โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แพทย์

ดัชนี แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

21 ความสัมพันธ์: พยาบาลพยาธิวิทยากุมารเวชศาสตร์รังสีวิทยาวิสัญญีแพทย์ศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์สัตวแพทย์สูตินรีเวชวิทยาอายุรศาสตร์ผู้ป่วยจักษุวิทยาจิตแพทย์จิตเวชศาสตร์ทันตแพทย์แพทยศาสตร์แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูโสตศอนาสิกวิทยาเภสัชกรเวชศาสตร์ฟื้นฟูเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

พยาบาล

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นางพยาบาลที่มีชื่อเสียงของโลก พยาบาล (อาจเรียกว่า นางพยาบาล หรือ บุรุษพยาบาล) เป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย พยาบาลพบได้ทั่วไปทำงานตามโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลอื่น ๆ พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ก่อนจะปฏิบัติงานจะต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนความรู้จากสภาการพยาบาลก่อนจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยพยาบาลสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ตามหลักการพยาบาลที่ได้เรียนมา เป็นเวลา 4 ปีสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลมีมากมายในประเทศไทยทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน พยาบาลในปัจจุบันมักจะสวมชุดพยาบาลที่เป็นสีขาว หรือมีสีขาว และสวมหมวกที่มีลักษณะเฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม พยาบาลในบางประเทศ หรือในบางวัฒนธรรมอาจใช้ชุดพยาบาลสีอื่น.

ใหม่!!: แพทย์และพยาบาล · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ใหม่!!: แพทย์และพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

กุมารเวชศาสตร์

การตรวจร่างกายเด็ก กุมารเวชศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์แก่ทารก, เด็ก, และวัยรุ่น กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีขึ้นกับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภา คำว่า pediatrics มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก παῖdh pais แปลว่าเด็ก และ ἰατρός iatros แปลว่าแพทย์หรือผู้รักษา เมื่อรวมกันจึงแปลว่า ผู้ที่รักษาเด็ก สำหรับในภาษาไทย "กุมาร" หมายถึง เด็กเล็ก ซึ่งมาจากภาษาบาลี หมายถึง "เด็กผู้ชาย" หรือ "บุตรชาย".

ใหม่!!: แพทย์และกุมารเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีวิทยา

''Dr. Macintyre's X-Ray Film'' (1896) รังสีวิทยา (Radiology)เป็นสาขาทางการแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งทีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพในส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยเครื่องมือ พิเศษต่างๆในทางการแพทย์โดยเฉพาะการใช้ รังสีเอกซ์ (x-ray) รังสีแกมมา (Gamma ray)จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging)เป็นต้น และ/หรือใช้ในการรักษาก็ได้ แพทย์เฉพาะทางที่อยู่ในสาขานี้เรามักเรียกกันว่า รังสีแพทย์ โดยทั่วไปบุคคลใดที่ต้องการจะเป็นรังสีแพทย์ต้องเรียนจบได้รับ ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต ตามกฎของแพทย์สภาเสียก่อนจึงจะสามารถมาขอสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในสาขาวิชานี้ได้ โดยใช้เวลาศึกษาต่ออีก 3 ปี ในกรณีที่เป็นแพทย์ประจำบ้านหรือที่เรามักเรียกกันว่า residency training และสามารถศึกษาต่อยอดเป็นอนุสาขาหรือที่เรียกว่า fellowship training ได้อีก 1-2 ปี แล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: แพทย์และรังสีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

วิสัญญีแพทย์

วิสัญญีแพทย์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน)) คือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ โดยมักทำงานร่วมกับแพทย์ผ่าตัดเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บปวดของคนไข้ก่อนทำการผ่าตัดเพียงชั่วคราว ผู้ที่จะเป็นวิสัญญีแพทย์ได้ต้องจบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตก่อน แล้วจึงจะมาต่อเฉพาะทาง สาขาวิสัญญีวิทยา ใช้เวลาศึกษาประมาณ3ปี ส่วนพยาบาลก็สามารถเรียนรู้ฝึกทักษะเกี่ยวกับวิสัญญีวิทยาได้ โดยการฝึกเป็นวิสัญญีวิทยา ใช้เวลาในการศึกษษประมาณ1ปีและทำงานภายในการควบคุมดูแลของวิสัญญีแพทย์ หมวดหมู่:อาชีพ หมวดหมู่:วิสัญญีวิทยา หมวดหมู่:แพทย์เฉพาะทาง หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง หมวดหมู่:วิสัญญีแพทย์ sl:Anesteziolog.

ใหม่!!: แพทย์และวิสัญญีแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: แพทย์และศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์

ต้นไม้บนหน้าปกหนังสือ ''Orthopaedia'' ของนิโกลาส์ แอนดรี หรือที่รู้จักว่า ต้นไม้ของแอนดรี (Andry tree) นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์สากลของวิชาออร์โทพีดิกส์ ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ หรือ ออร์โทพีดิกส์ (Orthopedic surgery, Orthopaedic surgery, Orthopedics, Orthopaedics) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยแบ่งสาขาวิชาย่อยดังนี้.

ใหม่!!: แพทย์และศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตวแพทย์

ัตวแพทย์ สัตวแพทย์ คือ แพทย์ที่รักษาสัตว์ หรือกล่าวแบบภาษาชาวบ้านว่า "หมอรักษาสัตว์" โดยคำว่า veterinarian นิยมใช้ในอเมริกาเหนือ ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยโทมัส บราวน์ (Thomas Browne) หรือ veterinary surgeon นิยมใช้ในยุโรป ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ veterinae โดยมีหมายความว่า draught animals บางครั้งอาจจะใช้คำสั้น ๆ ว่า "vet" ในประเทศไทย คาดว่า คำว่า สัตวแพทย์ พล.ต. ม.จ.ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ ผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของวิชาสัตวแพทย์สมัยใหม่ เป็นผู้ใช้คำนี้ โดยทรงก่อตั้งโรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นโรงเรียนนายสิบสัตวแพทย์ และ โรงเรียนนายดาบสัตวแพทย์ทหารบก ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย โดยต้องการผลิตกำลังพลป้อนกองทัพ และได้พัฒนาเป็นแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ เป็นปฐมคณบดี ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ในสถานศึกษาพลเรือนเป็นครั้งแรก เพื่อผลิตสัตวแพทย์ ในระดับปริญญา ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศในสมัยนั้น รัฐบาลได้โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์มาสังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2497 โดยมีการเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 2 ปี และไปเรียนที่ถนน อังรีดูนัง อีก 4 ปี ต่อมาได้มีการย้ายกิจการคณะไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดตั้งเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันเมื่อปี พุทธศักราช 2510 แต่ก็ยังมีอาจารย์และนิสิตส่วนหนึ่งอยู่พัฒนาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป โดยได้เชิญอธิบดีกรมปศุสัตว์ในสมัยนั้น คือ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์สงคราม เป็นคณบดี และถือว่า ท่านคือ บิดาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างไรก็ตาม กรมปศุสัตว์ ก็เปิดสอนวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ในระดับประกาศนียบัตร ณ โรงเรียนสัตวแพทย์ (Paraveterinary School)เพื่อผลิตบุคลกรให้กรมปศุสัตว์ เพื่อบรรเทาความขาดแคลนสัตวแพทย์ของประเทศ โดยมีเพลงนกน้อยในไร่ส้มเป็นเพลงที่ถูกแต่งเพื่อชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของสัตวแพทย์ในชนบท และถูกนำไปใช้ในวิชาชีพสื่อสารมวลชน ต่อมา สำหรับประเทศไทย คำว่า "สัตวแพทย์" สามารถสื่อความหมายได้ 2 กรณี คือ สัตวแพทย์ (Paravet) และ นายสัตวแพทย์ (Veterinarian) นายสัตวแพทย์ คือ บุคคลที่เรียนจบสัตวแพทย์ ในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับคุณวุฒิ ปริญญาทางสัตวแพทยศาสตร์ (สพ.บ.) และ ได้รับ ใบประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง สัตวแพทย์ คือ บุคคลที่เรียนจบ โรงเรียนสัตวแพทย์ ของ กรมปศุสัตว์ ได้รับประกาศนียบัตร (2ปี) และได้รับ ใบประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น สอง ปัจจุบัน โรงเรียนสัตวแพทย์ ของกรมปศุสัตว์ ได้ยุบและโอนย้ายไปเป็น คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดทำการสอนในระดับปริญญา ด้าน เทคนิคการสัตวแพทย์ (4ปี).

ใหม่!!: แพทย์และสัตวแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

สูตินรีเวชวิทยา

ูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology (หรือ Gynaecology)) หรือที่มักย่อว่า OB/GYN, O&G หรือ Obs & Gynae เป็นวิชาศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เป็นสาขาวิชาที่รวมเอาการแพทย์เฉพาะทาง 2 สาขาวิชาคือ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาเข้าด้วยกัน มักเปิดสอนร่วมกันในหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน (หลังจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต) การฝึกวิชาสูตินรีเวชวิทยาเกี่ยวข้องกับการจัดการพยาธิวิทยาคลินิกของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง และการดูแลผู้ป่วยทั้งที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์และไม่ได้ตั้งครร.

ใหม่!!: แพทย์และสูตินรีเวชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์ (เรียกย่อๆ ว่า medicine) เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์เฉพาะทางซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษาโรคและความผิดปกติในร่างกายผู้ใหญ่ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางอายุรศาสตร์ว่า อายุรแพทย์ (internists) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ได้ผ่านการสอบเพื่อประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาอายุรศาสตร์ และได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ หรือสาขาต่างๆทางอายุรศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพท.

ใหม่!!: แพทย์และอายุรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ป่วย

แพทย์กำลังวัดความดันเลือดให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วย, ผู้รับการรักษา, คนไข้ หมายถึงผู้ที่เข้ารับบริการสุขภาพรูปแบบใด ๆ จากแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ สัตวแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยจากโรคหรือการบาดเจ็บ และจำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางครั้งอาจไม่ต้องก็ได้ หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:การพยาบาล หมวดหมู่:มนุษย์.

ใหม่!!: แพทย์และผู้ป่วย · ดูเพิ่มเติม »

จักษุวิทยา

การใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ (Slit lamp) ตรวจตาในคลินิกจักษุวิทยา จักษุวิทยา (Ophthalmology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และโรคของตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเรียกว่า จักษุแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา และสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยจักษุแพท.

ใหม่!!: แพทย์และจักษุวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตแพทย์

ตแพทย์ (psychiatrist) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านจิตเวชศาสตร์และได้รับการรับรองให้ทำการรักษาความผิดปกติทางจิตAmerican Psychiatric Association.

ใหม่!!: แพทย์และจิตแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตเวชศาสตร์

ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.

ใหม่!!: แพทย์และจิตเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทันตแพทย์

ทันตแพทย์ คือ แพทย์ผู้มีบทบาทในการดูแลสุขภาพภายในช่องปากให้แก่ประชาชน ทำหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาโรคฟัน โรคเหงือก และความผิดปกติต่างๆ ภายในช่องปาก ซึ่งสุขภาพปากและฟันที่ดี จะนำไปสู่สุขภาพร่างกายโดยรวมที่ดี เพราะสัญญาณของโรคร้ายแรงบางอย่าง มักแสดงอาการโดยเริ่มจากเกิดความผิดปกติภายในช่องปากก่อนเป็นอันดับต้นๆ หมวดหมู่:ทันตแพทย์.

ใหม่!!: แพทย์และทันตแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: แพทย์และแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คือแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ที่ได้รับการอบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อทำการรักษาและฟื้นฟูทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในภาษาอังกฤษคำว่าแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้ว่า Rehabilitation physician (แบบ UK) หรือ Rehabilitation doctor (แบบ UK) หรือ Physiatrist (แบบ US อ่านว่า ฟิส-ซาย-เอ-ตริส) ก็ได้.

ใหม่!!: แพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู · ดูเพิ่มเติม »

โสตศอนาสิกวิทยา

ตศอนาสิกวิทยา เป็นแขนงหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT; ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก รากศัพท์ของ "Otolaryngology" มาจากภาษากรีก ωτολαρυγγολογία (oto.

ใหม่!!: แพทย์และโสตศอนาสิกวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกร

ัชกร (pharmacist) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย แนะนำการใช้ยา ติดตามการใช้ยาให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry: PhC) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemists) โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" (Boots The Chemist).

ใหม่!!: แพทย์และเภสัชกร · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

วชศาสตร์ฟื้นฟู หรืองานเวชกรรมฟื้นฟู จัดว่าเป็น 1 ใน 4 พันธกิจทางการแพทย์ ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (ได้แก่ "ส่งเสริมสุขภาพ - ป้องกันโรค - รักษาโรค - ฟื้นฟูสมรรถภาพ) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rehabilitation medicine หรือ Physical medicine and rehabilitation (PM&R) หรือ Physiatry (อ่านว่า ฟิส-ซาย-เอ-ตรี้) ก็ได้ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูเอง ก็คือการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical rehabilitation) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆด้านของการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งหมด ขึ้นกับบุคคลนั้นต้องการให้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านใด ณ ที่นี้ ยกตัวอย่างการฟื้นฟูด้านอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (Vocational rehabilitation) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (Educational rehabilitation) เป็นต้น งานเวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นงานที่ท้าทายและเป็นที่รู้จักสนใจในวงกว้าง เนื่องจากสามารถบ่งบอกถึงการเอาใจใส่จากภาครัฐได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ป่วยที่มีรับการฟื้นฟูนั้น ย่อมเป็นผู้พิการ หรือ ผู้ที่มีสมรรถภาพทางร่างกายไม่ดีนัก แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ในประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไรนัก ทั้งในระดับนโยบาย ระดับโรงพยาบาล และในประชาชนทั่วไป.

ใหม่!!: แพทย์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู · ดูเพิ่มเติม »

เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

วชศาสตร์ฉุกเฉิน (แพทยศาสตร์) หรือ การแพทย์ฉุกเฉิน (นิติศาสตร์) (emergency medicine) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นการวินิจฉัยและรักษาความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่เกิดฉับพลันและต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน.

ใหม่!!: แพทย์และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

InternMedical internMedical internshipPhysicianหมอหมอฝึกหัดอินเทอร์นนายแพทย์แพทย์ฝึกหัด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »