โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สภาพนำยวดยิ่ง

ดัชนี สภาพนำยวดยิ่ง

แม่เหล็กกำลังลอยตัวอยู่เหนือตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูง แม่เหล็กกำลังลอยตัวอยู่เหนือตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูง Y123 สภาพนำยวดยิ่ง (superconductivity) เป็นปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่เกิดขึ้นกับวัสดุบางชนิด ณ อุณหภูมิที่ต่ำมาก จะมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ และไม่มีสนามแม่เหล็กภายในวัสดุนั้น และเรียกสารที่มีสมบัติเช่นนี้ว่าตัวนำยวดยิ่ง (superconductor) ความต้านทานไฟฟ้าในตัวนำไฟฟ้าที่เป็นโลหะนั้นจะลดลงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง อย่างไรก็ตาม ตัวนำทั่วไปอย่างเช่น ทองแดงและเงินที่ไม่บริสุทธิ์หรือมีตำหนิอื่น ๆ จะมีขีดจำกัดในการลดอุณหภูมิลง ถึงแม้อุณหภูมิจะเข้าใกล้ศูนย์สัมบูรณ์ แต่ทองแดงก็ไม่สามารถมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ได้ ในทางตรงกันข้าม ความต้านทานของตัวนำยวดยิ่งนั้นจะแสดงสภาพความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ได้โดยไม่ต้องลดอุณหภูมิให้ถึงศูนย์สัมบูรณ์ เพียงแค่ลดอุณหภูมิให้ถึงค่า ๆ หนึ่งที่เรียกว่า"อุณหภูมิวิกฤต" (Critical Temperature) ความต้านทานไฟฟ้าจะมีค่าเป็นศูนย์อย่างทันที่ทันใด กระแสไฟฟ้าจะไหลในวงจรที่มีสายไฟที่มีสภาพตัวนำยวดยิ่งอย่างไม่จำกัดโดยไม่มีการสูญเสียกำลังเลยแม้แต่น้อย ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจหนึ่งของตัวนำยวดยิ่ง คือ ปรากฏการณ์ทางแม่เหล็ก ที่เรียก ว่า ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ โดยถ้านำก้อนของตัวนำยวดยิ่งในสถานะปกติไปวางใน สนามแม่เหล็กอ่อน ๆ และให้อุณหภูมิมากกว่าอุณหภูมิวิกฤต จะไม่มีปรากฏการณ์พิเศษอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้านำก้อนของตัวนำยวดยิ่งในสภาพนำยวดยิ่งไปวางในสนามแม่เหล็กอ่อน ๆ และให้อุณหภูมิน้อยกว่าอุณหภูมิวิกฤตตัวนำ จะประพฤติตัวเป็นแม่เหล็กไดอาที่สมบูรณ์ จะทำให้มีสนามแม่เหล็กภายในตัวนำจะเท่ากับศูนย์ และเส้นแรงแม่เหล็กจะถูกผลักออกจากตัวนำ สภาพนำยวดยิ่งเป็นปรากฏการณ์ทางกลศาสตร์ควอนตัมเช่นเดียวกับ ferromagnetism และ atomic spectral lines ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าตัวนำยวดยิ่งจะมีสภาพนำไฟฟ้าที่สมบูรณ์แบบตามแบบฉบับของฟิสิกส์ยุคเก่า ทั้งนี้ตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมนี้สามารถใช้ทฤษฎีบีซีเอส อธิบายได้ สภาพนำยวดยิ่งเกิดขึ้นกับสสารหลายชนิด รวมไปถึงธาตุที่หาง่ายอย่างดีบุกและอะลูมิเนียมหรือวัสดุมีค่าอย่างอัลลอยและสารกึ่งตัวนำที่ถูกโดปอย่างหนักบางชนิดอีกด้วย สภาพนำยวดยิ่งจะไม่เกิดขึ้นในโลหะมีค่าอย่างทองคำหรือเงินหรือสารแม่เหล็กส่วนใหญ่ ในปัจจุบันตัวนำยวดยิ่งสามารถแบ่งได้ตามสมบัติแม่เหล็กได้เป็น 2 ชนิดคือ ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 และตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 ในปี 1986 มีการค้นพบตระกูลวัสดุเซรามิค cuprate-perovskite ที่รู้จักกันดีในชื่อของ ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง (High temperature superconductor) โดยมีอุณหภูมิวิกฤตประมาณ 90 เคลวิน อย่างไรก็ตามอุณหภูมินี้ก็สูงเพียงพอที่จะนำมาใช้งานโดยหล่อเย็นด้วยไนโตรเจนเหลว (77 เคลวิน) ที่มีราคาไม่แพงมากนัก ทำให้สารชนิดนี้เป็นที่น่าสนใจและนำมาสู่การวิจัยค้นคว้าสภาพนำยวดยิ่งกันอย่างแพร่หลาย สารชนิดนี้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน.

32 ความสัมพันธ์: ช่องว่างพลังงานพีคโคเฮียเรนซ์กลศาสตร์ควอนตัมการลอยได้ของแม่เหล็กวัสดุศูนย์สัมบูรณ์สปินแบบซิงเลตสนามแม่เหล็กอะลูมิเนียมอุณหภูมิธาตุหายากทฤษฎีบีซีเอสทองคำทองแดงดีบุกความร้อนจำเพาะความต้านทานและการนำไฟฟ้าความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ตัวนำยวดยิ่งชนิดมีเหล็กเป็นองค์ประกอบตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิห้องตัวนำไฟฟ้าปรากฏการณ์ไมสเนอร์ปรากฏการณ์ไอโซโทปปรากฏการโจเซฟซันโลหะเจือเอนโทรปีเงินตราHigh-temperature superconductivityTechnological applications of superconductivity

ช่องว่างพลังงาน

องว่างพลังงาน เป็นสมบัติอย่างหนึ่งของตัวนำยวดยิ่ง โดยเป็นช่องว่างพลังงานที่คั่นระหว่างสถานะปกติและสถานะนำยวดยิ่งตามทฤษฎีแถบพลังงาน(Energy band) นอกจากนี้พบว่าทั้งตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมและแบบอุณหภูมิสูงสามารถทำการทดลองเพื่อวัดค่าช่องว่างพลังงานได้ แต่ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของขนาดช่องว่างพลังงานที่วัดได้ โดยตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมจะมีค่าของอันตราส่วนระหว่างช่องว่างพลังงาน (∆(0)) กับอุณหภูมิวิกฤต เป็น (2∆(0))/Tc.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและช่องว่างพลังงาน · ดูเพิ่มเติม »

พีคโคเฮียเรนซ์

Kittel,Charlws (1997). Introduction to Solid State Physics 7th edition: Jonh Wiley & Sons.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและพีคโคเฮียเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลศาสตร์ควอนตัม

'''ฟังชันคลื่น''' (Wavefunction) ของอิเล็กตรอนในอะตอมของไฮโดรเจนที่ทรงพลังงานกำหนดแน่ (ที่เพิ่มลงล่าง ''n''.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและกลศาสตร์ควอนตัม · ดูเพิ่มเติม »

การลอยได้ของแม่เหล็ก

การลอยได้ของแม่เหล็ก เป็นกระบวนการที่วัตถุลอยตัวอยู่เหนือสนามแม่เหล็กโดยที่แรงแม่เหล็กจะต้านความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกและความเร่งอื่นๆ มีประเด็นหลักอยู่ 2 ประการที่เกี่ยวข้องกับการลอยได้ของแม่เหล็ก คือ แรงที่มากเพียงพอที่ทำให้วัตถุนั้นสามารถต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก,ความเสถึยร เพื่อให้ระบบทางแม่เหล็กนั้นอยู่ในภาวะสมดุล การลอยได้ของแม่เหล็กสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับรถไฟพลังแม่เหล็กและประยุกต์ในทางด้านต่าง.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและการลอยได้ของแม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

วัสดุ

วัสดุ หรือ วัตถุดิบ (material) เป็นแก่นสารทางวัตถุที่ใช้ในกระบวนการผลิต เป็นวัตถุในขั้นแรกที่ได้มาจากแหล่งวัตถุดิบก่อนจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตผล สำหรับการอุปโภคหรือบริโภค ประเภทของวัสดุ อาจจำแนกตามสสารที่ประกอบเป็นวัสดุ เช่น ไม้ กระดาษ กระจก ปูนซิเมนต์ หรือ จำแนกตามการใช้งานเช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุอุตสาหกรรม วัสดุตกแต่ง.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและวัสดุ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์สัมบูรณ์

ูนย์สัมบูรณ์ (Absolute zero) คืออุณหภูมิในทางทฤษฎีที่เอนโทรปีจะมีค่าต่ำที่สุด ซึ่งเท่ากับ 0 เคลวิน หรือ −273.15 องศาเซลเซียส (−459.67 องศาฟาเรนไฮต์) ในการตีความดั้งเดิม ศูนย์สัมบูรณ์เป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารไม่มีพลังงานจลน์ แต่ปัจจุบันถือว่าพลังงานจลน์ที่สถานะพื้นไม่สามารถทำให้หายไปได้ ศูนย์สัมบูรณ์เป็นอุณหภูมิที่อนุภาคทุกชนิดหยุดการเคลื่อนไหวอย่างสิ้นเชิงตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม ดังนั้นศูนย์สัมบูรณ์จึงน่าจะเป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารสั่นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งอาจไม่ต้องพิจารณาปริมาตรของแก๊ส ณ อุณหภูมินี้ เพราะแก๊สจะกลายเป็นของเหลวไปก่อนที่อุณหภูมิจะลดลงถึงตำแหน่งนี้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติยังไม่สามารถสร้างสภาพศูนย์สัมบูรณ์ขึ้นมาได้จริง หมวดหมู่:อุณหภูมิ หมวดหมู่:ความเย็น อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามกาประเทศไทย บายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ อุณหพลศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก ซึ่งกำหนดขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนฟิสิกส์สถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและศูนย์สัมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สปินแบบซิงเลต

Kittel,Charlws (1997). Introduction to Solid State Physics 7th edition: Jonh Wiley & Sons.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและสปินแบบซิงเลต · ดูเพิ่มเติม »

สนามแม่เหล็ก

กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเส้นลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (M) รอบๆ บริเวณเส้นลวด ทิศทางของสนามแม่เล็กที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปตามกฎมือขวา กฎมือขวา Hans Christian Ørsted, ''Der Geist in der Natur'', 1854 สนามแม่เหล็ก นั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า หรือในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น การสปิน(การหมุนรอบตัวเอง) ของอนุภาคต่างๆ ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นกัน ซึ่งสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการ สปิน เป็นที่มาของสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรต่างๆ สนามแม่เหล็กคือปริมาณที่บ่งบอกแรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล เรามักจะเขียนแทนสนามแม่เหล็กด้วยสัญลักษณ์ \mathbf\ เดิมทีแล้ว สัญลักษณ์ \mathbf \ นั้นถูกเรียกว่าความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กหรือความเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ในขณะที่ \mathbf.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและสนามแม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและอะลูมิเนียม · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุหายาก

แร่หายาก ขนาดเมื่อเทียบกับเหรียญเพนนีของสหรัฐอเมริกา accessdate.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและธาตุหายาก · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีบีซีเอส

ทฤษฎี BCS เสนอโดย จอห์น บาร์ดีน (John Bardeen), ลีออน นีล คูเปอร์ (Leon Neil Cooper) และ จอห์น รอเบิร์ต ชริฟเฟอร์ (John Robert Schrieffer) (BCS) ในปี 1957 เป็นทฤษฎีระดับจุลภาค กล่าวคือเป็นทฤษฎีที่เริ่มต้นการพิจารณาสมบัติของตัวนำยวดยิ่งจากกลไกที่เล็กที่สุดทฤษฎีแรกของสภาพนำยวดยิ่งตั้งแต่ที่ได้ถูกค้นพบในปี 1911 เป็นทฤษฎีที่อธิบายสภาวะการนำไฟฟ้ายวดยิ่งที่เป็นผลลัพธ์ระดับจุลภาค ที่เกิดจาก"การควบแน่น"ของคู่อิเล็กตรอนเข้าสู่สถานะคล้ายสถานะ โบซอน (BOSON)กลายเป็นคู่ของอิเล็กตรอนหรือที่เรียกว่าคู่คูเปอร์ จากผลงานวิจัยนี้ทำให้ บาร์ดีน คูเปอร์ และชริฟเฟอร์ ได้รับรางวัลโนเบล ใน ปี 1972 โดยมีคำอธิบายว่า "for their jointly developed theory of superconductivity, usually called the BCS-theory".

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและทฤษฎีบีซีเอส · ดูเพิ่มเติม »

ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดีบุก

ีบุก (อังกฤษ: Tin) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum) ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี หลอมเหลวได้ง่าย ทนต่อการกัดกร่อน และถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite).

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและดีบุก · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อนจำเพาะ

วามร้อนจำเพาะ (Specific Heat) เป็นคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของวัตถุที่สามารถวัดได้ โดยอธิบายความสามารถในการเก็บความร้อนของวัตถุนั้น.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและความร้อนจำเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

ความต้านทานและการนำไฟฟ้า

วามต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance) ของ ตัวนำไฟฟ้า เป็นตัวชี้วัดของความยากลำบากในการที่จะผ่าน กระแสไฟฟ้า เข้าไปในตัวนำนั้น ปริมาณที่ตรงกันข้ามคือ การนำไฟฟ้า (electrical conductance) เป็นความสะดวกที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ความต้านทานไฟฟ้าเปรียบเหมือน แรงเสียดทาน ทางเครื่องกล หน่วย SI ของความต้านทานไฟฟ้าจะเป็น โอห์ม สัญญลักษณ์ Ω ในขณะที่การนำไฟฟ้าไฟฟ้ามีหน่วยเป็น ซีเมนส์ (S) วัตถุที่มีหน้าตัดสม่ำเสมอจะมีความต้านทานเป็นสัดส่วนกับ สภาพต้านทาน และ ความยาวของมัน และแปรผกผันกับพื้นที่หน้าตัดของมัน วัสดุทุกชนิดจะแสดงความต้านทานเสมอยกเว้น ตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ซึ่งมีความต้านทานของศูนย์ ความต้านทาน (R) ของวัตถุจะถูกกำหนดให้เป็นอัตราส่วนของ แรงดันไฟฟ้า ตกคล่อมตัวมัน (V) ต่อกระแสที่ไหลผ่านตัวมัน (I) ในขณะที่การนำไฟฟ้า (G) เป็นตรงกันข้าม ตามสมการต่อไปนี้: สำหรับวัสดุและเงื่อนไขที่หลากหลาย V และ I จะเป็นสัดส่วนโดยตรงซึ่งกันและกัน ดังนั้น R และ G จึงเป็นค่า คงที่ (แม้ว่าพวกมันยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ก็ตาม เช่นอุณหภูมิหรือความเครียด) สัดส่วนนี้จะเรียกว่า กฎของโอห์ม และวัสดุที่เป็นไปตามกฏนี้จะเรียกว่า วัสดุ โอห์ม (ohmic material) ในกรณีอื่น ๆ เช่น ไดโอด หรือ แบตเตอรี่ V และ I จะ ไม่ได้ เป็นสัดส่วนโดยตรงกัน อัตราส่วน V/I บางครั้งก็ยังคงเป็นประโยชน์และถูกเรียกว่า "ความต้านทานสถิตย์" ในสถานการณ์อื่น ๆ อนุพันธ์ \frac \,\! อาจจะมีประโยชน์มากที่สุด ค่านี้จะเรียกว่า "ความต้านทานดิฟเฟอเรนเชียล" (differential resistance).

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและความต้านทานและการนำไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์

วามต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ จะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของตัวนำยวดยิ่งจนถึงอุณหภูมิวิกฤต จะมีการเปลี่ยนสถานะจาะสถานะปกติไปเป็นสถานะนำยวดยิ่ง ซึ่งทำให้ค่าความต้านทานไฟฟ้ามีค่าเป็นศูนย์อย่างทันทีทันใด เช่น ผลการทดลองวัดความต้านทานไฟฟ้าของปรอทที่อุณหภูมิต่างๆ จะพบว่าเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 4.2 เคลวิน ความต้านทานไฟฟ้าของปรอทจะลดลงเป็นศูนย์อย่างทันทีทันใด ดังนั้นจะสามารถกล่าวได้ว่าปรอทมีคุณสมบัติเป็นตัวนำยวดยิ่งที่มีอุณหภูมิวิกฤติ เท่ากับ 4.2 เคลวิน.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวนำยวดยิ่งชนิดมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ

รงสร้างผลึกของตัวนำยวดยิ่ง LaFeAsO (Pn – นิกโทเจน, Ln – แลนทาไนด์) ตัวนำยวดยิ่งชนิดมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ (iron-based superconductor, FeSC) คือสารประกอบทางเคมีที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีคุณสมบัติสภาพนำยวดยิ่ง ค้นพบในปี..

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและตัวนำยวดยิ่งชนิดมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1

ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 (Type-I superconductor) โดยทั่วไปของตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 เมื่ออุณหภูมิและสนามแม่เหล็กที่มีค่าสูงๆ จะสามารถทำลายสภาพนำยวดยิ่งได้ ดังนั้นถ้าควบคุมอุณหภูมิให้มีค่าคงตัวค่าหนึ่ง โดยที่อุณหภูมินั้นมีค่าต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤติ และมีค่าสนามแม่เหล็กวิกฤติ (Hc) 1 ค่า เมื่อสนามแม่เหล็กที่ให้มีขนาดน้อยกว่า Hc ตัวนำจะยังคงสภาพนำยวดยิ่งอยู่ แต่ถ้าสนามแม่เหล็กที่ให้มีค่ามากกว่า Hc ตัวนำจะสูญเสียสภาพนำยวดยิ่งและกลายเป็นตัวนำปกติ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะยังคงต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤตก็ตาม เรียก Hc ว่าสนามแม่เหล็กวิกฤต ตัวนำยวดยิ่งชนิดนี้จะให้ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ที่สมบูรณ์ และโดยทั่วไปค่า Hc ของตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 นี้จะมีขนาดที่ต่ำมากจึงไม่เพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้งาน โดยตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 จะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 ที่สนามแม่เหล็กวิกฤต คือ มีการแสดงสนามแม่เหล็กวิกฤติถึงสอง.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2

ในการศึกษาเกี่ยวกับสภาพนำยวดยิ่ง ตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 (Type-II superconductor) The B-T diagram of type-II superconductor.คือลักษณะของการก่อตัวของกระแสหมุนวนของแม่เหล็ก (magnetic vortices) ในสนามแม่เหล็กที่นำมาใช้ สิ่งนี้เกิดขึ้นนอกเหนือไปจากบางค่าของความเข้มของสนามวิกฤติ Hc1 ความหนาแน่นของกระแสหมุนวนเพิ่มขึ้นด้วยความเข้มของสนามที่เพิ่มขึ้น ที่สนามวิกฤติที่สูงขึ้น Hc2 สภาพนำไฟฟ้ายวดยิ่งจะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงและตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 จะไม่เกิดปรากฏการณ์ไมส์เนอร์(Meissner effect)ขึ้นอย่างสมบูรณ์เหมือนกับตัวนำยวดยิ่งประเภทที่ 1.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและตัวนำยวดยิ่งชนิดที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง

ตัวอย่าง เล็ก ๆ ของตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงของสารประกอบออกไซด์ของ บิสมัท สทรอนเทียม แคลเซียม คอปเปอร์ (strontium calcium copper oxide) BSCCO-2223 ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง (คำย่อ Tc-สูง หรือ HTS) เป็นวัสดุที่ทำตัวเป็นตัวนำยวดยิ่งที่อุณหภูมิสูงผิดปกติจากอุณหภูมิเริ่มต้น ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงได้ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Bednorz และ Muller ที่ ห้องปฏิบัติการ IBM ที่เมือง Zuich ในปี 1986 โดยได้ตีพิมพ์เป็นผลงานชื่อว่า “ Possible High Superconductivity in System” และในปีถัดมาคือ 1987 พวกเขาได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบครั้งนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรางวัลโนเบลที่มีช่วงเวลาการค้นพบถึงเวลาการประกาศได้รับ รางวัลที่สั้นที่สุด ทำให้รู้ว่าตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมินั้นมีความสำคัญ จึงทำให้มีการศึกษาและค้นคว้าอย่างรวดเร็ว การค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิแสดงถึงความสำคัญของการค้นพบ โดยได้มีคำอธิบายของการค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงนี้ว่า for their important break-through in the discovery of superconductivity in ceramic materials ในขณะที่ตัวนำยวดยิ่ง "ธรรมดา" หรือโลหะมักจะมีอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง (อุณหภูมิต่ำกว่า) ประมาณ 30 K (-243.2 ° C) แต่ตัวนำยวดยิ่ง HTS นั้นจะถูกสังเกตเห็นได้ที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสูงที่สุดที่ 138 K (-135 ° C) และหลังจากการค้นพบตัวนำยวดยิ่งที่มีอุณหภูมิวิกฤตสูงกว่าจุดเดือดของไนโตรเจน เหลวได้แล้ว ต่อมาก็ได้มีพัฒนาการในด้านต่างๆอย่างชัดเจนมากขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทดลอง ซึ่งได้มีการพัฒนาจนก้าวหน้าล้ำการศึกษาค้นคว้าในด้านทฤษฎีอย่างเทียบกันไม่ ได้ กล่าวคือตัวนำตัวยวดยิ่งอุณหภูมิสูง(HTS) ที่เตรียมนั้นได้มีสมบัติหลายประการที่ไม่สามารถใช้ทฤษฎี BCS อธิบายได้ และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีทฤษฎีใดที่จะสามารถอธิบายตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงได้อย่างครอบคลุมและชัดเจนได้เลย การ ค้นพบตัวนำยวดยิ่ง ที่มีอุณหหภูมิวิกฤตสูงกว่าจุดเดือดของไนโตรเจนเหลว นำมาซึ่งการตื่นตกใจครั้งใหญ่ในวงการฟิสิกส์เป็นอย่างมาก เพราะยังไม่มีใครที่สามารถค้นพบและระบุได้ชัดเจนมาก่อน และเนื่องจากตัวนำยวดยวดยิ่งเป็นสารที่มีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ที่อุณหภูมิ ต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต และไนโตรเจนเหลวเป็นสารหล่อเย็นที่มีราคาถูก โดย ไนโตรเจนเหลวจะมีราคาประมาณ 1,000 บาทต่อ 100 ลิตร คิดแล้วก็ประมาณลิตรละ 10 บาท ส่วนน้ำดื่มที่ขายเป็นขวดๆละ 1 ลิตรราคาก็เกือบ 10 บาท ดั้งนั้นอาจกล่าวได้ว่าสำหรับประเทศไทยไนโตรเจนเหลว มีราคาถูกพอๆกับน้ำเปล่า และเมื่อมีการใช้งานมากขึ้นราคาก็จะถูกลงได้อีก ดังนั้นจะมีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะใช้ตัวนำยวดยิ่งทำสายไฟในอุปกรณ์ไฟฟ้าและจะไม่มีการสูญเสียพลังงานให้ กับความต้านทานทำให้ได้เครื่องใช้ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่จะมีการสูญเสียพลังงานและค่าใช้จ่ายให้กับไนโตรเจนเหลวแทน และเนื่องจากตัวนำยวดยิ่งยังมีสมบัติอื่นอีก เช่น การลอยตัวนิ่งเหนือแท่งแม่เหล็ก ซึ่งมีการนำไปประยุกต์ทำรถไฟฟ้าได้แล้ว ทำให้ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงเป็นสารที่ได้รับความสนใจมาก.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิห้อง

รประกอบเซรามิกอิตเทรียมแบเรียมคอปเปอร์ออกไซด์ (Yttrium barium copper oxide หรือ YBCO) มีสูตรทางเคมี YBa2Cu3O7−x (โดย x มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 0.65) มันเป็นวัสดุชนิดแรกที่ค้นพบว่ามีอุณหภูมิวิกฤติของการเปลี่ยนสภาพเป็นตัวนำยิ่งยวดสูงกว่าจุดเดือดของไนโตรเจนเหลว คุณสมบัติพิเศษที่ทำให้ YBCO เป็นตัวนำยิ่งยวดได้ในอุณหภูมิสูงเมื่อเทียบกับวัสดุตัวนำยิ่งยวดอื่นๆ คือ ในโครงสร้างผลึกของมัน มีชั้นบางๆ ของคอปเปอร์ออกไซด์ประกบสลับกับชั้นแบเรียม/คอปเปอร์/ออกซิเจนที่หนากว่า ตรงชั้นคอปเปอร์ออกไซด์จะมีอิเล็กตรอนที่จับคู่กันเกิดเป็น Cooper pair ขึ้น ซึ่งอิเล็กตรอนที่จับคู่กันเป็น Cooper pair จะสามารถวิ่งทะลุผ่านชั้นในโครงผลึกได้เสมือนเป็น "วิญญาณ" นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านผลึก YBCO ได้โดยไม่มีแรงต้านทาน (ความจริง มันไม่ใช่วิญญาณหรอก แต่อิเล็กตรอนเป็นอนุภาค fermion มีสปิน -1/2 พอจับคู่กันเป็น Cooper pair ก็จะมีสปิน 0 หรือ 1 ทำให้มันประพฤติตัวเหมือนเป็นอนุภาค boson ได้ตามทฤษฎี BCS theory และสามารถวิ่งทะลุไปยังชั้นคอปเปอร์ออกไซด์อีกชั้นได้ด้วยปรากฏการณ์ Quantum tunneling).

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิห้อง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวนำไฟฟ้า

ตัวนำไฟฟ้า ในวิชาฟิสิกส์และวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นวัตถุหรือประเภทของวัสดุที่ให้ประจุไฟฟ้าไหลผ่านได้หนึ่งหรือหลายทิศทาง ตัวอย่างเช่น สายหุ้มฉนวนเป็นตัวนำไฟฟ้า เพราะสามารถนำไฟฟ้าได้ตามแนวยาว แต่ไม่ข้ามความกว้าง ในวัสดุโลหะนำไฟฟ้า เช่น ทองแดงหรืออะลูมิเนียม อนุภาคประจุเคลื่อนที่ได้ คือ อิเล็กตรอน ประจุบวกยังอาจเคลื่อนที่ได้เช่นกัน เช่น อิเล็กโทรไลต์แคทไอออนของแบตเตอรี หรือโปรตอนเคลื่อนที่ในตัวนำโปรตอนของเซลล์เชื้อเพลิง ส่วนฉนวนเป็นวัสดุไม่นำไฟฟ้าโดยมีประจุเคลื่อนที่น้อย และสนับสนุนกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กน้อย หมวดหมู่:วิศวกรรมพลังงาน หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์ หมวดหมู่:ไฟฟ้า.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและตัวนำไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์ไมสเนอร์

ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ (Meissner effect) เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจปรากฏการณ์หนึ่งของตัวนำยวดยิ่ง คือปรากฏการณ์ทางแม่เหล็ก ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ ถ้าสารมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิวิกฤตเมื่อใส่สนามแม่เหล็กเข้าไป เส้นแรงแม่เหล็กจะสามารถทะลุผ่านสารนี้ได้ แต่ถ้าลดอุณหภูมิของสารลงจนกระทั่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต สารจะเปลี่ยนสภาพเป็นตัวนำยวดยิ่ง จากนั้นใส่สนามแม่เหล็กภายนอกเข้าไปอีกครั้งพบว่าเส้นแรงแม่เหล็กนี้ไม่สามารถทะลุผ่านเข้าไปในเนื้อของตัวนำยวดยิ่งได้ เนื่องจากสนามแม่เหล็กภายนอกทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่ผิวของตัวนำยวดยิ่งและกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นทำให้เกิดสนาม แม่เหล็กต่อต้านสนามแม่เหล็กภายนอกที่ใส่เข้าไป เป็นผลให้สนามแม่เหล็กภายในตัวนำยวดยิ่งมีค่าเป็นศูนย์ และทำให้ตัวนำยวดยิ่งมีสมบัติของสารแม่เหล็กไดอาแบบสมบูรณ์ (Perfect diamagnetic) ภาพแสดงผลของตัวนำยวดยิ่งที่อยู่ภายใต้สนามแม่เหล็ก ในขณะที่มีอุณหภูมสูงกว่าและต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต จากปรากฏการณ์นี้ถ้าทำการทดลองในแนวดิ่ง โดยวางตัวนำยวดยิ่งเหนือแม่เหล็ก หรือวางแม่เหล็กเหนือตัวนำยวดยิ่งก็ได้ เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต เส้นแรงแม่เหล็กไม่สามารถผ่านออกมาจากตัวนำยวดยิ่งได้ ทำให้ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่รอบตัวนำยวดยิ่งไม่สม่ำเสมอ จึงเกิดแรงผลักขึ้นระหว่างตัวนำยวดยิ่งกับแม่เหล็ก และถ้าวัสดุตัวบนมีน้ำหนักไม่มากนักก็จะ สามารถถูกยกลอยขึ้นได้ เรียกว่า เกิดการยกตัวด้วยแม่เหล็ก (Magnetic levitation) ปรากฏการณ์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง (MagLev Train).

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและปรากฏการณ์ไมสเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์ไอโซโทป

Kittel,Charlws (1997). Introduction to Solid State Physics 7th edition: Jonh Wiley & Sons.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและปรากฏการณ์ไอโซโทป · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการโจเซฟซัน

Oak Ridge National Laboratory: http://www.ornl.gov/sci/htsc/pdfs/SuperconTimeline202000.pdf.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและปรากฏการโจเซฟซัน · ดูเพิ่มเติม »

โลหะเจือ

ลหะเจือ โลหะผสม หรือ อัลลอย (alloy) คือวัสดุที่เกิดจากการรวมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยวัสดุโลหะเจือที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากส่วนประกอบเดิมของมัน โลหะเจือถ้าเกิดจากโลหะ 2 ชนิด เรียกว่า ไบนารี่อัลลอย (binary alloy), 3 ชนิด เรียกว่า เทอร์นารี่อัลลอย (ternary alloy), 4 ชนิด เรียกว่า ควอเทอร์นารี่อัลลอย (quaternary alloy) ตามธรรมดาโลหะเจือจะถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าการดูที่ส่วนผสมของมัน ตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าจะแข็งแรงกว่าเหล็กซึ่งเป็นธาตุเหล็ก ทองเหลืองจะมีความทนทานมากกว่าทองแดง แต่มีความสวยงามน่าดึงดูดใจมากกว่าสังกะสี ต่างจากโลหะบริสุทธิ์ โลหะเจือหลายชนิดไม่ได้มีจุดหลอมเหลวจุดเดียว มันจะมีช่วงหลอมเหลว (melting range) แทน ซึ่งในวัสดุจะเป็นของผสมระหว่างเฟสของแข็งและของเหลว อุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวเริ่มเรียกว่า โซลิดัส (solidus) และอุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวหมดเรียกว่า ลิควิดัส (liquidus) โลหะเจือพิเศษสามารถจะออกแบบให้มีจุดหลอมเหลวเดียวได้ ซึ่งเรียกโลหะเจือนี้ว่า ยูทีติกมิกซ์เจอร์ (eutectic mixture) บางครั้งโลหะเจือตั้งชื่อตามโลหะพื้นฐาน เช่น ทอง 14 เค หรือ 14 การัต (58%) ทองคำ คือโลหะเจือที่มีทองอยู่ 58 % ที่เหลือเป็นโลหะอื่น เช่นเดียวกับ เงิน ใช้ในเพชร (jewellery) และอะลูมิเนียม โลหะเจือมีดังนี้.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและโลหะเจือ · ดูเพิ่มเติม »

เอนโทรปี

การละลายของน้ำแข็งในน้ำ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปีของน้ำแข็ง ซึ่งเดิมมีโมเลกุลเรียงอยู่กับที่ มาเป็นโมเลกุลเคลื่อนที่ไปมาภายในแก้ว เอนโทรปี (entropy) มาจากภาษากรีก εν (en) แปลว่าภายใน รวมกับ τρέπω (trepo) แปลว่า ไล่ หนี หรือ หมุน ถือเป็นหัวใจของกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้ความแตกต่างของ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ แรงดัน ความหนาแน่น หรือค่าอื่น ๆ ในระบบค่อย ๆ น้อยลงจนกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งต่างจากกฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงการอนุรักษ์พลังงาน เอนโทรปีเป็นจำนวนซึ่งใช้อธิบายระบบอุณหพลศาสตร์ เมื่อมองในระดับโมเลกุล กระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวที่ไม่เป็นระเบียบมากขึ้น สามารถแทนได้ด้วยค่าเอนโทรปีที่เพิ่มขึ้น ในการคำนวณ นิยมใช้สัญลักษณ์ S ซึ่งนิยามจากสมการดิฟเฟอเรนเซียล dS.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและเอนโทรปี · ดูเพิ่มเติม »

เงินตรา

งิน หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริบทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า และ (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้าT.H. Greco.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและเงินตรา · ดูเพิ่มเติม »

High-temperature superconductivity

ปกติแล้วสารตัวนำยวดยิ่งที่เป็นโลหะจะแสดงสมบัติความเป็นตัวนำยวดยิ่งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 K(-243.2°C) ซึ่งจำเป็นต้องให้ความเย็นด้วยฮีเลียมเหลว(Liquid Helium) แต่หลังจากการค้นพบสารตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงที่ 138 K(-135°C) ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ฮีเลียมเหลวในการให้ความเย็นอีกต่อไปใช้เพียงไนโตรเจนเหลว(Liquid Nitrogen)<ref name.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและHigh-temperature superconductivity · ดูเพิ่มเติม »

Technological applications of superconductivity

การประยุกต์ใช้สารตัวนำยวดยิ่ง.

ใหม่!!: สภาพนำยวดยิ่งและTechnological applications of superconductivity · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สภาพตัวนำยิ่งยวดสมบัติเชิงความร้อนความหนาแน่นกระแสวิกฤต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »