สารบัญ
13 ความสัมพันธ์: พนักงานอัยการกฎหมายกฎหมายไทยรัฐบาลสำนักงานสิทธิอัยการสูงสุดอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)อำนาจหน้าที่ความยุติธรรมประเทศออสเตรเลียประเทศไทยเสรีภาพ
พนักงานอัยการ
นักงานอัยการ (อังกฤษ: prosecutor) คือผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาล รวมถึงการรับว่าต่างหรือแก้ต่างแทนรั.
กฎหมาย
กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..
กฎหมายไทย
กฎหมายไทยเป็นแบบซีวิลลอว์ แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากคอมมอนลอว์ (ดูระบบกฎหมายโลก).
รัฐบาล
รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง หมวดหมู่:การปกครอง.
สำนักงาน
ำนักงานแห่งหนึ่ง สำนักงาน, ที่ทำการ หรือ ออฟฟิศ โดยทั่วไปหมายถึงห้องหรือพื้นที่อื่นที่ผู้คนทำงาน (ซึ่งเรียกว่าพนักงาน เจ้าพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่) และอาจแสดงถึงตำแหน่งภายในองค์การอันมีกิจเฉพาะที่ต้องทำในสำนักงาน บรรษัทหรือองค์การต่าง ๆ มักมีสำนักงานเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดอยู่ในสถานที่ตั้งทางการ สำนักงานอาจมีขนาดตั้งแต่โต๊ะเก้าอี้ตัวเล็ก ๆ ภายในบ้าน ห้องสำนักงานห้องหนึ่ง ไปจนถึงทั้งชั้นของอาคาร หรือแม้แต่อาคารทั้งหมดอุทิศให้กับองค์การเดียว สำนักงานหนึ่งอาจแบ่งด้วยผนังกั้นเป็นพื้นที่ทำงานสำหรับแต่ละแผนก ทีมงาน หรือปัจเจกบุคคล.
สิทธิ
ทธิ คือ หลักเสรีภาพหรือการให้สิทธิ์ทางกฎหมาย สังคมหรือจริยศาสตร์ นั่นคือ สิทธิเป็นกฎเชิงบรรทัดฐานพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนมีหรือเป็นของประชาชนตามบางระบบกฎหมาย ขนบธรรมเนียมทางสังคม หรือทฤษฎีจริยศาสตร์ สิทธิมีความสำคัญยิ่งในสาขาวิชาดังกล่าว เช่น กฎหมายและจริยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีความยุติธรรมและกรณียกรรม มักถือว่าสิทธิเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ถือว่าเป็นเสาหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมและวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางสังคมพบได้ในประวัติศาสตร์ของสิทธิแต่ละอย่างและพัฒนาการของมัน ตามสารานุกรมปรัชญาสแตนฟอร์ด "สิทธิให้โครงสร้างแก่ระบอบการปกครอง เนื้อหากฎหมาย และลักษณะของศีลธรรมซึ่งรับรู้ในปัจจุบัน".
อัยการสูงสุด
อัยการสูงสุด (ในระบบคอมมอนลอว์ใช้ attorney general; ในระบบซีวิลลอว์ใช้ prosecutor general หรือ advocate general) เป็นผู้นำที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล และในบางเขตอำนาจ มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ดำเนินคดีอาญา และรับผิดชอบคดีความโดยทั่วไปด้วย ขอบเขตอำนาจหน้าที่ในทางปฏิบัติของอัยการสูงสุดนั้นมักต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ในบางประเทศ อัยการสูงสุดมีความรับผิดชอบระดับรัฐมนตรีในกิจการทางกฎหมายโดยทั่วไป เช่น กรณีของอัยการสูงสุดสหรัฐ และอัยการสูงสุดออสเตรเลีย ในบางประเทศ ตำแหน่งอัยการสูงสุดเทียบเท่ารัฐมนตรียุติธรรม แต่เดิม ชื่อตำแหน่ง "attorney general" นี้ใช้เรียกบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจทั่วไป (general power of attorney) ให้ปฏิบัติการแทนผู้อื่นในกิจการทั้งปวง ในประเพณีฝ่ายคอมมอนลอว์ บุคคลใดที่เป็นผู้แทนของรัฐ โดยเฉพาะในการดำเนินคดีอาญา จะนับว่าเป็น attorney general และในอดีต เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับมอบอำนาจทั่วไปเป็นการถาวรก็เรียก attorney general แต่คำนี้เคยใช้เรียกเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจเฉพาะบางกรณีเช่นกัน ปัจจุบัน ในท้องที่ส่วนใหญ่ ชื่อตำแหน่ง attorney general นี้จำกัดไว้เฉพาะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นการถาวรให้เป็นผู้แทนโดยทั่วไปของรัฐ องค์อธิปัตย์ หรือสมาชิกราชวง.
อัยการสูงสุด (ประเทศไทย)
อัยการสูงสุด (Attorney General) คือ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานอัยการในสำนักงานอัยการสูงสุด พนักงานอัยการนั้นมีหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน หรือนักกฎหมายให้แก่รัฐ เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาในนามของรัฐ และสามารถมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่พนักงานอัยการผู้ใต้บังคับบัญชาได้ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ใช้อำนาจตุลาการบริหาร รับพิจารณาสั่งคดีขึ้นสู่ศาลและว่าความ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและรัฐตามหลักนิติรั.
ดู อัยการและอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)
อำนาจหน้าที่
ในรัฐศาสตร์ อำนาจหน้าที่ (authority) หมายถึงความสามารถในการกำหนดกฎเกณฑ์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจในการบังคับใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้น หรือความสามารถในการอนุญาตให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นได้ ผู้คนยอมทำตามอำนาจหน้าที่เนื่องจากความเคารพ ในขณะที่ยอมตามอำนาจด้วยความกลัว ตัวอย่างเช่น "สภามีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย" เมื่อเทียบกับ "ตำรวจมีอำนาจในการจับผู้กระทำความผิด" อำนาจหน้าที่นั้นไม่จำเป็นต้องมีลักษณะที่คงเส้นคงวาหรือว่าสมเหตุสมผล เพียงแต่ต้องเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นแหล่งที่สามารถให้คำอนุญาตได้หรือเป็นสิ่งที่จริงแท้ ปัญหาว่าใครจะมีอำนาจหน้าที่อะไร เป็นเสมือนหัวใจของการโต้เถียงทางการเมือง และคำตอบของคำถามเหล่านี้มักมาจากผลของการพิจารณาเชิงปฏิบัติหรือเชิงศีลธรรม จากแนวปฏิบัติที่ยึดถือกันมาและจากทฤษฎีของระบบยุติธรรมหรือจากสงครามเพื่อความยุติธรรม หน้าที่ (ความหมาย รัฐศาสตร์) คือ คุณลักษณะที่เป็นนามธรรม บ่งบอกถึงการกระทำของแต่ละบุคคลในแต่ละอาชีพ (นาย อำนาจ หมดสิ้นวาสนา).
ความยุติธรรม
ทพียุติธรรม (Lady Justice) เป็นเครื่องแทนความยุติธรรม ทรงไว้ซึ่งสัญลักษณ์สามประการ คือ พระขรรค์ หมายถึง อำนาจบังคับบัญชาของศาล ดุลพ่าห์ หมายถึง การชั่งหนักเบาซึ่งข้อหาที่รับมาอยู่ในมือ และผ้าผูกตา หมายถึง ความไม่เลือกที่รักมักที่ชังLuban, ''Law's Blindfold'', 23 ความยุติธรรม เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความถูกต้องตามศีลธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ความสมเหตุสมผล กฎหมาย กฎหมายธรรมชาติ ศาสนา ความเที่ยงธรรม (equity) และความเป็นธรรม (fairness) ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้และสิทธิโดยกำเนิดของมนุษยชาติและพลเมืองทั้งหลาย กับสิทธิของปวงชนและเอกชนที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมายซึ่งว่าด้วยสิทธิพลเมืองของพวกเขาเหล่านั้น โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ เหล่ากำเนิด สีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา ความพิการ อายุ ความยากดีมีจน และลักษณะประการอื่น ทั้งยังถือด้วยว่า รวมถึงความยุติธรรมทางสังคม.
ประเทศออสเตรเลีย
ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
เสรีภาพ
รีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคมและการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพจากพันธะบาป.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Attorney Generalยกระบัตร