โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาขี้ตังเบ็ดลาย

ดัชนี ปลาขี้ตังเบ็ดลาย

ปลาขี้ตังเบ็ดลาย (Clown surgeonfish, Lined surgeonfish, Striped surgeonfish) หรือที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า ปลาเซอร์เจี้ยนลาย เป็นปลาทะเลที่มีความสวยงามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) มีสีสันและลวดลายที่สวยงามหลากหลายบนลำตัว ที่เป็นลายเส้นในแนวนอนทั้งเขียว, เหลือง, ดำ และน้ำเงิน พาดไปตามลำตัวตั้งแต่หัวจรดหาง ครีบหางแฉกปลายแหลมทั้งสองข้าง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 38 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังของเขตอบอุ่นตั้งแต่ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก จนถึงทะเลอันดามัน และอินโด-แปซิฟิก มีพฤติกรรมชอบที่อาศัยอยู่เพียงตัวเดียว หรือรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยมีตัวผู้เพียงตัวเดียว รวมกับตัวเมียหลายตัว โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียและเจริญเติบโตเร็วกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด เมื่อผสมพันธุ์จะกระทำในคืนที่พระจันทร์เต็มดวง ที่น้ำขึ้นอย่างเต็มที่ ด้วยการปล่อยไข่และอสุจิให้ปฏิสนธิกันในกระแสน้ำ และปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปกับกระแสน้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักออกมาเป็นตัว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน เช่น ปลาขี้ตังเบ็ดโซฮาล (A. sohal) หรือปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า (Paracanthurus hepatus) แต่จัดเป็นปลาที่เลี้ยงได้ยากชนิดหนึ่ง เนื่องจากปลาที่ถูกจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติมักไม่ค่อยยอมรับอาหารและไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในที่เลี้ยงได้ จะมีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถจะยอมกินอาหารได้ และในอีกหลาย ๆ ตัวเมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่ง กลับตายอย่างไร้สาเหต.

13 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2301พืดหินปะการังวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ดสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงทะเลอันดามันคาโรลัส ลินเนียสปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาขี้ตังเบ็ดปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าแอฟริกาตะวันออก

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด

วงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Surgeonfish, Tang, Lancetfish, Unicornfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Acanthuridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวสั้นหรือค่อนข้างยาวรูปไข่ ด้านข้างแบน ส่วนหลังและส่วนท้องโค้งเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กมากเป็นแบบบางเรียบ มีก้านครีบที่โคนหางสามารถขยับได้ ปากมีขนาดเล็ก มีฟันแบบฟันตัดเพียงแถวเดียว ไม่มีฟันที่เพดานปาก จะงอยปากไม่มีลักษณะเป็นท่อสั้น ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 4-9 ก้าน ไม่แยกจากครีบอ่อน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2-3 ก้าน เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ครีบหางตัดตรงหรือเว้าแบบพระจันทร์เสี้ยว เกล็ดบนลำตัวบางครั้งพบว่าค่อนข้างหยาบ ในขณะที่อายุยังน้อยไม่มีเกล็ด ลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ คือ มีเกล็ดที่พัฒนาบริเวณส่วนโคนหางและครีบหางที่มีขนาดเล็กแต่แหลมคมมาก ใช้สำหรับป้องกันตัวและเป็นที่มาของชื่อเรียก และเป็นส่วนสำคัญในการอนุกรมวิธาน กินสาหร่าย และหญ้าทะเลที่ขึ้นอยู่บนหิน และปะการังเป็นอาหาร หรือบางชนิดกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร ส่วนใหญ่มีสีสันที่สวยสดงดงาม มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 83 ชนิด มีขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป 15-40 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม กระจายพันธุ์อยู่ในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขี้ตังเบ็ด

ปลาขี้ตังเบ็ด หรือ ปลาเซอร์เจี้ยน (Lancetfish, Surgeonfish, Tang) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในสกุล Acanthurus (/อะ-แคน-ทู-รัส/) ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) เป็นปลาที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ จัดเป็นสกุลต้นแบบของวงศ์นี้ โดยรวมแล้วมีขนาดกว่าสกุลอื่น ๆ มักกินสาหร่ายเส้นใยเป็นอาหาร มักอาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ บางครั้งจะว่ายรวมตัวกันกับปลาในวงศ์อื่น เช่น วงศ์ปลานกแก้ว (Scaridae) พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแนวปะการัง ของทะเลและมหาสมุทรแถบอินโด-แปซิฟิก มีขนาดตั้งแต่ 15-50 เซนติเมตร (5.9-19.7 นิ้ว) เป็นปลาที่มีสีสันหรือลวดลายสดใสสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในวงการว่า "ปลาแทงค์" นอกจากนี้แล้ว ปลาในสกุลนี้ บริเวณโคนหางยังมีหนามแหลมที่เมื่อสัมผัสกับมือเปล่า ๆ ทำให้เกิดบาดแผลได้ และหนามดังกล่าวยังมีพิษ พิษของปลาขี้ตังเบ็ดมีฤทธิ์คล้ายกับพิษของกลุ่มปลากะรังหัวโขนหรือปลาสิงโต แต่มีความรุนแรงน้อยกว.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและปลาขี้ตังเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า

ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า หรือชื่อที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า ปลาบลูแทง (blue tang, regal tang, palette surgeonfish, royal blue tang, hippo tang, flagtail surgeonfish, blue surgeonfish, Pacific regal blue tang) เป็นปลาทะเลที่อาศัยตามแนวปะการังที่มีสีสันสดใส จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จัดอยู่ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล ParacanthurusFroese, Rainer, and Daniel Pauly, eds.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังเบ็ดลายและแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Acanthurus lineatusปลาเซอร์เจียนลายปลาเซอร์เจี้ยนลาย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »