โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนสุรวงศ์

ดัชนี ถนนสุรวงศ์

นนสุรวงศ์ (Thanon Surawong) เป็นถนนในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคู่ขนานกับถนนสีลมและถนนสี่พระยา ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ถนนสุรวงศ์โดยเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย โดยถนนสายหนึ่งตัดแยกจากถนนเจริญกรุงไปยังสะพานข้ามคลองวัวลำพอง (บริเวณถนนพระราม 4 และสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน) และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์พระราชทานชื่อว่า ถนนสุรวงศ์ และ ถนนเดโช เมื่อแรกตัดถนนเสร็จ บริเวณรอบ ๆ ถนนสุรวงศ์ยังคงเป็นทุ่งนา, ไร่อ้อยและสวนผัก มีบ้านเรือนทรงยุโรปบ้างประปราย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นถนนที่เป็นที่ตั้งของภัตตาคารและร้านอาหารชั้นสูงสำหรับรับรองชาวต่างชาติ และชนชนสูงโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับถนนราชวงศ์ ในย่านเยาวราช และถนนสี่พระยาที่อยู่ใกล้เคียงและยังปรากฏหลักฐานของกองช่างนคราทร (เทียบกับปัจจุบัน คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง) ที่ได้ทำการประเมินพื้นที่ก่อสร้างที่แนวถนนสุรวงศ์ต่อไปยังอาคารศุลกสถาน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันนี้ ถนนสุรวงศ์ถือเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ เช่นเดียวกับ ถนนสีลม หรือถนนสาทร ที่อยู่ใกล้เคียง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีถนนพัฒน์พงษ์ และถนนธนิยะ ตัดผ่าน.

20 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกรมโยธาธิการและผังเมืองกรุงเทพมหานครการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475ศุลกสถานสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงสถานีรถไฟกรุงเทพถนนพระรามที่ 4ถนนพัฒน์พงศ์ถนนราชวงศ์ถนนสาทรถนนสีลมถนนสี่พระยาถนนเจริญกรุงถนนเดโชประชาชาติธุรกิจแม่น้ำเจ้าพระยาไชนาทาวน์ (กรุงเทพมหานคร)เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)เขตบางรัก

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรมโยธาธิการและผังเมือง

กรมโยธาธิการและผังเมือง (Department of Public Works and Town & Country Planning) เป็นหน่วยงานราชการสังกัดในกระทรวงมหาดไทย ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 จากการรวมกรมโยธาธิการ และกรมการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง มีภารกิจในด้านการผังเมือง การโยธาธิการ การออกแบบก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างอาคาร ดำเนินการและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมือง พื้นที่ และชนบท กำหนดและกำกับดูแลนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งถิ่นฐานและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานการก่อสร้าง ด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมือง เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เกิดมาตรฐานความปลอดภัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และจัดการสิ่งปลูกสร้างตามระบบการผังเมืองที่ดี.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และกรมโยธาธิการและผังเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การปฏิวัติสยาม..

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

ศุลกสถาน

ลกสถาน เป็นอาคารที่ทำการของศุลกสถาน (กรมศุลกากรในปัจจุบัน) ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ของเขตบางรัก สร้างขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และศุลกสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ันเอกหญิง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟกรุงเทพ

นอกสถานีรถไฟกรุงเทพ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง มีทางเชื่อมต่อที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ดูกลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครหรือรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณถนนพระรามที่ 4 การก่อสร้างสถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี การประดับหลัก ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง สถานีกรุงเทพ มีรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารหลายหมื่นคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) โดยเฉพาะช่วงวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และสถานีรถไฟกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และถนนพระรามที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพัฒน์พงศ์

นักเต้นย่านพัฒน์พงศ์ พัฒน์พงศ์ เป็นย่านบันเทิงยามราตรีของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนพัฒน์พงศ์ซึ่งเชื่อมระหว่างถนนสีลมกับถนนสุรวงศ์ แขวงสีลม เขตบางรัก จัดเป็นย่านโคมแดงที่เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบไปด้วยคลับ บาร์ ที่มีการแสดงการเต้นอะโกโก้ และอาจมีการค้าประเวณี ตั้งอยู่บนถนนพัฒน์พงศ์ซอย 1 และพัฒน์พงศ์ซอย 2 และยังอยู่ใกล้เคียงกับถนนธนิยะ ที่เป็นย่านค้าบริการระดับสูง เน้นให้บริการเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ไม่ให้บริการลูกค้าชาวไทย และซอยจารุวรรณ หรือรู้จักกันในชื่อ "พัฒน์พงศ์ซอย 3" หรือ "สีลม ซอย 4" ที่เป็นย่านให้บริการเฉพาะลูกค้าเกย์ นอกจากชื่อในด้านธุรกิจบริการแล้ว พัฒน์พงศ์ยังเป็นย่านที่มีแผงลอยขายสินค้าในเวลากลางคืน มีชื่อเสียงเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แผ่นซีดี ดีวีดี และสินค้าเลียนแ.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และถนนพัฒน์พงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชวงศ์

นนราชวงศ์ช่วงมาจากท่าน้ำราชวงศ์ (หน้าตลาดสำเพ็ง) ถนนราชวงศ์ช่วงจากแยกเสือป่ามุ่งหน้าแยกราชวงศ์ ถนนราชวงศ์ (Thanon Ratchawong) เป็นถนนในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางต่อมาจากถนนเสือป่าในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเสือป่า ท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดถนนเยาวราชที่สี่แยกราชวงศ์ เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ์ จากนั้นหักลงทิศใต้เล็กน้อย และตรงไปจนสิ้นสุดถนนที่ท่าราชวงศ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวประมาณ 600 เมตร ถนนราชวงศ์ เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้น นับเป็นถนนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการค้า เนื่องจากสมัยนั้นท่าราชวงศ์เป็นท่าเรือสินค้าภายในประเทศ มีเรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าไปจันทบุรี, ชลบุรี และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) ถนนราชวงศ์จึงมีสำนักงานร้านค้าของพ่อค้าจีน, แขก และฝรั่งตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ถนนราชวงศ์ และย่านสี่แยกราชวงศ์ในปลายพุทธทศวรรษ 2450 ต่อต้นพุทธทศวรรษ 2460 และจนถึงพุทธทศวรรษ 2470 เป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารหรือภัตตาคารระดับสูงจำนวนมากหลายแห่ง เพื่อรองรับพระบรมวงศานุวงศ์, ชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางระดับสูงสำหรับการรับประทานอาหารนอกบ้านหรือสังสรรค์กันในช่วงมื้อค่ำ เช่นเดียวกับแหล่งการค้ากับชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่น สี่กั๊กพระยาศรี ในย่านถนนเจริญกรุง, ถนนสี่พระยา, ถนนสุรวงศ์ ในย่านบางรัก เป็นต้น ในช่วงต้นปี..

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และถนนราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสาทร

นนสาทร ถนนสาทร (Thanon Sathon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรัก.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และถนนสาทร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสีลม

ประติมากรรมเครื่องสีลมที่สร้างขึ้นใหม่ ถนนสีลม (Thanon Si Lom) ถนนสำคัญในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 6 ช่องทางจราจร มีช่องจอดรถและบาทวิถีทั้งสองข้าง ความยาวประมาณ 2.78 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (แยกบางรัก) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนมเหสักข์-ถนนสุรศักดิ์ (แยกสุรศักดิ์) ถนนประมวญ (แยกประมวญ) ถนนเดโช (แยกเดโช) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกสีลม-นราธิวาส) และถนนคอนแวนต์ (แยกคอนแวนต์) และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกศาลาแดง) สีลมเป็นถนนที่มีเกาะกลางและมีต้นไม้ใหญ่ปลูกเรียงรายไปตลอดแนวถนนจำนวน 483 ต้น และเป็นถนนสำคัญสายแรกที่เดินสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ไว้ใต้ดิน ถนนสีลมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อม ๆ กับถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร เดิมเรียกชื่อว่า "ถนนขวาง" เดิมเป็นคันดินที่เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรง คันดินจึงกลายเป็นถนนที่เรียกกันว่าถนนขวาง ชาวต่างประเทศได้นำเครื่อง สีลม ซึ่งใช้สำหรับการวิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวาง โดยที่บริเวณทั่วไปยังเป็นทุ่งนาโล่ง เครื่องสีลมวิดน้ำจึงดูเด่นและกลายเป็นชื่อเรียกของถนนมาถึงปัจจุบัน ถนนสีลมเมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน ใช้ชื่อว่า โครงการ 7 มหัศจรรย์ที่สีลม (7 Wonders @ Silom Street) ในปี 2544 ปัจจุบันถนนสีลมนับเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผู้ขนานนามถนนสีลมว่า "วอลล์สตรีตของกรุงเทพฯ" ถนนสีลมมีสำนักงานใหญ่ธนาคาร โรงแรม อาคารสำนักงาน ตลอดจนศูนย์การค้าขนาดใหญ่เรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน เป็นถนนท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งซื้อสินค้าและขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวตามบาทวิถีในเวลากลางคืน รวมทั้งใน "ซอยละลายทรัพย์" นอกจากนี้ ยังเคยมีโครงการวัฒนธรรมปิดเป็นถนนคนเดินในวันอาทิตย์ ถนนสีลมยังได้ชื่อว่าเป็นถนนการเมืองยุคใหม่จากการเดินขบวนของนักธุรกิจเพื่อขับไล่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถนนสีลมมีรถไฟฟ้าแล่นผ่านจากถนนพระรามที่ 4 ขึ้นลงที่สถานีศาลาแดงและเลี้ยวออกไปถนนสาทรที่สถานีช่องนนทรี ช่วงสถานี สาธรภาพจากมุมสูง หมวดหมู่:รัชกาลที่ 4 สีลม สีลม หมวดหมู่:ย่านในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และถนนสีลม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสี่พระยา

นนสี่พระยา ถนนสี่พระยา (Thanon Si Phraya) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ถือเป็นถนนสายรองของพื้นที่ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระราม 4 มีจุดเริ่มต้นที่แขวงสี่พระยา บริเวณหน้าโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน และศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ไปสิ้นสุดที่แยกสามย่าน บริเวณหน้าวัดหัวลำโพง อันเป็นจุดตัดของถนนพระราม 4 และถนนพญาไท ถนนสี่พระยา มีที่มาจาก การที่ขุนนางซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา 4 คน ได้แก่ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์), พระยาพิพัฒโกษา (เซเรสติโน ซาเวียร์), พระยานรฤทธิ์ราชหัช (ทองดี โชติกเสถียร) และพระยานรนารถภักดี (สุด บุนนาค) รวมถึงหลวงมนัศมานิต (เถียน โชติกเสถียร) ได้ร่วมกันซื้อที่ดินระหว่างถนนสุรวงศ์กับคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างผ่านที่ดินเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุง คือ วัดหัวลำโพงไปตกท่าน้ำ คือ ท่าน้ำสี่พระยา พระยาทั้ง 4 คนได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนสี่พระยา" เมื่อ..

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และถนนสี่พระยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเดโช

นนเดโช (Thanon Decho) เป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสั้น ๆ ในลักษณะเป็นซอยเชื่อมระหว่างถนนสุรวงศ์กับถนนสีลม ที่แยกเดโช เป็นถนนที่เกิดขึ้นโดยเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์พระราชทานชื่อว่า ถนนเดโช ตามบรรดาศักดิ์ที่เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ดำรงอยู่ในขณะนั้น คือ พระยาสีหราชเดโชชัย พร้อมกับถนนสุรวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงรับถนนทั้งสองสายนี้เป็นถนนหลวงด้วย ในปัจจุบันบริเวณถนนเดโชเป็นถนนที่เต็มไปด้วยตึกรามของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่นเดียวกับ ถนนสีลมที่อยู่ใกล้เคียง.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และถนนเดโช · ดูเพิ่มเติม »

ประชาชาติธุรกิจ

ประชาชาติธุรกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสามวันในเครือมติชน โดยจะมีสองฉบับในหนึ่งสัปดาห์ คือฉบับวันจันทร์ (วางแผงวันอาทิตย์) และฉบับวันพฤหัสบดี (วางแผงวันพุธ) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อรวมประชาชาติรายวัน) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับแรกๆ ที่ใช้กระดาษปอนด์ขาว และแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนต่างๆ ตามรูปแบบของหนังสือพิมพ์ธุรกิจในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และประชาชาติธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาทาวน์ (กรุงเทพมหานคร)

นนเยาวราช ถนนสายหลักของไชนาทาวน์ กรุงเทพมหานคร แผนที่เขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หลัก ๆ ของไชนาทาวน์ กรุงเทพมหานคร ไชนาทาวน์ในกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในไชนาทาวน์หรือชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และไชนาทาวน์ (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)

นายพลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (นามเดิม: โต บุนนาค; พ.ศ. 2394 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2452) เป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม สุรวงษ์ไวยวัฒน์ จบการศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่จากประเทศอังกฤษ เริ่มรับราชการเมื่อ..

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางรัก

ตบางรัก เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ใหม่!!: ถนนสุรวงศ์และเขตบางรัก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »