระโดดหรือเหินขึ้นเหนือผิวน้ำได้สูงและไกลเหมือนการบินของนกหรือแมลงได้ในบางวงศ์ มีลำตัวยาวมาก ยกเว้นในบางวงศ์ ลำตัวค่อนข้างยาว ลำตัวรูปเหลี่ยม ครีบท้องอยู่ตรงข้ามครีบก้นค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหูอยู่ระดับสูงของลำตัว ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งท้องริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างอาจยื่นยาว ถ้าไม่ยื่นยาวครีบหูหลังท้อง และครีบหางอาจขยายออกไป มีเกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ แบ่งออกเป็น 5 วงศ์ พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ได้แก.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและอันดับปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ต้นแบบ (ชีววิทยา)

ต้นแบบ (Biological type) คือสิ่งที่เป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกอ้างอิงถึงในการอธิบายลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ เป็นตัวแทนในการบ่งบอกถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ทั้งเรื่องความแตกต่างของลักษณะเพศ, ช่วงอายุ เป็นต้น สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพของเอกสารวิชาการที่กล่าวถึงและตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ได้ ใช้ในการเปรียบเทียบเมื่อมีการพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือในอีกทางหนึ่งเพื่อยุบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกันสองชนิด ในทางชีววิทยา ต้นแบบจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการตั้งชื่อทางอนุกรมวิธานตามระบบการตั้งชื่อ ต้นแบบอาจเป็น ตัวอย่าง ภาพวาด สิ่งมีชีวิต หรือรายละเอียดก็ได้ เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอนมีตัวอย่างหมายเลข 1886.6.24.20 ซึ่งเป็นตัวอย่างของเหยี่ยวลาย (Circus assimilis) ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างต้นแบบแรกของเหยี่ยวชนิดนี้ ชื่อ Circus assimilis โดยคำนิยามถึงชนิดของตัวอย่างที่พิเศษนี้ (assimilis หรือ adsimils แปลว่า คล้าย หรือ เหมือน ความหมาย คือ " ลักษณะคล้ายกับนกต้นแบบ ").

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและต้นแบบ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะตัก

ำหรับปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซิวข้าวสาร ปลาข้าวสาร ปลากะตัก หรือ ปลาไส้ตัน (Anchovy) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Stolephorus จัดอยู่ในวงศ์ปลาแมว (Engraulidae) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ลำตัวเรียวยาว แบนข้างมีสันหนามที่ท้อง ขากรรไกรบนยาวเลยหลังตา ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางเว้าลึก มีแถบสีเงินพาดตามแนวความยาวของลำตัว ปลากะตัก ในประเทศไทยเป็นพันธุ์ปลาขนาดเล็กกว่าปลากะตักประเทศอื่นๆ ซึ่งมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี เป็นปลาที่หากินตามผิวน้ำ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 0.5-1.5 ไมล์ทะเล ตามบริเวณชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ กินแพลงก์ตอนต่าง ๆ เป็นอาหาร ทั้งแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดอะตอม และแพลงก์ตอนสัตว์เช่น ตัวอ่อนของครัสเตเชียน, โคพีพอด หรือไข่ของหอยสองฝา เป็นต้น และสำหรับห่วงโซ่อาหารในทะเล ปลากะตักก็เป็นอาหารสำคัญของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่า เช่น แมวน้ำ, สิงโตทะเล, โลมา, วาฬ และปลาฉลาม ปลากะตัก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน่านน้ำของอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบ 11 ชนิด จากการศึกษาของ ทศพร วงศ์รัตน์ ในปี ค.ศ. 1985 จากทั้งหมด 20 ชนิด (เดิมมีอยู่ 18 ชนิด) เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญต่อมนุษย์ โดยสามารถนำไปแปรรูปต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น น้ำปลา, ปลาป่น, ปลาแห้ง, บูดู รวมทั้งการบริโภคสด ปลากะตัก นอกจากปลาไส้ตันแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ปลากล้วย, ปลาหัวอ่อน, ปลาจิ้งจั๊ง, ปลามะลิ, ปลาหัวไม้ขีด, ปลาเส้นขนมจีน, ปลายู่เกี้ย, ปลาเก๋ย เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ปลากะตักตากแห้งมีชื่อเรียกว่า ปลาข้าวสาร นิยมรับประทานเป็นกับแกล้มกับอาหารชนิดอื่น.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและปลากะตัก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวข้าวสาร

ำหรับปลาทะเลขนาดเล็ก ดูที่: ปลากะตัก ปลาซิวข้าวสาร หรือ ปลาในนาข้าว (วงศ์: Adrianichthyidae; Ricefishes) เป็นชื่อวงศ์ของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีขนาดโดยเฉลี่ยไม่เกิน 9 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงญี่ปุ่น เกาะสุลาเวสี คาบสมุทรอินโดจีนจนถึงออสเตรเลีย เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Oryziidae แต่ปัจจุบันวงศ์นี้ได้กลายเป็นเพียงวงศ์ย่อยและสกุลหนึ่งของวงศ์นี้ มีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ คือ ไม่มีเส้นข้างลำตัว ช่องจมูกเปิดทะลุถึงก้น นัยน์ตาโต ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย ครีบหลังอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบหางมีทั้งปลายตรงและปลายกลมมน โดยปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ในนาข้าวที่ประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษ โดยชนิดที่ค้นพบล่าสุด พบที่ลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอีสานของไทย คือ ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม (Oryzias songkhramensis) เมื่อปี ค.ศ. 2010.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและปลาซิวข้าวสาร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่น

ปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่น หรือ ปลาซิวข้าวสารจิ๋ว (Japanese rice fish, Japanese killifish; メダカ; โรมะจิ: Medaka) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) จัดเป็นปลาชนิดแรกที่ถูกค้นพบและศึกษาในวงศ์นี้ โดยพบในนาข้าวประเทศญี่ปุ่น อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ "ปลาข้าวสาร" หรือ "ปลาซิวข้าวสาร" และถือเป็นชนิดต้นแบบของสกุล Oryzias ด้วย เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร พบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส มีถิ่นกระจายพันธุ์ที่กว้างไกลมาก โดยพบได้ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่น, ยูเรเซีย, จีน, เกาหลี, ลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไท.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและปลาซิวข้าวสารญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม

ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม เป็นปลาสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่เพิ่งค้นพบได้ของโลก โดยนักมีนวิทยาชาวไทย ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม ได้รับการเปิดเผยจาก รองศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและปลาน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

นา

ทุ่งนา นา หมายถึงพื้นที่สำหรับปลูก หรือนาแบบขั้นบันไดข้าว โดยมีการไถนาให้ดินอ่อน และขุดคันดินสูงโดยรอบเพื่อกั้นน้ำเอาไว้เลี้ยงต้นข้าว ส่วนคำว่า "ทุ่งนา" นั้นเป็นคำเรียกกว้างๆ หมายถึง บริเวณที่นา หรือรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วยก็ได้.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและนา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซูลาเวซี

ซูลาเวซี (Sulawesi) หรือเดิมเรียกว่า เซเลบีส (Celebes) ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกส เป็นหนึ่งในเกาะซุนดาใหญ่ 4 เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมายังเกาะแห่งนี้ คือ กะลาสีเรือชาวโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. 2055 และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2212 เป็นต้นมา บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ได้ตั้งมั่นอยู่ที่มากัสซาร์ (Makassar) และเมื่อ พ.ศ. 2448 พื้นที่ทั้งเกาะกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิคมชาวดัตช์อินเดียตะวันออก กระทั่งอินโดนีเซียประกาศเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2498.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและเกาะซูลาเวซี · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาซิวข้าวสารและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Adrianichthyidaeวงศ์ปลาซิวข้าวสารวงศ์ปลาในนาข้าวปลาในนาข้าว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »