โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามกรีนแลนด์

ดัชนี ปลาฉลามกรีนแลนด์

ปลาฉลามกรีนแลนด์ (Greenland shark, Gray shark, Ground shark, Gurry shark) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม ในวงศ์ปลาฉลามสลีปเปอร์ (Somniosidae) ปลาฉลามกรีนแลนด์ เป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง นับว่ารองมาจากปลาฉลามขาว เพราะอาจยาวได้ถึง 24 ฟุต และมีน้ำหนักได้ถึง 2,500 ปอนด์ แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปยาว 2.44–4.8 เมตร (8.0–16 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม (880 ปอนด์) ปลาฉลามกรีนแลนด์มีผิวหนังที่หนาหยาบเหมือนกระดาษทรายสีเทาเข้มเกือบดำ ครีบหลังเป็นเพียงโหนกสั้น ๆ ไม่เหมือนกับปลาฉลามทั่วไป มีขากรรไกรกว้าง มีฟันที่แหลมคมเรียงกันเป็นแถว บนขากรรไกรบน 48–52 ซี่ ในขณะที่ขากรรไกรล่างมีประมาณ 50–52 ซี่ ใช้สำหรับจับอาหารให้แน่นและงับเหยื่อ รวมทั้งสะบัดให้ขาด ลักษณะกรามและฟันของปลาฉลามกรีนแลนด์ ปลาฉลามกรีนแลนด์ พบกระจายพันธุ์อยู่ในแถบน้ำที่หนาวเย็นมีอุณหภูมิเพียง 10 ถึง -6 องศาเซลเซียส ในแถบอาร์กติก เช่น กรีนแลนด์, ไอซ์แลนด์ หรือนอร์เวย์ นับว่าเป็นปลาฉลามที่อาศัยอยู่ในซีกโลกตอนเหนือที่สุด นอกจากนี้แล้วยังอาศัยอยู่ในความลึกกว่า 2,000 ฟุตจากผิวน้ำ ดังนั้น วงจรชีวิตของปลาฉลามกรีนแลนด์จึงยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เชื่อว่ากินปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามพื้นทะเลเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ขนาดใหญ่ที่ตายลงน้ำด้วย เช่น หมีขั้วโลก, ม้า หรือ กวางแคริบู เนื่องจากมีการผ่าพบซากสัตว์เหล่านี้ในกระเพาะอาหาร และเชื่อว่าด้วยขนาดและรูปร่าง กอรปกับถิ่นที่อยู่อาศัยจึงเป็นต้นเหตุของความเชื่อเรื่องสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ในแม่น้ำหรือมหาสมุทรในแถบซีกโลกทางเหนือ เช่น สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ เนื้อปลาฉลามกรีนแลนด์แขวนตาก หรือฮัลกาติ ที่ไอซ์แลนด์ แม้จะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ทว่าชาวไวกิ้งหรือชาวไอซ์แลนด์ได้รับประทานเนื้อของปลาฉลามกรีนแลนด์มานานนับเป็นพันปีแล้ว โดยมีชื่อเรียกในภาษาอินุอิตว่า "Eqalussuaq" โดยมีการทำการประมงจนเป็นอุตสาหกรรม โดยเรือประมงที่ใช้เอ็นเบ็ดน้ำลึกยาวถึง 1 ไมล์ หรือ 1 ไมล์ครึ่ง และมีระยะเวลาการออกเรือเป็นช่วงเวลา ซึ่งอาจทิ้งเวลานานถึงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน เนื้อของปลาฉลามกรีนแลนด์เมื่อรับประทานสด ๆ จะมีสภาพเป็นพิษ ต้องผ่านกระบวนการถนอมอาหาร เช่น หมัก และ ตากแห้ง เรียกในภาษาไอซ์แลนด์ว่า ฮัลกาติ (Hákarl) เป็นระยะเวลานานก่อนจึงจะสามารถรับประทานได้ เนื้อเมื่อหั่นมาแล้วจะมีสีขาวบาง กระนั้นก็ยังคงมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นปัสสาวะอยู่ดี เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก็ยังคงมีกลิ่นติดอยู่ในปากไปอีกนาน Legend of Loch Ness, "River Monsters".

14 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคชาวไวกิงพ.ศ. 2301ภาษาไอซ์แลนด์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาฉลามหลังหนามคาโรลัส ลินเนียสปลากระดูกอ่อนปลาทะเลลึกปลาฉลามปลาฉลามขาวปัสสาวะเนสซี

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไอซ์แลนด์

ษาไอซ์แลนด์ (íslenska อีสฺแลนฺสฺกา) เป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือ ภาษาราชการของประเทศไอซ์แลนด์ มีผู้พูดประมาณ 300 000 คน ภาษาไอซ์แลนด์เป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือที่ใกล้เคียงกับภาษานอร์สโบราณมากที่สุด ภาษาไอซ์แลนด์ยังคงรูปแบบทางไวยากรณ์หลายอย่างของภาษาเจอร์แมนิกแบบโบราณ โดยยังคงการผันคำที่ซับซ้อน.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และภาษาไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามหลังหนาม

อันดับปลาฉลามหลังหนาม (Dogfish shark, วงศ์: Squaliformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Squaliformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวเป็นรูปกรวยไม่แผ่ออกทางด้านข้าง ช่องรับน้ำด้านหลังตามีขนาดเล็กจนถึงมีขนาดใหญ่ จมูกและปากไม่มีร่องเชื่อมติดต่อกัน ตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ปากค่อนข้างกว้างและโค้ง มีหนังที่บริเวณมุมปาก ฟันมีขนาดค่อนข้างใหญ่มีหลายขนาด มีครีบหลัง 2 ตอน ด้านหน้าครีบหลังอาจมีหรือไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง ไม่มีครีบก้น ส่วนใหญ่เป็นปลาฉลามที่มีขนาดเล็ก แบ่งออกได้เป็น 7 วงศ์ 97 ชน.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และอันดับปลาฉลามหลังหนาม · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทะเลลึก

ปลาไหลกัลเปอร์หนึ่งในปลาน้ำลึกรูปร่างประหลาด ปลาทะเลลึก (Deep sea fish) คือปลาที่พบได้ในทะเลลึกและแสงแดดส่องไม่ถึงจากการสำรวจปลาทะเลลึกนั้นจะมีจำนวนคิดเป็น 2% จากสายพันธ์และสิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมดโดยพวกมันจะอาศัยอยู่ในก้นสมุทรที่มืดมิด โดยทั่วไปปลาทะเลลึกจะพบอยู่ได้ตั้งแต่ความลึก 1,000-4,000 เมตรหรือบางชนิดอาจอยู่ได้ลึกถึง 4,000-6,000 เมตร ปลาที่เรืองแสงได้ส่วนใหญ่จะพบในระดับความลึกประมาณ 200-1,000 เมตร ระดับความลึกที่มีออกซิเจนน้อยมากจะอยู่ที่ระดับ 700-1,000 เมตรแต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่นั้นด้วยว่ามีแหล่งผลิตออกซิเจนหรือไม่ ซึ่งจากความลึกของสถานที่แห่งนั้นมีทั้งความมืดมิดและหนาวเย็นถึง 3 องศาเซลเซียสจนถึง -1.8 องศาเซลเซียส อีกทั้งยังมีแรงกดดันของน้ำจำนวนมหาสารขนาดความดันระหว่าง 20 ถึง 1,000 เท่าของบรรยากาศ (ระหว่าง 2 ถึง 100 megapascals)จึงเป็นสถานที่ ๆ ยากต่อการสำรวจ ปลาทะเลลึกนั้นจะมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานน้อยลง ขนาดเล็กลง มีปากและกระเพาะขนาดใหญ่ มีการเรืองแสงเพื่อหลอกล่อเหยือซึ่งแตกต่างจากปลาผิวน้ำแต่ถึงอย่างนั้นโครงสร้างทางกายภาพเช่นการหายใจ ขับน้ำ การหายใจยังคงเหมือนปลาทะเลแต่จะมีการวิวัฒนาการแปลก ๆ เพื่อให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ถึงอย่างนั้นทะเลลึกก็ยังมี่แหล่งอาหารจากปล่องแบบน้ำร้อนและซากสัตย์จากทะเลด้านบน.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และปลาทะเลลึก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาว (Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเป็นสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์อยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นปลาที่ถือกำเนิดมาแล้วนานกว่า 16 ล้านปี.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปัสสาวะ

ตัวอย่างปัสสาวะมนุษย์ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่, เยี่ยว หรือ เบา) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือ.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

เนสซี

รคดี เนสซี หรือ สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ (Nessie, Loch Ness Monster) คือสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าอาศัยอยู่ในทะเลสาบเนสส์ (ล็อกเนสส์) ในสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ปลาฉลามกรีนแลนด์และเนสซี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Greenland sharkSomniosus microcephalusSqualus microcephalus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »