โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์

ดัชนี ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์

้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ (Sternoclavicular joint) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หมายถึงข้อต่อที่อยู่ระหว่างปลายด้านกระดูกอกของกระดูกไหปลาร้า (Sternal end of clavicle) กับรอยเว้าคลาวิคิวลาร์ (clavicular notch) ที่อยู่บนส่วนแมนูเบรียมของกระดูกอก (manubrium of sternum) และบางส่วนของกระดูกซี่โครงชิ้นที่ 1 โดยที่พื้นผิวข้อต่อส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านปลายด้านกระดูกไหปลาร้า ข้อต่อนี้มีส่วนช่วยในการเคลื่อนที่ของไหล่และต้นแขนที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของกระดูกไหปลาร้.

8 ความสัมพันธ์: กระดูกสันอกกระดูกซี่โครงกระดูกไหปลาร้ากล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ข้อต่อไหล่เอ็น

กระดูกสันอก

กระดูกสันอก (Sternum) เป็นกระดูกชนิดกระดูกแบบแบน (Flat bone) ที่วางตัวอยู่ตรงกลางของทรวงอก และติดต่อกับกระดูกซี่โครงโดยข้อต่อและกระดูกอ่อนซี่โครง (costas cartilage) เพื่อประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งของผนังช่องอก เพื่อป้องกันโครงสร้างที่อยู่ภายในช่องอกจากการกระทบกระเทือน นอกจากนี้ยังมีข้อต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) ซึ่งเป็นกระดูกที่ค้ำจุนส่วนไหล่อีกด้ว.

ใหม่!!: ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์และกระดูกสันอก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกซี่โครง

กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อ.

ใหม่!!: ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์และกระดูกซี่โครง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ใหม่!!: ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์และกระดูกไหปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid muscle) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในส่วนนอกของลำคอ ชื่อของกล้ามเนื้อมัดนี้มาจากจุดเกาะทั้งสามจุดของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้แก่ กระดูกอก (sternum, sterno-) กระดูกไหปลาร้า (clavicle, cleido-) และมาสตอยด์ โพรเซส (mastoid process) ซึ่งเป็นส่วนนูนขนาดใหญ่บนกระดูกขมับ (temporal bone) ในบางครั้งอาจเรียกชื่อกล้ามเนื้อนี้ว่า สเตอร์โนมาสตอยด์ (sternomastoid) กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ทำหน้าที่หลักในการหมุนและการงอของศีรษะ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับกลุ่มของกล้ามเนื้อสคาลีนนัส (scalenus muscles) เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของช่องอกระหว่างการหายใจ แนวของกล้ามเนื้อนี้ยังใช้ในการแบ่งอาณาบริเวณทางกายวิภาคของลำคอเป็นสองส่วน คือพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหน้า (anterior triangle of neck) และพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหลัง (posterior triangle of neck).

ใหม่!!: ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์และกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

รูปแสดงระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติ จากหนังสือ ''Fabrica'' โดยแอนเดรียส เวซาเลียส กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ.

ใหม่!!: ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์และกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์และข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ไหล่

แคปซูลของข้อต่อไหล่ขณะกางแขนออก มุมมองทางด้านหน้า ไหล่ หรือ บ่า (shoulder) เป็นส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์ที่อยู่บริเวณข้อต่อไหล่ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกต้นแขนประกอบกับกระดูกสะบัก ไหล่ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกไหปลาร้า (clavicle), กระดูกสะบัก (scapula) และกระดูกต้นแขน (humerus) ร่วมกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเอ็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ข้อต่อระหว่างกระดูกต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันเป็นข้อต่อไหล่ ไหล่เป็นโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นเพื่อให้แขนและมือสามารถการเคลื่อนที่ได้อย่างมาก และยังมีความแข็งแรงมากเพื่อใช้ในการออกแรงยกของ ดัน และดึง จากหน้าที่การทำงานของไหล่ดังกล่าวทำให้ไหล่เป็นบริเวณที่คนมักบาดเจ็บหรือปวดล้าอยู่สม่ำเสมอ.

ใหม่!!: ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์และไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์และเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sternoclavicular joint

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »