โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นามสกุลพระราชทาน

ดัชนี นามสกุลพระราชทาน

ป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 อย่างไรก็ตาม ได้มีการเลื่อนเวลาการบังคับใช้กฎหมาย 2 ครั้ง เพื่ออำนวยความการสะดวกแก่เจ้าพนักงานซึ่งจะทำทะเบียนและสะดวกแก่ผู้ที่จะเลือกตั้งนามสกุล โดยพระราชบัญญัติได้บังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลครั้งแรกเป็นจำนวน 102 นามสกุล เช่น นามสกุล "สุขุม" พระราชทานแก่ เจ้าพระยายมราช (ปั้น), นามสกุล "มาลากุล" พระราชทานแก่ พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เปีย) และ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม) และนามสกุล "พึ่งบุญ" พระราชทานแก่ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ) นามสกุลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้มีทั้งสิ้น 6464 นามสกุล แยกเป็น.

87 ความสัมพันธ์: บรรดาศักดิ์ชนชั้นขุนนางช่วง เชวงศักดิ์สงครามพ.ศ. 2455พ.ศ. 2456พ.ศ. 2458พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)พระยากำแพงเพชร (นุช)พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)พระยาขัติยะวงษาเอกาธิกสตานันท์พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง)พระยาคำฟั่นพระยาคำโสมพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช)พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย)พระเจริญราชเดช (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)พระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)พระเจ้ากาวิละพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชกรมขุนสุนทรภูเบศร์กระทรวงกลาโหมกระทรวงนครบาลมังกร พรหมโยธีมุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์รัฐนิยมราชการราชทินนามสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลกหม่อมไกรสรหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์อาณาจักรธนบุรีอำเภอยะหริ่งอำเภอวิเชียรบุรีอำเภอเพ็ญอดุล อดุลเดชจรัสจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์จังหวัดพัทลุงจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดมหาสารคาม...จังหวัดระนองจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดลำพูนจังหวัดลำปางจังหวัดสกลนครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสุรินทร์จังหวัดสงขลาจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุดรธานีจังหวัดนครพนมจังหวัดน่านจังหวัดเพชรบูรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ณ บางช้างนามสกุลแปลก พิบูลสงครามเกอรช ฟริดริช เวเลอร์เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจเวียงจันทน์เฮนรี อาลาบาศเตอร์เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)เจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าแก้วมงคลเจ้าแก้วนวรัฐ1 กรกฎาคม1 เมษายน22 มีนาคม ขยายดัชนี (37 มากกว่า) »

บรรดาศักดิ์

รรดาศักดิ์ คือระดับชั้น หรือชั้นยศของขุนนาง ซึ่งมีในทุกๆ ประเทศ เพียงแต่แตกต่างกันออกไปเท่านั้น.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและบรรดาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนชั้นขุนนาง

นชั้นขุนนางในโปแลนด์ ช่วงค.ศ. 1697-1795 งานเลี้ยงของเหล่าขุนนางและชนชั้นสูงในออสเตรีย ค.ศ. 1904 ชนชั้นขุนนาง (nobility) เป็นชนชั้นทางสังคมที่อยู่รองลงมาจากชนชั้นเจ้า ชนชั้นนี้ถือครองสิทธิ์หรือชื่อเสียงมากกว่าชนชั้นอื่นในสังคมเป็นส่วนใหญ่ มีการสืบทอดสิทธิ์ต่างๆเป็นรุ่นต่อรุ่น โดยที่สิทธิ์ของชนชั้นขุนนางอาจหมายถึง ความได้เปรียบเหนือกว่าชนชั้นอื่น หรืออาจเป็นเกียรติยศใหญ่โต ซึ่งมีบริบทแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและในแต่ละยุค ในสมัยก่อน การเป็นชนชั้นขุนนางและมีอภิสิทธิ์ต่างๆ มักจะถูกกำหนดหรือประกาศขึ้นโดยชนชั้นปกครอง แต่ถึงกระนั้น บุคคลอื่นนอกเหนือไปจากนี้ที่มีเงินทอง วิถีชีวิต หรือแวดวงคล้ายคลึงก็อาจจะเป็นเครื่องหมายเด่นที่จะถูกนับรวมเป็นชนชั้นขุนนาง แม้ว่าโดยหลักการแล้ว ชนชั้นขุนนางจะต้องมีปราสาทเป็นของตัวเองและคอยแสวงหาซึ่งอำนาจ ทรัพย์สมบัติ กำลังทหาร หรือความเป็นที่โปรดปรานของราชวงศ์ และการที่สามัญชนจะเป็นชนชั้นขุนนางได้นั้น มักจะใช้วิธีเข้าหาราชวงศ์เพื่อเป็นที่โปรดปราน ในชนชั้นขุนนางเองก็จะมีการแบ่งออกเป็นอีกหลายระดับ ในประเทศที่ปกครองโดยกษัตริย์มักจะมีกฎหมายหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับชนชั้นขุนนาง แต่ในบางอดีตประเทศที่เป็นสาธารณรัฐก็มีกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องเช่นเดียวกัน อาทิ สาธารณรัฐดัตช์ (ค.ศ. 1581–1795), สาธารณรัฐเจนัว (ค.ศ. 1005–1815), สาธารณรัฐเวนิส (ค.ศ. 697–1797) เป็นต้น ในปัจจุบันยังคงมีอีกหลายประเทศที่มีข้อบัญญัติทางชนชั้นอยู่ในลักษณะไม่สืบทอดสิทธิ์ อาทิ ประเทศซานมารีโน, นครรัฐวาติกันในยุโรป ขุนนางจีนสมัยราชวงศ์หมิง แม้ว่าระบบขุนนางในประเทศส่วนใหญ่เป็นระบบขุนนางสืบตระกูลก็ตาม แต่ก็มีบางประเทศ(เช่นจีนหรือสยาม) ที่ตำแหน่งขุนนางยึดติดอยู่เฉพาะบุคคล ไม่มีการส่งต่อตำแหน่งและสิทธิไปถึงรุ่นลูกหลาน หากลูกหลานอยากจะเป็นขุนนางก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถผ่านการสอบหรือใช้เส้นสายในการได้มาซึ่งบรรดาศัก.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและชนชั้นขุนนาง · ดูเพิ่มเติม »

ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

ันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม หรือ หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (10 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2505) นามเดิม ช่วง ขวัญเชิด อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและช่วง เชวงศักดิ์สงคราม · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2455

ทธศักราช 2455 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพ.ศ. 2455 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2456

ทธศักราช 2456 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1913 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพ.ศ. 2456 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพ.ศ. 2458 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)

มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (20 มิถุนายน พ.ศ. 2422 - 20 กันยายน พ.ศ. 2487) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกและคนสุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ผู้เป็นต้นสกุล "ณ ป้อมเพชร์".

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร)

อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิต) อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) หรือพระยาไชยสุนทร เดิมพระนามว่า เจ้าโสมพะมิตร หรือ ท้าวโสมพะมิตร ในเอกสารพื้นเมืองเวียงจันทน์ออกพระนามว่า ท้าวโสมบพิตร ส่วนพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และเมืองกมลาสัยออกพระนามว่า พระยาสมพมิษ ทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ (กาละสินธ์ หรือ กาลสิน) พระองค์แรกและทรงเป็นเจ้าผู้สร้างเมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันคือจังหวัดกาฬสินธุ์ในภาคอีสานของประเทศไทย เดิมรับราชการในราชสำนักนครเวียงจันทน์เป็นที่พญาโสมพะมิตร ภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของสยามให้เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์พระองค์แรกในฐานะเมืองประเทศราช พระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ทรงเป็นต้นสกุล วงศ์กาฬสินธุ์ ศรีกาฬสินธุ์ พิมพะนิตย์ พูลวัฒน์ อักขราสา และสกุล วงศ์กมลาไสย หรือ วงศ์กาไสย อีกทั้งทรงเป็นพระราชเชษฐาในเจ้าเมืองแสนฆองโปง ต้นสกุลพระราชทาน ณ กาฬสินธุ์ แห่งจังหวัดกาฬสินธุ์อีกด้ว.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์)

ระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) นามเดิมว่า ท้าวเก เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 12 (พ.ศ. 2433–2437) หรือเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์สุดท้ายก่อนปฏิรูปการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2444) เป็นผู้ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสกุล ณ กาฬสินธุ์ และนับได้ว่าเป็นต้นตระกูล ณ กาฬสินธุ์ แห่งจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบันด้ว.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

พระยากำแพงเพชร (นุช)

ระยากำแพงเพชร (นุช) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ภริยาชื่อท่านผู้หญิงชี (ชื่อจริงเรียก "กาว") ราชธิดาเจ้าผู้ครองนครเชียงราย ภายหลังได้ไปราชการทัพหลายครั้ง มีความดีความชอบพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้พระราชทาน ดาบด้ามทองฝักทองคำเป็นบำเหน็จ (ปัจจุบันประดับไว้ที่ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร) และยังได้รับพระราชทานตำแหน่งให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร ปรากฏราชทินนามว่า "พระยารามรณรงค์ สงครามรามภักดี อภัยพิรยบราภาหุ" ถือศักดินา 10000 (นาหมื่นที่รั้งหัวเมืองชั้นโท) และเป็นต้นสกุล "นุชนิยม".

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยากำแพงเพชร (นุช) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)

มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) (19 ธันวาคม พ.ศ. 2429 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2518) ผู้บัญชาการ (อธิการบดี) คนที่ 2 แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดูแลนักเรียนไทยในประเทศอังกฤษ ปลัดเทศบาลนครกรุงเทพคนแรก เทศมนตรีและสมาชิกว.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

ตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) นักปราชญ์และนักการศึกษาคนสำคัญของไทย ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมและเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลกชาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2531 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาขัติยะวงษาเอกาธิกสตานันท์

ระยาขัติยะวงษาเอกาธิกสตานันท์ เจ้าเมืองร้อยเอ็ดองค์สุดท้าย (องค์ที่ ๘) ผู้ว่าราชการเมืองร้อยเอ็ดท่านแรก (ดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๔๕๑ และปกครองเมืองร้อยเอ็ดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๔๕๔) อดีตท้าวซานนท์กรมการเมืองร้อยเอ็ด อดีตว่าที่อุปฮาดเมืองร้อยเอ็ด อดีตพระสตาเนทประชาธรรมรักษาราชการเมืองร้อยเอ็ดและปลัดเมืองร้อยเอ็ด เป็นต้นสกุลพระราชทาน ณ ร้อยเอ็จ แห่งจังหวัดร้อยเอ็ดในภาคอีสานของประเทศไท.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาขัติยะวงษาเอกาธิกสตานันท์ · ดูเพิ่มเติม »

พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง)

ระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี หรือ คอซู้เจียง ณ ระนอง (許泅漳, พ.ศ. 2340 - พ.ศ. 2435) คือเจ้าเมืองระนองคนแรกของเมืองระนอง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาคำฟั่น

ระยาคำฟั่น หรือ พระญาคำฝั้น หรือพระนามเต็มว่า "เจ้ามหาสุภัทรราชะ" ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 1 ระหว่างปี..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาคำฟั่น · ดูเพิ่มเติม »

พระยาคำโสม

ระยาคำโสม (พ.ศ. 2287 - พ.ศ. 2337) หรือ เจ้าคำสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตน และเป็นราชบุตรองค์ที่ 2 ของเจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ได้ครองนครลำปางสืบต่อจากพระเชษฐา คือพระเจ้ากาวิละ ในระหว่างปี..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระยาคำโสม · ดูเพิ่มเติม »

พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช

'''"ธาตุหลวงเฒ่า"''' เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (ท้าวฝ่ายหน้า หรือ เจ้าหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ลำดับที่ 3 ที่วัดเหนือในเมืองเก่าคันเกิง แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เรียกกันทั่วไปในเอกสารต่างๆ ว่า "พระวิไชยราชขัติยวงศา") เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ลำดับที่ 3 (พ.ศ. 2335 - 2354).

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช · ดูเพิ่มเติม »

พระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช)

รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) มีชื่อจีนว่า "ยี่กอฮง" หรือ "ตี้ยัง แซ่แต้" เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) · ดูเพิ่มเติม »

พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย)

ระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคายคนแรก อดีตบรรดาศักดิ์ที่ ท้าวสุวอธรรมา กรมการเมืองยโสธร (เมืองยศสุนทร) ต่อมาเลื่อนยศในตำแหน่งคณะอาญาสี่เมืองยโสธรเป็นที่ พระอุปฮาต เป็นต้นสกุลพระราชทาน ณ หนอง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจริญราชเดช (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)

ระเจริญราชเดช (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) หรือ ท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามพระองค์แรก ในฐานะเมืองพระประเทศราช อดีตเคยดำรงตำแหน่งคณะกรมการเมืองร้อยเอ็ด ทรงเป็นเจ้านายในราชวงศ์เวียงจันทน์ที่อพยพเข้ามาปกครองแผ่นดินอีสาน อีกทั้งทรงเป็นต้นสกุล "'ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม"' แห่งจังหวัดมหาสารคาม ในภาคอีสานของประเทศไทยด้ว.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระเจริญราชเดช (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)

มหาอำมาตย์ตรี พระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) (พ.ศ. ๒๔๐๑ - พ.ศ. ๒๔๖๑) กรมการพิเศษเมืองมหาสารคาม มณฑลร้อยเอ็จและที่ปรึกษาราชการเมืองมหาสารคาม อดีตเจ้าเมืองวาปีปทุมคนสุดท้าย (องค์ที่ ๒) อดีตเจ้าเมืองมหาสารคามคนสุดท้าย (องค์ที่ ๔) อีกทั้งเคยดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองมหาสารคาม ผู้ว่าราชการเมืองมหาสารคามท่านแรก นายอำเภอวาปีปทุมท่านแรก รวมถึงมีศักดิ์เป็นบุตรเขยและหลานลุงของพระเจริญราชเดชวรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก อนึ่ง พระเจริญราชเดช (อุ่น) เป็นต้นสกุลและได้รับพระราชทานนามสกุล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ซึ่งเป็นหนึ่งในสกุลหัวเมืองอีสานที่มีชื่อเสียงของประเทศไท.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ากาวิละ

ระบรมราชาธิบดี หรือ พระเจ้ากาวิละ (125px) (พ.ศ. 2285 - พ.ศ. 2358) เป็นพระเจ้านครเชียงใหม่พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ปกครองดินแดนล้านนาไท 57 เมือง ตลอดรัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาแห่งการศึกสงครามและสร้างบ้านแปงเมือง ทรงเป็นกษัตริย์ชาตินักรบได้ทรงร่วมกับพระอนุชาทั้ง 6 และกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กอบกู้อิสรภาพแผ่นดินล้านนาออกจากพม่า และนำล้านนาเข้ามาเป็นประเทศราชแห่งสยาม ด้วยพระปรีชาสามารถและพระเดชานุภาพในการรบ ทรงสามารถขยายขอบขัณฑสีมาแผ่นดินล้านนาออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล กอปรกับความจงรักภักดีที่ทรงถวายต่อพระบรมราชวงศ์จักรี ในวันที่ 14 กันยายน..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระเจ้ากาวิละ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช

มหาอำมาตย์เอก พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เป็นเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 63 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบเชื้อสายมาจากพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ และได้รับพระราชทานนามสกุล ณ น่าน.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช · ดูเพิ่มเติม »

กรมขุนสุนทรภูเบศร์

กรมขุนสุนทรภูเบศร์ (จีนเรือง สุนทรกุล ณ ชลบุรี) หรือ กรมขุนสุนทรภูเบศร (เรือง) มีพระนามเดิมว่า เรือง หรือ จีนเรือง เป็นเศรษฐีชาวเมืองบางปลาสร้อย (ชลบุรี) ที่เคยถวายการอุปการะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองจันทบุรี ภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้านาย ด้วยเกี่ยวข้องกับราชวงศ์จักรีจากการเป็นภราดาร่วมสาบานกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมขุนสุนทรภูเบศร์ ทรงเป็นต้นสกุล "สุนทรกุล ณ ชลบุรี" และบางสายใช้ "สุนทรมนูกิจ".

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและกรมขุนสุนทรภูเบศร์ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกลาโหม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและกระทรวงกลาโหม · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงนครบาล

กระทรวงนครบาล เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวงในอดีต ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่บังคับบัญชาการรักษาพระนคร คือปกครองมณฑลกรุงเทพ มีกรมที่สังกัดเช่น กรมพลตระเวน กรมสุขาภิบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวมกระทรวงนครบาลกับกระทรวงมหาดไทยเข้าเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกว่า กระทรวงมหาดไท.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและกระทรวงนครบาล · ดูเพิ่มเติม »

มังกร พรหมโยธี

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก มังกร พรหมโยธี หรือ หลวงพรหมโยธี (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2509) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรี.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและมังกร พรหมโยธี · ดูเพิ่มเติม »

มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์

ลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ (นามเดิม: มุนี มหาสันทนะ; 29 มีนาคม พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2528) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกของกองทัพอากาศไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ มีนามเดิมว่า มุนี มหาสันทนะ ศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสวลี จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและมุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิยม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและรัฐนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ราชการ

ราชการ (สำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) หรือ รัฐการ (สำหรับประเทศที่ไม่ได้มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) เป็นระบบการทำงานอย่างหนึ่งของรัฐ หมายถึง การงานของพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล รวมไปถึงของทหารและตำรวจซึ่งอาจเรียกแยกเฉพาะว่า "ราชการฝ่ายทหาร" หรือ "รัฐการฝ่ายทหาร" แล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและราชการ · ดูเพิ่มเติม »

ราชทินนาม

ราชทินนาม คือ นาม หรือชื่อที่ได้รับพระราชทานซึ่งแสดงถึงตำแหน่ง หน้าที่ของขุนนางด้วย โดยราชทินนามนั้นจะอยู่ต่อท้าย บรรดาศักดิ์ไทย เช่น.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและราชทินนาม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

อมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (3 มีนาคม พ.ศ. 2426-13 มิถุนายน พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุล "จักรพงษ์" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และ "พระบิดาแห่งการบินไทย" ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเขาทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ พระชนม์เพียง 37 พรรษา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีพระนามเดิม เจ้าฟ้าชายกลาง (24 เมษายน พ.ศ. 2362 ถึง 1 กันยายน พ.ศ. 2429 รวมอายุ 67 ปี) เป็นพระราชโอรสพระองค์กลางในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทองสุก ซึ่งเป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์) ทรงเป็นต้นราชสกุล มาลากุล เป็นพระอนุชาร่วมมารดาของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ต้นราชสกุล อาภรณ์กุล ทั้งสองราชสกุลจึงถือเป็นญาติใกล้ชิดเชื้อกัน.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก

หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก หรือ หม่อมคัทริน จักรพงษ์ ณ อยุธยา หรือ คัทริน เดสนิตสกี (Catherine Desnitski) มีชื่อเต็มว่า เยกาเจรีนา อีวานอฟนา เดสนิตสกายา (Катерина Іванівна Десницька; 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 — 3 มกราคม พ.ศ. 2503) เป็นอดีตหม่อมชาวรัสเซีย (ปัจจุบันส่วนหนึ่งของประเทศยูเครน) ในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ มีพระโอรสเพียงพระองค์เดียว คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานนามสกุล ณ พิศณุโลก อันเป็นนามสกุลพิเศษเนื่องจากไม่มีเลขลำดับที่พระราชทาน และมีผู้ใช้เพียงท่านเดียว คือ หม่อมคัทริน.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมไกรสร

หม่อมไกรสร มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าไกรสร ต่อมามีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ทรงเป็นต้นราชสกุล พึ่งบุญ และ สกุล อนิรุทธเทว.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและหม่อมไกรสร · ดูเพิ่มเติม »

หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)

ลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ, ชื่อเดิม กิมเหลียง วัฒนปฤดา 金良 แต่มิได้มีเชื้อจีนแต่ประการใด) เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นักคิด นักพูด นักเขียนคนสำคัญของไทย บุตรนายอิน และนางคล้าย เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดอุทัยธานี บิดามารดามีอาชีพค้าขาย อายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เมื่อท่านอายุ 13 ปี ในปี พ.ศ. 2453 ท่านได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้เปรียญ 5 ประโยคเมื่ออายุ 19 ปีใน..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ คืออาณาจักรลาวล้านช้างที่ตั้งอยู่ทางต้นใต้ของประเทศลาวในปัจจุบัน ดำรงอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2256 ถึง พ.ศ. 2489 เป็นเวลา 236 ปี อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ตกเป็นประเทศราชของไทยจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาครอบครองบริเวณประเทศลาวทั้งหมด จำปาศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง กลายมาเป็นราชอาณาจักรลาว เมื่อปี..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและอาณาจักรธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอยะหริ่ง

อำเภอยะรัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและอำเภอยะหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวิเชียรบุรี

อำเภอวิเชียรบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและอำเภอวิเชียรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเพ็ญ

อำเภอเพ็ญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและอำเภอเพ็ญ · ดูเพิ่มเติม »

อดุล อดุลเดชจรัส

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส หรือ หลวงอดุลเดชจรัส (28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512) นามเดิม บัตร พึ่งพระคุณ อดีตองคมนตรี รองนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการทหารบก มีสมญานามว่า "นายพลตาดุ" เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยขณะนั้นหลวงอดุลเดชจรัส มียศเป็น ร้อยโท (ร.ท.) ประจำกรมทหารปืนใหญ่ นครราชสีมา และได้หนีราชการมาพระนครด้วยรถไฟเพื่อร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถูกหมายจับจากทางต้นสังกัด ซึ่งตัวของหลวงอดุลเดชจรัสก็ได้อาศัยบ้านของพรรคพวกหลบซ่อนสลับกันไป โดยเฉพาะบ้านของหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท หรือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเวลาต่อมา เป็นรองนายกรัฐมนตรีและผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นรองหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ในช่วงปลายสงคราม หลังจากมีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งมีส่วนอย่างมากที่ทำให้การดำเนินงานเสรีไทยเป็นไปโดยราบรื่น ทั้งที่เป็นอธิบดีกรมตำรวจภายใต้รัฐบาลที่เป็นพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในอภิรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และองคมนตรี หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว หลวงอดุลเดชจรัส ยังได้ร่วมกับนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ก่อตั้งพรรคสหชีพขึ้น โดยมีแนวทางสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย โดยหลวงอดุลเดชจรัส เป็นหัวหน้าพรรค และ นายเดือน บุนนาค เป็นเลขาธิการพรร.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและอดุล อดุลเดชจรัส · ดูเพิ่มเติม »

จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

ลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526) อดีตอธิบดีกรมรถไฟ และผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพัทลุง

ัทลุง เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เคยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาพภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง โดยทางทิศตะวันตกของจังหวัด จะเป็นพื้นที่ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา อันเนื่องมาจากมีพื้นที่ติดต่อกับเทือกเขานครศรีธรรมราช ถัดลงมาทางตอนกลางและทางทิศตะวันออกของจังหวัด จรดทะเลสาบสงขลาจะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาข้าว ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า เมืองลุง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดพัทลุง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาฬสินธุ์

ังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดกาฬสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมหาสารคาม

มหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดมหาสารคาม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดระนอง

ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองชุมพร คำว่าระนองเพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดมีแร่อยู่มากม.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดระนอง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดร้อยเอ็ด

ร้อยเอ็ด เดิมสะกดว่า ร้อยเอ็จ เป็นจังหวัดบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานตอนกลางหรือตอนบนของไท.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดร้อยเอ็ด · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำพูน

ังหวัดลำพูน (30px หละปูน) เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดลำพูน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำปาง

ังหวัดลำปาง (40px) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดลำปาง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสกลนคร

กลนคร หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองหนองหานหลวง" เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้จังหวัดสกลนครยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญและหลากหลายในด้านต่างๆโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษา อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ใน กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร).

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดสกลนคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรปราการ

ังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดสมุทรปราการ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุรินทร์

รินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เขมร กูยและลาวหรือไทยอีสาน มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสงขลา

งขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดหนองบัวลำภู

หนองบัวลำภู เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดสระแก้ว.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดหนองบัวลำภู · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไท.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุดรธานี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดอุดรธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดน่าน

ังหวัดน่าน (15px) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของภาคเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญในอดีต อาทิ เมืองวรนคร เวียงศีรษะเกษ อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำน่าน.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดน่าน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเพชรบูรณ์

ังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศ มีประชากร 994,397 คน แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ และมีเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจังหวัดเพชรบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

ล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ซ้าย) ขณะเดินสนทนากับ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ในงานเปิดสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2484 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เดิมคือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 — 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531) นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของประเทศไทยในช่วง..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ณ บางช้าง

ราชินีกุล ณ บางช้าง เป็นสกุลซึ่งเป็นพระญาติวงศ์ในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ ยังเป็นสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์พระร่วง แห่งอาณาจักรสุโขทัย และ ราชวงศ์สุโขทัย แห่งอาณาจักรอยุธยา สกุล ณ บางช้าง ยังเป็นราชินิกุลแห่งราชวงศ์จักรี ที่เป็นวงศ์หนึ่งในราชินิกุลบางช้างประกอบด้วย 5 สกุล ได้แก่ ชูโต, แสง-ชูโต, สวัสดิ-ชูโต, บุนนาค และ ณ บางช้าง พระชนกทองและพระชนนีสั้นทรงเป็นพระชนกและพระชนนีในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีบุตร 10 อง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและณ บางช้าง · ดูเพิ่มเติม »

นามสกุล

ื่อสกุล หรือ นามสกุล คือ ชื่อบอกตระกูล (หรือสกุล) เพื่อแสดงที่มาของบุคคลนั้น ว่ามาจากครอบครัวไหน ตระกูลใด ธรรมเนียมการใช้นามสกุลปรากฏอยู่ทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศและวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละที่ก็อาจจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป ในหลาย ๆ วัฒนธรรม (เช่น ทางตะวันตก ตะวันออกกลาง และในทวีปแอฟริกา) นามสกุลจะอยู่ในลำดับหลังสุดของชื่อบุคคล แต่ในบางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม) นามสกุลจะอยู่ในลำดับแรก ส่วนนามสกุลของไทยจะอยู่เป็นลำดับสุดท้ายเหมือนทางตะวันตก ในบางวัฒนธรรม จะใช้นามสกุลในการเรียกขานในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น บารัก โอบามา (Barack Obama) จะถูกเรียกว่า คุณโอบามา (Mr. Obama) ไม่ใช่ คุณบารัก เป็นต้น.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและนามสกุล · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

เกอรช ฟริดริช เวเลอร์

รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ G.F.Veler Velananda ภาพของครอบครัวเวลานนท์และเอกะนาค จากซ้ายคือ รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์, นางเสงี่ยม เวลานนท์, ด.ญ.สอาด เวลานนท์, ด.ญ.สง่า เวลานนท์, น.ร.ม.อั๋น เวลานนท์, นางสาวประยูร เอกะนาค, คุณหญิงประสงค์สรรพการ (เย็น เอกะนาค), ด.ญ.หยาด ภมรสมิต และ พ.ต.อ.พระยาประสงค์สรรพการ (ยวง เอกะนาค)ถ่ายที่ลานบ้านเอกะนาค (โรงเรียนประถมศึกษาบ้านสมเด็จ ในปัจจุบัน)ซึ่งทั้งสองครอบครัวนี้มีความสัมพันธ์เป็นญาติสนิทกัน เพราะว่า นางเสงี่ยม เวลานนท์ และ คุณหญิงเย็น เอกะนาค เป็นพี่น้องกัน รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ (Gersh Friedrich Veler) นายตรวจเอก กรมรถไฟหลวงสายเหนือ และนายห้างในกรุงเทพฯ ชาวเยอรมัน ได้เข้ามาเป็นวิศวกรสร้างทางรถไฟในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ว่า "เวลานนท์" (Velananda) รองอำมาตย์เอกเกอร์ช ฟริดริช เวเลอร์ มีภรรยาชื่อ นางเสงี่ยม เวลานนท์ สตรีราชินิกุลมอญหงสาวดี หมู่บ้านบางไส้ไก่ (ปัจจุบันคือบริเวณหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) มีบุตรธิดาดังนี้.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ

ลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 3 เมษายน พ.ศ. 2513) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เวียงจันทน์

วียงจันทน์ (ວຽງຈັນ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรม.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเวียงจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี อาลาบาศเตอร์

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (พ.ศ. 2379 – พ.ศ. 2427 เฮนรี อาลาบาศเตอร์ (Henry Alabaster; 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2379 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2427) ต้นตระกูลเศวตศิลา รองกงสุลชาวอังกฤษ สถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย เป็นผู้รังวัดในการตัดถนนเจริญกรุง ต่อมาเกิดขัดแย้งกับกงสุลนอกซ์ จึงลาออกและเดินทางกลับประเทศอังกฤษ และเดินทางกลับมารับราชการกับไทยตั้งแต..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเฮนรี อาลาบาศเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (120px) (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465) เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (ครองราชย์ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2465) ตลอดรัชสมัย เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตดำรงความมั่นคงสุจริตและความจงรักภักดีต่อพระบรมราชวงศ์จักรี พระองค์ได้ทรงพัฒนานครลำปางและเมืองบริวารในด้านต่าง ๆ ให้ทันกับการพัฒนาในส่วนกลาง ได้ทรงประทานที่ดินและทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการก่อสร้างสถานศึกษา ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อความผาสุกแก่ประชาชนลำปางอย่างแท้จริง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)

ลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) (21 เมษายน พ.ศ. 2410 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2504) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ระหว่าง 1 เมษายน..

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)

ลาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีจัดทำหลักสูตรการสอน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี นามเดิม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล (16 เมษายน พ.ศ. 2410 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459) อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)

้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) มีนามเดิมว่า ลออ ไกรฤกษ์ (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 อดีตเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตประธานศาลฎีก.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

มหาอำมาตย์นายก มหาเสวกเอก นายพลเสือป่า นายพันเอก นายนาวาอากาศเอก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล อภิรัฐมนตรี เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ทั้งยังเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง การประปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ถนนและสะพานในกรุงเทพมหานครอีกด้ว.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)

ลเอก พลเรือเอก มหาเสวกเอก จางวางเอก นายพลเสือป่า เจ้าพระยารามราฆพ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510) อดีตองคมนตรี อดีตสมุหราชองครักษ์ อดีตสมุหพระราชมนเทียร อดีตประธานกรรมการพระราชสำนัก อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ และ อดีตนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัม.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)

ล้อเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6 มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล อดีตเสนาบดีกระทรวงวัง (ปัจจุบันคือสำนักพระราชวัง เทียบเท่าตำแหน่งเลขาธิการสำนักพระราชวัง) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)

อนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ที่ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) หรือ พระปทุมวรราชสุริยวงษ ในจารึกพระเจ้าอินแปงออกนามว่า เจ้าพระปทุม ชาวเมืองอุบลราชธานีในสมัยโบราณนิยมออกนามว่า อาชญาหลวงเฒ่า ดำรงตำแหน่งเจ้าประเทศราชครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานีในภาคอีสานของประเทศไทย) นามเดิมว่า เจ้าคำผง หรือ ท้าวคำผง เป็นโอรสในเจ้าพระตา (เจ้าพระวรราชปิตา) เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) กับเจ้านางบุศดี สมภพเมื่อ พ.ศ. 2252 ณ นครเวียงจันทน์ สืบเชื้อสายเจ้านายลาวจากราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์อันเก่าแก่ อันเนื่องมาจากพระอัยยิกา (ย่า) ของพระองค์ซึ่งเป็นพระมเหสีของเจ้าปางคำ (ปู่) มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จึงเป็นเหตุให้มีสร้อยราชทินนาม (รวมทั้งของเจ้าฝ่ายหน้า-ผู้อนุชา) มีคำว่า สุริยวงศ์ ต่อท้ายนาม อีกทั้งยังสืบเชื้อสายมาจากพระอัยกา (ปู่) คือเจ้าปางคำ เจ้านายเชื้อสายลื้อแห่งราชวงศ์เชียงรุ่งจากอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง (เมืองเชียงรุ้งแสวนหวีฟ้า) ผู้สร้างเมืองหนองบัวลุ่มภู (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) อนึ่ง พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เป็นต้นสกุลพระราชทาน ณ อุบล แห่งจังหวัดอุบลราชธานี ในภาคอีสานของประเทศไท.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์

ลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (120px) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าแก้วมงคล

้าแก้วมงคล (ลาว: ເຈົ້າແກ້ວມຸງຄຸນ) หรือ เจ้าแก้วบรม (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๕๖-๒๒๖๘) คนท้องถิ่นออกสำเนียงตามภาษาลาวว่า เจ้าแก้วบูฮม เจ้านายลาวผู้สร้างเมืองท่งหรือเมืองทุ่งศรีภูมิ (ลาว: ທົ່ງສີພູມ) และเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิพระองค์แรกจากราชวงศ์ล้านช้าง (หลังการย้ายราชธานีจากหลวงพระบางมาสู่นครหลวงเวียงจันทน์) ปัจจุบันคือ ตำบลทุ่งศรีเมือง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งต่อมาทายาทได้ย้ายไปตั้งเป็นเมืองใหม่ชื่อ เมืองสุวรรณภูมิ ในเอกสารใบลานเรื่องพงสาวดารเมือง (บั้งจุ้มหรือตำนานเมือง) ออกนามเมืองว่า สีวัลลพูม เจ้าแก้วมงคลทรงเป็นปฐมราชวงศ์เจ้าจารย์แก้วของภาคอีสานซึ่งเป็นราชวงศ์หนึ่งที่แยกมาจากราชวงศ์ล้านช้างในอดีต เนื่องจากทรงเป็นปฐมบรรพบุรุษของเจ้าผู้ปกครองหัวเมืองลาวในภาคอีสานมากกว่า ๒๐ หัวเมืองและภาคเหนืออีกหนึ่งหัวเมือง.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าแก้วมงคล · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าแก้วนวรัฐ

มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ (90px) (29 กันยายน พ.ศ. 2405 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482) เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร และองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและเจ้าแก้วนวรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

1 กรกฎาคม

วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันที่ 182 ของปี (วันที่ 183 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 183 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและ1 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

1 เมษายน

วันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 91 ของปี (วันที่ 92 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 274 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและ1 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

22 มีนาคม

วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันที่ 81 ของปี (วันที่ 82 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 284 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นามสกุลพระราชทานและ22 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศรีณรงค์ ณ สุรินทร์สกุลพระราชทานชุณหวัตรณ สุรินทร์นามสกุลจากราชทินนาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »