โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

ดัชนี เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

84 ความสัมพันธ์: บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดพ.ศ. 1159พ.ศ. 1608พ.ศ. 1763พ.ศ. 1788พรมผนังพรมผนังบาเยอพระราชวังวินด์เซอร์พระราชวังเวสต์มินสเตอร์พระนางมารีย์พรหมจารีพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพิวริตันพิธีราชาภิเษกกลอสเตอร์เชอร์การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันการยุบอารามการประกาศเป็นนักบุญก็องมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มุขมณฑลมุขนายกประจำมุขมณฑลราชวงศ์แพลนแทเจเนตรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษลอนดอนลัทธิบูชาลัทธิทำลายรูปเคารพลุ่มแม่น้ำลัวร์วิลเลียม เชกสเปียร์วิลเลียม เบลกวิหารคดสภาขุนนางสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8สหราชอาณาจักรสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก...สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สงครามกลางเมืองอังกฤษหินแห่งสโคนอารามอารามกลูว์นีอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีอาสนวิหารอาสนวิหารกลอสเตอร์อาสนวิหารนักบุญเปาโลอาสนวิหารในสหราชอาณาจักรผังอาสนวิหารคณะเบเนดิกตินฉากกางเขนซีโมนเปโตรประเทศฝรั่งเศสประเทศอังกฤษนอร์มันนักบุญดันสตันนิโคลัส ฮอคสมอร์นครเวสต์มินสเตอร์แม่น้ำเทมส์แอบบีย์แองกลิคันโบสถ์คริสต์โอลิเวอร์ ครอมเวลล์โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์เรลิกเลดีเจน เกรย์เวสต์มินสเตอร์เจฟฟรีย์ ชอเซอร์เจ้าผู้อารักขาเครือจักรภพแห่งอังกฤษ17 พฤษภาคม28 ธันวาคม ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด

หินแห่งสโคนภายไต้บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1855 บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดที่ไม่มีหินแห่งสโคนในปัจจุบัน บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด หรือ บัลลังก์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด หรือ บัลลังก์ราชาภิเษก (St Edward's Chair หรือ King Edward's Chair หรือ The Coronation Chair) บัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ดเป็นพระราชบัลลังก์ที่ใช้ประทับโดยพระมหากษัตริย์อังกฤษในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่สร้างตามพระราชโองการของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 โดยให้มีที่ใส่หินแห่งสโคน (Stone of Scone) ซึ่งเป็นหินสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ที่เดิมเก็บไว้แอบบีสโคน (Scone Abbey) ที่พระองค์ทรงยึดมา พระราชบัลลังก์มาได้รับชื่อภายหลังตามพระนามของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพผู้เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ ตัวบัลลังก์เก็บไว้ที่ชาเปลเซนต์เอ็ดเวิร์ดในแอบบีเวสต์มินสเตอร์ พระมหากษัตริย์อังกฤษและพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรทุกพระองค์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และบัลลังก์เซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1159

ทธศักราช 1159 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพ.ศ. 1159 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1608

ทธศักราช 1608 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพ.ศ. 1608 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1763

ทธศักราช 1763 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพ.ศ. 1763 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1788

ทธศักราช 1788 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพ.ศ. 1788 · ดูเพิ่มเติม »

พรมผนัง

การแขวนพรมบนผนังโกบลินที่วังลินเดอร์โฮฟ ราวปี ค.ศ. 1900 พรมผนัง หรือ พรมแขวนผนัง (tapestry) เป็นงานศิลปะสิ่งทอ ซึ่งทอด้วยมือบนกี่ตั้งที่เส้นด้ายพุ่งซ่อนเส้นด้ายยืนหมดเมื่อทำเสร็จ ซึ่งต่างจากการทอผ้า อาจเห็นทั้งด้ายเส้นยืนและเส้นพุ่ง การทำเช่นนี้ทำให้เกิดลวดลายหรือภาพ ผู้ทอมักจะใช้ด้ายยืนที่ทำจากลินินหรือฝ้าย ส่วนด้ายพุ่งอาจจะเป็นขนแกะ, ฝ้าย หรือไหม หรือบางครั้งก็ใช้ด้ายที่ทำจากทอง, เงิน หรือวัสดุอื่นๆ ด้วย ทั้งช่างและศิลปินเป็นผู้สร้างงานพรมทอ ก่อนอื่นศิลปินจะร่างแบบ ที่เรียกกันว่า “tapestry cartoon” เพื่อให้ช่างทอตามแบบที่ร่าง ห้วเรื่องที่ทอก็อาจจะมาจากคัมภีร์ไบเบิล, ตำนานเทพ หรือฉากล่าสัตว์ ซึ่งจะเป็นที่นิยมทำกันในการตกแต่งที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพรมผนัง · ดูเพิ่มเติม »

พรมผนังบาเยอ

วนหนึ่งของพรมผนังบาเยอ พรมผนังบาเยอ (Bayeux Tapestry; Tapisserie de Bayeux) เป็นผืนผ้ากว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 70 เซนติเมตรที่ปักเป็นภาพการนำไปสู่ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษนำโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1066 และเหตุการณ์ระหว่างสงครามเอง คำบรรยายในพรมผนังบาเยอเป็นภาษาละติน ปัจจุบันผ้าผืนนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่เมืองบาเยอในประเทศฝรั่งเศส เอกสารฉบับแรกที่กล่าวถึงพรมผนังบาเยออยู่ในเอกสารการสำรวจสิ่งของของมหาวิหารบาเยอเมื่อปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพรมผนังบาเยอ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังวินด์เซอร์

ระราชวังวินด์เซอร์ (ภาษาอังกฤษ: Windsor Castle) เป็นพระราชวังตั้งอยู่ที่วินด์เซอร์, มลฑลบาร์คเชอร์ในสหราชอาณาจักร สร้างโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระราชวังวินด์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเวสต์มินสเตอร์

ระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือ ตึกรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Palace of Westminster หรือ Houses of Parliament หรือ Westminster Palace) เป็นสถานที่ที่สภาสองสภาของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร (สภาขุนนาง และสภาสามัญชน) ประชุม พระราชวังตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเทมส์ในนครเวสต์มินสเตอร์ของลอนดอนบะระห์ไม่ไกลจากพระราชวังไวท์ฮอลล์ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ สร้างในปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ (Richard II of England) (6 มกราคม ค.ศ. 1367 – 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1400) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1367 ที่บอโดซ์ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือเจ้าชายดำ และ โจนแห่งเค้นท์ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีแอนน์และต่อมา สมเด็จพระราชินีอิสซาเบลลาแห่งวาลัวร์ส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1377 จนกระทั่งถูกปลดจากราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1399 พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1399 ที่ปราสาทพอนติแฟรคท์, ยอร์คเชอร์ตะวันตก, อังกฤษ (ไม่แน่ชัดว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์หรือไม่) บทบาทในการปกครองของพระองค์เป็นผลให้เกิด การกบฏชาวนา (Peasants' Revolt) ในปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William I of England) หรือพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) หรือพระเจ้าวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี (William II of Normandy) หรือบ้างเรียก พระเจ้าวิลเลียมลูกนอกสมรส (William the Bastard) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 (พ.ศ. 1630) ทรงเป็นลูกนอกสมรสของโรเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดีและเฮอร์เลวา เดิมทรงมีฐานะเป็นดยุกแห่งนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609) หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีสิ้นพระชนม์เมื่อ..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส (Louis VIII of France) (5 กันยายน ค.ศ. 1187 - 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1187 ที่ปารีส ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส และ พระราชินีอิสซาเบลล.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน

มเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน (Harold Godwinson หรือ Haraldur Guðinason) (ราว ค.ศ. 1022 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์และพระเจ้าแผ่นดินแองโกล-แซ็กซอนองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันเสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 1022 ที่เวสเซ็กซ์ อังกฤษ เป็นพระราชโอรสของกอดวิน เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ และ กีธา ธอร์เคลสเดิทเทียร์ ทรงเสกสมรสกับเอลด์จิธ สวอนเน็ค และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1066 จนทรงถูกสังหารในยุทธการเฮสติงส์ แบตเติล เมื่อทรงพยายามต่อต้านกองทัพของดยุคแห่งนอร์มังดีที่ยกมารุกรานอังกฤษ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066 หลังจากที่พระเจ้าฮาโรลด์เสด็จสวรรคต สภาวิททันก็ประกาศให้สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง ขึ้นครองราชสมบัติต่อมาแต่มิได้ทรงสวมมงก.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่

ระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ (George II of Great Britain) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอ็ดจิวาแห่งเคนต์ อภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟริธ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ พระนาม “ผู้รักสงบ” ไม่ได้บ่งถึงพระลักษณะตามความหมายเพราะทรงเป็นนายทหารผู้เข้มแข็งซึ่งจะเห็นได้จากการยึดราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย และราชอาณาจักรเมอร์เซียจากพระเจ้าเอ็ดวีพระเชษฐาในปี ค.ศ. 958 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวโดยดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) จากที่ทรงลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นบิชอปแห่งลอนดอนและในที่สุดอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับพระสนม วูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) มึพระธิดา อีดิธแห่งวิลตัน แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าเอ็ดการ์ตลอดรัชสมัย รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี หรือนักบุญเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี (Edward the Confessor หรือ Saint Edward the Confessor) (ราว ค.ศ. 1003/1004 – 4 มกราคม ค.ศ. 1066) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เวสเซ็กซ์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ (Edward V of England) (4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1470– ราว ค.ศ. 1483) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ยอร์คของราชอาณาจักรอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ (Henry III of England) (1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเฮนรีที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 ที่ปราสาทวินเชสเตอร์ แฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ หรือจอห์น แลกแลนด์ และอิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม อภิเษกสมรสกับพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1216 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน อังกฤษ พระบรมศพอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงขึ้นครองราชสมบัติตั้งแต่ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ แม้ว่าจะทรงราชย์เป็นระยะเวลานานแต่ไม่ทรงมีความสำเร็จอะไรมากนักและมิได้ทรงเป็นนักการทหารหรือนักการปกครองผู้สามารถแต่อย่างใด แต่อังกฤษมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระองค์ ทรงใช้เมืองวินเชสเตอร์เป็นที่ว่าราชการ พระองค์ทรงขยายแอบบีและทรงสร้างอนุสรณ์แก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี ระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์พระเจ้าเฮนรีทรงมีวิลเลียม มาร์แชลเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อังกฤษที่พระองค์ได้รับมาผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมัยของพระราชบิดา ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยต่อสู้กับขุนนางเรื่องมหากฎบัตร (Magna Carta) และสิทธิในการเป็นพระมหากษัตริย์ ในที่สุดก็ทรงถูกบังคับให้เรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (Henry VII of England) (28 มกราคม ค.ศ. 1457 – 21 เมษายน ค.ศ. 1509) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์ทิวดอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1509.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พิวริตัน

อห์น เฮาว์ (John Howe) และ ริชาร์ด แบ็กซ์เตอร์ (Richard Baxter) พิวริตัน (Puritan) จาก คริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนที่สนับสนุนความเชื่อทางปรัชญาและการกระทำพิธีทางศาสนาที่ “บริสุทธิ์” (“Purity”) กว่า และความเคร่งครัดส่วนบุคคล กลุ่มพิวริตันเชื่อว่าการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ (English Reformation) ยังไม่เพียงพอและคริสตจักรแห่งอังกฤษยังทำพิธีศาสนาที่ไม่ต่างไปจากพิธีศาสนาของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเท่าใดนัก คำว่า “พิวริตัน” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “คาร์ธาร์” ที่ใช้เรียกผู้ที่มีหัวรุนแรงที่เป็นผู้นับถือลัทธิคาร์ธาริสม์ (Catharism) ในฝรั่งเศส บางครั้งกลุ่มเพียวริตันก็ร่วมมือกับคณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ในการตั้งข้อเสนอเพื่อที่จะทำให้นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ใกล้กับคริสตจักรปฏิรูป (Reformed Churches) บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปมากขึ้น.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพิวริตัน · ดูเพิ่มเติม »

พิธีราชาภิเษก

น ดาร์ก'' (''Jeanne d'Arc'') พ.ศ. 2429-2433 โดยฌูลส์ เออแฌน เลอเนิปเวอ พิธีราชาภิเษก (coronation) เป็นเป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษกซึ่งมีพระราชอำนาจ อย่างเป็นทางการ เกี่ยวข้องกับการวางมงกุฎบนพระเศียรของพระองค์หรือการนำเสนอเครื่องราชกกุธภัณฑ์รายการอื่น โดยพิธีการนี้อาจหมายรวมถึง การตรัสคำปฏิญาณพิเศษโดยกษัตริย์ การแสดงคารวะจากคนในบังคับ ของผู้ปกครองใหม่ และการแสดงพิธีกรรมอื่น ซึ่งมีความสำคัญพิเศษต่อชาตินั้น.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และพิธีราชาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์เชอร์

กลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน กลอสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของค็อตสวอลล์, ลุ่มแม่น้ำเซเวิร์นและฟอเรสต์ออฟดีนทั้งหมด กลอสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเกว้นท์ในเวลส์ และมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์, มณฑลวอริคเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลวิลท์เชอร์, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท และมณฑลบริสตอลในอังกฤษ ในฐานะมณฑลบริหารกลอสเตอร์เชอร์ไม่รวมเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ที่มีการปกครองระบบการบริหารเป็นของตนเอง กลอสเตอร์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: กลอสเตอร์, ทูคสบรี, เชลท์แนม, ค็อตสวอลล์, สเตราด์, ฟอเรสต์ออฟดีน (ดิสตริคท์)ฟอเรสต์ออฟดีน และเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ โดยมีกลอสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล นอกจากกลอสเตอร์ก็ยังมีเมืองหลักอื่นๆ เช่นเชลท์แนม, สเตราด์, ไซเร็นเซสเตอร์ และทูคสบรี กลอสเตอร์เชอร์มีเนื้อที่ 3,150 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 839,000 คน ถัวเฉลี่ย 266 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และกลอสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

การยุบอาราม

อดีตกลาสตันบรีแอบบีย์ การยุบอาราม (Dissolution of the Monasteries; Suppression of the Monasteries) เป็นกระบวนการตามกฎหมายและการปกครองในช่วง ค.ศ. 1538 ถึงปี ค.ศ. 1541 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษโปรดให้ยุบอาราม ไพรออรี คอนแวนต์ และไฟรอารี ในประเทศอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ ตามอำนาจใน “พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา” อนุมัติโดยรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ. 1534 ซึ่งระบุให้พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ” (Supreme Head of the Church in England) ซึ่งถือเป็นการแยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการ และโดย “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 1 (ค.ศ. 1536)” และ “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 2 (ค.ศ. 1539)” การยุบอารามในอังกฤษเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองหนึ่งเพื่อต่อต้านคริสตจักรโรมันคาทอลิกซึ่งเริ่มคุกรุ่นอยู่ในทวีปยุโรปขณะนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์จาก แต่เหตุผลการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษมิใช่ข้อขัดแย้งทางปรัชญาทางศาสนาดังเช่นในประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส หรือ โบฮีเมีย แต่เป็นเหตุผลส่วนพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และการยุบอาราม · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

ก็อง

ก็อง (Caen) เป็นเมืองหลักของจังหวัดกาลวาโดส ในแคว้นนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส เมืองก็องเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีสิ่งก่อสร้างสำคัญ ๆ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่สร้างในสมัยของวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี และเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งของยุทธการที่นอร์ม็องดีในปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และก็อง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกประจำมุขมณฑล

มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯองค์ปัจจุบันhttp://www.catholic.or.th/service/gallery/gallery_2010/santacruz2010/index.html ฉลองโบสถ์ซางตาครู้ส.เรียกข้อมูลวันที่ 13 ธ.ค. 2554 มุขนายกประจำมุขมณฑล (diocesan bishop) ในประเทศไทยกรมการศาสนาให้เรียกว่ามุขนายกมิสซัง ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระสังฆราชประจำสังฆมณฑล คือมุขนายกที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็นประมุขปกครองมุขมณฑลหนึ่ง.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และมุขนายกประจำมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แพลนแทเจเนต

ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท (อังกฤษ: House of Plantagenet) หรือ ราชวงศ์อองชู หรือ เดิมเป็นตระกูลขุนนางมาจากฝรั่งเศส ซึ่งปกครองแคว้นอองชู (County of Anjou) ในภายหลังราชวงศ์นี้ได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในปี พ.ศ. 1697 - พ.ศ. 2028 รวมทั้งราชอาณาจักรเยรูซาเล็มในปี พ.ศ. 1674 - พ.ศ. 1748 แคว้นนอร์มังดี (พ.ศ. 1687 - พ.ศ. 1747 และ พ.ศ. 1958 - พ.ศ. 1993) แคว้นกาสโกนีและกุยแยน (แคว้นอากีแตนในปัจจุบัน) (พ.ศ. 1696 - พ.ศ. 1996) หมวดหมู่:ราชวงศ์อ็องฌู หมวดหมู่:ราชสำนักอังกฤษ.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และราชวงศ์แพลนแทเจเนต · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบูชา

ในทางสังคมวิทยา ลัทธิบูชา (Cult) หรือลัทธิ หมายถึง กลุ่มคนที่มีความเชื่อและการปฏิบัติตนแปลกหรือเบี่ยงเบนไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม เนื่องจากระบุลงไปได้ยากว่าเบี่ยงเบนถึงระดับไหนจึงเรียกว่าลัทธิ ทำให้ยังมีปัญหาในการนิยามคำดังกล่าวให้ชัดเจน และมักใช้ในความหมายเชิงลบ นักสังคมวิทยาเริ่มให้ความสนใจศึกษาพฤติกรรมทางศาสนาของลัทธิบูชาต่าง ๆ มาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 จนพบว่าหลายกลุ่มถูกตีตราว่าเป็นพวกนอกรีต จนถึงขึ้นมีขบวนการต่อต้านลัทธิเกิดขึ้นภายในศาสนาต่าง.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และลัทธิบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิทำลายรูปเคารพ

การปฏิรูปศาสนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มหาวิหารนักบุญมาร์ติน เมืองยูเทรกต์ (Cathedral of Saint Martin, Utrecht)http://www.domkerk.nl/domchurch/history.html The birth and growth of Utrecht (ที่มาและความเจริญเติบโตของอูเทรชท์) ลัทธิทำลายรูปเคารพ (Iconoclasm) เป็นแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการใช้รูปเคารพ การทำลายศิลปะหรือรูปสัญลักษณ์ทางศาสนา การทำลายสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนา หรือ การทำลายอนุสาวรีย์โดยจงใจภายในสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นผลจากการกระทำเพื่อศาสนาหรือการเมือง การกระทำเช่นนี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาหรือทางการเมืองภายในสังคมเดียวกัน ลัทธิทำลายรูปเคารพตรงกันข้ามกับ "ลัทธิบูชารูปเคารพ" (Iconodule).

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และลัทธิทำลายรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

ลุ่มแม่น้ำลัวร์

ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (Loire Valley หรือ Garden of France, Vallée de la Loire) เป็นบริเวณทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากคุณค่าของสถาปัตยกรรมและเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งเมืองอองบัวส์, อองแชร์, บลัวส์, ชินง, นานต์ส์, ออร์เลอองส์, โซมัวร์ และ ตูร์ แต่ที่สำคัญคือพระราชวัง, วัง, ปราสาท และึคฤหาสน์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกที่รวมทั้งพระราชวังชองบอร์ด หรือ วังเชอนงโซซื่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคเรืองปัญญาที่มีต่อการออกแบบและการสร้างสถาปัตยกรรม ในปี ค.ศ. 2000 องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนบริเวณตอนกลางของลุ่มแม่น้ำลัวร์ระหว่างแมน (Maine River) และ ซุลลีย์-เซอร์-ลัวร์ให้เป็นมรดกโลก ในการเลือกภูมิภาคลุ่มแม่น้ำลัวร์ที่ครอบคลุมจังหวัดลัวเรต์, ลัว-เรต์-แชร์, แองดร์-เอต์-ลัวร์, and แมน-เนต์-ลัวร์ ทางคณะกรรมการกล่าวถึงภูมิภาคลุ่มแม่น้ำลัวร์ว่าเป็นบริเวณที่ “มีความงามของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมอันเด่น, และมีความสวยงามอันเลอเลิศที่ประกอบด้วยเมืองและหมู่บ้านสำคัญในประวัติศาสตร์, อนุสรณ์ทางสถาปัตยกรรมอันสำคัญ - ชาโต - และแผ่นดินที่ได้รับการพัฒนาทางการเกษตรกรรมและเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยเฉพาะตัวแม่น้ำลัวร์เอง”.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และลุ่มแม่น้ำลัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เบลก

วิลเลียม เบลก (William Blake; 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1757 - 12 สิงหาคม ค.ศ. 1827) เป็นกวีและนักวาดภาพชาวอังกฤษ ไม่ค่อยมีชื่อเสียงมากนักในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ แต่งานของเขาได้รับการยอมรับทั่วไปในแวดวงประวัติศาสตร์ทั้งบทกวีนิพนธ์และภาพวาด ผลงานการวาดภาพนิมิตของเขาได้รับยกย่องว่า "โดดเด่นและก้าวหน้ากว่าศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของบริเตนจะสามารถสร้างขึ้นได้" แม้ว่าเขาแทบไม่เคยเดินทางไปไหน และเคยออกไปพ้นจากกรุงลอนดอนเพียงครั้งเดียวในชีวิต แต่ผลงานของเขาแสดงให้เห็นพลังจินตนาการอันยิ่งใหญ่อย่างมาก ผลงานของเบลกแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของศิลปินในยุคโรแมนติก หรืออาจจะก่อนยุคโรแมนติกด้วยซ้ำ เพราะงานของเขาส่วนมากสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะของผลงานแม้จะเคารพยำเกรงในพระคัมภีร์ไบเบิล แต่แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อคริสตจักร เบลกได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมการณ์และความทะเยอทะยานของกลุ่มนักปฏิวัติฝรั่งเศสและอเมริกัน รวมถึงอิทธิพลจากนักคิดผู้โด่งดังเช่น เจค็อบ โบเฮ็ม และ เอ็มมานูเอล สวีเดนบอร์ก แม้จะทราบถึงแรงบันดาลใจของเขา แต่งานของเบลกก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร มีความเป็นอัตลักษณ์สูงจนไม่สามารถจัดประเภทได้ นักวิชาการในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คนหนึ่งอธิบายลักษณะของเบลกว่า เป็นเหมือน "ดวงประทีปอันโชติช่วง"Blake, William and Rossetti, William Michael.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และวิลเลียม เบลก · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

สภาขุนนาง

นนาง (House of Lords) เป็น สภาสูงในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยขุนนางมีบรรดาศักดิ์จำนวนเจ็ดถึงแปดร้อยคน ทุกคนมาจากการแต่งตั้งและสืบตระกูล ทำหน้าที่ร่วมกับกับสภาสามัญชนซึ่งเป็นสภาล่างซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดจากการเลือกตั้ง สภาขุนนางจะแยกเป็นอิสระจากสภาสามัญชน โดยมีอำนาจถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของรัฐสภา โดยเฉพาะการพิจารณาเพื่อผ่านร่างกฎหมาย โดยสภาขุนนางมีอำนาจที่จะระงับการบังคับใช้กฎหมายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาล สภาสามัญชน และประชาชนร่วมกันพิจารณาถึงความจำเป็นของร่างกฎหมายนั้นๆอย่างรอบคอบ สภาขุนนางยังมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และป้องกันมิให้มีกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งในประเทศอื่นๆ จะมีศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทน สภาชิกสภาขุนนางแบ่งเป็นสี่ประเภท คือ.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสภาขุนนาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งอรากอน คาสตีลและเนเปิล และสมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ในราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นผู้ซึ่งฟื้นฟูศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษ พระนางได้ดำเนินการเผาเหล่าบุคคลต่างศาสนา ต่างนิกายกว่า 300 คนทั้งเป็น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า แมรีบ้าเลือด หรือ แมรีผู้กระหายเลือด (Bloody Mary).

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8

เจ้าชายเอดเวิร์ด ดยุกแห่งวินเซอร์ หรืออดีต สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 (เอดเวิร์ด อัลเบิร์ต คริสเตียน จอร์จ แอนดรูว์ แพทริค เดวิด; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2515) เป็นอดีตพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ รวมถึงดินแดนของอังกฤษในโพ้นทะเลต่าง ๆ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย ตั้งแต่การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระราชบิดา เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2479 จนกระทั่งการสละราชสมบัติของพระองค์ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2479 พระองค์เป็นพระประมุของค์ที่สองในราชวงศ์วินด์เซอร์ ซึ่งพระราชบิดาทรงเปลี่ยนชื่อมาจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา เมื่อปี พ.ศ. 2460 ก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายเอดเวิร์ดแห่งยอร์ก เจ้าชายเอดเวิร์ดแห่งยอร์กและคอร์นวอลล์ ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ ดยุกแห่งโรธเซย์ และเจ้าชายแห่งเวลส์ (ในชั้นรอยัลไฮเนส) ขณะทรงเป็นชายแรกรุ่น พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการเสด็จเยือนต่างประเทศแทนพระองค์พระราชบิดาและทรงข้องเกี่ยวกับหญิงสาวสูงวัยที่แต่งงานแล้วมากมาย ช่วงเวลาหลายเดือนในรัชกาล พระองค์ทรงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ในรัฐธรรมนูญ ได้ชื่อว่าวิกฤตการณ์สละราชสมบัติด้วยการขออภิเษกสมรสกับวอลลิส ซิมป์สัน แม่ม่ายหย่าร้างชาวอเมริกัน แม้ว่าทางกฎหมายแล้วพระองค์จะอภิเษกสมรสกับนางซิมป์สันและคงเป็นกษัตริย์อยู่ได้ แต่คณะรัฐมนตรีของพระองค์ได้คัดค้านการอภิเษกสมรสโดยโต้แย้งว่าประชาชนจะไม่ยอมรับเธอเป็นพระราชินีได้เลย พระองค์ทรงทราบดีว่ารัฐบาลของสแตนเลย์ บาลด์วิน นายกรัฐมนตรีจะลาออกถ้าการอภิเษกสมรสยังคงดำเนินต่อไป อันจะทำให้ลากพระองค์ไปสู่การเลือกทั่วไปซึ่งจะเป็นการทำลายสถานะของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ทรงเป็นกลางทางการเมืองของพระองค์อย่างไม่สามารถแก้ไขได้ แทนที่จะเลิกกับนางซิมป์สัน แต่พระองค์กลับทรงเลือกที่จะสละราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 เป็นพระประมุของค์เดียวของสหราชอาณาจักรที่ทรงสละราชบัลลังก์อย่างสมัครใจ นอกจากนี้ยังเป็นพระประมุขที่ทรงครองราชสมบัติสั้นที่สุดพระองค์ในประวัติศาสตร์อังกฤษ และมิได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเลย หลังจากการสละราชสมบัติ พระองค์ทรงเปลี่ยนกลับไปใช้พระอิสริยยศของพระราชโอรสในพระมหากษัตริย์คือ เจ้าชายเอดเวิร์ด และทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็น ดยุกแห่งวินด์เซอร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2480 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้รับมอบหมายให้ประจำการในกองกำลังทหารอังกฤษในประเทศฝรั่งเศส แต่หลังจากข้อกล่าวหาลับต่างๆ ที่ว่าพระองค์ทรงเข้าข้างฝ่ายนาซีเยอรมัน ก็ทรงถูกย้ายไปยังบาฮามาสในฐานะข้าหลวงใหญ่ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หลังจากสิ้นสุดสงคราม พระองค์ก็ไม่ทรงได้รับการแต่งตั้งทางราชการอื่นใดอีกและทรงใช้เวลาที่เหลือในพระชนม์ชีพด้วยความสันโดษ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ราชวงศ์วินด์เซอร์ หมวดหมู่:บุคคลจากริชมอนด์ (ลอนดอน) หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสละราชบัลลังก์ หมวดหมู่:เจ้าชายแห่งเวลส์ หมวดหมู่:ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร หมวดหมู่:ไนท์ออฟเดอะการ์เตอร์.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

หินแห่งสโคน

แบบจำลองหินแห่งสโคน หินแห่งสโคน (Stone of Scone Stane o Scone) หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า หินแห่งชะตา (Stone of Destiny) และมักเรียกกันในประเทศอังกฤษว่า "หินราชาภิเษก" ซึ่งเป็นหินทรายสีแดงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์มาเป็นเวลานับร้อยๆปี และในภายหลังรวมถึงพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ บริเตนใหญ่ และสหราชอาณาจักรด้วย ตามประวัติศาสตร์แล้ว หินแห่งสโคนถูกเก็บรักษาไว้ที่แอบบีย์สโคน (Scone Abbey) ในเมืองสโคน ใกล้ๆกับเมืองเพิร์ธ ในประเทศสก็อตแลนด์ หินแห่งสโคนมีขนาดประมาณ x x และมีน้ำหนักประมาณ ด้านบนของหินจะมีห่วงเหล็กซึ่งใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งหินแห่งสโคนได้ถูกใช้งานครั้งล่าสุดในปีค.ศ. 1953 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และหินแห่งสโคน · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อารามกลูว์นี

อารามกลูว์นี (Abbaye de Cluny) เป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกติน ตั้งอยู่ที่เมืองกลูว์นี จังหวัดโซเนลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส ใช้สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ มีโบสถ์ 3 หลัง ซึ่งสร้างขึ้นตามลำดับกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 กีโยมที่ 1 ดยุกแห่งอากีแตนโปรดให้สร้างอารามแห่งนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และอารามกลูว์นี · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 43 (Archbishop of Canterbury) เป็นอัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ เป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลกและบิชอปประจำมุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี อัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรีคนปัจจุบันคือศาสนาจารย์จัสติน เวลบี (Justin Welby) เป็นอัครมุขนายกคนที่ 105 ซึ่งสืบตำแหน่งที่ตกทอดมากว่า 1400 ปีจากนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรมันคาทอลิกในอังกฤษในปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกลอสเตอร์

วิวจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาสนวิหารกลอสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1828 อาสนวิหารกลอสเตอร์ (Gloucester Cathedral) เป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของเมืองกลอสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แต่เดิมเป็นแอบบีย์ที่อุทิศให้นักบุญเปโตร เมื่อราวปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และอาสนวิหารกลอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารในสหราชอาณาจักร

อาสนวิหารซอลสบรี อาสนวิหาร (Cathedral) ในสหราชอาณาจักร มีทั้งที่ยังใช้เป็นอาสนวิหารหรือโบสถ์ประจำเขตแพริชอยู่ และที่ยกเลิกไปแล้ว.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และอาสนวิหารในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

คณะเบเนดิกติน

ณะนักบุญเบเนดิกต์ (Ordo Sancti Benedicti; Order of Saint Benedict) นิยมเรียกกันว่า คณะเบเนดิกติน (Benedictine Order) (ค.ศ. 480 - ค.ศ. 547) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ใช้ชีวิตอารามวาสีตามหลักวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ นักพรตในคณะนี้จะอาศัยอยู่ร่วมกันในคริสต์ศาสนสถานที่เรียกว่าอาราม (บางอารามเรียกว่าแอบบีย์หรือไพรออรี) ซึ่งแต่ละอารามจะปกครองตนเองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารามอื่น ๆ มีสมาพันธ์เบเนดิกตินซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ทรงตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์การปกครองคณะในระดับสากล มีอธิการไพรเมตเป็นประธานสมาพัน.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และคณะเบเนดิกติน · ดูเพิ่มเติม »

ฉากกางเขน

กางเขนบนฉากกางเขนจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่วัดซังเอเทืยงดูมองท์ ที่ปารีส ฉากกางเขน (Rood screen หรือ Choir screen หรือ Chancel screen) คือฉากที่แยกระหว่างบริเวณสำหรับผู้เข้าร่วมในคริสต์ศาสนพิธีหรือทางเดินกลางและบริเวณสำหรับสงฆ์หรือบริเวณที่พระใช้ทำพิธีที่แกะตกแต่งอย่างสวยงามที่นิยมสร้างกันในสมัยกลาง วัสดุที่สร้างอาจจะเป็นไม้หรือหินแกะสลักหรือฉลุทาสีหรือเหล็กดัด ฉากกางเขน ปรากฏทั่วไปในโบสถ์คริสต์ในยุโรป ภาษาเยอรมันใช้คำว่า “Lettner”, ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า “jubé”, ภาษาดัทช์ใช้คำว่า “doksaal” ฉากกางเขนทางตะวันออกจะตกแต่งหรูหรากว่าทางตะวันตก.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และฉากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญดันสตัน

นักบุญดันสตัน (Dunstan) เป็นอธิการอารามกลาสเบอรี บิชอปแห่งเวิร์สเตอร์ บิชอปแห่งลอนดอน และอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี หลังมรณกรรมให้รับการประกาศเป็นนักบุญในปี ค.ศ. 959 ท่านมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์และปฏิรูปคริสตจักรในอังกฤษ ออสเบิร์นแห่งแคนเทอร์เบอรี ศิลปินและธรรมาจารย์ ผู้เขียนชีวประวัติของท่านกล่าวว่าท่านมีทักษะด้าน “การวาดภาพและเขียนหนังสือ” ซึ่งเป็นความสามารถตามปกติของนักบวชอาวุโสในสมัยนั้น ท่านยังเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อวันที่ ราว..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และนักบุญดันสตัน · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส ฮอคสมอร์

นิโคลัส ฮอคสมอร์ (Nicholas Hawksmoor) (ราว ค.ศ. 1661 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1736) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอังกฤษของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเฮาเวิร์ด โคลวินบรรยายฮอคสมอร์ว่าเป็นสถาปนิกผู้ "มีความมั่นใจในความรู้ทางคลาสสิกกว่าจอห์น แวนบรูห์ผู้ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการทางสถาปัตยกรรม, มีจินตนาการการเห็นการไกลมากกว่าผู้รอบรู้เช่นคริสโตเฟอร์ เร็น" ระหว่าง..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และนิโคลัส ฮอคสมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นครเวสต์มินสเตอร์

นครเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: City of Westminster) เป็นนครของลอนดอนที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของนครลอนดอนและเหนือฝั่งแม่น้ำเทมส์ และเป็นส่วนหนึ่งของใจกลางลอนดอน อาณาบริเวณของนครเวสต์มินสเตอร์รวมทั้งบริเวณเวสต์เอ็นด์เกือบทั้งหมดและเป็นที่ตั้งของรัฐบาลของสหราชอาณาจักร, พระราชวังเวสต์มินสเตอร์, พระราชวังบัคคิงแฮม, พระราชวังไวท์ฮอลล์ และ Royal Courts of Justice ในปี..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และนครเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเทมส์

วิวทิวทัศน์แม่น้ำเทมส์มองจากลอนดอน แผนที่แม่น้ำเทมส์ในอังกฤษ แม่น้ำเทมส์ (River Thames - ออกเสียง: tɛmz) เป็นแม่น้ำใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะแม่น้ำไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน นอกจากนี้ แม่น้ำยังไหลผ่านเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด รีดดิง และ วินด์เซอร์ เป็นต้น หุบเขาเทมส์ ส่วนหนึ่งของอังกฤษ อยู่ตรงกลางแม่น้ำระหว่างออกซ์ฟอร์ด และ ลอนดอนตะวันตก ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำแห่งนี้.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และแม่น้ำเทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

แอบบีย์

“แอบบีย์คลูนี” ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีย์ (Abbey) คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์ “แอบบีย์” เดิมมาจาก “abbatia” ในภาษาละติน (ซึ่งแผลงจากคำ “abba” ในภาษาซีเรียค ที่แปลว่า “พ่อ”) คำว่า “แอบบีย์” อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนสถานที่ในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นแอบบีแล้ว แต่ยังคงใช้ชื่ออยู่ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือใช้เรียกคฤหาสน์ชนบท หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เดิมเป็นแอบบี แต่มาเปลี่ยนมือเป็นของคฤหัสถ์หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น มิสเซนเดนแอบบีย์ (Missenden Abbey).

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

อลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) (25 เมษายน ค.ศ. 1599 (ปฏิทินเก่า) - 3 กันยายน ค.ศ. 1658 (ปฏิทินเก่า) เป็นผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักกันดีในการเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ผู้ได้รับชัยชนะต่อกองทัพของ ฝ่ายกษัตริย์นิยม (Cavalier) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ หลังจากปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649แล้ว ครอมเวลล์ก็มีอิทธิพลต่อเครือจักรภพแห่งอังกฤษ อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นในขณะเดียวกับที่ได้รับชัยชนะในการปราบปรามสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และปกครองในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์

แผนผังโบสถ์คอราที่แสดงทั้งโถงทางเข้าโบสถ์ทั้งด้านนอกและด้านใน แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดงโถงทางเข้าโบสถ์เป็นสีเทา โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์, หน้า 92 (narthex) คือ บริเวณทางเข้าของโบสถ์คริสต์ เป็นบริเวณรับรองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตก ตอนปลายสุดของบริเวณกลางโบสถ์ที่ตรงกันข้ามกับบริเวณที่ตั้งของแท่นบูชาเอก ตามปกติแล้วโถงทางเข้าโบสถ์เป็นส่วนหนึ่งของคริสต์ศาสนสถาน แต่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวสิ่งก่อสร้างหลัก ตัวโถงทางเข้าโบสถ์อาจจะตั้งอยู่ภายในตัวอาคารและแยกจากบริเวณกลางโบสถ์ด้วยฉากหรือราว หรืออาจจะสร้างเป็นองค์ประกอบภายนอกเช่นมุขทางเข้า จุดประสงค์ของการมีโถงทางเข้าโบสถ์ก็เพื่อให้เป็นบริเวณสำหรับผู้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมพิธี เช่น ผู้ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป หรือผู้ที่มีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการมีโอกาสเข้าร่วมพิธีในบริเวณที่จัดให้เฉพาะ บริเวณนี้มักจะเป็นที่ตั้งของอ่างล้างบาปเพื่อให้เด็กหรือผู้ใหญ่สามารถทำรับศีลล้างบาปก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณหลักของโบสถ์ ฉะนั้นตามปกติแล้วบริเวณนี้จึงเป็นสถานที่สำหรับผู้มีทำบาป ในศาสนาคริสต์ตะวันออก บางครั้งก็จะใช้เป็นที่ทำพิธีแก้บาปเช่นพิธีระหว่างสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ รัสเซียนออร์ทอดอกซ์มักจะทำพิธีศพในบริเวณนี้.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เลดีเจน เกรย์

ลดีเจน เกรย์ (Lady Jane Grey; 1536/1537 -12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1554) หรือ เลดีเจน ดัดลีย์ หรือที่รู้จักในนาม ราชินีเก้าวัน เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เป็นพระธิดาของเลดีฟรานเซส แบรนดอน และเฮนรี เกรย์ (ดำรงตำแหน่งดยุกแห่งซัฟโฟล์ก) ประสูติที่แบรดเกรทท์พาร์ก ในเลสเตอร์เชอร์ เมื่อเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และเลดีเจน เกรย์ · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์

วสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Westminster) เป็นบริเวณในใจกลางลอนดอน (Central London) ภายในนครเวสต์มินสเตอร์ ที่ตั้งอยู่เหนือของฝั่งแม่น้ำเทมส์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครหลวงลอนดอน และ 1 กิโลเมตรจากชาริงครอสส์ เวสต์มินสเตอร์เป็นบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์และสิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาชมลอนดอนรวมทั้งพระราชวังบัคคิงแฮม, แอบบีเวสต์มินสเตอร์ และบริเวณเวสต์เอ็นด์ของลอนดอน (West End of London) เวสต์มินสเตอร์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของมิดเดิลเซ็กซ์ที่เป็นมลฑลในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ (Historic counties of England) คำว่า “เวสต์มินสเตอร์” เป็นคำบรรยายโบราณของบริเวณรอบแอบบีเวสต์มินสเตอร์ –– “เวสต์” + “มินสเตอร์” (บริเวณทางตะวันตกของมหาวิหาร) เวสต์มินสเตอร์เป็นที่ตั้งของ รัฐบาลแห่งอังกฤษมาร่วมหนึ่งพันปี ตั้งแต่การก่อตั้งในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวสต์มินสเตอร์ก็เป็นที่ตั้งของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ซึ่งเป็นมรดกโลกและเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจฟฟรีย์ ชอเซอร์

หมือนของ เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ วาดประมาณปี 1380 เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ (Geoffrey Chaucer; ค.ศ. 1343 - 25 ตุลาคม ค.ศ. 1400?) เป็นนักเขียน กวี นักปรัชญา ข้าราชการและนักการทูตชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งกวีนิพนธ์อังกฤษ แม้เขาจะเขียนงานไว้มากมาย แต่งานเขียนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคืองานเขียนที่ยังไม่เสร็จ เรื่อง “ตำนานแคนเตอร์บรี”.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าผู้อารักขา

้าผู้อารักขา (Lord Protector) เป็นตำแหน่งเฉพาะที่ใช้ในอังกฤษในฐานะผู้นำของประเทศซึ่งใช้ได้สองความหมายในช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สองสมั.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และเจ้าผู้อารักขา · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพแห่งอังกฤษ

รือจักรภพแห่งอังกฤษ (Commonwealth of England) คือรัฐบาลสาธารณรัฐที่ปกครองอังกฤษ รวมทั้งเวลส์ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1660 หลังจากการสำเร็จโทษของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 เครือจักรภพอังกฤษกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติประกาศอังกฤษเป็นเครือจักรภพโดยรัฐสภารัมพ์ (Rump Parliament) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม..

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และเครือจักรภพแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

17 พฤษภาคม

วันที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันที่ 137 ของปี (วันที่ 138 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 228 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และ17 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

28 ธันวาคม

วันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันที่ 362 ของปี (วันที่ 363 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 3 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์และ28 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Westminster Abbeyวิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบีเวสต์มินสเตอร์เวสต์มินสเตอร์แอบบี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »