โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู

ดัชนี ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู หรือ ปลาฉลามหางยาวตาโต (Bigeye thresher shark, False thresher) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae) โดยคำว่า superciliosus ที่ใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาละตินคำว่า super หมายถึง "เหนือ" และ ciliosus หมายถึง "คิ้ว" อันหมายถึง ร่องที่อยู่เหนือดวงตา ปลาฉลามหางยาวตาโต มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับปลาฉลามหางยาวชนิดอื่นทั่วไป มีร่างกายสีเทาออกม่วงกลมกลืนไปกับสีของสภาพแวดล้อม มีดวงตากลมโตรูปลูกแพร์ขนาดใหญ่กว่าปลาฉลามหางยาวชนิดอื่น โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร นับว่าเป็นขนาดของตาของสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ใช่สัตว์จำพวกนก สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพของทะเลลึกที่มืดมิดที่มีปริมาณแสงน้อย นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่นกว่าอุณหภูมิของน้ำที่อาศัยอยู่ โดยจะมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 2-4 องศาเซลเซียส ปลาฉลามหางยาวตาโต จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 4.6 เมตร หรือเล็กกว่านี้ พบใหญ่ที่สุด 4.8 เมตร น้ำหนักประมาณ 360 กิโลกรัม ปลาฉลามหางยาวตาโต อาศัยอยู่ในมหาสมุทรที่มีความลึกกว่า 500 เมตร น้ำมีอุณหภูมิเย็น พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่จะพบได้บ่อยที่มหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงบางส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียด้วย เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ล่าปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร โดยใช้ครีบหางท่อนบนที่ยาวใหญ่นั้นตีไล่เหยื่อ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 12-13 ปีในตัวเมีย และ 9-10 ปีในตัวผู้ ลูกปลาเกิดใหม่มีความยาว 70-106 เซนติเมตร โดยเกิดเป็นตัวจากไข่ในช่องท้องของปลาตัวแม่ เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ถูกจับและใช้ประโยชน์ในทางการประมง และก็ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก.

12 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคภาษาละตินมหาสมุทรแอตแลนติกวัยเริ่มเจริญพันธุ์สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับปลาฉลามขาวองศาเซลเซียสปลากระดูกอ่อนปลาฉลามหางยาว

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

วัยเริ่มเจริญพันธุ์

วัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งกายของเด็กเจริญเต็มที่สู่กายผู้ใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้พร้อมแก่การปฏิสนธิได้ วัยเริ่มเจริญพันธุ์เริ่มจากสัญญาณฮอร์โมนจากสมองไปยังต่อมบ่งเพศ คือ รังไข่ในเด็กหญิงและอัณฑะในเด็กชาย ต่อมบ่งเพศสนองต่อสัญญาณดังกล่าวโดยผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ (libido) และการเติบโต การทำหน้าที่และการแปรรูปของสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ผิวหนัง ขน หน้าอกและอวัยวะเพศ การเติบโตทางกาย ความสูงและน้ำหนัก เร่งเร็วขึ้นในครึ่งแรกของวัยเริ่มเจริญพันธุ์และเสร็จเมื่อเด็กนั้นพัฒนากายผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์อย่างเดียว คือ อวัยวะเพศภายนอก จนกว่ามีการเจริญเต็มที่ของสมรรถภาพสืบพันธุ์ โดยเฉลี่ย เด็กหญิงเริ่มวัยเริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–11 ปี เด็กชายเริ่มที่อายุ 11–12 ปี ปกติเด็กหญิงเสร็จวัยริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 15–17 ขณะที่เด็กชายปกติเสร็จเมื่ออายุ 16–17 ปี จุดกำหนดสำคัญของวัยเริ่มเจริญพันธุ์ของหญิง คือ การเริ่มแรกมีระดู หรือการเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยเกินระหว่างอายุ 12–13 ปี สำหรับชายเป็นการหลั่งน้ำกามครั้งแรก ซึ่งเฉลี่ยเกิดเมื่ออายุ 13 ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อายุเฉลี่ยซึ่งเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กหญิง ถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้แก่ 15 ปีสำหรับเด็กหญิง และ 16 ปีสำหรับเด็กชาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเนื่องจากหลายปัจจัย รวมถึงโภชนาการที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลให้ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักและการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น หรือการสัมผัสกับตัวรบกวนฮอร์โมน เช่น ซีโนเอสโตรเจน ซึ่งบางครั้งอาจเนื่องจากการบริโภคอาหารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น วัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่เริ่มเร็วกว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย ส่วนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ซึ่งเริ่มช้ากว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงกายสัณฐานวิทยาในขนาด รูปทรง องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของกายวัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่โดดเด่น คือ การพัฒนาลักษณะทางเพศทุติยภูมิ คือ การเปลี่ยนจากกายเด็ก จากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว จากเด็กชายเป็นชายหนุ่ม คำว่า วัยเริ่มเจริญพันธุ์อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสู่การเจริญเต็มที่ทางเพศ มิใช่การเจริญเต็มที่ทางจิตสังคมและวัฒนธรรมซึ่งแสดงด้วยคำว่า "พัฒนาการเยาวชน" ในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเยาวชน คือ ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางจิตใจจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งทับซ้อนกับช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์เสียมาก หมวดหมู่:เยาวชน หมวดหมู่:การเจริญของมนุษย์ หมวดหมู่:เพศสภาพกับอายุ.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและวัยเริ่มเจริญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามขาว

อันดับปลาฉลามขาว (Mackerel shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lamniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดเหงือกด้านละ 5 ช่อง ช่องเปิดเหงือกช่องที่ 4 และช่องที่ 5 อยู่เหนือฐานของครีบอก ไม่มีช่องรับน้ำบริเวณด้านหลังของตาหรือถ้ามีจะมีขนาดเล็ก จมูกไม่มีหนวด และไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูก และปาก nตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัวเยื้องขึ้นมาทางด้านบนเล็กน้อย ครีบหลังทั้งสองครีบไม่มีหนามแข็งอยู่ทางด้านหน้า มีครีบหลัง 2 ครีบ มีครีบก้น ปากกว้างเป็นแบบพระจันทร์เสี้ยวมุมปากอยู่ทางด้านหลังของตา จะงอยปากแหลมเป็นรูปกรวย มีทั้งหมดทั้งสิ้น 7 วงศ์ 60 ชนิดที่ยังคงมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและอันดับปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางยาว

ปลาฉลามหางยาว (Thresher shark, Long-tailed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนประเภทปลาฉลามวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Alopiidae ในอันดับปลาฉลามขาว (Lamniformes) โดยมีเพียงสกุลเดียว คือ Alopias แม้ว่าปลาฉลามหางยาวจะอยู่ในอันดับเดียวกันกับปลาฉลามขาว แต่ปลาฉลามหางยาวมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นปลาที่ขี้อาย หาตัวพบเห็นได้ยากมาก แม้ว่าจะพบได้ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก แต่สถานที่ ๆ พบเห็นตัวได้มีเพียงไม่กี่แห่ง ปลาฉลามหางยาว มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเพรียวยาวทรงกระสวย ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ แต่มีปากขนาดเล็กและส่วนหัวที่กลมเล็ก ลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ครีบหางตอนบนยาวมากอันเป็นลักษณะเด่นและเป็นที่มาของชื่อ ยามเมื่อว่ายน้ำครีบหางส่วนนี้สามารถขยับขึ้นลงได้ด้วย ครีบอกมีขนาดใหญ่ ปลาฉลามหางยาว มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมากเช่นเดียวกับปลาฉลามทั่วไป เป็นปลาที่ล่าปลาชนิดอื่นในแนวปะการังกินเป็นอาหาร สามารถพบได้ในระดับความลึกกว่า 150 เมตร จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยาก โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อที่พบเห็นได้บ่อย คือ เกาะมาลาปัสกัว ที่อยู่ทางเหนือของเกาะเซบู ของทะเลฟิลิปปิน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและปลาฉลามหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Alopias superciliosusBigeye thresherBigeye thresher sharkFalse ThresherFalse Thresher sharkฉลามหางยาวหน้าหนูฉลามหางยาวตาโตปลาฉลามหางยาวตาโต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »