โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชนี ห

ห (หีบ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 41 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ส (เสือ) และก่อนหน้า ฬ (จุฬา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ห หีบ” อักษร ห เป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /h/ แต่ไม่ใช้เป็นพยัญชนะสะกด ถึงแม้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ห ก็จะไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไปแทน เช่น พราหมณ์ (พราม) พรัหมา (พรัม-มา) เป็นต้น ห สามารถใช้เป็นอักษรนำสำหรับพยัญชนะเหล่านี้ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เพื่อให้สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง หมวดหมู่:อักษรไทย.

8 ความสัมพันธ์: พยัญชนะภาษาบาลีวรรณยุกต์อักษรนำอักษรไทยไตรยางศ์

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: หและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: หและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ (tone) หรือ วรรณยุต หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง.

ใหม่!!: หและวรรณยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

ส (เสือ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 40 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ษ (ฤๅษี) และก่อนหน้า ห (หีบ) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ส เสือ" อักษร ส เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /s/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /s/ หรือ /z/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: หและส · ดูเพิ่มเติม »

ฬ (จุฬา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ห (หีบ) และก่อนหน้า อ (อ่าง) ออกเสียงอย่าง ล (ลิง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฬ จุฬา" อักษร ฬ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /l/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/ ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ มีเพียงใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีเท่านั้น (ซึ่งจะปรากฏกลางคำหรือท้ายคำ เช่น กีฬา นาฬิกา กาฬ วาฬ) คำโบราณที่เคยใช้ ฬ ก็เปลี่ยนไปใช้ ล แทนเช่น.

ใหม่!!: หและฬ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรนำ

อักษรนำ หมายถึง พยัญชนะสองตัวเรียงกัน และผสมในสระเดียวกัน อักษรนำ คล้ายคลึงกับคำควบกล้ำ แต่คำควบกล้ำแท้จะประสานเสียงที่ออกสนิทกว่าอักษรนำ ในขณะที่คำควบกล้ำไม่แท้จะไม่ออกเสียงตัวควบกล้ำหรือเปลี่ยนเป็นเสียงอื่นเล.

ใหม่!!: หและอักษรนำ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: หและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ใหม่!!: หและไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »