โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กวางรูซาชวา

ดัชนี กวางรูซาชวา

กวางรูซาชวา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กวางรูซา (Javan rusa) เป็นกวางชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดที่เกาะชวาของอินโดนีเซีย ลักษณะโดยทั่วไป คือเป็นกวางขนาดกลาง ลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง-น้ำตาลเทา บริเวณใต้คอและใต้ท้องมีสีน้ำตาลอ่อน เพศเมียจะมีสีอ่อนกว่าเพศผู้ น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ของตัวผู้ประมาณ 120-160 กิโลกรัม ตัวเมีย 65-90 กิโลกรัม ความยาวรอบตัว 1.3-2.5 เมตร ความยาวหาง 10-30 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีความสูงเท่ากับ 110 เซนติเมตรและ 90 เซนติเมตรตามลำดับ การจำแนกแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อย ดังนี้.

13 ความสัมพันธ์: ชื่อตั้งไร้คำบรรยายชนิดย่อยกวางกวางรูซาวงศ์ย่อยกวางสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหมู่เกาะโมลุกกะอันดับสัตว์กีบคู่เกาะติมอร์เกาะซูลาเวซีเขากวาง

ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย

ื่อตั้งไร้คำบรรยาย (Nomen nudum) เป็นคำในภาษาละตินที่แปลว่า "ชื่อที่ปราศจาก" ใน อนุกรมวิธาน ถูกใช้เพื่อแสดงถ้อยคำที่ดูเหมือน ชื่อวิทยาศาสตร์และมีความมุ่งหมายให้มันเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา แต่ยังไม่สามารถเป็นได้เพราะที่มีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ออกไปยังไม่มีรายละเอียดที่เพียงพอ และด้วยเหตุนี้จึงเป็น "ปราศจาก" เพราะ ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย ยังไม่ใช่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ผู้เขียนสามารถตีพิมพ์ลงไปให้ถูกต้องได้ ถ้าผู้เขียนตีพิมพ์โดยใช้ชื่อ ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย เป็นคนแรก และภายหลังถูกรับรองด้วยรายละเอียดที่ใช้ได้และเหตุผลที่เพียงพอ วันที่ตีพิมพ์, เหตุผล, รายละเอียด จะกลายเป็นวันที่ที่อนุกรมวิธานตั้งชื่อนี้ขึ้น ของระบบชื่ออนุกรมวิธานสัตว์สากล (International Code of Zoological Nomenclature (ICZN)) ให้นิยามว่า: และระเบียบของระบบชื่ออนุกรมวิธานสัตว์: อภิธานของระบบชื่ออนุกรมวิธานพืชสากล (International Code of Botanical Nomenclature (ICBN)) ให้นิยามว่า.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและชื่อตั้งไร้คำบรรยาย · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

กวาง

กวางเรนเดียร์ หรือกวางแคริบู (''Rangifer tarandus'') ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือ กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและกวาง · ดูเพิ่มเติม »

กวางรูซา

กวางรูซา (Rusa) เป็นสกุลของกวางในสกุล Rusa พบกระจายพันธฺุ์ในทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย มักจะได้รับการจัดให้อยู่ในสกุล Cervus แต่จากการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า สมควรจัดให้อยู่ในสกุลนี้ แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด โดย 3 ชนิดมีการกระจายค่อนข้างแคบในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย แต่จะมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทางด้านอินเดียตะวันออกและทางตอนใต้ของจีนและทิศใต้ของหมู่เกาะซุนดา ทั้งหมดกำลังถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยและการล่าสัตว.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและกวางรูซา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยกวาง

วงศ์ย่อยกวาง หรือ วงศ์ย่อยกวางโลกเก่า (Old World deer, Plesiometacarpal deer) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคู่ ในวงศ์ Cervidae หรือ กวาง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cervinae โดยกวางในวงศ์ย่อยนี้ จะเป็นกวางชนิดที่พบในซีกโลกที่เรียกว่าโลกเก่า คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ยุโรป โดยเป็นสัตว์ที่อาศัยและปรับตัวอยู่ได้ในหลายภูมิประเทศ เช่น ทุ่งหญ้า, ทะเลทราย, ที่ราบต่ำ หรือแม้แต่พื้นที่ชุ่มน้ำ สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 เผ่าใหญ่ ๆ คือ Cervini หรือ กวางแท้ และ Muntiacini หรือ เก้ง.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและวงศ์ย่อยกวาง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะโมลุกกะ

หมู่เกาะโมลุกกะ (Moluccas) หรือ หมู่เกาะมาลูกู (Maluku Islands) เป็นหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมลายู ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย ทางด้านตะวันออกของเกาะซูลาเวซี (เซเลบีส) ทางด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี และทางเหนือของติมอร์ ในอดีตนั้น ชาวจีนและชาวยุโรปเรียกหมู่เกาะนี้ว่า หมู่เกาะเครื่องเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขา บางส่วนยังเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ และมีสภาพภูมิอากาศที่ชื้น พืชพรรณอุดมสมบูรณ์ แม้จะอยู่บนเกาะที่เล็ก แคบ และล้อมรอบด้วยทะเล อาทิ ป่าฝน สาคู ข้าว และเครื่องเทศต่าง ๆ (เช่น ลูกจันทน์เทศ กานพลู และดอกจันทน์เทศ) ถึงแม้ว่าชาวเมลานีเซียนจะเป็นประชากรส่วนใหญ่แต่เดิมโดยเฉพาะบนเกาะบันดา แต่ก็ถูกสังหารในช่วงศตวรรษที่ 17 การอพยพเข้ามาของชาวมลายูในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในช่วงที่ชาวดัตช์ปกครองอยู่ และต่อเนื่องมาจนถึงยุคที่เป็นประเทศอินโดนีเซียแล้ว ในทางการเมือง หมู่เกาะโมลุกกะเป็นจังหวัดหนึ่งในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึงปี พ.ศ. 2542 มาลูกูเหนือและฮัลมาเฮรากลางถูกแยกออกเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนั้น หมู่เกาะนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 จังหวัด คือ มาลูกู (Maluku) และมาลูกูเหนือ (North Maluku) ระหว่างปี 2542 ถึง 2545 เป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ แต่ก็เพิ่งกลับมาสงบสุขเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านม.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและหมู่เกาะโมลุกกะ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะติมอร์

เกาะติมอร์ เกาะติมอร์ เป็นเกาะที่อยู่ใต้สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทะเลติมอร์ พื้นที่บนเกาะแบ่งได้เป็นสองส่วน ได้แก่ติมอร์-เลสเตซึ่งเป็นรัฐอิสระ และติมอร์ตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก เกาะติมอร์มีพื้นที่ 30,777 ตารางกิโลเมตร ชื่อของเกาะมาจากคำว่า ตีมูร์ (timur) ในภาษามลายู ซึ่งแปลว่า ตะวันออก เพราะเกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของหมู่เกาะซุนดาน้อย หมวดหมู่:เกาะติมอร์.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและเกาะติมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซูลาเวซี

ซูลาเวซี (Sulawesi) หรือเดิมเรียกว่า เซเลบีส (Celebes) ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกส เป็นหนึ่งในเกาะซุนดาใหญ่ 4 เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมายังเกาะแห่งนี้ คือ กะลาสีเรือชาวโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. 2055 และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2212 เป็นต้นมา บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ได้ตั้งมั่นอยู่ที่มากัสซาร์ (Makassar) และเมื่อ พ.ศ. 2448 พื้นที่ทั้งเกาะกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิคมชาวดัตช์อินเดียตะวันออก กระทั่งอินโดนีเซียประกาศเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2498.

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและเกาะซูลาเวซี · ดูเพิ่มเติม »

เขากวาง

ในระยะใกล้ของเขากวางแดง (''Cervus elaphus'') ซึ่งมีหนังหุ้มเขาที่มีความหนานุ่มคล้ายกำมะหยี่ ชนิด เขากวาง (Antler) คือ เขาสัตว์ของสัตว์เคี้ยวเอื้องจำพวกกวาง (Cervidae).

ใหม่!!: กวางรูซาชวาและเขากวาง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cervus timorensisRusa timorensisกวางรูซาซุนดา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »