โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าอชาตศัตรู

ดัชนี พระเจ้าอชาตศัตรู

ูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู (अजातशत्रु; ครองราชย์ 2 ปีก่อน พ.ศ.- พ.ศ. 83) พระราชาองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ พระธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศลและพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นอุบาสก และผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

17 ความสัมพันธ์: พระปัจเจกพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าปเสนทิโกศลพระเทวทัตพุทธศักราชราชคฤห์ศาสนาพุทธสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธสุมังคลวิลาสินีอุบาสก อุบาสิกาทศพิธราชธรรมทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงปัฏนาปิตุฆาตแคว้นมคธเลือด

พระปัจเจกพุทธเจ้า

ระปัจเจกพุทธเจ้า (ปจฺเจกพุทฺธ; ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรมเช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น) พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดีแต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตรในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขาแห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า) พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย".

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและพระปัจเจกพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพิมพิสาร

กหลวงเมืองราชคฤห์ สถานที่พระเจ้าพิมพิสารถูกจองจำจนเสด็จสวรรคตในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระเจ้าพิมพิสาร (-pi; बिम्बिसार, 14 ปีก่อนพุทธศักราช—พ.ศ. 53) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธ พระองค์ได้ครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 52 ปี มีพระอัครมเหสีพระนามว่าเวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระสหายกับพระโคตมพุทธเจ้าสมัยที่ยังเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์นับถือพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางเวเทหิ เป็นพระกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) โหรทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิสนพระทัยต่อคำทำนาย ทรงอบรมให้การศึกษาพระโอรสเป็นอย่างดี เจ้าชายก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหาร และทำการทรมานต่างๆ เช่น กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อให้เดินจงกรมทำสมาธิไม่ได้ เป็นต้น จนพระองค์เสด็จสวรรคต ไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อ "ชนวสภะ" ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์ศาสนาพุทธเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายทั่วแคว้นม.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและพระเจ้าพิมพิสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าปเสนทิโกศล

ปเสนทิ (ปะ-เส-นะ-ทิ; Pasenadi) หรือ ประเสนชิต (ปฺระ-เส-นะ-ชิด; Prasenajit) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศลจากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสาวัตถี สืบต่อจากพระบิดา คือ พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล ถือเป็นอุบาสกที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างวิหารอารามไว้หลายแห่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและพระเจ้าปเสนทิโกศล · ดูเพิ่มเติม »

พระเทวทัต

ระเทวทัต เป็นพระภิกษุในสมัยพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสุปปพุทธะผู้ครองกรุงเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะ จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธองค์ พระเทวทัตเป็นที่รู้จักกันดีจากเรื่องราวในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ว่าเป็นผู้ที่มีความร้ายกาจ กระทำแต่เรื่องไม่สมควรต่อพระพุทธเจ้าเป็นอันมากมาย ตลอดเวลาแห่งการบำเพ็ญพรตในพุทธวิสัยตั้งแต่ครั้งพระพุทธโคดมยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตลอดถึงในปัจจุบันชาติ พระเทวทัตก็ยังคงประพฤติผิดถึงกับกระทำอนันตริยกรรมคือลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าและทำสังฆเภท ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า เดิมนั้นท่านออกบวชด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทว่าในที่สุดพระเทวทัตได้สำนึกผิดเมื่อช้าไป ได้ถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรกหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร แต่ด้วยการกระทำที่เคยบำเพ็ญบุญบารมีมาแล้วในอดีตมากนับประมาณ และประกอบกับการเห็นถูกต้องตรงสัมมาทิฏฐิเมื่อก่อนสิ้นใจกลับสำนึกผิดมอบถวายกระดูกคางด้วยเป็นพระพุทธบูชาแม้ในขณะวินาทีสุดท้ายในขณะที่ถูกแผ่นดินสูบ ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ด้วยเหตุนั้น ว่าเมื่อพระเทวทัตสิ้นกรรมจากอเวจีมหานรก จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าอัฏฐิสสระในอนาคต.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและพระเทวทัต · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและพุทธศักราช · ดูเพิ่มเติม »

ราชคฤห์

ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและราชคฤห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ

ถ้ำสัตตบรรณคูหาสถานที่ปฐมสังคายนา ปฐมสังคายนา เป็นการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก กระทำขึ้นหลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้เพียง 3 เดือน สาเหตุสืบเนื่องมาจากพระมหากัสสปะ เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานจึงรีบเดินทางมาจากเมืองปาวา แต่ระหว่างทางพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนได้ร้องไห้คร่ำครวญขึ้นมาทำให้มีภิกษุผู้บวชเมื่อแก่นามว่าสุภัททะ ได้กล่าววาจาจาบจ้วงพระพุทธเจ้าพระมหากัสสปะจะลงโทษพระสุภัททะแต่ก็รอให้ผ่านพิธีถวายพระเพลิงเสียก่อน หลังจากพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระได้ผ่านไปแล้ว 3 เดือนพระมหากัสสปะจึงได้ชักชวนพระอรหันต์ทั้งสิ้น 500 รูปมาร่วมสังคายนาพระไตรปิฎกโดยมีท่านเป็นประธานและทำหน้าที่ซักถามพระวินัยและพระธรรมส่วน พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์ซึ่ง 1 วันก่อนสังคายนาท่านได้บำเพ็ญธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม และได้พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก โดยสถานที่ทำปฐมสังคายนาคือ ถ้ำสัตบรรณคูหา กระทำทั้งสิ้น 7 เดือนจึงสำเร็จ ผลของการสังคายนา ไม่มีพระสงฆ์รูปใดกล่าวดูหมิ่น หมวดหมู่:สังคายนาในศาสนาพุทธ.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สุมังคลวิลาสินี

มังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหฬที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและสุมังคลวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

อุบาสก อุบาสิกา

อุบาสก แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายถึงผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง ถ้าเป็นหญิง ใช้ว่า อุบาสิกา อุบาสก เรียกกร่อนไปว่า ประสก คำว่า อุบาสิกา เรียกกร่อนไปว่าสีกา ก็มี เรียกชายหญิงที่รักษาอุโบสถศีลโดยค้างคืนที่วัดในวันพระว่า อุบาสกอุบาสิกา อุบาสกอุบาสิกา ปกติหมายถึงชาวบ้านทั่วไปที่นับถือพระพุทธศาสนา บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ไปวัดทำบุญให้ทาน ถือศีล อุปถัมภ์บำรุงวัด ช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นประจำ.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและอุบาสก อุบาสิกา · ดูเพิ่มเติม »

ทศพิธราชธรรม

ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและทศพิธราชธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง

้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ “รัชทายาท” แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง (Heir apparent) คือทายาทผู้ (นอกจากมีเหตุการณ์อันคาดไม่ถึง) ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนได้ในการรับตำแหน่งหรือมรดก เป็นคำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ทายาทโดยสันนิษฐาน” (heir presumptive) ผู้เป็นทายาทอยู่ในสายที่มีสิทธิแต่อาจจะมาแทนได้เมื่อใดก็ได้ กรณีที่หมายถึงทายาทตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลโดยเฉพาะในกรณีของพระมหากษัตริย์จะเรียกว่ารัชทายาท (heir to the throne) และใช้เป็นอุปลักษณ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้ผ่านพิธีในการยอมรับในตำแหน่งเช่นว่าอย่างเป็นทางการ (“anointed”) ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองหรือผู้นำทางธุรกิจ “ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” ไม่ปรากฏบ่อยนักและถ้าใช้ในภาษาอังกฤษก็มักจะใช้ในรูป “Heir Apparent” สถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีตำแหน่งเป็นทางการสำหรับรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเช่น “มกุฎราชกุมาร” หรือมีตำแหน่งที่มีชื่อเฉพาะเช่น “เจ้าชายแห่งออเรนจ์” (Prince of Orange) ในเนเธอร์แลนด์ “เจ้าชายแห่งเวลส์” ในสหราชอาณาจักร หรือ เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ในสเปน ดยุกแห่งบราบันต์ ใน เบลเยียม.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ปัฏนา

ปัฏนา (อังกฤษ: Paṭnā ฮินดี: पटना) (ชื่ออื่น: ปาตลีบุตร, ปาฏลีบุตร, ปัตนะ, มคธ) เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร รัฐหนึ่งในประเทศอินเดีย ปัฏนาเป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัยอยู่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อ 2,500 ปีก่อน ในสมัยพุทธกาล เมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ในแคว้นมคธ ที่ตั้งโดยพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านสำหรับการเตรียมทำสงครามกับแคว้นวัชชี หลังจากพุทธกาล เมืองนี้มีความสำคัญ เพราะได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์เมารยะ ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนา ณ อโศการาม โดยให้เมืองปัฏนา (หรือปาตลีบุตร ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น) เป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิ ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร (แคว้นมคธในสมัยโบราณ) มีพื้นที่เมืองประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน โดยประมาณ.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและปัฏนา · ดูเพิ่มเติม »

ปิตุฆาต

ปิตุฆาต (patricide) หมายถึง การฆ่าบิดาของตัวเอง คำว่า "ปิตุฆาต" มาจากการรวมกันของ 2 คำคือ ปิตุ (พ่อ) และ ฆาต (ฆ่า) สำหรับคำในภาษาอังกฤษ patricide มาจากการรวมกันของคำในภาษาละติน pater (พ่อ) และคำปัจจัย -cida (ฆ่า) ในทางกฎหมาย การทำปิตุฆาตมีโทษถึงประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และเป็น 1 ใน อนันตริยกรรม (กรรมที่หนักที่สุด) 5 อย่างของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและปิตุฆาต · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นมคธ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นมคธ (บาลี/สันสกฤต: मगध มะคะธะ) เป็นชื่อแคว้นหนึ่งในจำนวน 16 แคว้นใหญ่ในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระราชาที่ปกครองแคว้นมคธสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นคือพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นพระราชโอรส แคว้นมคธเป็นแคว้นที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกเพราะเป็นแคว้นใหญ่ และทรงรับสวนเวฬุวันนอกเมืองราชคฤห์เป็นอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา มคธเป็นชื่อของภาษาด้วยคือภาษามคธ อันเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ในการประกาศพระศาสนา ซึ่งต่อมาเรียกว่าภาษาบาลี เพราะเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนาเข้าไว้.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและแคว้นมคธ · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: พระเจ้าอชาตศัตรูและเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »